อดีต 3 เผด็จการอียิปต์ นัสเซอร์ ซาดัต มุบาร๊อก ที่เคยยิ่งใหญ่จนวันตาย แต่วันนี้ไร้คนคิดถึง และสรรพเสียงเสียใจกับการจากไป
ในขณะที่มุรซีย์ ผู้นำอียิปต์ที่ตายคาคุกเผด็จการซีซี และมุบมิบปิดบังแอบฝังศพอย่างไร้พิธี ผิดธรรมเนียมปฏิบัติต่ออดีตผู้นำประเทศ
ที่วันนี้ (17 มิถุนายน 2563) คนล้นหลามหลายล้านคนจากทั่วโลก พากันแสดงความเสียใจ แซ่ซ้องคุณงามความดีและขอดุอาอ์ให้
37 ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับมุรซี
1) ดร.มุฮัมมัด มุรซี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านวิศวกรรม เอกการดูแลรักษาเครื่องยนต์ยานอวกาศ มหาวิทยาลัยเซาต์แคลิฟอร์เนีย อเมริกา เป็นนักวิจัยคนสำคัญของมหาวิทยาลัยที่นีล อารมสตรอง มนุษย์คนแรกที่ขึ้นดวงจันทร์สำเร็จการศึกษา
2) รอยเตอร์วิเคราะห์ “ปีเดียวที่ปกครองทำให้มุรซีเข้าในอนุสรณ์ประวัติศาสตร์”
3) เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีอียิปต์ครั้งแรกในระบอบประชาธิปไตยที่ไม่อยู่ในการควบคุมของทหาร นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 1952
4) ท่องจำคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่ม ที่หมู่บ้านอุดวะฮ์บ้านเกิด ในจังหวัดชัรกียะฮ์ และจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรม มหาวิทยาลัย ด้วยคะแนนเกียรตินิยม ทำให้ได้บรรจุเป็นอาจารย์โดยอัตโนมัติ
5) ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2012 และถูกปฏิวัติในปี 2013 หลังจากมีการจัดตั้งและปลุกระดมมวลชนให้ออกมาประท้วงต่อต้าน จนมาเสียชีวิตในปี 2019 ขณะขึ้นศาลพิจารณาในความผิดข้อหาจารกรรมข้อมูลให้กับกาตาร์และฮามาส แต่ที่ประหลาดคือ คำพูดสุดท้ายในศาลของมุรซี ก่อนเสียชีวิตคือ
بلادي وإن جارت علي عزيزة وأهلي وإن ضنوا علي كرام
“โอ้ว่าประเทศที่ฉันรัก
แม้เธอจะกดขี่ต่อฉันสักเพียงไหน
เธอก็ยังสูงเกียรติและยิ่งใหญ่
ในสายตาคนอย่างฉัน
โอ้พี่น้องที่ฉันรัก
แม้พวกท่านจะทำร้ายฉันหนักเพียงไหน
พวกท่านก็ยังสูงเกียรติและยิ่งใหญ่
ในสายตาคนอย่างฉัน”
ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่จะกล่าวบทกวีนี้ มุรซีแจ้งต่อศาลว่า มีข้อมูลลับที่ทำให้ตนเองพ้นผิดได้ แต่จะไม่พูดที่นี่เพราะจะกระทบกับความมั่นคง ขอให้จัดวาระพิเศษเพื่อชี้แจง
6) วันเสียชีวิตของมุรซี ตรงกับวันเสียชีวิตของท่านอุษมาน บินอัฟฟาน ทั้งสองท่านมีจุดเด่นเหมือนกันที่พยายามหลีกเลี่ยงการนองเลือด
สำนักข่าว แอสโซเสตเพรส กล่าวว่า นายทหารอียิปต์บอกว่า มุรซีสั่งไม่ให้ทหารใช้กำลังในการแก้ปัญหาที่ซีนาย
