ไกส์ สะอีด รัฐประหารในตูนิเซีย และการวิเคราะห์สถานการณ์

การเลือกตั้ง ไกส์ สะอิด สู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของสาธารณรัฐตูนิเซียนั้นเหนือความคาดหมายโดยสิ้นเชิง เนื่องจากเขาไม่ได้เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองใด ๆ และไม่มีความรู้เรื่องงานการเมืองมาก่อน  คุณสมบัติทั้งหมดของเขาคือเขาเป็นศาสตราจารย์ด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัย และพูดภาษาอาหรับในแบบที่ไม่ปกติสำหรับผู้พูดและผู้ปฏิบัติงานการเมืองในโลกอาหรับ

ผู้ที่เลือกไม่นึกว่าสะอีดจะนำตูนิเซียมาสู่สิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้ แรงจูงใจหลักของชาวตูนิเซียคือการเปลี่ยนจากชนชั้นสูงทางการเมืองที่ปกครองแบบเดิมๆ ที่ชาวตูนิเซียเบื่อหน่าย มาเป็นโฉมหน้าใหม่ที่สามารถช่วยประเทศชาติจากความล้าหลังทางเศรษฐกิจ และการแบ่งขั้วทางการเมืองระหว่างฝ่ายต่างๆ ในทุกรูปแบบและอุดมการณ์

ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง สะอีดไม่ลังเลเลยที่จะวิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นปกครอง และยังจุดชนวนความขัดแย้งด้วยการปฏิเสธกฎหมายว่าด้วยมรดกที่เท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง เขายังย้ำคำพูดของเขาว่า “ตุลาการอิสระดีกว่ารัฐธรรมนูญพันฉบับ” ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเชื่อว่าประชาชนเองควรพัฒนาแผนและยุทธศาสตร์ทางปัญญาและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนประเทศชาติหลังการปฏิวัติ โดยกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า อำนาจจะอยู่ในมือของประชาชน ผู้ตัดสินชะตากรรมและปกครองทางเลือกของตน”

โครงการของสะอีดได้กำหนดขึ้นเพื่อนำเสนอแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับสังคม และแนวความคิดนี้มีพื้นฐานมาจากท้องถิ่นสู่ระดับภูมิภาคและจากส่วนกลางเพื่อให้กฎหมายระดับชาติเป็นกฎหมายที่แสดงออกถึงเจตจำนงของประชาชน นอกจากนี้ สะอีดยังกล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการต่อต้านการทุจริต

ทันทีที่มีอำนาจหลังชนะการเลือกตั้งในปี 2019 สะอีดต้องการพลิกโฉมวิถีทางการเมืองในแบบของตนเอง ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงทางการเมืองในตูนิเซีย และปะทะกับพรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรคนะฮ์เฎาะฮ์ ซึ่งครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร และไม่สงบจนกระทั่งหลังจากที่สะอีดเลือกนายกรัฐมนตรีเอง ซึ่งสะอีดได้เลือกฮิชาม  มาชีชีย์ ผู้พิพากษาอาวุโส  ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของตนในทำเนียบประธานาธิบดี

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในตูนิเซียไม่ได้มีเสถียรภาพ สะอีดปฏิเสธการแต่งตั้งรัฐมนตรี โดยอ้างว่ามีบุคคลที่ทุจริตที่มาจากระบอบการปกครองก่อนหน้านี้ หลังจากนั้น สะอีดรู้สึกว่าถูกรัฐสภาและรัฐบาลมองข้าม และจบลง ด้วยการต่อต้านประชาธิปไตยในภาพรวม โดยเมื่อวันที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา สะอีดได้บังคับนายกรัฐมนตรีที่เลือกมาเองให้ลาออก พร้อมระงับรัฐสภา 30 วัน และให้อำนาจสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรง อำนาจบริหารทั้งหมด  ทั้งฝ่ายประธานาธิบดีและฝ่ายรัฐบาล  ทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุม

