ศาสตราจารย์มุฮัมมัด กูร์มาซ อดีตหัวหน้าฝ่ายศาสนาของตุรกี ปัจจุบันดำรงหัวหน้าสถาบันความคิดอิสลาม ได้ส่งสารด่วนถึงชัยค์อะหมัด ตอยยิบ ชัยค์อัซฮัรและเชากี อัลลาม มุฟตีอียิปต์
สารดังกล่าวปรากฏในวิดีโอที่เผยแพร่โดยกูรมาซ เมื่อวันเสาร์ 27/6/2021 ซึ่งเน้นย้ำถึง “ความจำเป็นในการกดดันต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจในอียิปต์เพื่อให้เปลี่ยนใจในการพิพากษาประหารชีวิตนักวิชาการและปัญญาชน 12 คน หลังจากการพิจารณาคดีและการจำคุกเป็นเวลานาน เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง ที่เกิดขึ้นในอียิปต์ตั้งแต่ปี 2013”
กูร์มาซเตือนว่า “การดำเนินการประหารชีวิตนี้จะเป็นอันตรายต่อมวลประชาชาติอิสลาม ทั้งในด้านการเมืองและศาสนา เพิ่มความบาดหมางกันและขยายขอบเขตการละเมิดระหว่างภาคส่วนต่างๆ ของอียิปต์”
ศ.กูร์มาซ เน้นว่า “ใครก็ตามที่ออกฟัตวาและลงนามในคำพิพากษานี้จะถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ว่าเป็นมุฟตีเลือดและปืน”
กูร์มาซกล่าวว่า “การตัดสินประหารชีวิตนักวิชาการและนักคิดเหล่านี้เนื่องจากแรงกดดันทางการเมืองนั้น ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับหลักการของอิสลามที่เรียกร้องให้เคารพความศักดิ์สิทธิ์ของเลือดและชีวิตของชาวมุสลิม เคารพในความคิดและเสรีภาพ และเรียกร้องความเป็นธรรมและความยุติธรรม แม้ในเหตุการณ์การแข่งขันทางการเมือง”
ศ.กูร์มาซแสดงถึงการยอมรับต่อเงื่อนไขทางการเมืองที่อียิปต์กำลังเผชิญอยู่ โดยถือว่าเป็นความพยายามในการยุติความขัดแย้งภายในทุกประเด็นที่พยายามบ่อนทำลายความมั่นคงของสังคมอียิปต์และติดหล่มความไม่สงบ”
กูร์มาซเรียกร้องมุฟตีของอียิปต์ ซึ่งเป็นผู้ลงนามรับรองการประหารชีวิต ให้ตรวจสอบคำพิพากษาดังกล่าว และพยายามใช้บทบาทอำนาจที่มีเพื่อปกป้องรักษาชีวิตของชาวมุสลิม โดยเน้นว่า “ประชาชาติอิสลามจะไม่มีวัน ลืมความเมตตากรุณาของทุกคนที่ยืนหยัดเพื่อสัจจธรรม และหยุดยั้งการสร้างความเดือดร้อนต่อชาวมุสลิม และพยายามอย่างเต็มที่เพื่อรักษาความเป็นเอกภาพและความสามัคคีของมุสลิม”
กูร์มาซเตือนให้รำลึกถึงบทบาทของดินแดนอียิปต์อันมีเกียรติในยุครุ่งอรุณแห่งอิสลามในฐานะที่เป็นแหล่งกำเนิดนักวิชาการและที่พักพิงสำหรับนักศึกษาหาความรู้”
นอกจากนี้ เขายังกล่าวอีกว่า “ไม่มีใครปฏิเสธสถานะของอัลอัซฮาร์โดยเฉพาะและอียิปต์ในประเทศอิสลาม ยกเว้นผู้เนรคุณ” โดยเน้นว่า “ศักดิ์ศรีอันยิ่งใหญ่นี้ทำให้อียิปต์มีความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ และได้กลายเป็นบทบาทต้นแบบสำหรับโลกอิสลาม และเป็นที่ยอมรับในด้านวิทยาการ ความยุติธรรม ความเคร่งครัดในศาสนา จริยธรรม อารยธรรม และความทันสมัย”
เขากล่าวเสริมว่า “จากทั้งหมดที่กล่าวมา เรารู้สึกตกใจกับข่าวการพิพากษาประหารชีวิตนักวิชาการและนักคิดชาวอียิปต์ 12 คน หลังจากการพิจารณาคดีและจำคุกเป็นเวลานาน”
กูร์มาซกล่าวต่อชัยค์อัซฮัรและมุฟตีอียิปต์ ว่า “ตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม มุฟตีเป็นผู้สืบทอดพระศาสดาในการปฏิบัติหน้าที่วินิจฉัยบทบัญญัติศาสนา และมุฟตีเป็นผู้ลงนามในนามของอัลลอฮ์ ไม่ใช่ผู้ลงนามในนามการเมือง รัฐบาล และผู้มีอำนาจ ผู้ใดฟัตวาตามความรู้สึกหรือการคาดเดา ถือเป็นการอ้างเท็จต่ออัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์โดยปราศจากความรู้ และรับบาปของผู้ที่ขอคำฟัตวา”
กูร์มาซปิดท้ายคำแถลงโดยอายะฮ์อัลกุรอานที่ว่า
“وَلَا تَقُولُوا لِمَا تَصِفُ أَلْسِنَتُكُمُ الْكَذِبَ هَٰذَا حَلَالٌ وَهَٰذَا حَرَامٌ لِّتَفْتَرُوا عَلَى اللَّهِ الْكَذِبَ ۚ إِنَّ الَّذِينَ يَفْتَرُونَ عَلَى اللَّهِ الْكَذِبَ لَا يُفْلِحُونَ”.
