โลกมุสลิมและองค์กรอิสลามระหว่างประเทศ 20 ประเทศและองค์กร ร่วมกันประนามโฆษกพรรคบีเจพี พรรครัฐบาลอินเดีย และขอให้อินเดียจัดการกับผู้กระทำการดังกล่าว
ประเทศที่แถลงประนามในนามรัฐบาล ประกอบด้วย คูเวต กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรต บาห์เรน โอมาน ปากีสถาน มาเลเซีย อัฟกานิสถาน อินโดนีเซีย จอร์แดน มัลดีฟส์ อิรัก และลิเบีย
โดยมี 4 ประเทศที่เรียกทูตอินเดียหรือตัวแทนสูงสุดของอินเดียเข้าพบเพื่อประท้วงและประนาม ได้แก่ คูเวต กาตาร์ อินโดนีเซียและมาเลเซีย
ส่วนตุรกีออกแถลงการประนามโดยพรรคเอเค พรรครัฐบาลของตุรกี ในขณะที่อียิปต์ออกแถลงการณ์ประนามโดยสถาบันอัซฮัร และสำนักมุฟตีย์แห่งอียิปต์
ส่วนระดับองค์กรระหว่างประเทศที่แถลงประนามได้แก่องค์กรความร่วมมืออิสลาม (โอไอซี) องค์กรความร่วมมืออ่าวอาหรับ(จีซีซี) และฟอรัมเยาวชนโอไอซี (OIC Youth Forum)
ไม่นับรวมองค์กรนักวิชาการอิสลามที่ต่างออกมาประนามกันมากมาย
พรรคเอเคของตุรกีประณามคำหยามหมิ่นนาบีมุฮัมมัด ของโฆษกพรรคบีเจพี พรรครัฐบาลอินเดีย
เมื่อ 7 มิถุนายน อุมัร ซีลิก โฆษกพรรคยุติธรรมและการพัฒนาของตุรกี (พรรค AK) ประณามการหมิ่นหยามต่อท่านศาสดามุฮัมหมัด ศอลฯ โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่พรรคดังกล่าวได้ถูกระงับการปฏิบัติหน้าที่แล้ว พร้อมขอให้รัฐบาลอินเดีย “ดำเนินมาตรการ ที่จำเป็น” เพื่อต่อสู้กับการเพิ่มขึ้นของกระแสอิสลามโมโฟเบียใน ประเทศ
อุมัร ซีลิก กล่าวในแถลงการณ์ว่า: “เราขอประณามอย่างรุนแรงคำกล่าวดูถูกของเจ้าหน้าที่จากพรรครัฐบาลอินเดีย (BJP) ต่อท่านศาสดามุฮัมมัดด” และว่า “นี่เป็นการดูถูกไม่เฉพาะกับชาวมุสลิมในอินเดียเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาวมุสลิมทั่วโลกอีกด้วย”
“เรายินดีที่นักการเมืองดังกล่าวถูกไล่ออกจากตำแหน่งในพรรค เนื่องจากคำพูดของเขาและการประณามคำพูดเหล่านี้โดยทางการอินเดีย แนวทางนี้ควรเป็นแบบอย่าง เราคาดหวังให้รัฐบาลอินเดียใช้มาตรการที่จำเป็นในการเผชิญกับการเพิ่มขึ้นของโรคกลัวอิสลามและเสริมสร้าง เสรีภาพทางศาสนาของชาวมุสลิม”
ในขณะเดียวกัน ฟอรัมความร่วมมืออิสลามสำหรับเยาวชน (OIC Youth Forum) ได้ออกแถลงการณ์ประณามอย่างรุนแรงต่อคำพูดที่ไม่เหมาะสมต่อศาสดามูฮัมหมัดโดยพรรคบีเจพี พรรครัฐบาลของอินเดีย”
ทางรัฐบาลอินเดียได้ออกมาแถลงว่า คำเหยียดหยามดังกล่าวเป็นเรื่องบุคคลนอกรัฐบาล โฆษกพรรคบีเจพี ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ และได้พักงานโฆษกที่เกี่ยวข้อง 1 ราย และปลดออก 1 ราย
Credit : Ghazali Benmad