องค์กรโอไอซี Organisation of Islamic Cooperation-OIC เป็นองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในโลกรองจากสหประชาชาติ มีสมาชิก 57 ประเทศ มีสถาบันฟิกฮ์ International Fiqh Academy ที่ประชุมที่ใหญ่ที่สุดในโลกของนักฟิกฮ์มุสลิมระดับตัวแทนของรัฐสมาชิก จัดสัมมนาพิเศษเพื่อหารือเกี่ยวกับพัฒนาการของโคโรนาจากมุมมองทางศาสนา เมื่อ 16 เมษายน 2020 โดยมีสมาชิกคณะกรรมการฟัตวาและแพทย์เข้าร่วม 30 คน ในการประชุมแบบ“ออนไลน์” โดยมีนักวิชาการผู้หญิงและแพทย์มีส่วนร่วม
ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับฟัตวาและแนวทางนิติศาสตร์อิสลามประมาณ 23 ข้อ เกี่ยวกับการระบาดใหญ่ของโคโรนา ในบรรดาฟัตวาที่โดดเด่นที่สุดเหล่านี้คือการอนุมัติให้ถอดอุปกรณ์ช่วยหายใจเมื่อจำเป็นออกจากผู้ที่ติดเชื้อไวรัส และอนุญาตให้แพทย์ละหมาดรวม รวมถึงการอนุญาตสัญญาการแต่งงาน “ออนไลน์” นอกเหนือจากการห้ามใช้กลไก “ภูมิคุ้มกันหมู่” ในการรักษา
ต่อไปนี้ เป็นบทสรุปฟัตวาที่สภาฟิกห์ International Fiqh Academy ตามคำแถลงที่ออกโดยสภาและองค์การความร่วมมืออิสลาม
1. คำจำกัดความของโรค
โรคโคโรนาไวรัส 2019 หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า “โควิด-19” คือ การติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ และองค์การอนามัยโลกประกาศอย่างเป็นทางการว่าโรคระบาดนี้เป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลกเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 ระดับการติดเชื้อมีตั้งแต่การเป็นพาหะไวรัสแต่ไม่มีอาการ ไปจนถึงขั้นรุนแรง อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 2 ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ แต่จะแตกต่างกันไปตามประเทศและความรุนแรงของอาการ ไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อนี้ได้ มาตรการควบคุมการติดเชื้อยังคงเป็นตัวหลักในการป้องกัน เช่น การล้างมือและการระงับอาการไอ การเว้นระยะห่างทางกายภาพของผู้ดูแลผู้ป่วย นอกเหนือจากสิ่งที่เรียกว่า social distancing ระหว่างผู้คน
2. เป็นที่ทราบกันดีว่าหลักการอิสลามมีลักษณะเด่นหลายประการ ที่สำคัญที่สุดคือ การบรรเทาความยากลำบาก การเปิดกว้าง การอำนวยความสะดวก การห่างไกลความลำบาก และการบังคับเพียงน้อย
และหากพบว่ามีความยากลำบากและความจำเป็นแล้ว อัลลอฮ์ผู้ทรงฤทธานุภาพได้อนุญาตให้ทำสิ่งต้องห้าม และละทิ้งสิ่งที่จำเป็นต้องทำไปจนกระทั่งความจำเป็นดังกล่าวสิ้นสุดลง และนั่นคือความเมตตา ความเมตตากรุณาและความเอื้ออาทรจากอัลลอฮ์ที่มีต่อบ่าวของพระองค์
3. ดังนั้นคนจึงมีความจำเป็นในการปกป้องชีวิตและสุขภาพ มุสลิมต้องป้องกันตนเองจากโรคภัยไข้เจ็บให้มากที่สุด และหลักการอิสลามมีหน้าที่ในการช่วยชีวิตจากการถูกทำลาย และทำให้การมีชีวิตรอดเป็นสิทธิ์ของแต่ละคน โดยการป้องกันโรคและความเจ็บป่วยก่อนที่จะเกิดขึ้นและโดยการรักษาหลังจากที่เกิดขึ้น ท่านศาสดามูฮัมหมัด ศอลฯ กล่าวว่า
“عباد الله، تداووا، فإنَّ الله تعالى لم يضع داءً إلا وضع له الدواء إلا داء واحداً: الهرَمُ”،
“บ่าวของอัลลออ์ จงแสวงหายา เพราะอัลลอฮ์ผู้ทรงฤทธานุภาพไม่ได้สร้างโรคโดยไม่ได้ให้มียารักษา ยกเว้นโรคเดียว : ชราภาพ”
รวมถึงไม่อนุญาตให้สิ้นหวังในความช่วยเหลือของอัลลอฮ์หรือสิ้นหวังในความเมตตาของพระองค์ หากทว่าความหวังในการรักษาโรคให้หายควรคงอยู่ ดังนั้น ศาสนาอิสลามจึงปฏิเสธสิ่งที่เรียกว่า “ภูมิคุ้มกันหมู่” ที่เรียกร้องให้ปล่อยให้โรคแพร่กระจายก่อน ซึ่งจะทำลายผู้ที่สมควรเสียชีวิต ทั้งผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เพราะถือเป็นความล้มเหลวในการปฏิบัติต่อสิ่งจำเป็นตามหลักการรักษาโรค
4. รัฐบาลอาจกำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับเสรีภาพส่วนบุคคลในลักษณะที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการป้องกันการเข้าและออกจากเมือง เคอร์ฟิว กักกันพื้นที่ใกล้เคียง หรือการห้ามเดินทาง และอื่นๆ ที่จะช่วยยับยั้งไวรัส และป้องกันการแพร่ระบาด เพราะเป็นไปตามหลัก “การกระทำของผู้นำประเทศต้องรับผิดชอบต่อสังคม” เป็นไปตามกฎชารีอะฮ์ที่ระบุว่า
