วิถีมุสลิม วิถีชีวิต

ในมุสลิมคนเดียวกัน เป็นได้ทั้งนักพรต นักธุรกิจ นักบริหาร นักปกครอง หัวหน้าครอบครัว นักรบ นักเผยแผ่ศาสนา นักการเมือง ผู้นำองค์กร แม้กระทั่งผู้นำประเทศ 

มุสลิมจึงเป็นคนที่สามารถครองตน ครองคน ครองงาน ครองเรือนและครองธรรมในตัวคนเดียวกัน ความเป็นมุสลิมจึงสามารถบูรณาการสีสันชีวิตเหล่านี้ให้เป็นเนื้อเดียวกันอย่างผสมผสานจนแยกไม่ออก เหมือนสายน้ำฝนที่ตกลงจากฟากฟ้า ที่ไม่สามารถแยกแยะว่าเม็ดไหนที่ให้ประโยชน์มากกว่ากัน เพราะในทุกอิริยาบถและสถานะของมุสลิม เขาจะต้องศิโรราบกับพระเจ้าองค์เดียวกัน มีต้นแบบจากนบีคนเดียวกัน และมีหลักปฏิบัติและบทสวดทางศาสนธรรมที่ต้องยึดถือกับเนื้อหาสาระฉบับเดียวกัน

มุสลิมจึงเป็นนักพรตยามค่ำคืน และอัศวินในกลางวันได้อย่างไม่เคอะเขินและปิดบัง เขาสามารถร่วมหลับนอนเสพสุขกับภรรยา แล้วตื่นขึ้นมาขอสารภาพผิดต่ออัลลอฮ์จากความผิดพลาดและความเผลอเรอของเขาด้วยหัวใจที่สำรวมและยำเกรง หลังจากชำระร่างกายอย่างถูกต้อง เพราะอิสลามถือว่า อารมณ์กิเลสเป็นสิ่งที่ถูกประดับประดามาควบคู่กับมนุษย์มาแต่ดั้งเดิมอยู่แล้ว ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ย่อมตัดกิเลสไม่พ้น ไม่ว่ากิเลสทางอารมณ์ใคร่ กิเลสในการครอบครองทรัพย์สิน กิเลสในการมีลูกหลานและเหล่าบริวาร กิเลสในอำนาจลาภยศ เป็นต้น ดังนั้นอิสลามจึงไม่มีคำสอนที่ให้มนุษย์ดับกิเลส หรือสอนให้ปล่อยวางกับสิ่งเย้ายวนเหล่านั้น แต่อิสลามเสนอคำสอนให้มีการควบคุมกิเลสพร้อมสอนให้จับต้องสิ่งเหล่านี้อย่างมีสติและไม่ติดยึด พร้อมกำหนดพื้นที่และขอบเขตให้เล่นตามกติกาที่ได้วางไว้ มุสลิมจึงสามารถแต่งงานมีภรรยาได้ถึง 4 คนหากมีเงื่อนไขเพียบพร้อม สามารถเก็บออมและเป็นเจ้าของธุรกิจพันล้านและทรัพย์สินอันมากมาย ตราบใดที่อยู่ในครรลองคลองธรรม สามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำสังคมแม้กระทั่งผู้นำประเทศ ตราบใดมีคุณสมบัติอันพึงประสงค์และปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามารถ

มุสลิมจึงไม่มีด้านมืดและด้านสว่าง ด้านที่ปกปิดและด้านที่เปิดเผยในเวลาเดียวกัน  เขาจึงไม่มีอะไรจะปิดบัง เพราะเขามั่นใจว่า วันหนึ่งเขาจะต้องผ่านการตรวจสอบจากพระองค์อัลลอฮ์ ผู้ทรงรอบรู้เท่านั้น

มุสลิมจึงไม่มีอาการเก็บกดหรือเกิดอาการปฏิกิริยาโต้กลับ ประหนึ่งกลับจากเป็นผู้ทรงศีลที่ตบะแตก เนื่องจากทนกับสิ่งเย้ายวนไม่ไหว เพราะกิจวัตรประจำวันของมุสลิมคือวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ ที่มีทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ความต้องการและจิตวิญญาณ โดยที่อิสลามได้ให้คำสอนที่สามารถตอบสนองความเป็นมนุษย์ได้อย่างครบครันและสมบูรณ์อยู่แล้ว ไม่ใช่ไปเน้นส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วละเลยอีกส่วนหนึ่ง 

