ข่าว ข่าวโลกอิสลาม

มิติ ผลกระทบและข้อจำกัดของความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ระหว่างซาอุดีอารเบียและตุรกี (ตอนที่ 2)



ทำไมซาอุดีอารเบียเเละตุรกีต้องจับมือกัน
ปัจจัยที่ทำให้ทั้งสองประเทศต้องกระชับความร่วมมือกัน มีหลายปัจจัยด้วยกัน ที่สำคัญมีดังนี้

1) ภัยคุกคามอิหร่าน
หลังจากคำประกาศของโคมัยนีหลังปฏิวัติอิสลาม ในปี 1979 (ซึ่งความจริงคือปฏิวัติชีอะฮฺต่างหาก) อิหร่านได้ใช้กุศโลบายด้วยการชูสโลแกน “อเมริกาจงพินาศ” “อิสราเอลจงพินาศ” “อเมริกาคือซาตานที่ยิ่งใหญ่” พร้อมประกาศจะลบชื่ออิสราเอลออกจากแผนที่โลก แต่เมื่อเวลาผ่านไป 30 ปี แทนที่จะเป็นไปตามที่ประกาศไว้ ปรากฎว่าโลกอิสลามโดยเฉพาะโลกอาหรัยต่างหากที่ถูกคุกคาม ถึงแม้สหรัฐอเมริกาได้ปูพรมถล่มอีรักเมื่อปี 2003 และโค่นล้มรัฐบาลซัดดัม หุเซ็นได้สำเร็จ แต่สหรัฐอเมริกาก็ถวายอิรักให้อยู่ในความดูแลของอิหร่าน จนกระทั่งปัจจุบัน แบกแดดจึงมีฐานะเป็นรัฐๆหนึ่งของเตหะรานไปเสียแล้ว ในขณะที่ประเทศอาหรับได้แต่มองตาปริบๆ

นอกจากนี้อิหร่านได้ตกลงร่วมมือกับประเทศสมาชิกความมั่นคงแห่งสหประชาชาติรวมทั้งเยอรมัน (5+1) ในโครงการพลังงานนิวเคลียร์ในปี 2015 ที่กรุงเจนิวา ที่ได้วางข้อจำกัดที่เข้มงวดต่อกิจกรรมด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน พร้อมยินยอมให้มีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการมีระเบิดปรมาณูของอิหร่านนั้น ไม่อาจเป็นไปได้ ซึ่งผลตอบแทนที่อิหร่านได้รับคือมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของนานาชาติที่มีต่ออิหร่านนั้นจะถูกยกเลิก รวมทั้งอิหร่านได้เงินคืนจำนวน 150,000 ล้านดอลล่าร์ที่ถูกอายัต ซึ่งเงินจำนวนมหาศาลนี้สหประชาชาติได้วางกฎว่าให้อิหร่านใช้เพื่อการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและเยียวยาช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมภายในประเทศ แต่ในความเป็นจริง เพื่อเป็นเงินสำรองจ่ายในการเข่นฆ่าพี่น้องมุสลิมที่อิรักและซีเรียต่างหาก ในขณะเดียวกันสหรัฐเริ่มข่มขู่ซาอุดีอารเบียด้วยการออกกฎหมายจาสต้า (JASTA) ที่อนุญาตให้ครอบครัวผู้เคราะห์ร้ายและได้รับผลกระทบจากเหตุ 9/11 ฟ้องร้องต่างชาติโดยเฉพาะซาอุดีอารเบียที่ชาวซาอุดีฯถูกกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันกับวินาศกรรมครั้งนั้น ซึ่งถือเป็นกฎหมายที่จงใจปล้นเงินซาอุดีอารเบียอย่างซึ่งหน้า

มันคือสัญญาณจากสหรัฐฯว่า ท้ายสุดแล้ว อิหร่านคือพันธมิตรที่แท้จริงของชาติตะวันตก และสหรัฐฯก็พร้อมเลือกข้างอิหร่านเมื่อทุกอย่างลงตัว พร้อมกับบอกให้ซาอุดีอารเบียรับรู้ว่า อันตรายที่แท้จริงกำลังคืบคลานมาอย่างช้าๆ

ในขณะที่ตุรกี พรมแดนที่ติดกับอิรักที่ยาวกว่า 350 กม. ทำให้ตุรกีต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงในอิรักชนิดไม่พลาดสายตา โดยเฉพาะปัญหาชาวเคิร์ดและไอเอสที่สร้างปัญหาให้ตุรกีมาโดยตลอด โดยที่ตุรกีเชื่อว่า นอกจากสหรัฐฯแล้ว รัฐบาลหุ่นเชิดอิหร่านที่กรุงแบกแดด ก็มีส่วนรู้เห็นกับการเติบโตของทั้งสองกลุ่มนี้

ภัยจากอิหร่านที่กำลังคุกคามทั้งตุรกีและซาอุดีอารเบียขณะนี้ ทำให้ประเทศสุนหนี่ทั้งสองประทศนี้ จำเป็นต้องจับมือร่วมกัน ก่อนที่จะสายเกินแก้

2) วิกฤติซีเรียและแผนปฏิบัติการโล่ห์ยูเฟรตีส