قال رجلٌ: يا رَسولَ اللهِ، إنَّ فُلانةَ يُذكَرُ مِن كَثرةِ صَلاتِها وصَدقَتِها وصيامِها، غيرَ أنَّها تُؤذي جيرانَها بِلِسانِها؟ قال: هيَ في النَّارِ، قال: يا رَسولَ اللهِ، فإنَّ فُلانةَ يُذكَرُ مِن قِلَّةِ صيامِها وصَدقَتِها وصَلاتِها، وإنَّها تَتَصدَّقُ بالأَثوارِ مِن الأَقِطِ، وَلا تُؤذي جيرانَها بِلسانِها؟ قال: هيَ في الجنَّةِ.
الراوي : أبو هريرة | المحدث : الألباني | المصدر : صحيح الترغيب
الصفحة أو الرقم: 2560 | خلاصة حكم المحدث : صحيح |
ความว่า :
ชายคนหนึ่งถามเราะซูลุลลอฮ์ว่า สตรีนางหนึ่งได้รับการกล่าวขานว่านางละหมาด ถือศีลอดและบริจาคทานเป็นจำนวนมาก เพียงแต่นางชอบทำร้ายเพื่อนบ้านของนางด้วยวาจา นบีจึงตอบว่า นางอยู่ในนรก ชายคนนั้นถามเราะซูลุลลอฮ์อีกว่า สตรีอีกนางหนึ่งได้รับการกล่าวขานว่านางละหมาด ถือศีลอดและบริจาคทานเป็นจำนวนน้อยนิด แต่นางไม่เคยทำร้ายเพื่อนบ้านของนางด้วยวาจาเลย นบีจึงตอบว่า นางอยู่ในสวรรค์
ข้อคิดจากหะดีษ
1. อันตรายของการสร้างความเดือดร้อนแก่คนอื่นด้วยวาจา
2. การที่คนๆหนึ่งชอบละหมาด ถือศีลอดและบริจาคทานเป็นสรณะ ไม่สามารถการันตีได้ว่า คนๆนั้นมีมารยาทดีเสมอไป โดยเฉพาะเรื่องการใช้วาจา ตราบใดที่เขาไม่สามารถซึมซับและประยุกต์ใช้ปรัชญาความดีเหล่านั้นในภาคปฏิบัติ
3. ภาพรวมของสตรีต่อการใช้ลิ้นและการปฏิบัติต่อเพื่อนบ้าน
4. การรู้จักรักษาความดีงาม มิให้ถูกทำลายด้วยพฤติกรรมเชิงลบของตนเอง หรืออีกนัยหนึ่ง การทำความดีเป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือการรู้จักทะนุถนอมความดีมิให้สูญเปล่า
5. ความสัมพันธ์ระหว่างการทำอิบาดะฮ์ส่วนตัวกับจิตสาธารณะ
6. ความสำคัญของการปลูกฝังจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม การไม่สร้างความเดือดร้อนแก่สังคมรอบข้าง ซึ่งสำคัญยิ่งกว่าการละหมาดสุนัต การถือศีลอดสุนัต และการบริจาคทานสุนัตด้วยซ้ำ
7. ความสมบูรณ์ของอิสลามระหว่างความดีในระดับปัจเจกบุคคล กับผลกระทบระดับสาธารณะ
8. อิสลามปฏิเสธการสร้างความเดือดร้อนแก่ตนเองและสังคม ไม่ว่าจะเป็นการริเริ่ม ต้นเหตุหรือการตอบโต้
โดย Mazlan Muhammad