ทั้งหลายทั้งปวง เนื่องจากอิสลามเป็นศาสนาของอัลลอฮ์ ผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่ง ดังนั้นพระองค์เท่านั้นที่ทรงรอบรู้ความต้องการที่แท้จริงของมนุษย์ และพระองค์ทรงรอบรู้ว่า คำสอนที่สอดคล้องกับธรรมชาติของความเป็นมนุษย์นั้นจะต้องเป็นคำสอนอย่างไร 

“แท้จริง ศาสนา ณ อัลลอฮ์คืออิสลาม”


โดย Mazlan Muhammad

แผนทำลายอารยธรรม ที่ผู้ทำลายอาจเป็น “เรา”

ชาวจีนในอดีต ได้สร้างกำแพงเมืองจีน ซึ่งถือเป็นปราการฝีมือมนุษย์ที่กลายเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางเพื่อป้องกันการรุกรานจากอริราชศัตรู แต่หลังเวลาผ่านไปร้อยปี จีนโดนบุกโจมตีจากกำแพงหมื่นลี้นี้อย่างน้อย 3 ครั้ง 

ศัตรูไม่มีทางบุกฝ่ากำแพงอันแข็งแกร่งได้ แต่พวกเขาใช้วิธีติดสินบนยามรักษาการณ์ เป็นใบเบิกทาง

พวกเขาสร้างกำแพงได้ แต่ลืมสร้างมนุษย์ที่จะมาปกป้องกำแพง

ทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนา

กล่าวกันว่า หากต้องการทำลายอารยธรรมชนชาติใด ให้ปฏิบัติ 3 ประการนี้

1. ทำลายสถาบันครอบครัว

2. ทำลายสถาบันการศึกษา

3. ทำลายแบบอย่างหรือสัญลักษณ์ความภาคภูมิใจ

มาตรการทำลายสถาบันครอบครัวที่มีผลมากที่สุดคือทำลายบทบาทของแม่ และให้แม่ทุกคน มีความละอายที่ถูกเรียกว่า “แม่บ้าน”

มาตรการทำลายสถาบันการศึกษาคือลดบทบาทของความเป็นครู และให้ครูเป็นอาชีพไร้เกียรติแม้กระทั่งในสายตาของลูกศิษย์ก็ตาม

มาตรการทำลายแบบอย่างหรือสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจ ด้วยการทำลายเกียรติภูมิของผู้รู้ โจมตีใส่ไคล้ผู้นำทุกวงการ ทั้งด้านศาสนา การเมือง นักคิด นักฟื้นฟู  นักเผยแผ่และอื่น ๆ ให้เป็นบุคคลล้มละลายทางประวัติศาสตร์ จนกระทั่งพวกเขาเป็นประชาชาติที่ไร้ต้นแบบและขาดแคลนผู้นำทางจิตวิญญาณที่แท้จริง พร้อม ๆ กับสร้างผู้นำจอมปลอมเป็นการทดแทน

หากสังคมไร้ “มารดาผู้ห่วงใย” “คุณครูผู้เมตตา” และ “แบบอย่างที่ดี” แล้วใครเล่าจะคอยอบรมสั่งสอนลูกหลานของเรา

เรียบเรียงจาก

كتاب قراءة المستقبل

الدكتور مصطفى محمود


โดย Mazlan Muhammad

ศาสตร์อิสลามว่าด้วยการเลี้ยงลูก [ตอนที่ 4]

การสอนลูกให้มีความซื่อสัตย์

ท่านนบี ศอลฯ และซอฮาบะฮ์ ฝึกเด็ก ๆ ให้เป็นคนซื่อสัตย์ ไว้วางใจได้ โดยการให้รักษาความลับบางประการ

