แพทริค เอ็มโบม่า ราชสีห์ดาวยิงทีมหมอผีรับอิสลาม

ชีวิตของ เอ็มโบม่า ต้องระหกระเหินจากบ้านเกิดตามครอบครัวมาอยู่ที่ฝรั่งเศสตั้งแต่อายุ 2 ขวบ แต่เขาก็สามารถเอาดีจนก้าวขึ้นมาเป็นนักฟุตบอลอาชีพได้และเริ่มต้นค้าแข้งในแดนน้ำหอม ก่อนจะย้ายออกไปหาความท้าทายในศึกเจ.ลีก ของญี่ปุ่น และ กัลโช่ เซเรีย อา อิตาลี รวมถึงการได้มาเล่นในลีกยอดนิยมอย่าง พรีเมียร์ชิพอังกฤษ ช่วงสั้นๆ กับ ซันเดอร์แลนด์ด้วย

จุดสูงสุดบนเส้นทางลูกหนังของ เอ็มโบม่า เกิดขึ้นในปี 2000 ซึ่งเป็นช่วงที่เขาค้าแข้งอยู่ในเมืองมะกะโรนี โดยประเดิมคว้าแชมป์แอฟริกัน เนชันส์ คัพ ร่วมกับทัพ “หมอผี” ในช่วงต้นปี จากนั้นจึงติดทีมชุดลุยโอลิมปิกเกมส์ ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ในโควตาผู้เล่นอายุเกิน 23 ปี และได้เหรียญทองบอลโอลิมปิกส์อย่างยิ่งใหญ่ ในปีเดียวกันนั้นเอง เอ็มโบม่า ได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปแอฟริกามาประดับบารมี ก่อนจะนำบรรดาแข้งหมอผีซิวแชมป์แอฟริกัน เนชันส์ คัพ ได้อีกครั้งในปี 2002

สำนักข่าวอัลจาซีร่าห์ เผยแพร่ข่าวเมื่อวันที่ 15/5/2022 ระบุว่า แพทริก เอ็มโบม่า ตำนานนักเตะลูกหนังคาเมรูนได้ประกาศรับอิสลามในวัย 51 ปี โดยมีภาพที่เขาปรากฏตัวในมัสยิดแห่งหนึ่ง ณ บ้านเกิดของเขาที่คาเมรูน โดยเขาได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า อับดุลญาลีล เอ็มโบม่า ท่ามกลางความดีใจของพี่น้องมุสลิม

credit: Twitter @g_mareeam
Credit : Twitter @CHEFABY2

الحمد لله على نعمة الإسلام والإيمان


โดย Mazlan Muhammad

ขอแสดงความยินดีแด่ รศ. ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี

ในนามคณะทำงาน theustaz.com และพี่น้องผู้ติดตาม ขอแสดงความยินดีแด่ 

รศ. ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี

เนื่องในโอกาสที่ได้รับโปรดเกล้าฯ จากเจ้าชายคอลิด อัลฟัยศอล บินอับดุลอะซีซ อาลซาอูด องค์ประธานรางวัลกษัตริย์ฟัยศอล ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่นครริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง

“คณะกรรมการเสนอชื่อและคัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสมรับรางวัลกษัตริย์ฟัยศอล สาขาบริการอิสลาม ประจำปี 2022” 

ตามหนังสือแต่งตั้งที่ 21110 ลงวันที่ 8 ศอฟัร ฮ.ศ. 1443 ตรงกับวันที่ 15กันยายน พ.ศ. 2564 

ขออัลลอฮ์ทรงประทานความช่วยเหลือและชี้นำให้ รศ. ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ในการปฏิบัติหน้าที่อันทรงเกียรตินี้ตลอดไป

