บทเสวนาระหว่าง ดร. มูฮัมมัด อิวะฎีย์นักดาอีย์ชาวคูเวตกับนักประวัติศาสตร์ตุรกี นายอาห์มัด อัก กุดูซในประเด็นเนื้อหาหนังอิงประวัติศาสตร์ที่ชาติอาหรับ 3 ประเทศลงทุนกว่า 40 ล้านดอลล่าร์สร้างหนัง The Kingdom of fire ( บัลลังก์นรก) เพื่อบิดเบือนประวัติศาสตร์ของสุลตานยุคอุษมานียะฮ์ โดยในตอนแรกของหนังได้นำเสนอภาพลักษณ์ของสุลตานมูฮัมมัด อัลฟาติห์ ว่าเป็นกษัตริย์บ้าอำนาจ ยอมสังหารน้องชายตัวเองที่มีอายุเพียง 6 เดือนเพราะเกรงว่าจะเติบโตมายึดบัลลังก์ของตน ในขณะเดียวกัน พระองค์ถูกแสดงเป็นตัวละครที่ชราภาพแล้ว ทั้งๆที่ในประวัติศาสตร์ยืนยันว่าพระองค์เสียชีวิตเมื่ออายุ 49 ปีเท่านั้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้นักประวัติศาสตร์ชาวตุรกีนายอาห์มัด กุดูซ ได้ออกมาตอบโต้ว่า นี่คือตัวอย่างของการบิดเบือนทางประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง ซึ่งนอกจากแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพแล้ว ยังสะท้อนถึงภาวะอับจนทางปัญญาและตีบตันทางประวัติศาสตร์ ที่ทั้งผู้เขียนบทและผู้กำกับ จำเป็นต้องยืมตำราของนักบูรพาคดีที่เกลียดชังอิสลามมาเป็นแหล่งอ้างอิงสำคัญของหนังเรื่องนี้เลย
นายอาห์มัดอัก กุนดูซ กล่าวว่า ข้อกล่าวหาว่าสุลตานมูฮัมมัด อัลฟาติห์ สังหารน้องชายตัวเองที่มีอายุเพียง 6 เดือนนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ที่แม้แต่นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันก็ยังปฏิเสธ
เขายืนยันอีกว่าข้อมูลเท็จเหล่านี้ ถูกบันทึกเป็นครั้งแรกโดยนักบูรพาคดีชาวออสเตรีย ชื่อ Joseph von Hammer (เสียชีวิตปี1856) ซึ่งได้บิดเบือนประวัติศาสตร์อิสลามโดยเฉพาะบรรดาสุลตานอุษมานียะฮ์ เขายังใส่ร้ายอีกว่าบรรดาสุลตานเป็นพวกกามวิปริตจิตวิตถารด้วยการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักด้วยซ้ำ
สุลตานมูฮัมมัด อัลฟาติห์ เปิดเมืองคอนสแตนติโนเปิลในปี 1453 ขณะที่มีอายุเพียง 21 ปีเท่านั้น ถือเป็นบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์อิสลามและเป็นบุคคลที่นะบีมูฮัมมัดแจ้งข่าวดีว่า เมืองคอนสแตนติโนเปิลจะถูกพิชิตอย่างแน่นอนผู้นำที่ดีที่สุดคือผู้นำของกองทัพนี้ และทหารที่ดีที่สุดคือทหารที่ร่วมสงครามในกองทัพนี้เช่นกัน (รายงานโดยฮากิม4/422 และอิมามอาห์มัด 4/ 355)
หน้าที่บิดเบือนใส่ไคล้อิสลามและผู้นำมุสลิม น่าจะเป็นภารกิจที่ศัตรูอิสลามสงวนลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ประชาชาติอิสลามไม่จำเป็นต้องแย่งชิงทำภารกิจนี้เลย
คำถามคือ สุลตานมูฮัมมัด อัลฟาติห์เสียชีวิตเมื่อ 500 ปีมาแล้ว ทำไม 3 ชาติอาหรับเพิ่งตื่นมาบิดเบือนประวัติศาสตร์ประชาชาติอิสลามในช่วงที่ประชาขาติอิสลามตกอยู่ในภาวะที่ระส่ำระสายที่สุดเหมือนทุกวันนี้
เรายังไม่หนำใจกับความอ่อนแออีกหรือ
เขียนโดย : ผศ.มัสลัน มาหะมะ