บทความ บทความวิชาการ

ราชสกุลออตโตมาน ความจริงที่ยิ่งกว่านิยาย

ราชวงศ์ออตโตมาน ตระกูลสูงศักดิ์ที่ถูกโค่นบัลลังก์ และถูกเนรเทศขับไล่ไสส่งออกจากประเทศ ต้องระเหเร่ร่อน ถูกหยามเหยียด ชนิดที่ไม่มีเลือดขัตติยาตระกูลใดในโลกเคยประสบชะตากรรมเฉกนี้

สิ่งที่พรรคประชาชนสาธารณะ CHP ของกามาล อะตาเติร์ก กระทำต่อราชวงศ์ออตโตมาน เป็นสิ่งที่ไม่มีผู้ใดเคยทำ ไม่ว่าจะเป็นกาฟิร มะยูซี หรือยิว

ไม่มีในประวัติศาสตร์ว่ามีกาฟิรใดกระทำต่อบรรพบุรุษของตน เหมือนกับที่พรรคนี้กระทำต่อลูกหลานของสุลต่านมุฮัมมัด ฟาติห์

พวกเขาเนรเทศ ขับไล่ไสส่งราชสกุลเหล่านี้ในยามราตรี ในชุดลำลอง ไปยังประเทศยุโรป

บุตรและภริยาสุลต่าน ต่อรองว่า ขอให้เนรเทศไปยังจอร์แดน อียิปต์ หรือซีเรียได้ไหม อย่าเนรเทศไปยังยุโรปเลย

แต่คำสั่งจากตะวันตกเด็ดขาดชัดเจน ไม่มีข้อแม้ ให้เนรเทศไปยังยุโรปเท่านั้น เพื่อต้องการแก้แค้นให้สาแก่ใจ และเหยียดหยามศักดิ์ศรีให้ถึงที่สุด

พวกเขาจึงเนรเทศราชสกุลเหล่านั้น บางส่วนก็ถูกส่งไปยังเทสซาโลนิกีในกรีซ ถิ่นที่เคยเป็นภูมิลำเนาของยิว บางส่วนก็ถูกส่งตัวไปยังยุโรป

พวกเขาเนรเทศสุลต่านวะฮีดุดดีน สุลต่านคนสุดท้ายของราชวงศ์ออตโตมาน พร้อมภริยาไปยังฝรั่งเศส ในตอนกลางคืน พร้อมกับได้ยึดทรัพย์สินทั้งหมด ให้ไปเพียงตัวเปล่าในชุดลำลอง ไม่มีเงินติดตัวแม้แต่สตางค์แดงเดียว

มีคำบอกเล่าว่า ลูกๆของสุลต่านได้ปิดหน้าปิดตาออกขอทานในกรุงปารีส เพื่อปิดบังไม่ให้คนรู้จัก

ในขณะที่สุลต่านเสียชีวิต ทางโบสถ์ของฝรั่งเศสได้ยึดศพท่านไว้เพื่อประกันหนี้ที่ท่านติดค้างอยู่กับห้างร้านต่างๆ ชาวมุสลิมที่นั่นจึงรวบรวมเงินจ่ายหนี้ดังกล่าว และนำศพใส่โลง ส่งไปฝังยังประเทศซีเรีย

หลังจากนั้น 20 ปี มีบุคคลแรกที่ออกตามหาพวกเขา นั่นคือ ชะฮีดนายกรัฐมนตรีอัดนาน แมนเดรส แห่งตุรกี ที่ได้เดินทางไปยังฝรั่งเศสเพื่อตามหาพวกเขาเหล่านั้น

เมื่อถึงไปยังฝรั่งเศส ก็ได้สอบถามถึงที่อยู่ของพวกเขา อัดนาน แมนเดรส กล่าวถามไปทั่วว่า บอกที่อยู่บิดามารดาของฉันหน่อย

ในที่สุด อัดนาน แมนเดรส ได้ไปถึงยังหมู่บ้านเล็กๆในกรุงปารีส ตรงไปที่สถานที่ล้างจานของโรงงานแห่งหนึ่ง จึงได้พบกับราชินีชาฟีเกาะฮ์ ภริยาสุลต่านอับดุลหะมีดที่ 2 ซึ่งมีอายุได้ 85 ปี และเจ้าหญิงอาอีชะฮ์ ธิดาสาว อายุ 60 ปี ทำงานล้างจานอยู่ในโรงงานนั้นด้วยค่าจ้างเพียงเล็กน้อย !