ท่านอานัส บินมาลิก ซึ่งเป็นซอฮาบะฮ์รุ่นเด็กเล็ก ที่อุมมุาลัยม์ มารดา ได้ฝากให้คอยรับใช้ท่านนบี ศอลฯ ที่บ้านของท่าน

อานัส บินมาลิก กล่าวว่า “ท่านนบี ศอลฯ ได้บอกความลับบางอย่างแก่ฉัน  และฉันไม่บอกแก่ใครเลย อุมมุสุลัยม์ (มารดาของอานัส) ได้ถามฉัน แต่ฉันก็ไม่บอกแก่นาง” หะดีษรายงานโดยบุคอรีย์

قال أنس  أسرّ إليّ النبي -صلى الله عليه و سلم- سِرّاً، فما أخبرت به أحدا بعده، ولقد سألتني أم سليم رضي الله عنها فما أخبرتها به رواه البخاري

บุคอรีย์และมุสลิมได้เล่ารายละเอียดเหตุการณ์นี้ว่า

عن ثابت عن أنس بن مالك رضي الله عنه قال: “أتى عليّ رسول الله -صلى الله عليه وسلم- وأنا ألعب مع الغلمان، فسلّم علينا فبعثني إلى حاجة فأبطأت على أمي، فلما جئتُ قالت: ما حبسك؟، قلت: بعثني رسول الله -صلى الله عليه وسلم- لحاجة، قالت: ما حاجته؟، قلت: إنها سر!!، قالت: لا تخبرنّ بسر رسول الله -صلى الله عليه وسلم- أحدا،  ” متفق عليه واللفظ لمسلم .

“ในขณะที่ฉันเล่นอยู่กับเด็ก ๆ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศอลฯ ได้มาหาและให้สล่ามแก่ฉัน แล้วให้ฉันไปทำธุระบางอย่าง  ทำให้ฉันกลับไปหาแม่ช้า เมื่อไปถึงแม่ก็ถามว่า “ทำไมกลับช้า” ฉันตอบว่า “ผมมีธุระบางอย่างครับ” คุณแม่ถามต่อว่า “ธุระอะไรล่ะ” ฉันตอบว่า “มันเป็นความลับ” คุณแม่จึงกล่าวว่า “เธออย่าได้บอกความลับของท่านรอซูลุลลอฮ์ให้แก่ผู้ใดทราบแม้แต่คนเดียว”


โดย Ghazali Benmad

ศาสตร์อิสลามว่าด้วยการเลี้ยงลูก [ตอนที่ 3]

การรักลูกไม่เท่าเทียมกัน

การลำเอียงรักลูกไม่เท่าเทียมกัน จะทำให้ครอบครัวระหองระแหงขาดความปรองดองสมานฉันท์ได้

อิสลามจึงห้ามการกระทำดังกล่าว ไม่ว่าในเรื่องเล็กน้อยหรือเรื่องใหญ่ๆ

อิบนุอะบิดดุนยา รายงานว่า ในขณะที่ท่านรอซูลุลลอฮ์  ศอลฯ กำลังสนทนาอยู่กับบรรดาศอฮาบะฮ์ ก็มีเด็กชายคนหนึ่งมาหาบิดาของเขาในกลุ่มคนดังกล่าว บิดาก็ลูบศีรษะลูกชายแล้วให้นั่งลงบนขาข้างขวา สักพักหนึ่งก็มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง (เป็นลูกสาวของเขา) เข้ามาหาเขาอีก  เขาก็ลูบศีรษะแล้วให้นั่งลงบนพื้น 

ท่านรอซูลุลลอฮ์  ศอลฯ จึงกล่าวว่า”ท่านน่าจะให้นั่งบนขาอีกข้างหนึ่งนะ” เขาจึงอุ้มเธอให้นั่งลงบนขาอีกข้าง

ท่านรอซูลุลลอฮ์  ศอลฯ จึงกล่าวว่า “อืม ตอนนี้แหละ ท่านยุติธรรมแล้ว”และมีปรากฏในหะดีษรายงานโดยบุคอรีย์และมุสลิมว่า