“تصرف الإمام على الرعية منوط بالمصلحة”
“การปฏิบัติของผู้นำต่อประชาชนเป็นไปตามอรรถประโยชน์”
5. ความสะอาดในศาสนาอิสลามเป็นศาสนกิจและการทำดีต่ออัลลอฮ์ประการหนึ่ง ดังหลักฐานในเรื่องนี้ที่มีมากมาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขอนามัยส่วนบุคคลทั่วไปและข้อควรระวังเฉพาะสำหรับโรคระบาดนี้ อันได้แก่ การล้างมือด้วยสบู่และน้ำ การสวมใส่ หน้ากากอนามัย ถุงมือ และการปฏิบัติตามคำสั่งด้านสุขภาพที่ออกโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นหน้าที่ตามกฎหมายในการป้องกันไวรัส และอนุญาตให้ใช้เครื่องฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อที่มือและพื้นผิว ที่จับ ฯลฯ ได้ เนื่องจาก “แอลกอฮอล์ดังกล่าวไม่ใช่นะจิส-สิ่งสกปรก-ตามหลักการอิสลาม”
6. การคัดแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสถือเป็นการปฏิบัติที่จำเป็นตามหลักการอิสลาม ดังที่ทราบกันทั่วไป และสำหรับบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเป็นพาหะของไวรัสหรือแสดงอาการของโรคในระหว่างกักตัวอยู่บ้าน ต้องปฏิบัติตามที่เรียกว่า social distancing ต่อครอบครัวและคนทั่วไปผู้ที่มาติดต่อสัมพันธ์กับเขา รวมทั้งไม่อนุญาตให้ผู้มีอาการ บิดบังอาการของโรคต่อหน่วยงานทางการแพทย์ที่มีอำนาจ ตลอดจนผู้ที่ติดต่อกับเขา นอกจากนี้ยังจำเป็นสำหรับทุกคนที่รู้จักผู้ติดเชื้อที่ไม่ระมัดระวังเกี่ยวกับโรค ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ เพราะสิ่งนี้นำไปสู่การแพร่กระจายของโรคนี้และการขยายตัวของภัยอันตราย
7. แพทย์และผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า การชุมนุมทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ดังนั้นจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงเหตุผลและหลีกเลี่ยงการชุมนุมในทุกรูปแบบ
อัลลอฮ์กล่าวว่า
يا أيها الذين آمَنُوا خُذوا حِذْرَكُم
“ท่านผู้ศรัทธาทั้งหลายพึงระวังตัว” (อันนิสา : 71)
และรวมถึงการอนุญาตให้ปิดมัสยิดไม่ให้ละหมาดวันศุกร์ การละหมาดจามาอะฮ์ ละหมาดตะรอวิฮ์ การละหมาดอีด ระงับการประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์ การระงับกิจการ การหยุดงาน การขนส่ง เคอร์ฟิว ปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัย การใช้การศึกษาทางไกล และการปิดสถานที่ชุมนุมต่างๆ รวมถึงการปิดรูปแบบอื่น ๆ
8. เมื่อมัสยิด ที่ประชุมและกลุ่มต่างๆแล้ว จำเป็นต้องรักษาการอะซาน เพราะเป็นหนึ่งในพิธีกรรมของศาสนาอิสลาม และมุอัซซินกล่าวในการเรียกร้องให้ละหมาด:
“صلوا في رحالكم أو في بيوتكم”
“ละหมาดในที่พักหรือในบ้านของพวกท่าน”
ตามหะดีษที่ท่านอิบนุอุมาร์และอิบนุอับบาส รายงานจากท่านศาสดามูฮัมหมัด ศอลฯ และอนุญาตให้ชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน ละหมาดจามาอะฮ์ได้ หากพวกเขาต้องการ โดยไม่เชิญเพื่อนบ้าน
9. เมื่อมัสยิดปิดทำการ ผู้คนจะละหมาดซุห์รี่ที่บ้าน แทนการละหมาดวันศุกร์ ไม่อนุญาตให้ละหมาดวันศุกร์ที่บ้าน เพราะการละหมาดวันศุกร์ที่บ้านไม่สามารถทดแทนการละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดได้ นอกจากนี้ หน่วยงานผู้มีอำนาจอาจจัดให้มีการกล่าวคุตบะฮ์และละหมาดวันศุกร์ในมัสยิด ตามเงื่อนไขสุขภาพเชิงป้องกันและเงื่อนไขทางหลักฟิกฮ์ และมีการเผยแพร่ทางโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต และวิทยุ เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากสิ่งนั้น แต่ไม่อนุญาตให้ปฏิบัติละหมาดวันศุกร์ที่บ้านตามอิหม่ามที่มัสยิด เนื่องจากมีระยะห่างระหว่างพวกเขา
10. อนุญาตให้คนทำงานในสาขาสุขภาพและความมั่นคงและอื่นๆที่คล้ายกัน ในสภาวะการระบาดใหญ่นี้ ใช้ข้อผ่อนปรนด้วยการใช้วิธีการละหมาดรวม ทั้งรวมล่วงหน้าหรือรวมร่นไปภายหลัง โดยการเปรียบเทียบกับการเดินทาง ด้วยเหตุผลความยากลำบากและความจำเป็น หรือการรวมในเชิงกายภาพ ตามทัศนะของฝ่ายที่เห็นว่าไม่อนุญาตการละหมาดรวม
อ่านต้นฉบับ
https://www.oic-oci.org/topic/?t_id=23343&t_ref=13985&lan=ar
โดย Ghazali Benmad