“และอย่าพูดในสิ่งที่ลิ้นของท่านโกหกว่าสิ่งนี้หะลาลและสิ่งนั้นฮาราม เพื่อการอ้างเท็จต่ออัลลอฮ์ ผู้ที่อ้างเท็จต่ออัลลอฮ์จะไม่ประสบความสำเร็จ”
ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2021 ศาลอุทธรณ์ของอียิปต์ อันเป็นศาลสูงสุดในระบบศาลยุติธรรมของอียิปต์ ได้พิพากษายืนให้ประหารชีวิตบุคคล 12 คน ขณะที่ปรับเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต (25 ปี) กับผู้ต้องหาอีก 32 คน
คำตัดสินเหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากการพิจารณาคดีของจำเลย 739 คนในคดีที่มีส่วนร่วมในการต่อต้านรัฐประหารที่จัตุรัสรอบีอะฮ์ อัล-อดาวิยะฮ์ ในกรุงไคโร ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2013 ในคดีที่เรียกว่า “คดีสลายการชุมนุมที่รอบีอะฮ์” ซึ่งผู้สนับสนุนประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มุร์ซีแห่งอียิปต์ได้เข้าร่วมประท้วงต่อต้านการรัฐประหาร ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายหลายพันคน
ฟิลิป ลูเทอร์ ผู้อำนวยการโครงการวิจัยและสนับสนุนโครงการตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวดังกล่าว โดยกล่าวว่า “โทษประหารชีวิตที่รุนแรงเหล่านี้ถูกพิพากษาปี 2018 หลังจากการไต่สวนคดีหมู่อย่างไร้ความเป็นธรรมอย่างร้ายแรง ถือเป็นความอัปยศที่ทำลายชื่อเสียงของศาลสูงสุดของอียิปต์” พร้อมกับเรียกร้องรัฐบาลอียิปต์ให้ออกคำสั่งอย่างเป็นทางการให้หยุดการดำเนินการตามคำพิพากษา และพิจารณาคดีใหม่อีกครั้งต่อผู้ประท้วงที่เคยถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานก่ออาชญากรรมรุนแรง ในการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมและเป็นกลางโดยไม่ใช้โทษประหารชีวิต”
ในส่วนของ Human Rights Watch International ในวันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน 2026 ได้เรียกร้องให้ทางการอียิปต์ลดโทษประหารชีวิตนักโทษ 12 คน รวมทั้งผู้นำของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ในคดีที่สื่อเรียกว่า “คดีสลายการชุมนุมที่รอบีอะฮ์” ที่โดดเด่นได้แก่ มุฮัมมัด บัลตาจี อับดุรรอหมาน อัลบัรร์ และอุซามะฮ์ ยาซีน อดีตรัฐมนตรีในยุคมุรซี
ในคำแถลงของโจ สตอร์ก รองผู้อำนวยการฝ่ายตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ของ Human Rights Watch International เรียกร้องให้ประธานาธิบดีซิซีของอียิปต์หยุดโทษประหารชีวิตทันที
ในบริบทเดียวกัน นักเคลื่อนไหวทางการเมืองและสิทธิมนุษยชนจากอียิปต์และทั่วโลก และองค์กรระหว่างประเทศ ทำจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ รัฐบาลอียิปต์ยุติการประหารชีวิตนักการเมืองอียิปต์จำนวนหนึ่งตามคำพิพากษาที่เพิ่งออกมาเมื่อเร็วๆ นี้”
ผู้ลงนามในจดหมายแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งที่นับตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนปี 2013 ทางการอียิปต์ได้เปลี่ยนกลไกการพิจารณาคดีให้เป็นระบบการปราบปรามแบบบูรณาการ ซึ่งได้ออกคำพิพากษาโทษประหารชีวิตฝ่ายตรงข้ามจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และได้ดำเนินการประหารชีวิตฝ่ายตรงข้ามไปหลายสิบคน
