ข่าว ข่าวโลกอิสลาม

มิติ ผลกระทบและข้อจำกัดความสัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ระหว่างซาอุดีอารเบียและตุรกี (ตอนที่ 7)

ข้อจำกัดของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ

ถึงแม้ความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดีอารเบียและตุรกีจะดูราบรื่นไปด้วยดี แต่ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่อาจทำให้ความสัมพันธ์นี้ต้องสะดุด ส่วนหนึ่งได้แก่

1) การไม่ลงรอยกันระหว่างตุรกีและอิยิปต์

ตุรกีได้วางเงื่อนไขสำคัญทีาจะรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับอิยิปต์คือการปล่อยตัวประธานาธิบดีมุรซีย์และพรรคพวกที่ถูกจับหลังซีซีย์ยึดอำนาจ ที่ซาอุดีอารเบียก็มีส่วนสนับสนุนการยึดอำนาจครั้งนี้ แต่หลังจากการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ซัลมาน ความสัมพันธ์ระหว่างริยาดกับไคโรก็เย็นชาถึงขั้นตึงเครียด โดยเฉพาะหลังจากที่ซีซีย์ได้ทรยซต่อกษัตริย์ซัลมานกรณีสนับสนุนซีเรียที่ใช้สิทธิ์วิโต้ยับยั้งข้อเสนอของฝรั่งเศสที่ให้ซีเรียเป็นเขตห้ามบิน นอกจากนี้ซีซีย์ยังกลับลำไม่คืนเกาะทีรานและซานาฟีร์ (Tiran and Sanafir Islands) ให้แก่ซาอุดีอารเบีย หลังจากซึซีย์รับเงินสนับสนุนจำนวนมหาศาลจากซาอุฯเพื่อพัฒนาประเทศตามข้อตกลง หนำซ้ำอิยิปต์มีความเย็นชาและแสดงอาการเกรงใจอิหร่านอย่างออกหน้ากรณีพายุแกร่งที่ซาอุดีอารเบียปราบกบฏฮูซีย์ที่เยเมน

ทั้งซาอุดีอารเบียและตุรกี ควรมีจุดยืนที่ชัดเจนกรณีอิยิปต์ ซึ่งอาจทำให้ความตั้งใจของตุรกีในการช่วยเหลือ มุรซีย์และพรรคพวกเป็นไปอย่างสะดวกขึ้น ล่าสุดศาลอิยิปต์ได้ตัดสินมุรซีย์จากประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิตแล้ว และในอนาคตอันใกล้อาจกดดันให้ซีซีย์ต้องลงจากอำนาจก็ได้

2) กบฏเคิร์ด
กบฏชาวเคิร์ดถือเป็นหนามยอกอกของตุรกีที่ยาวนาน ในขณะที่ซาอุดีฯมีแนวคิดที่จะรวบรวมชาวเคิร์ดให้สามารถรวมชาติเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง ซึ่งขัดแย้งกับนโยบายตุรกีที่ถือเป็นข้อห้ามที่รุนแรงทีเดียว ดังนั้นริยาดควรแสดงท่าทีในเรื่องนี้อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะกลุ่มกบฏเคิร์ดที่ส่วนใหญ่จะฝักใฝ่แนวคิดสังคมนิยมแนวสตาลินที่ขัดแย้งกับหลักการอืสลามอย่างสิ้นเชิง

3) กลุ่มอิควานมุสลิมีน
ทั้งๆที่กลุ่มอิควานเป็นหนึ่งในฐานสำคัญต่อการพัฒนาซาอุดีอารเบียในอดีต โดยเฉพาะด้านการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัย แต่สิ่งที่อิควานได้รับคือรัฐบาลซาอุดีอารเบียจัดให้อิควานเป็นหนึ่งในกลุ่มก่อการร้ายที่ต้องเฝ้าระวังตลอดเวลา แต่หลังจากที่กษัตริย์ซัลมานขึ้นครองราชย์ ฟ้าอันสดใสได้มาเยือนอีกครั้ง โดยเฉพาะหลังจากเชคอับเกาะเราะฎอวีย์ ผู้เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของกลุ่มอิควาน ถูกเชิญเป็นอาคันตุกะของกษัตริย์ซัลมานที่มักกะฮฺเมื่อเดือนกรกฎาคม 2016 ที่ผ่านมาและก่อนหน้านี้เชคอัลเกาะเราะฎอวีย์ก็ได้รัยเชิญจากสถานทูตซาอุดีอารเบียประจำกรุงกาตาร์ในวันชาติซาอุดีอารเบียล่าสุด คือสัญญาณอันดีว่าเมฆหมอกแห่งความเลวร้าย คงพัดผ่านไปตามกาลเวลา
ทั้งซาอุดีอารเบียและตุรกีต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนกรณีกลุ่มอิควาน และอย่าให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้ต้องเหินห่างเพราะกระแสการโหมโรงของผู้ไม่หวังดีที่มุ่งหวังให้ชาวโลกตื่นตระหนกกับกระแสอิสลาโมโฟเบียนั่นเอง

สรุป
ท่ามกลางความระส่ำระสายของโลกอิสลามที่ถูกลมพายุแห่งไซออคริสต์+ชีอะฮฺโหมกระหน่ำขณะนี้ จนทำให้ประเทศอย่างอิรัก เลบานอน ซีเรียและเยเมนที่เคยเป็นกระดูกสันหลังของประชาชาติอิสลามในอดีตต้องเสียหายยับเยิน ส่วนอิยิปต์ก็ได้กลายเป็นลาเชื่องที่ผู้ไม่หวังดีขับขี่เพื่อบดขยี้อิสลามมาโดยตลอด จะเหลือเพียงซาอุดีอารเบียและตุรกี ที่ยังคงเป็นอวัยวะที่ยังปกติที่สุดที่สามารถปกป้องเรือนร่างของอิสลามขณะนี้ ทั้งสองอวัยวะนี้อาจไม่ใช่ส่วนที่เข้มแข็งและสมบูรณ์ที่สุด แต่น่าจะมีศักยภาพสูงสุดขณะนี้ที่คอยเป็นสองกำแพงแกร่งปกป้องประชาชาติอิสลาม ทั้งสอง จำเป็นต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน อย่าด่วนตัดออกจากเรือนร่างเลย แนวคิดใดๆ ที่พยายามตัดแยกสองอวัยวะนี้ให้ออกจากกัน คือแนวคิดของคนสิ้นคิด ที่ไม่ก่อมรรคผลใดๆยกเว้นต่อผู้ไม่หวังดีต่ออิสลามและประชาชาติมุสลิมเท่านั้น
والله الموفق والهادي إلى سواء السبيل
والله أعلم
ปล. บทความทั้ง 7 ตอนนี้อาจมีการแก้ไขเพิ่มเติมในโอกาสต่อไปครับ