عن النُّعْمَانَ بْنَ بَشِيرٍ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا أنه قال – وَهُوَ عَلَى الْمِنْبَرِ -: أَعْطَانِي أَبِي عَطِيَّةً، فَقَالَتْ عَمْرَةُ بِنْتُ رَوَاحَةَ: لَا أَرْضَى حَتَّى تُشْهِدَ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَأَتَى رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَقَالَ: إِنِّي أَعْطَيْتُ ابْنِي مِنْ عَمْرَةَ بِنْتِ رَوَاحَةَ عَطِيَّةً، فَأَمَرَتْنِي أَنْ أُشْهِدَكَ يَا رَسُولَ اللَّهِ. قَالَ: أَعْطَيْتَ سَائِرَ وَلَدِكَ مِثْلَ هَذَا؟ قَالَ: لَا. قَالَ: (فَاتَّقُوا اللَّهَ وَاعْدِلُوا بَيْنَ أَوْلَادِكُمْ ) قَالَ: فَرَجَعَ فَرَدَّ عَطِيَّتَهُ. متفق عليه. وفي رواية: ( لَا أَشْهَدُ عَلَى جَوْرٍ

จากนุอ์มาน บินบะชีร -รอดิยัลลอฮูอันฮู- ได้กล่าวในขณะที่อยู่บนมิมบัรว่า  “บิดาของฉันได้ให้บางอย่าง( เป็นทาสชายคนหนึ่ง) แก่ฉัน  อัมเราะห์ บินติรอวาฮะห์ (แม่ของนุอ์มาน) ได้กล่าวว่า  “ฉันไม่ยอมจนกว่าท่าน (หมายถึงบะชีร บิดาของนุอ์มาน) จะต้องให้ท่านรอซู้ล-ซ็อลลัลลอฮูอลัยฮีว่าซัลลัม- ได้รับรู้เป็นพยานเสียก่อน”  

บิดาของฉันจึงไปหาท่านรอซู้ล -ซ็อลลัลลอฮูอลัยฮีว่าซัลลัม- พลางกล่าวว่า “ฉันได้ให้สิ่งของอย่างหนึ่งแก่ลูกของฉันที่เกิดมาจาก อัมเราะห์ บินติรอวาฮะห์ แล้วนางก็ได้ใช้ให้ฉันมาให้ท่านเป็นพยานรับรู้”  

ท่านจึงได้ถามเขาว่า “ท่านให้ลูกของท่านคนอื่นๆเช่นเดียวกันหรือไม่?” 

เขาตอบว่า “ไม่ครับ”

ท่านจึงกล่าวว่า  “ท่านจงเกรงกลัวอัลลอฮ์ และจงให้ความยุติธรรมในระหว่างลูกๆของท่าน” 

ว่าแล้วเขา(บะชีร)ก็ได้กลับมาและเอาของที่ให้นั้นคืนไป

ในหะดีษอีกสายรายงานหนึ่งกล่าวว่า ท่านนบี -ซ็อลลัลลอฮูอลัยฮีว่าซัลลัม- กล่าวว่า  “ฉันจะไม่เป็นพยานในเรื่องที่อธรรม”


โดย Ghazali Benmad

 

ศาสตร์อิสลามว่าด้วยการเลี้ยงลูก [ตอนที่ 2]

สูตรทอง สามเจ็ด 

■■

ยอดเยี่ยมจริง ๆ สำหรับผู้ที่กล่าวว่า

لاعب ولدك سبعا

 وأدبه سبعا ،

 وصاحبه سبعا ،

ثم اجعل حبله على غاربه

“พึงเล่นกับลูก ๆ ในเจ็ดขวบปีแรก

แล้วอบรมบ่มนิสัยเขาในเจ็ดขวบปีต่อไป

และเป็นเพื่อนกับเขาในอีกเจ็ดปี

แล้วปล่อยเป็นอิสระหลังจากนั้น”

■■

อ้างอิง : มุฮัมมัดรอชีด ริฎอ , ในตัฟซีร “อัลมะนาร์” , เล่ม 5 หน้า 73-74


โดย Ghazali Benmad

ศาสตร์อิสลามว่าด้วยการเลี้ยงลูก [ตอนที่ 1]