ผู้ลงนามเน้นว่า “โทษประหารชีวิตเหล่านี้แสดงถึงการละเมิดพันธสัญญาระหว่างประเทศและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน เนื่องจากคำพิพากษาเหล่านี้ส่วนใหญ่ออกมาหลังจากการพิจารณาคดีที่ขาดมาตรฐานความยุติธรรมขั้นพื้นฐานที่สุดก่อน ที่ศาลพิเศษที่ทางการอียิปต์จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินคดีฝ่ายตรงข้ามหรือนักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมทั้งหมด”
พวกเขาย้ำว่า “การปฏิบัติของรัฐบาลซีซี ละเมิดสนธิสัญญาทั้งหมดที่เขาทำกับสหภาพยุโรปภายใต้ปฏิญญาความร่วมมืออียิปต์-ยุโรป ที่ซีซีได้ยืนยันการเคารพสิทธิมนุษยชนและข้อตกลงที่เกี่ยวข้อง”
พวกเขาเน้นว่า “ระบอบการปกครองของอียิปต์จะไม่ออกคำสั่งประหารชีวิตต่อไปโดยปราศจากความเงียบของยุโรป ที่ยังเพิ่มความร่วมมือกับระบอบซิซีและการเยือนของผู้นำยุโรปไปยังอียิปต์ การต้อนรับซีซีในปารีสปี 2020 และ 2021 และมอบรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดให้”
ผู้ลงนามในจดหมายฉบับนี้ ได้แก่ Mohamed Mahsoub Darwish อดีตรัฐมนตรีและศาสตราจารย์ด้านกฎหมายของอียิปต์ Ayman Nour หัวหน้าพรรค Ghad Al-Tawra, Bahey El-Din Hassan นักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาวอียิปต์ และ Mohamed El-Feki หัวหน้าของฟอรัมรัฐสภาอียิปต์เพื่อเสรีภาพ
ในบรรดาองค์กรที่ลงนามในจดหมายนั้น ได้แก่ French Rally for the Defense of Democracy in Egypt, the Association for Justice and Rights Without Borders, the Women’s Association for Human Rights, Egyptians Abroad for Democracy in Japan, and the Egyptian community in South Africa.
และองค์กรและสมาคมอิสลาม 31 แห่งได้ถือว่า “การสนับสนุนการตัดสินประหารชีวิตนี้เป็นลางร้าย และการดำเนินการตามนั้นจะเป็นความโง่เขลาและอาชญากรรมครั้งใหญ่ที่จะเปิดประตูกว้างสำหรับผลที่เลวร้าย”
คำพูดนี้ปรากฏขึ้นในแถลงการณ์ร่วมที่ออกโดยองค์กรและสมาคมเหล่านี้ ซึ่งพวกเขาแสดงความโกรธและประณามคำพิพากษาที่ออกโดยตุลาการของอียิปต์ ต่อนักวิชาการ 12 คนและผู้นำของขบวนการอิสลาม รวมถึงโทษจำคุกตลอดชีวิตต่อคนอื่น ๆ องค์กรเหล่านั้นเรียกร้องให้เพิกถอนคำพิพากษาที่ไม่เป็นธรรมเหล่านี้ในทันที” โดยเตือนว่าการดำรงอยู่ต่อไปของคำพิพากษาเหล่านั้นอาจระเบิดสถานการณ์และส่งผลให้เกิดการกระทำที่ไม่มีใครสามารถควบคุมได้
ในบรรดาสมาคมและองค์กรอิสลามที่โดดเด่นที่สุดที่ลงนามในแถลงการณ์ ได้แก่ International Union of Muslim Scholars, Association of Ahl al-Sunnah Scholars, Council of Palestinian Scholars, the Libyan Dar al-Ifta, the Council of Yemeni Scholars, สหพันธ์นักวิชาการและสถาบันอิสลามในตุรกี และสมาคมสหภาพอิสลามในเลบานอน
อ่านเพิ่มเติม
โดย Ghazali Benmad