7) ในขณะที่อียิปต์สั่งห้ามละหมาดศพ และร่วมพิธีฝังศพในอียิปต์ ในขณะที่ประเทศต่างๆ นับสิบๆ ประเทศทั่วโลก ทั้งมัสยิดอักซอ อินเดีย ปากีสถาน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อเมริกา อังกฤษ แคนาดา เยอรมัน และประเทศอาหรับส่วนใหญ่
รัฐบาลอียิปต์ต้องการให้ข่าวการเสียชีวิตของมุรซีเป็นข่าวเล็กๆ ผ่านแล้วผ่านเลย สื่อมวลชนอียิปต์ทั้งของรัฐและเอกชนเสนอเป็นข่าวย่อยในมุมเล็กๆ ของสื่อสิ่งพิมพ์ แต่กลับได้รับความสนใจอย่างสูงจากสังคมโลก
9) ขณะเริ่มพิจารณาคดีในชั้นศาล หลังถูกปฏิวัติ มุรซีไม่ยอมรับการดำเนินคดี พร้อมกล่าวท้าทายศาลว่า “ผมคือ ดร.มุฮัมมัด มุรซี ประธานาธิบดีอียิปต์ แต่มีการก่อกบฏโดยคณะทหาร แกนนำกบฏควรถูกนำมาขึ้นศาลที่นี่มากกว่า” ทำให้หลังจากนั้น มีการจัดทำตู้กระจกทีบเก็บเสียงไม่ให้มุรซีพูดกับผู้ใดได้อีก
10) มุรซีที่ถูกกล่าวว่าเป็นกลุ่มอิควาน แต่ความจริงได้เสนอตำแหน่งรองประธานาธิบดีและรัฐมนตรีให้แก่กลุ่มต่างๆ ทั้งกลุ่มฝ่ายซ้าย กลุ่มผู้ประท้วง กลุ่มเสรีนิยม กลุ่มประชาสังคม กลุ่มนักเคลื่อนไหวการเมือง แม้ว่าคนเหล่านั้นไม่ยอมรับก็ตาม
11) ในยุคมุรซีมีการผลิตข้าวสาลีในปริมาณสูงขึ้น ด้วยการส่งเสริมเกษตรกร
12) มีการลดการนำเข้า เพิ่มสินค้าส่งออก และจำนวนนักท่องเที่ยวก็เพิ่มมากขึ้น
13) มีการปลดหนี้เกษตรกร และเพิ่มค่าจ้าง
14) ในเวลาไม่กี่เดือน สามารถแก้ปัญหาระบบจัดสรรการปันส่วนอาหารที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐ อันเป็นปัฐหาเรื้อรังมาตั้งแต่ยุคซาดัตตลอดถึงยุคมุบาร๊อก อันเคยทำให้เกิดการประท้วงมาแล้วในอดีต
15) มูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นจาก 170 พันล้านปอนด์อียิปต์ เป็นมูลค่ามากกว่า 180 พันล้าน น้ำมันส่งออกเพิ่มขึ้น 21 % จีดีพีเพิ่มขึ้นจาก 1.8 เป็น 2.4
16) สื่อได้รับเสรีภาพอย่างไม่เคยมีมาก่อน ก่อนจะถูกยกเลิกไปหลังรัฐประหาร มีการลงเลิกโทษกักขังชั่วคราวในความผิดหมิ่นประมาทประธานาธิบดี และปล่อยตัวผู้สื่อข่าวที่ถูกกักขังในวันที่แก้ไขกฎหมายดังกล่าวทันที
17) แต่งตั้งกรรมการสอบสวนความผิดของมุบาร๊อกในการสังหารผู้ชุมนุมต่อต้าน และผลสอบสวนมีมติว่ามีความผิด แต่ถูกศาลพิพากษาให้พ้นผิดในยุคซีซี
18) ออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้เข้าร่วมการประท้วง ในปี 2011-2012 ยกเว้นคดีฆ่าคนตาย
19) ปี 2012 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เป็นฉบับแรกของอียิปต์
20) ในยุคมุรซี ชาวอียิปต์ได้เห็นขบวนรถประธานาธิบดีจำนวน 2 คัน พร้อมมอเตอร์ไซต์ 2 คัน