รางวัลกษัตริย์ฟัยศอล (อาหรับ: جائزة الملك فيصل‎ เดิมชื่อ King Faisal International Prize) ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ. 1977 เป็นรางวัลประจำปีที่สนับสนุนโดย King Faisal Foundation มอบให้แก่ “ชายและหญิงที่อุทิศตนสร้างความแตกต่างในเชิงบวก” มูลนิธิมอบรางวัลใน 5 ประเภทได้แก่ บริการเพื่อศาสนาอิสลาม อิสลามศึกษา ภาษาอาหรับและวรรณคดีอาหรับ วิทยาศาสตร์และการแพทย์ 3 รางวัลแรกได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่สุดในโลกมุสลิม จนถึงปี 2019 มีบุคคลที่ได้รับรางวัลนี้จำนวน 265 ท่าน จาก 43 ชาติ

ผู้ได้รับรางวัลกษัตริย์ฟัยศอลสาขาบริการเพื่ออิสลามคนแรกคือ อบุลอะลา อัลเมาดูดี นักฟื้นฟูอิสลามชาวปากีสถานเมื่อปีค.ศ. 1979 ส่วนในประเทศอาเซียนมีบุคคลได้รับรางวัลนี้จำนวน 5 ท่าน ได้แก่ ประธานาธิบดีมูฮัมมัด นาซิรจากอินโดนีเซียเมื่อปีค.ศ. 1980  , เติงกูอับดุรเราะห์มาน ปุตรา เมื่อ 1983  , นายแพทย์มหาเธร์ โมฮัมมัด เมื่อ 1997 , นายอับดุลลอฮ์ บาดาวีเมื่อ 2011 จากมาเลเซีย และดร. อาห์มัด โดโมเกา อาลอนโต จากฟิลิปปินส์เมื่อ 1988

 ผู้รับรางวัลนี้จะได้รับเงินรางวัลจำนวน 750,000 ริยาลพร้อมโล่รางวัล



โดย Mazlan Muhammad

ประชาสัมพันธ์ “เราไม่ทิ้งกัน”

สถานการณ์การระบาดของโควิด-19

ยังคงต่อเนื่องอย่างรุนแรง

หากเราไม่ช่วยเหลือพี่น้อง

พวกเขาจะไปหวังพึ่งใคร

“เราไม่ทิ้งกัน ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ COVID-19 “ ยังคงรับบริจาคจนถึง 31 สิงหาคม 2564 นี้

جزاكم الله خيرا

ปลุกให้ตื่น…ระดมให้บริจาค [3]

หลังจากมี่การรณรงค์ปลุกให้ตื่น…ระดมให้บริจาค 3 เพื่อภารกิจ Save Gaza เมื่อวันที่ 18 พค. 2564 ที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 24 พค. 2564 ยอดที่ได้ 1,011,116.87 บาท เป้าหมาย สามล้านบาท الحمدلله

ทั้งนี้ท่านสามารถบริจาคจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

جزاكم الله خيرا


โดย ทีมข่าวในประเทศ

เยาวชนไทยคว้ารางวัลเขียนอักขระอาหรับประเภท خط الثلث

นายอัฟฟาน อิสมาอีล อัศศอลิฮีน เยาวชนจากประเทศไทยคว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดเขียนอักขระอาหรับ خط الثلث ประเภทบุคคลทั่วไป ที่จัดโดยสถาบันภาษาอาหรับประเทศจอร์แดนด้วยความร่วมมือจากสถาบัน ض ในพระบรมราชูปถัมภ์โดยมกุฎราชกุมารแห่งประเทศจอร์แดน

สถาบันภาษาอาหรับประเทศจอร์แดนได้จัดการแข่งขันเขียนอักขระอาหรับครั้งที่ 5 ประจำปี 2020 เนื่องในงานวันสากลภาษาอาหรับ เมื่อวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2563 ผลปรากฏว่าผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดเขียนอักขระอาหรับ خط الثلث ‏ ประเภทบุคคลทั่วไปได้แก่นาย อัฟฟาน อิสมาอีล อัศศอลิฮีนเยาวชนจากประเทศไทย ปัจจุบันกำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยในประเทศจอร์แดน ซึ่งขณะนี้ได้เดินทางกลับประเทศไทย และรับรางวัลผ่านการประชุมทางไกลโปรแกรม Zoom