ไกส์ สะอิด เชื่อว่าสิ่งที่ตนทำไม่ถือเป็นการทำรัฐประหารต่อต้านระบอบประชาธิปไตยหรือเป็นการละเมิดกฎหมาย และเห็นว่ากระทำการภายในขอบเขตที่มาตรา 80 ของรัฐธรรมนูญตูนิเซียกำหนด แต่ตีความด้วยวิธีของตนเองในการเป็นข้ออ้างการทำรัฐประหารเส้นทางประชาธิปไตย   ในขณะที่นักรัฐธรรมนูญและนักกฎหมายส่วนใหญ่ในตูนิเซีย ประณามการตีความและการกระทำของเขาดังกล่าว ในแถลงการณ์เมื่อวันจันทร์ที่แล้ว ผู้พิพากษา 45 คนได้ประณามอย่างรุนแรงต่อมาตรการที่ประธานาธิบดีประกาศเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคมที่แล้ว โดยพิจารณาว่ามาตรการดังกล่าวผิดปกติและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  รวมถึงการจำกัดเสรีภาพในการเคลื่อนไหวและการเดินทางของผู้พิพากษาเช่นเดียวกับพลเมืองคนอื่นๆ

ใครอยู่เบื้องหลังการรัฐประหารของไกส์ สะอีด ต่อระบอบประชาธิปไตยของตูนิเซีย

ประสบการณ์การเปลี่ยนผ่านระบอบประชาธิปไตยในตูนิเซียเป็นประสบการณ์เดียวที่รอดพ้นจากหายนะจากประสบการณ์ที่คล้ายกันซึ่งเริ่มต้นจาก “การปฏิวัติอาหรับสปริง” เมื่อกว่าสิบปีก่อน ขณะที่ประสบความสำเร็จในการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์  รวมทั้งรัฐธรรมนูญที่ รับรองโดยฉันทามติและความยินยอมของสาธารณะ ตลอดจนประมุขแห่งรัฐซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภานิติบัญญัติที่เป็นตัวแทนของกระแสการเมืองและปัญญาชนส่วนใหญ่ในสังคมตูนิเซีย

ที่สำคัญที่สุด ระบอบประชาธิปไตยนี้สามารถ -แม้ว่าจะมีความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง- สร้างบรรยากาศของเสรีภาพสาธารณะและรับประกันสิทธิมนุษยชนที่ประเทศอาหรับและระบอบการปกครองอื่น ๆ ทั้งหมดต่างอิจฉา อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นปรากฎว่า ความพร้อมของกฎเกณฑ์ส่วนใหญ่ของรูปแบบประชาธิปไตยในระบบการปกครองของตูนีเซียขณะนี้ไม่สามารถรับรองความแข็งแกร่งของรัฐที่ดำเนินการโดยระบบนี้ หรือประกันประสิทธิภาพที่จะทำให้ตูนิเซีย -โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการระบาดของโรคโคโรนาที่กำลังดำเนินอยู่ – สั่นสะเทือน ที่แสดงถึงการล่มสลายทางการเมือง สังคม และสุขภาพ ทำให้ประธานาธิบดีต้องใช้มาตรการพิเศษและการตัดสินใจที่เฉียบขาดตามความเห็นของตน

ข้อมูลชี้ว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารของประธานาธิบดี ไกส์  สะอีด ที่ต่อต้านรัฐธรรมนูญ เพราะอิมิเรตมุ่งมั่นที่จะยุติอาหรับสปริงซึ่งเริ่มขึ้นในตูนิเซียในปี 2011 และเป็นสิ่งที่อิมิเรตกระทำในอียิปต์ยุคประชาธิปไตย นี่คือสิ่งที่สะอีดอ้างถึงในคำกล่าวบางโอกาสว่า มีบางประเทศในภูมิภาคสนับสนุนทางการเงินและการทหาร

ล่าสุด อันวาร์ การ์กัช อดีตที่ปรึกษาทางการทูตของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ไปเยือนตูนีเซีย พร้อมกับคณะผู้แทนระดับสูง  เมื่อวันอาทิตย์ (8-8-2021) ซึ่งระบุว่า “สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เข้าใจและสนับสนุนการตัดสินใจทางประวัติศาสตร์ของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ และยังตระหนักถึงความสำคัญในการปกป้องตูนิเซียและตอบสนองต่อเจตจำนงของประชาชน”

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้พยายามมาระยะหนึ่งแล้วที่จะปิดล้อมและต่อสู้กับกระแสอิสลามในทุกส่วนของโลกอาหรับ และไม่ได้ละเว้นความพยายามใดๆ เลยนอกจากจะทำมัน  และใช้เงินหลายพันล้านเหรียญเพื่อบรรลุเป้าหมาย และยังใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อขจัดอุดมการณ์อาหรับสปริงที่เริ่มต้นในตูนิเซียเช่นเดียวกัน

เป็นเรื่องแปลกที่ยูเออีเป็นหนึ่งในประเทศที่สานสัมพันธ์ปกติกับอิสราเอล ซึ่งประธานาธิบดีสะอีดในแถลงการณ์ “ใครก็ตามที่มีความสัมพันธ์กับคณะผู้แย่งชิงถือเป็นผู้ทรยศขั้นสูง” การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงในแนวความคิดนี้จะเข้าใจได้อย่างไร และการสานสัมพันธ์กับอิสราเอลยังคงเป็นการทรยศสูงสุดสำหรับเขาหรือไม่ !