ศาสตร์ว่าด้วยการเลี้ยงลูก เสาเข็มแรก ๆ ในการก่อสร้างสังคมคุณภาพ

วันหนึ่ง ผ้าขาวอาจเป็นแพรพรรณงามตาหรือผ้าขี้ริ้วโสโครก

“คุณเคยได้เห็นส่วนหนึ่งของเรือกสวนที่ถูกทอดทิ้ง แล้วทั้งวัชพืชและหญ้าหนามก็ผุดงอกขึ้นมา  กลายเป็นพื้นที่รกร้างที่ปลูกพืชไม่ได้หรือใช้กักเก็บน้ำก็ไม่ได้ 

และอีกแปลงหนึ่งที่ชาวนามืออาชีพ หมั่นปรับปรุงดินและไถหว่าน จนกลายเป็นสวนอันอุดมสมบูรณ์เขียวขจีงดงามตา

หนึ่งเป็นอุทาหรณ์สำหรับบุคคลและสังคม ที่ผู้มีหน้าที่อบรมบ่มนิสัยปล่อยปละละเลย และไม่สนใจกลไกการปรับปรุงและส่งเสริมพัฒนา และอีกหนึ่งนี้ สำหรับที่ดูแลและนำไปสู่เป้าหมาย”

  • อ้างอิง

หะซัน อัลบันนา

วารสารชุบบานมุสลิมีน ปี 1930


โดย Ghazali Benmad

จากนักข่าวที่อคติอิสลาม…สู่การเข้ารับอิสลาม

จะทำอย่างไรให้สังคมไทยบริโภคข่าวในลักษณะนี้บ้าง

โดยเฉพาะนักข่าวที่ชอบอ่านข่าวแบบมั่วซั่วบางคน ที่การศึกษาและชาติตระกูล ไม่ได้ช่วยให้เขามีทัศนคติเชิงบวกต่อเพื่อนร่วมโลก ยกเว้นกลุ่มที่เขาซูฮกว่าเป็น “ผู้ดี” เท่านั้น

Yvonn (Mariam) Ridley (63 ปี) หนึ่งในนักข่าวที่พกพาความอคติอิสลามเต็มสมอง ที่ถูกส่งตัวไปยังอัฟกานิสถาน เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ซึ่งเธอเอง ก็ไม่รู้ว่าด้วยซ้ำว่า ที่แท้เป็นการเดินทางสู่อิสลาม

เธอพูดประโยคทองตอนหนึ่งว่า

“ฉันได้ค้นพบว่า ในฐานะนักข่าว ฉันจะไม่มีทางที่จะพูดเรื่องราวในตะวันออกกลาง เอเชีย หรือทุกประเทศในโลกอิสลาม ก่อนที่ฉันจะศึกษาเกี่ยวกับอิสลาม”

อยากให้นักข่าวไทย (ที่มั่วๆบางคน) หันสนใจคำพูดของเธอบ้าง


โดย Mazlan Muhammad

ใครกันที่ละเมิดสิทธิมนุษยน

สตรีที่จีนถูกปฏิบัติเยี่ยงทาสอย่างทรมานนานนับศตวรรษ

สตรีโรฮิงญาถูกรุมโทรมและย่างสดสุดสยอง

สตรีที่อิรัก ซีเรียถูกย่ำยี ฉุดกระชากอย่างไร้มนุษยธรรม

สตรีที่ปาเลสไตน์ถูกทุบตีและทำร้ายโดยกลุ่มทรชนที่อำมหิตยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน

สตรีทั่วโลกถูกขบวนการธุรกิจค้ามนุษย์และค้ากามทำเป็นสินค้าที่สามารถเช่าซื้อและทิ้งขว้างเป็นว่าเล่น

#แต่โลกพากันวิตกกังวลเรื่องสตรีอัฟกันว่าจะถูกบังคับใส่ฮิญาบหรือไม่


โดย Mazlan Muhammad

กิยามะฮ์และต้นกล้า

นบีมูฮัมมัด صلى الله عليه وسلم กล่าวว่า

روى أحمد (12902) ، والبخاري في “الأدب المفرد” (479) ، وعبد بن حميد في “مسنده” (1216) ، والبزار في “مسنده” (7408) عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ( إِنْ قَامَتِ السَّاعَةُ وَفِي يَدِ أَحَدِكُمْ فَسِيلَةٌ، فَإِنِ اسْتَطَاعَ أَنْ لَا تَقُومَ حَتَّى يَغْرِسَهَا فَلْيَغْرِسْهَا ) .