ในนาม theustaz.com ขอร่วมแสดงความยินดีแก่นายอัฟฟาน อิสมาอีล อัศศอลิฮีน ที่ได้รับเกียรติประวัติอันสูงส่งนี้ และขอส่งกำลังใจให้ผลิตนวตกรรมด้านศิลปะการเขียนอักขระอาหรับ พร้อมเป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปะการเขียนอักขระอาหรับให้ควบคู่กับสังคมมุสลิมในประเทศไทยต่อไป


อ้างอิงจาก

https://alsaa.net/article-147755?fbclid=IwAR0ro_woh6R0MzEt6HA_ekrhR_Uyobay8smNAfmw76-8wemCtQ6hGPAeDn8

ทีมมูอัลลิม (Muallim) มฟน. คว้ารางวัลชนะเลิศระดับโลก ออกแบบบอร์ดเกมแก้ปัญหาการบูลลี่

 (14 ธันวาคม) นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฟาฏอนีคว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันโครงการเยาวชนกล้าคิด สะกิดสังคม หรือ Generation Unlimited (Gen-U) ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 โดยโครงการ Gen-U เป็นความร่วมมือระดับนานาชาติ นำโดยองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนจากทั่วโลกที่มีอายุระหว่าง 14-24 ปี ได้นำเสนอไอเดียสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวของพวกเขา

.

ล่าสุดที่การแข่งขัน Gen-U ในปี 2020 ทีมมูอัลลิม (Muallim) จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนีสามารถคว้าชัยเป็น 1 ใน 8 ทีมผู้ชนะเลิศระดับโลก ซึ่งคัดเลือกจาก 180 ทีมจาก 36 ประเทศ โดยพวกเขาได้นำเสนอไอเดีย ‘บอร์ดเกมบันไดงู’ ที่ออกแบบมาเพื่อให้ความรู้แก่เด็กๆ ชั้นประถมศึกษาเกี่ยวกับการรังแก หรือการบูลลี่ (Bully) รวมถึงผลเสียของการบูลลี่ พร้อมสอนให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างสันติ ตลอดจนปลูกฝังทัศนคติให้เด็กๆ รู้จักเห็นอกเห็นใจและเคารพผู้อื่น

.

โครงการ Gen-U เปิดตัวครั้งแรกในการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติในปี 2018 มีวัตถุประสงค์ให้เยาวชนทั่วโลกได้เข้าถึงการศึกษา การพัฒนาทักษะ การจ้างงานที่เหมาะสมกับวัย และเรียนรู้ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ โดยปีนี้โครงการ Gen-U ได้เข้าถึงเด็กและเยาวชนกว่า 15 ล้านคนทั่วโลก การประกาศผลปีนี้จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีผู้บริหารสูงสุดจากองค์การ UNICEF, โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP), องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล (Plan International) และองค์การลูกเสือโลก (World Organization of the Scout Movement) ร่วมงานผ่านช่องทางออนไลน์

.

‘มูอัลลิม’ เป็นภาษาอาหรับ หมายถึง ‘ครู’ เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ในจังหวัดปัตตานี โดยมีสมาชิก 3 คน คือ นิสมา ฆอแด๊ะ, นาดีเราะห์ เวาะแห และ นูรไลลา ดอคา ที่ชนะประกวดระดับโลกครั้งนี้ พวกเขาจะได้รางวัลเป็นเงินทุนราว 470,000 บาท (15,000 ดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อนำไอเดียไปขยายผลให้เป็นรูปธรรมและสร้างความเปลี่ยนแปลงในชุมชนต่อไป

.

โดยบอร์ดเกมบันไดงูของพวกเขามีชื่อว่า ‘DAWN’ หรือ ‘รุ่งอรุณ’ เปรียบเหมือนเด็กๆ ที่บริสุทธิ์ พวกเขากล่าวว่า “บอร์ดเกมนี้ออกแบบจากเรื่องราวการบูลลี่ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง พวกเราเติบโตขึ้นในพื้นที่ที่มีปัญหาความขัดแย้งมาอย่างยาวนาน ทำให้เราเห็นถึงความสำคัญที่จะต้องสอนเด็กๆ ตั้งแต่อายุยังน้อยถึงเรื่องคุณค่าของสันติสุข ความสามัคคีกันในสังคม และการเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อให้พวกเขาสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวก และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน ครอบครัว ชุมชน และสังคมได้เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่”

.