การเยือนไคโรของ ไกส์ ซาอีด ก่อนหน้านี้ เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการทำรัฐประหารเพื่อต่อต้านประสบการณ์ประชาธิปไตย ตราบใดที่กลุ่มอิสลามิสต์อยู่ข้างหน้าในฉากการเมือง และสิ่งนี้ได้รับการยืนยันจากการเยือนล่าสุดของ ซามิห์  ชุกรี รัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์  และการเฉลิมฉลองของการเคลื่อนไหวเหล่านี้ในสื่ออียิปต์และเอมิเรตส์  โดยเห็นว่าการตัดสินใจของประธานาธิบดีตูนิเซียครั้งนี้ เป็นการลุกฮือเพื่ออิสรภาพครั้งใหม่และการสลัดพ้นจากกลุ่มอิควานมุสลิมีน”

เช่นเดียวกับการเยือนตูนีเซียของฟัยซอล ฟัรฮาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งซาอุดิอาระเบีย  และประกาศว่าราชอาณาจักรจะยืนหยัดตามมาตรการของไกส์  สะอีด  ยังไม่รวมถึงความเงียบของประชาคมระหว่างประเทศเกี่ยวกับมาตรการเหล่านี้ ไม่ได้มองว่าเป็นละเมิดประชาธิปไตย และปูทางให้ระบบเผด็จการและการกดขี่ โดยไม่ได้ประณามใดๆ  รวมถึงบางประเทศ เช่น ฝรั่งเศส ที่ยกย่องและสนับสนุน

สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นหลังรัฐประหารนิ่มๆ

การเคลื่อนไหวประหลาดของสะอีด เกิดขึ้นหลังจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลและกลุ่มนะฮ์เฎาะฮ์เพียงวันเดียว และหลังจากการติดเชื้อ ไวรัสโคโรน่าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตลอดจนความโกรธที่เพิ่มขึ้นต่อความไม่สมดุลทางการเมืองเรื้อรัง รวมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจ สิ่งนี้ถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับตูนิเซียหลังจากการปฏิวัติในปี 2011 ที่จุดชนวนให้เกิด “การปฏิวัติอาหรับ” และล้มล้างการปกครองแบบเบ็ดเสร็จเพื่อสนับสนุนการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ล้มเหลวในการบรรลุความเจริญรุ่งเรือง

บางทีฉากทั่วไปในตูนิเซียจนถึงขณะนี้ สามารถคาดการณ์ได้ว่าอาจเกิดได้ 3 สถานการณ์ และผู้เขียนคิดว่า ประธานาธิบดีจะไม่ถอนการตัดสินใจ และวันและเดือนที่จะมาถึงจะเป็นพยานถึงการคาดการณ์นี้ :

สถานการณ์แรก: อาจเป็นการค้นหาทางออกตามรัฐธรรมนูญ และการลงประชามติเกี่ยวกับการตัดสินใจของประธานาธิบดี หรือการเลือกตั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาก่อนกำหนด และเป็นเรื่องที่ความขัดแย้งก็ยังคงหมุนเวียนอยู่ต่อไป การแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้หมายถึงการหวนคืนสู่จุดศูนย์และการดำรงอยู่ของวิกฤตทางการเมือง ทั้งด้านพลังทางการเมืองและพรรคการเมืองในทุกรูปแบบ ตลอดจนภาคประชาสังคม สถานการณ์นี้ถือว่าอันตรายน้อยที่สุด

สถานการณ์ที่สอง: ยืดเวลาวิกฤต กำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน และขัดขวางชีวิตทางการเมืองและพลเรือนระหว่างที่ซาอิดเป็นประธานาธิบดีตูนิเซีย ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับกองกำลังต่อต้านการปฏิวัติ  แต่สถานการณ์นี้จะก่อให้เกิดวิกฤตทางการเมืองและสังคมในตูนิเซีย