ولفظ أحمد : ( إِنْ قَامَتْ عَلَى أَحَدِكُمُ الْقِيَامَةُ ، وَفِي يَدِهِ فَسِيلَةٌ فَلْيَغْرِسْهَا ) .

وصححه الألباني في “الصحيحة” (9) .

ความว่า :

หากผู้ใดประสบกับกิยามะฮ์ (ความอลหม่าน ปั่นป่วน) และในมือของเขามีต้นกล้า เขาจงปลูกมันเถิด

บทเรียนจากหะดีษนี้

       1.    กิยามะฮ์ ณ ตรงนี้อาจหมายถึงวันกิยามะฮ์ที่เป็นที่รู้กัน และอาจหมายถึงภาวะความสับสนอลหม่านที่เกิดขึ้นทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว สังคมหรือประเทศ สังเกตได้จากสำนวนหะดีษที่ว่า  إن قامت الساعة (หากวันกิยามะฮ์เกิดขึ้น) إن قامت على أحدكم القيامة (หากวันกิยามะฮ์เกิดขึ้นกับผู้ใด)

       2.    จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ปัจจุบัน ทุกคนเห็นพ้องกันว่า นี่คือภาวะความสับสนอลหม่านอันหนักหน่วงที่สุดที่รุมเร้ามนุษยชาติทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว สังคม ประเทศ ภูมิภาคและสากล  เราทุกคนรู้ดีหรืออาจประสบด้วยตนเอง

       3.    ท่ามกลางความสับสนอลหม่านของสังคมโลก นบีแห่งอิสลามได้สอนให้ผู้ศรัทธารู้จักใช้สติ มองอนาคตด้วยความหวัง มองโลกในแง่ดี ปลุกจิตสำนึกและเพิ่มพลังบวก ด้วยการแนะนำให้”ปลูกต้นกล้า” ให้งอกเงยไปทั่วโลกหล้า

       4.    “ต้นกล้า” ณ ที่นี้ หาใช่เป็นเพียงหน่อไม้หรือต้นอ่อนเพียงชนิดเดียว หากยังรวมถึง “ต้นกล้าแห่งความดีงาม” ที่เป็นต้นทุนซึ่งอาจถูกซุกซ่อนในแต่ละคนหรือสังคม เป็นต้นกล้าหรือเมล็ดพันธุ์ที่พร้อมงอกเงยอย่างสมบูรณ์ เมื่อถูกปักหรือหว่านลงในดินอันอุดมสมบูรณ์

       5.    มนุษย์ทุกคนมี “ต้นกล้า” ที่เขาสามารถปักลงบนดินเพื่อแพร่ขยายความดีงามให้อนุชนรุ่นหลังสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งเป็นทรัพย์สมบัติ ความรู้ ประสบการณ์ ผลงานและความดีงามต่างๆ ที่เขาสามารถแปลงเป็นเศาะดะเกาะฮ์ ญาริยะฮ์ (กุศลทานอันไหลริน)

       6.    นบีแห่งอิสลามไม่เคยสอนให้เราเป็นคนท้อแท้ สิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย โทษคนอื่นและงอมืองอเท้ารับมือโชคชะตาโดยไม่พยายามแก้ไขปัญหาอย่างสุดความสามารถ ทว่า สอนเราให้รู้จักใช้สถานการณ์วิกฤตให้เป็นโอกาส หมั่นเพาะปลูกต้นกล้าแห่งความดี แม้ว่าจะอยู่ในภาวะคับขันอันแสนสาหัสสักปานใดก็ตาม