บอร์ดเกม DAWN ได้ถูกนำไปทดลองเล่นกับเด็กๆ ในโรงเรียนผ่านสมาคมเครือข่ายโรงเรียนคุณภาพอัสสลาม (Assalam Smart School Association of Thailand) และ TK park หลังจากนี้ทีมมูอัลลิมมีแผนจะเชื่อมโยงกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลกในด้านบอร์ดเกม เพื่อนำเกมไปขยายผลในโรงเรียนอื่นๆ พร้อมต่อยอดให้ครอบคลุมเด็กในบริบทที่หลากหลายมากขึ้น เช่น อายุ ภาษา และสถานะที่แตกต่างกัน

“เราเชื่อว่าด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี บอร์ดเกมนี้จะสามารถพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบแอปพลิเคชันได้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กๆ สามารถเล่นได้ไม่ว่าจากที่ใดในโลก เราหวังว่าโครงการของเราจะมีส่วนช่วยสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นได้แก่คนในรุ่นต่อๆ ไป”

.

ปีนี้นับเป็นปีที่ 2 ที่ทีมเยาวชนไทยสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศระดับโลกมาครอง โดยเมื่อปีที่แล้ว ทีม Fantastic Four ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนจากศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านอุเบกขา จังหวัดนครปฐม สร้างชื่อเสียงด้วยการคว้ารางวัลชนะเลิศจากโครงการ Gen-U 2019 ที่จัดขึ้นเป็นปีแรก ปัจจุบันพวกเขาได้พัฒนาเว็บไซต์จัดหางาน https://www.choose.in.th/ เพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่เคยกระทำผิดและป้องกันการกระทำผิดซ้ำ โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน รวมถึงผู้ให้การสนับสนุนอื่นๆ

.

เซเวอรีน เลโอนาร์ดี รักษาการผู้แทนองค์การ UNICEF ประเทศไทย ได้แสดงความยินดีกับทีมมูอัลลิมและเยาวชนทั้ง 466 คนจากประเทศไทยที่ได้ร่วมนำเสนอไอเดียความคิดสร้างสรรค์ แม้ต้องเผชิญอุปสรรคจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็ตาม พร้อมย้ำถึงความสำคัญของการสร้างโอกาสให้กับคนรุ่นใหม่

.

“UNICEF รู้สึกยินดีที่เยาวชนไทยสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศระดับโลกได้ติดต่อกันเป็นปีที่สอง เด็กและเยาวชนล้วนมีไอเดียและความสามารถ และพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขาสามารถสร้างนวัตกรรมทางสังคมให้เกิดขึ้นได้จริงเมื่อได้รับโอกาสและการสนับสนุน ยูนิเซฟขอแสดงความยินดีกับทีมมูอัลลิมและทุกทีมจากทั่วโลกและประเทศไทยในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา ที่ใส่ใจกับปัญหาต่างๆ ในสังคมทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการหยุดเรียนกลางคัน เพศศึกษา ปัญหาสุขภาพจิต และปัญหาสิ่งแวดล้อม”

.

ทางด้าน เรโนลด์ เมเยอร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “UNDP ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ทีมมูอัลลิม จากมหาวิทยาลัยฟาฏอนี มหาวิทยาลัยอิสลามเอกชนแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ได้เป็นแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนสังคม และขอแสดงความยินกับทีมผู้ชนะจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก นอกจากทุกทีมจะได้แสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้นในการพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้นแล้ว เรายังได้เห็นถึงการปรับตัวผ่านการคิดหาทางออกให้กับปัญหาต่างๆ ที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วนของโลก นวัตกรรมทางสังคมและทักษะการประกอบธุรกิจนับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก UNDP จะเดินหน้าให้การสนับสนุนเด็กและเยาวชนพร้อมกับรอชื่นชมความสำเร็จของพวกเขาในการดำเนินโครงการเพื่อสังคม”

.