21) เป็นประธานาธิบดีโลกอาหรับคนแรกที่อาศัยอยู่ในบ้านเช่าตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่ง และปฏิเสธที่จะเข้าพักในทำเนียบประธานาธิบดี
22) ทำตัวปกติเหมือนประชาชนทั่วไป น้องชายยังคงเป็นเกษตรกรทำนา พี่สาวเสียชีวิตในโรงพยาบาลเล็กๆ ของรัฐ ลูกชายไปทำงานหาเงินยังต่างประเทศ
23) ประเทศแรกที่มุรซีไปเยี่ยมหลังรับตำแหน่ง คือซาอุดิอาระเบียเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีผลกระทบจากอาหรับสปริงส์ แต่ซาอุดีอาระเบียก็ยังคงเป็นผู้สนับสนุนงบหลักแก่ฝ่ายปฏิวัติ
24) มุรซีสนับสนุนอาหรับสปริงส์ทุกประเทศ และออกกฎหมายให้ดูแลชาวซีเรียอพยพเช่นเดียวกับชาวอียิปต์ทั้งในด้านการศึกษา การรักษาพยาบาลและอื่นๆ
25) ฉนวนกาซ่าไม่เคยได้ใช้ชีวิตอย่างดีเท่ากับยุคมุรซี และเปิดด่านให้ชาวปาเลสไตน์และสินค้าเข้าออกผ่านชายแดนได้
26) ในปี 2012 มุรซีชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี ด้วยคะแนน 51.7 ในประเทศที่ประธานาธิบดีชนะเลือกตั้งด้วยคะแนน 99.99 %
27) สาบานตนดำรงประธานาธิบดีที่จตุรัสตะห์รีร ซึ่งเป็นสถานที่ประท้วงหลักในยุคโค่นมุบาร๊อก
28) มุรซีไม่ได้ต้องการลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่ต้องลงตามมติของกลุ่มอิควาน
29) มุรซีเคยเป็น สส. ในปี 2000 และเป็นหัวหน้าคณะ สส. ของพรรค
30) มุรซีเคยถูกจับกุมมาก่อนหน้านี้หลายๆครั้ง ในปี 2006 ถูกจำคุก 7 เดือน ในความผิดประท้วงสนับสนุนความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ตลอดจนถูกจำคุกในปี 2011
31) เป็นหัวหน้าพรรคคนแรกของพรรคที่เป็นตัวแทนกลุ่มอิควานในอียิปต์
32) ร่วมตั้งกลุ่มกิฟายะฮ์ ต่อต้านการต่อวาระของมุบาร๊อก ในปี 2004 และตั้งกลุ่มอียิปต์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ร่วมกับ ดร.มุฮัมมัด อัลบาราได ในปี 2010
33) เป็นโฆษกกลุ่มอิควานมุสลิมีน และคณะกรรมการนโยบาย – มักตับอิรชาด – ในปี 2010
34) เคยเป็นอาจารย์สอนในอเมริกาหลายๆ มหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยเซาต์แคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียนอร์จริจ ลอสแอนเจลิส และมหาวิทยาลัยฟาติห์ในลิเบีย
35) เริ่มเป็นสมาชิกกลุ่มอิควานมุสลิมีน ในปี 1977
36) กลับมาอียิปต์ในปี 1985 สอนและเป็นหัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรม ที่มหาวิทยาลัยซากอซีก อียิปต์ จนกระทั่ง ปี 2010
37) เกณฑ์ทหารในปี 1975- 1976
เครดิต
เว็บไซต์อัลจาซีร่า
หมายเหตุ
ดูคลิปเกี่ยวกับมุรซีย์ใน
เขียนโดย Ghazal Benmad