       7.    จึงขอเชิญชวนพี่น้องที่กำลังประสบกับภาวะกิยามะฮ์แห่งโควิดขณะนี้ ลองสำรวจในตัวท่านและรอบๆตัวท่านว่า มี”หน่อไม้” หรือ “เมล็ดพันธุ” ชนิดไหนบ้างที่อยู่ในมือท่าน ที่ท่านพอมีความสามารถหว่านหรือปักมันลงในดินแห่งความดี วันนี้ท่านได้ใช้ทรัพย์สิน เงินทอง ตำแหน่งหน้าที่ ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ เพื่อเป็นกุศลทานให้ลูกหลานในวันข้างหน้าหรือยัง

#กิยามะฮ์เกิดขึ้นแล้ว

#แต่ในมือท่าน_ยังมีต้นกล้า


โดย Mazlan Muhammad

เกณฑ์การพิจารณาคน

อยากให้พี่น้องอ่านบทความนี้อย่างน้อย 5 จบครับ

(บทความ 3 ภาษา)

—————————-

قال الشيخ محب الدين الخطيب في مقدمته على ‘العواصم’ لابن العربي:

“والتاريخ الصادق لا يريد من أحد أن يرفع لأحد لواء الثناء والتقدير، لكنه يريد من كل من يتحدث عن رجاله أن يذكر لهم حسناتهم على قدرها، وأن يتقى الله في ذكر سيئاتهم فلا يبالغ فيها ولا ينخدع بما افتراه المغرضون من أكاذيبها.

نحن المسلمين لا نعتقد العصمة لأحد بعد رسول الله – صلى الله عليه وسلم -، وكل من ادعى العصمة لأحد بعد رسول الله – صلى الله عليه وسلم – فهو كاذب. فالإنسان إنسان، يصدر عنه ما يصدر عن الإنسان، فيكون منه الحق والخير، ويكون منه الباطل والشر.

وقد يكون الحق والخير في إنسان بنطاق واسع فيعد من أهل الحق والخير، ولا يمنع هذا من أن تكون له هفوات. وقد يكون الباطل والشر في إنسان آخر بنطاق واسع، فيعد من أهل الباطل والشر، ولا يمنع هذا من أن تبدر منه بوادر صالحات في بعض الأوقات.

يجب على من يتحدث عن أهل الحق والخير إذا علم لهم هفوات، أن لا ينسى ما غلب عليهم من الحق والخير، فلا يكفر ذلك كله من أجل تلك الهفوات.

ويجب على من يتحدث عن أهل الباطل والشر إذا علم لهم بوادر صالحات، أن لا يوهم الناس أنها من الصالحات من أجل تلك الشوارد الشاذة من أعمالهم الصالحات.”

مقدمة العواصم (46 – 47).

🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒

‎بركات الشيخ محب الدين الخطيب رحمه الله دالم مقدمة بليو كفد العواصم  كاريا ابن العربي رحمه الله

‎سجاره يڠ بنر، تيدق ممرلوكن ڤوجي- ڤوجين دري سسياڤ ڤون، تاڤي اڤ يڠ دڤرلوكن اياله اڬر كيت سموا مڠنڠ جاس دان كبايكن ڤارا توكوه سيلم مڠيكوت قدر سومبڠن يڠ تله مريك چورهكن . تاكوتله

‎كڤد الله دالم مڽبوت كبوروقكن مريك ، جاڠن كترلالوان دان جاڠن ڤول ترتيڤو دڠن بريتا – بريتا ڤلسو حاصل چيڤتأن ڤارا ڤندوستا

سباڬي سئورڠ مسلم ، كيت برايمان بهاوا تياد سياڤ ڤون يڠ معصوم سلأين درڤد رسول الله صلى الله عليه وسلم، سياڤ يڠ مڠاكو ديريڽ مميليكي كإيستيميوأن اين ، مك دي اداله سبنرڽ ڤندوستا . مأنسي اداله تتڤ مأنسي ، دي اكن برتيندق سڤرت مأنسي بياس برتيندق . مك دي اكن ملاكوكن كبنرن دان كبأيكن ، سڤرتيمان دي اكن ملاكوكن كباطلن دان كجاهتن.