ขณะที่ สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Saturday School หรือ โรงเรียนวันเสาร์ กล่าวว่า “โครงการ Gen-U ไม่ใช่เพียงแค่เป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบวิธีแก้ปัญหาในสังคม แต่ที่สำคัญไปกว่านั้น โครงการ Gen-U ได้เปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้เข้ามาสร้างแรงบันดาลใจ สร้างการเปลี่ยนแปลง และสร้างคุณค่าให้กับสังคม เพื่อนำไปสู่การมีสังคมที่ดีขึ้นตามที่เราต้องการ ซึ่งนั่นก็เป็นสิ่งที่ทาง Saturday School ได้เชื่อมั่นมาโดยตลอด”

.

โครงการ Gen-U เยาวชนกล้าคิด สะกิดสังคม ถือเป็นแพลตฟอร์มสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของเยาวชน ปีนี้มีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเป็นพี่เลี้ยงและเป็นกรรมการคัดเลือกทีมจากประเทศไทยเพื่อเข้าแข่งขันในเวทีระดับโลกรอบสุดท้าย ซึ่งประกอบด้วย UNICEF, UNDP, Saturday School, ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, Global Compact, สมาคมธุรกิจไทยรุ่นใหม่ภาคใต้ (YES) และตัวแทน UNICEF NextGen Group โดยทีมมูอัลลิมเป็นหนึ่งในเยาวชน 466 คนจากจังหวัดชายแดนใต้ที่ส่งไอเดียเข้าประกวดเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

.

นอกจากทีมมูอัลลิมจากประเทศไทยแล้ว อีก 7 ทีมเยาวชนที่ชนะเลิศระดับโลก ประกอบด้วย มาซิโดเนียเหนือ – เทคโนโลยีการพิมพ์แขนกล 3 มิติ, เม็กซิโก – แพลตฟอร์มการศึกษาเพื่อแก้ไขช่องว่างระหว่างเพศ, ซีเรีย – ศูนย์สร้างเสริมพลังแก่เยาวชนผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย, เคนยา –  โครงการเพื่อสังคมด้านพลังงานสะอาด, นิการากัว – โครงการรีไซเคิล, ไนจีเรีย – การจัดศูนย์ฝึกและพัฒนาเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา และอินเดีย – การจัดการเรียนทางไกลโดยประยุกต์ใช้คลื่นวิทยุ


ภาพ / อ้างอิง: UNICEF ประเทศไทย

เชิญร่วมงานเดินวิ่งการกุศล เพื่อน้องๆเด็กกำพร้า วันที่ 25 ธ.ค. 63

ขอเชิญร่วมงานเดินวิ่งการกุศล “Alhamdulillah Charity Run 2nd 2021” #เพื่อน้องๆเด็กกำพร้า

เปิดรับแล้วตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 25 ธ.ค. 63

สมัครออนไลน์ได้ที่ลิงค์นี้นะครับ https://forms.gle/ueT9N1xf8gZnSeaD8

หรือสมัครด้วยตัวเองได้ที่โรงเรียนยะลาวิทยปัญญานุสรณ์ ต.บันนังสาเรง อ.เมือง จ.ยะลา

ประมวลภาพกิจกรรมกิจกรรมงานเดิน-วิ่งการกุศล “Alhamdulillah Charity Run 1st 2020 1️⃣

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่ง…เพื่อสานต่อภารกิจช่วยเหลือเด็กกำพร้า
#Alhamdulillah Charity Run 2021

เดินพร้อมกับเราระดมเงิน เพื่อสานฝันให้พี่น้อง

หลังจากดำเนินโครงการมา 2 เดือนเศษ ตอนนี้เริ่มเห็นเค้าโครงบ้านของ 2 พี่น้องคู่นี้ ด้วยงบประมาณที่พี่น้องระดมบริจาคมา 5 หมื่นกว่าบาท เราสามารถซื้อวัสดุสร้างบ้านตามที่เห็นในภาพ ยังต้องการอีกประมาณ 50,000 บาท เพื่อสานฝันให้พี่น้องที่ไม่เคยเห็นหน้าตาบิดามารดาคู่นี้ มีบ้านเหมือนผู้คนทั่วไปสักที

