وَمَرْيَمَ ٱبْنَتَ عِمْرَٰنَ ٱلَّتِىٓ أَحْصَنَتْ فَرْجَهَا فَنَفَخْنَا فِيهِ مِن رُّوحِنَا وَصَدَّقَتْ بِكَلِمَٰتِ رَبِّهَا وَكُتُبِهِۦ وَكَانَتْ مِنَ ٱلْقَٰنِتِينَ ( التحريم/١٢)
ความว่า : และมัรยัมบุตรีของอิมรอน ผู้ซึ่งรักษาพรหมจารีของนาง แล้วเราได้เป่าวิญญาณของเราเข้าไปในนาง และนางได้ศรัทธาต่อบัญญัติต่าง ๆ แห่งพระเจ้าของนาง และ (ได้ศรัทธาต่อ) คัมภีร์ต่าง ๆ ของพระองค์ และนางจึงอยู่ในหมู่ผู้นอบน้อมภักดีทั้งหลาย
อิมามกุรฏุบีย์ ได้อธิบายสาเหตุที่อัลลอฮ์เรียกชื่อของนางมัรยัมในอัลกุรอานกว่า 30 ครั้ง และไม่เรียกสตรีท่านอื่นๆด้วยชื่อของนางในอัลกุรอาน เนื่องจากธรรมเนียมของชาวอาหรับ โดยเฉพาะบุคคลชั้นสูงเช่นกษัตริย์หรือผู้นำ จะไม่เรียกสตรีด้วยชื่อของนาง แต่จะเรียกฉายาหรือตามชื่อสามี ครั้นเมื่อชาวคริสเตียนได้ใส่ร้ายนางมัรยัมและบุตรชายของนางด้วยคำใส่ร้ายต่างๆนานา อัลลอฮ์จึงต้องการปกป้องนางด้วยเกียรติอันสูงส่งด้วยกล่าวชื่อจริงของนาง ถึงแม้จะฝืนธรรมเนียมของชาวอาหรับก็ตาม แถมยังใช้ชื่อนางเป็นหนึ่งในซูเราะฮ์ของอัลกุรอานอีกด้วย
الحكمة من التصريح باسم مريم في القرآن دون غيرها من النساء – إسلام ويب – مركز الفتوى
โดย Mazlan Muhammad