● เฉลียง ประวัติศาสตร์ : สนธิสัญญาโลซาน ข้อตกลงที่ก่อให้เกิดประเทศในตะวันออกกลางนั้นใกล้จะล่มสลายหรือไม่ ?
○ โดย อัลจาซีร่า
เดวิด ฟรอมกิ้น David Fromkin กล่าวว่า ยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ตระหนักถึงการมีอยู่และความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ในไม่ช้าผู้นำพันธมิตรก็ได้เริ่มวางแผนที่จะรวมประเทศในตะวันออกกลางเข้ากับประเทศของตน และได้ตระหนักว่าอำนาจของศาสนาอิสลามในภูมิภาคนั้นเป็นลักษณะสำคัญของการเมืองในตะวันออกกลาง พวกเขาจึงสร้างคู่แข่งด้านความภักดี (เชื้อชาติ) เพื่อมาทดแทนสถานภาพดังกล่าวของศาสนาอิสลาม
อย่างไรก็ตามจาก เดวิด ฟรอมกิ้น เห็นว่า ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาอิสลามของนักการเมืองยุโรปเหล่านี้มีน้อยอย่างยิ่ง เนื่องจากลักษณะเฉพาะของภูมิภาค – หลังจากล่มสลายของออตโตมันอันเป็นแหล่งที่มาของความชอบธรรมทางศาสนาในประวัติศาสตร์ – คือ ไม่มีความรู้สึกถึงความชอบธรรม ไม่มีความศรัทธาหนึ่งเดียวที่นักการเมืองทุกคนมีส่วนร่วม และไม่มีกฎระเบียบที่ชัดเจนของเกมส์ทางการเมือง [8]
เหตุผลหลักที่ศาสนาอิสลามมีจุดเด่นในบริบทนี้ ในฐานะปัจจัยสำคัญร่วมกันของอัตลักษณ์ผู้คนและภูมิภาค ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญตะวันตกในกิจการของโลกอิสลาม ได้แก่ อิทธิพลของศาสนาอิสลามต่ออำนาจรัฐและปัจเจกบุคคล และความสัมพันธ์ชนิดพิเศษในศาสนาอิสลาม ระหว่างศาสนากับการเมือง ความศรัทธาและอำนาจ ชนิดที่ไม่มีในศาสนาอื่นนอกศาสนาอิสลาม ดังที่เบอร์นาร์ด เลวิส นักบูรพาคดีคนดัง ได้กล่าวไว้ ว่าชาวมุสลิมยังคงมีความตระหนักอย่างลึกซึ้งและยั่งยืน เกี่ยวกับแนวคิดความเป็นประชาคมมุสลิม (ที่เหนือกว่าเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์) แม้ว่าจะยังไม่ประสบความสำเร็จในมิติทางการเมือง ดังที่ Claude Kahn นักบูรพาคดีชาวฝรั่งเศส ได้กล่าวไว้ [9]
ในบริบทนี้ อังเดร มิเกล André Miquel หนึ่งในบุคคลที่โดดเด่นที่สุดในการศึกษาอาหรับและอิสลาม นักประวัติศาสตร์และนักบูรพาคดีชาวฝรั่งเศส กล่าวว่า ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่แบ่งแยกไม่ได้ และไม่สามารถแยกความเป็นคำสอนทางศาสนา ออกจากการใช้ชีวิตในสังคม เนื่องจากในสายตาของชาวมุสลิมไม่มีการแบ่งแยกระหว่างชีวิตประจำวันกับจิตวิญญาณ มิเคลเชื่อว่าปัจจัยทางวัสดุและประวัติศาสตร์ ดูเหมือนจะมีอิทธิพลต่อศาสนาอิสลามน้อยกว่าและตื้นกว่า เมื่อเทียบกับสังคมอื่น และศาสนาอิสลามในระดับวัฒนธรรม เป็นป้อมปราการที่มีอานุภาพอย่างมากในการเผชิญกับการคุกคามจากวัฒนธรรมต่างประเทศ และจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของสังคม ภายใต้รัฐระบบของสังคม สถานที่และเวลาที่แตกต่าง ศาสนาอิสลามได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่ยอดเยี่ยมในการชี้ชัดถึงหลักการที่มีความเสถียร อันทำให้สามารถกำหนดอัตลักษณ์ให้เป็นที่รู้จักได้เสมอ [10]
● สนธิสัญญาโลซานน์นำไปสู่การสร้างวิกฤตการณ์เรื้อรังในความชอบธรรมของรัฐใหม่ การสังหารหมู่ และการบังคับให้ย้ายถิ่นฐานของชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาคริสต์