เมื่อวาน มีโอกาสแวะที่นี่ ดีใจที่เห็นความคืบหน้าของโครงการ الحمد لله والشكر لله แต่ไม่พบใคร เข้าใจว่าวัสดุสร้างบ้าน คงหมดแล้ว เพราะสังเกตรอบๆบริเวณ ไม่มีวัสดุก่อสร้างเหลืออยู่ ยกเว้นกองทรายนิดหน่อย จึงต้องหยุดพักชั่วคราว

แต่ที่สะดุดตาจนแทบเข่าอ่อน เมื่อเห็นเปลของลูกน้อยที่ไหวช้าๆตามลมพัด เดาว่า แม่คงใช้เป็นที่กล่อมลูก ถึงแม้บ้านยังไม่เสร็จเรียบร้อยก็ตาม

ผู้อ่านคงเดาออกใช่ไหมว่า ความในใจของแม่ ที่อยากกระซิบให้ลูกฟังคืออะไร และเมื่อถึงเวลานั้น ทั้งคู่คงหลับตาอย่างมีความสุขที่สุด


พี่น้องครับ
เราจะไปต่อขอเชิญชวนพี่น้อง
เดินพร้อมกับเราระดมเงินอีก 50,000 บาท
เพื่อสานฝันให้พี่น้องคู่นี้ครับ
والله في عون العبد ما دام العبد في عون أخيه
อัลลอฮ์จะข่วยเหลือบ่าว ตราบใดที่บ่าวให้ความช่วยเหลือพี่น้องของเขา

รวมพลังความดี ซับน้ำตาผู้ลี้ภัย 2563

วันพุธที่ 28 ต.ค. นี้ เจอกันที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านเจาะไอร้อง إن شاء الله
พร้อมระดมคนละ 100 บาทเพื่อร่วมโครงการ “รวมพลังความดี ซับน้ำตาผู้ลี้ภัย 2563”

สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ระดมทุน “รวมพลังความดี ซับน้ำตาผู้ลี้ภัย 2563”

ด่วน ! จำหน่ายบัตรน้ำชาช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในประเทศไทย #รวมพลังความดีซับน้ำตาผู้ลี้ภัย63 ร่วมรับประทาน **ชุดโรตีและน้ำชา** เพื่อการกุศล หอม-อร่อย-กลมกล่อม สูตรต้นตำรับชาวปากีสถานจากฝีมือของทีมงานไทย-ปากีสถาน ภายในงาน จัดขึ้นในวันที่ 30, 31 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2563 ที่สนามกีฬาหัวหมาก กรุงเทพ เพียงท่าน/บัตรละ 100 บาท #ยินดีจัดส่งฟรีถึงบ้าน .

– 3 ใบ = 300บ.

– 5 ใบ = 500บ.

– 10 ใบ = 1000บ.

– 20 ใบ = 2000บ.

– 50 ใบ = 5000บ. (ครึ่งเล่ม)

– 70 ใบ = 7000บ.

– 100 ใบ = 10,000บ. (1เล่ม)

#วัตถุประสงค์ เพื่อ

1. ช่วยจ่ายค่าปรับอยู่เกินกำหนด

2. ช่วยค่าที่พักอาศัยของครอบครัวผู้ลี้ภัย

3. ช่วยค่าอาหารฮาลาลผู้ลี้ภัยและผู้ต้องกัก

4. ช่วยรักษาพยาบาลและค่ายา

5. ช่วยการศึกษา ค่าเดินทางไปเรียน

6. ช่วยอื่น ๆ ในยามฉุกเฉิน

#ขอคนละหนึ่งแชร์ ช่วยบอกต่อ ช่วยแจ้งข่าวดี ช่วยกันซื้อบัตรน้ำชา ช่วยกันบริจาค ช่วยกันมาร่วมงาน ช่วยกันทุกทางที่เราช่วยได้


เอื้อเฟื้อข่าวและภาพ เพจ CHNS สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี

https://www.facebook.com/humanitarianthai