อัดนาน แมนเดรส ถึงกับร่ำไห้ด้วยความสงสาร พร้อมกับจูบมือของเลือดขัตติยาทั้งสอง

เจ้าหญิงอาอีชะฮ์จึงถามขึ้นว่า ท่านเป็นใคร
อัดนาน แมนเดรส ตอบว่า ผมเป็นนายกรัฐมนตรีตุรกีครับ
ได้ยินดังนั้น นางก็วางจานลง พลางกล่าวว่า ลูกเอ๋ย ไปอยู่ไหนมา ทำไมจึงได้มาช้านัก

ด้วยความดีใจอย่างที่สุด นางถึงกับเป็นลมหมดสติไปในเวลานั้นทันที

อัดนาน แมนเดรส กลับมายังแองการ่า กล่าวกับ ยะลาล บิยาร ว่า ฉันจะออกกฎหมายนิรโทษกรรม และนำตัวมารดากลับมายังตุรกี

ตอนแรก ยะลาล บิยาร ก็คัดค้าน แค่เมื่อเห็นความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของแมนเดรส ก็ยินยอม แต่มีเงื่อนไขว่า ให้กลับได้เฉพาะธิดาเท่านั้น ไม่รวมบุตรชายของสุลต่านอับดุลหะมีดและสุลต่านวะฮีดุดดีน

อัดนาน แมนเดรส ได้กลับไปยังปารีส นำตัวราชินีชะฟีเกาะฮ์และเจ้าหญิงอาอีชะฮ์กลับสู่ตุรกี ส่วนบรรดาบุตรชาย ได้กลับตุรกีในยุคที่นัจมุดดีน อัรบะกาน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและได้ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ท่านเหล่านั้น

หลังจากถูกปฏิวัติ ข้อหาส่วนหนึ่งที่อัดนาน แมนเดรส ถูกกล่าวหา ได้แก่ การขโมยสมบัติชาติไปอุปการะเลี้ยงดูราชินีและธิดาของสุลต่าน

ทั้งๆที่ในความเป็นจริง ทุกครั้งในวันอีด อัดนาน แมนเดรส จะไปเยี่ยมราชินีชะฟีเกาะฮ์และเจ้าหญิงอาอีชะฮ์ พร้อมจูบมือและมอบเงินส่วนตัวจากเงินเดือนของตนเอง ให้แก่ทั้งสองท่านๆ ละ 10,000 ลีร่า

ชะฮีดอัดนาน แมนเดรส ถูกประหารชีวิตในวันที่ 17 กันยายน 1961

หลังจากนั้นเพียงวันเดียว ในวันที่ 18 กันยายน 1961 มีคนไปพบศพของราชินีชะฟีเกาะฮ์และเจ้าหญิงอาอิชะฮ์ เสียชีวิตอยู่ในสภาพสุยูดในขณะละหมาด…

ขอให้อัลลอฮ์เมตตา และรับความเป็นชะฮีดของท่านอัดนาน แมนเดรส วีรบุรุษแห่งออตโตมานด้วยเทอญ

ขอให้อัลลอฮ์เมตตาสายสกุลสุลต่านออตโตมานทุกท่าน ที่ยอมสละบัลลังก์ อำนาจวาสนา และยศถาบรรดาศักดิ์…เพียงเพื่อพิทักษ์รักษาอัลอักซอ ไว้จนวินาทีสุดท้ายของบัลลังก์คอลีฟะฮ์ออตโตมาน ที่สืบทอดมายาวนานกว่า 600 ปี …


เขียนโดย Ghazali Benmad