تركادڠ ،

دالم ديري سبهاڬين مأنسي  ، اد ترداڤت  سيسي بنر دان بأيكڽ  يڠ بڬيتو باڽق، لالو كيت  ملتقكن دي سباڬي مأنسي يڠ بأيك دان صالح ،  مسكيڤون دي موڠكين ڤرنه ملاكوكن كسيلڤن. دان  سبهاڬين مأنسي ، اد تردافت سيسي باطل دان بوروقڽ يڠ بڬيتو باڽق ، لالو دي دڬولوڠكن سباڬي اورڠ جاهت دان باطل ، مسكيڤون دي جوڬ ملاكوكن كبأيكن  .

‎ اوله حال دمكين ، باڬي مريك يڠ مڽبوت تنتڠ اورڠ يڠ بنر دان صالح ، دكالا برلاكو ڤداڽ ببراڤ كسيلڤن ريڠن، مك جاڠنله دي ملوڤأي كبنرن دان كبايكنڽ يڠ باڽق ايت ، جاڠنله سكالي-كالي كبايكنڽ منجادي سيا-سيا اوليه كران كسيلڤنڽ يڠ امت سديكيت

‎دمكين جوڬ اڤبيل سسئورڠ برچاكڤ تنتڠ سي باطل دان جاهت، والوڤون اي مميليكي چيري- چيري كبايكن ، مك جاڠن سكالي-كالي اي مڠليروكن مأنسي كو

نونڽ دي اداله اورڠ صالح،دڠن سبب عمالن بأيكڽ يڠ أمت سديكيت ايت

🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒

ประวัติศาสตร์ที่แท้จริง ไม่ต้องการให้ใครยกธงสรรเสริญเยินยอใคร แต่ต้องการให้ทุกคนกล่าวถึงวีรบุรุษในประวัติศาสตร์ของพวกเขาด้วยคุณงามความดี ตามผลงานของพวกเขาและจงยำเกรงพระเจ้าในการกล่าวถึงความชั่วร้ายของพวกเขา ดังนั้น จงอย่าพูดเกินจริงและอย่าให้ถูกหลอกลวงโดยคำโกหกของคนคิดร้ายประดิษฐ์ขึ้น

ในฐานะมุสลิม เราเชื่อศรัทธาว่า นอกจากเราะซูลุลลอฮ์แล้ว ไม่มีผู้ใดที่ปลอดภัยจากการพลาดพลั้งและทำบาป

ผู้ใดคิดว่าตนมีสิทธิ์พิเศษนี้ คนนั้นคือจอมโกหก มนุษย์คือมนุษย์ ที่อาจแสดงพฤติกรรมในฐานะมนุษย์ปุถุชน เขาอาจแสดงออกถึงสัจธรรมและความดีงาม เฉกเช่นที่เขาอาจกระทำสิ่งมดเท็จและความชั่วร้าย

คนๆหนึ่งอาจมีส่วนของสัจธรรมและความดีงามในตัวเขามากมาย เราจึงนับเขาว่าเป็นคนดีมีคุณธรรม ถึงแม้เขาอาจพลั้งพลาดในบางครั้งก็ตาม และคนๆหนึ่ง อาจมีส่วนของความมดเท็จและความชั่วร้ายอยู่มากมาย เขาจึงถูกนับอยู่ในกลุ่มคนมดเท็จและชั่วร้าย แม้ในบางครั้งบางคราว เขาอาจทำความดีบ้างก็ตาม

ดังนั้น สำหรับผู้ที่พูดถึงคนดีมีคุณธรรม ซึ่งอาจเกิดความบกพร่องหรือพลาดพลั้ง เขาจำเป็นต้องให้น้ำหนักกับสัจธรรมและความดีงามอันมากมายของเขา อย่าให้ความดีงามของเขากลายเป็นสิ่งไร้ค่าด้วยความผิดพลาดอันน้อยนิดของเขา

เข่นเดียวกันกับ คนที่พูดถึงคนมดเท็จและชั่วช้า เมื่อรู้ว่าเขาเคยทำความดีมาบ้าง ก็อย่าทำให้ผู้คนสับสนว่าเขาเป็นคนดีมีคุณธรรม จนกระทั่งกลบเกลื่อนความชั่วร้ายอันมากมาย เมื่อเทียบกับเสี้ยวหนึ่งความดีของเขา


โดย Mazlan Muhammad