สนธิสัญญาโลซานก็เหมือนสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลียในศตวรรษที่ 17 ที่จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ในตะวันออกกลาง ตลอดจนกำหนดขอบเขตของความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับอาณาจักรในตุรกีและในโลกอาหรับ ที่ได้รับอิทธิพลจากรัฐคอลีฟะฮ์ที่สิ้นลมหายใจสุดท้ายในตะวันออกกลาง ยิ่งไปกว่านั้นรัฐคอลีฟะฮ์ยังเป็นผู้เล่นหลักของความขัดแย้งในตะวันออกกลางปัจจุบัน และเป็นเป้าหมายของการต่อต้านในแต่ละปีเป็นเวลาหลายทศวรรษ ในถนนของกรุงไคโร ชนบทของอเลปโป ดามัสกัส ตรอกซอกซอยเบรุต และริมฝั่งแม่น้ำไทกริส ยูเฟรติสและแม่น้ำจอร์แดน ที่สายตาของตะวันตกไม่ได้คาดคิดไปไกลถึงอนาคตที่เต็มไปด้วยปัญหาเพื่อวางมาตรการแก้ไข [11]
ตรงกันข้ามกับรัฐชาติฆราวาส ที่ตั้งขึ้นตามสนธิสัญญา “เวสต์ฟาเลียน” ซึ่งไม่ได้มีความหลากหลายของอัตลักษณ์ของพลเมือง โดยที่สนธิสัญญาดังกล่าวได้จัดระเบียบอำนาจปกครอง และความสัมพันธ์ทางสังคมในยุโรป เสนอทางออกสุดท้ายที่เป็นไปได้จริงในการรับมือกับปัญหาสงครามศาสนาและนิกาย ระหว่างนิกายโปรเตสแตนต์และคาทอลิกที่คุกคามอนาคตของสังคมคริสเตียน
สนธิสัญญาโลซานซึ่งถูกบังคับใช้ในดินแดนของจักรวรรดิออตโตมันอันมีหลากหลายเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ – เป็นตัวแทนของโครงสร้างทางการเมืองที่มีเสถียรภาพมาก เมื่อเทียบกับสังคมยุโรปที่ร้าวฉานเพราะสงครามทางศาสนา – อันจะสร้างวิกฤตเรื้อรังในด้านความชอบธรรม การสังหารหมู่ การบังคับย้ายถิ่นฐานของชนกลุ่มน้อยชาวคริสเตียนในการแลกเปลี่ยนประชากรจำนวนมาก ทำให้เกิดเป็นความวิตกกังวลโดยรวมทั่วไป ตลอดจนการต่อสู้อย่างถาวรเพื่อหาอัตลักษณ์ในภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีความหลากหลายในทางเชื้อชาติและศาสนา ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ คนๆหนึ่งจะรู้สึกว่าอยู่ในดินแดนของตัวเอง ในเวลาเกียวกันเขาเป็นทั้งยิวและอาหรับ เพียงเพราะเขาพูดภาษาอาหรับ หรือเป็นทั้งคริสเตียนและออตโตมัน ในเวลาเดียวกัน เพราะเขาทั้งพูดภาษาอาหรับ กรีกหรือตุรกี [12]
● ผลลัพธ์หลักของข้อตกลงโลซานน์คือการแบ่งจักรวรรดิออตโตมันออกเป็น 2 ส่วนหลัก ตามภาษาหลัก : ภูมิภาคตุรกีทางเหนือและภูมิภาคอาหรับทางใต้
ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เกิดขึ้นในตุรกี ที่ขบวนการชาตินิยมที่แข็งแกร่งได้ก่อตัวขึ้น และได้หันมาร่วมเชิดชูมุสตาฟาเคมาล อาตาเติร์ก
ภูมิภาคอาหรับที่อ่อนแอ ถูกแบ่งออกเป็นรัฐและเขตปกครองตนเอง ตามที่อังกฤษ ฝรั่งเศสและตัวแทนท้องถิ่นของพวกเขาเสนอ
ด้วยวิธีนี้ อาณาจักรออตโตมันที่มีอิทธิพลควบคุมโครงสร้างทางการเมืองของตะวันออกกลางเกือบสี่ร้อยปี จึงได้หายไปจากแผนที่โลกดังที่ แมรี่ วิลสัน นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันกล่าวไว้ [13]
( จบตอน 2 )
อ่านตอนที่ 1 https://www.theustaz.com/?p=3001
อ่านตอนที่ 2 https://www.theustaz.com/?p=3073
อ่านตอนที่ 3 https://www.theustaz.com/?p=3116
อ่านตอนที่ 4 https://www.theustaz.com/?p=3124
อ่านตอนที่ 5 https://www.theustaz.com/?p=3127
อ่านต้นฉบับ https://midan.aljazeera.net/…/2020/2/20/مئة-عام-من-التيه-ال…