สถานการณ์ที่สาม: การทำรัฐประหารโดยสมบูรณ์และชัดเจน เช่น แบบจำลองอียิปต์ การกดขี่เสรีภาพ และการปิดปาก ซึ่งถือเป็นการก่อรัฐประหารทางเศรษฐกิจและการเมือง และต้องใช้เงินทุนระยะยาว และฉันคิดว่าสิ่งนี้เป็นไปได้ โดยเฉพาะ ด้วยการสนับสนุนของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดิอาระเบียในการต่อต้านการปฏิวัติ ดังนั้นจึงต้องใช้ความโหดร้ายและการปราบปรามอย่างมาก และสิ่งนี้นำไปสู่ความโกลาหล เนื่องจากภาคประชาสังคมของตูนิเซียสามารถคัดค้านสถานการณ์นี้ได้ ข้าพเจ้าไม่ได้ตัดเรื่องนี้ออกไปเป็นการส่วนตัว เมื่อพิจารณาถึงสภาพการแก้แค้นที่ฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติชอบที่จะขจัดสิ่งที่เหลืออยู่ของการปฏิวัติอาหรับ

ชาวตูนิเซียจะมีความคิดเห็นที่ต่างออกไปและขัดขวางสถานการณ์เหล่านี้ทั้งหมดหรือไม่ โดยที่จะเป็นผู้มีอำนาจตัวจริงและมีความสามารถที่จะรักษาผลประโยชน์ของตนเองไว้ได้หรือไม่ และฝ่ายการเมืองและพรรคการเมืองจะมองข้ามความแตกต่างที่เพิ่มมากขึ้นทุกวี่วัน และจะรวมตัวกันเพื่อเผชิญกับรัฐประหารครั้งนี้และกำหนดวาระร่วมกันเพื่อรักษาผลประโยชน์ ประชาธิปไตย หรือฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติที่สนับสนุนสะอีดจะมีชัยในที่สุด !

ฉันหวังว่า ชาวตูนิเซียจะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนสถานการณ์ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด และทำให้เจ้าชายแห่งการปฏิวัติที่ต่อต้านการปฏิวัติผิดหวัง  อย่างที่เกิดขึ้นในตุรกี เมื่อชาวตุรกีลุกขึ้นเผชิญหน้ากับรัฐประหารในเดือนกรกฎาคม 15 ต.ค. 2016 และเสียสละเพื่อฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยของตนเองโดยไม่พึ่งพิงจากภายนอก และเชื่อว่าเสรีภาพไม่ใช่ของบริจาค แต่ต้องแย่งชิงมา

โดยสรุป ฉันขอพูดว่า: การปกครองแบบเผด็จการคือการกำหนดเจตจำนงของคนบางคนและเครือข่ายของเขา ทำลายเจตจำนงของปวงชน ทำลายจิตวิญญาณของประชาชน ทำลายความเป็นไปได้ของความก้าวหน้าของพวกเขา กำจัดเจตจำนงของประชาชน ยกเลิกเหตุผลสำหรับการดำรงอยู่ของพวกเขา ลิดรอนทรัพย์สิน  เกียรติ สติปัญญา ปิดปาก ริบเสรีภาพ และเคียงคู่มากับการทุจริตที่จะทำลายบ้านเมืองให้พังพินาศย่อยยับ

บทความโดย: ดร.จามาล นัศศอร์ กรรมการสหพันธ์อุลามาอ์อิสลามนานาชาติ


แปลสรุปโดย Ghazali Benmad

อ่านต้นฉบับ

https://bit.ly/3jMZXGM

ปรัชญาฮัจญ์

ฮัจญ์ คือ การรวมตัวของมนุษยชาติที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่สามารถรวบรวมประชาคมโลกที่ก้าวพ้นพรมแดนแห่งชาติพันธุ์ ภาษาและวัฒนธรรม มุสลิมทุกคนต้องประกอบพิธีฮัจญ์แม้ครั้งเดียวในชีวิต หากมีความสามารถ ฮัจญ์คือเทศกาลประจำปีระดับนานาชาติที่เชิญชวนและเรียกร้องมนุษยชาติให้หวนรำลึกและฟื้นฟูบรรยากาศแห่งอีมาน การตักวา การยึดมั่นในคำสอน การฝึกฝนความเป็นน้ำหนึ่งเดียว รับทราบ ศึกษาและร่วมแก้ไขวิกฤติปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนสร้างความเชื่อผมั่นในศักยภาพและศักดิ์ศรีของอิสลามและมุสลิม

            มุสลิมทุกคนจึงใฝ่ฝันที่จะประกอบพิธีฮัจญ์และมีใจที่ผูกพันกับบัยตุลลอฮฺทุกอณูชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับฮัจญ์มับรูรฺ ที่ไม่มีผลตอบแทนใดๆ ที่คู่ควรเว้นแต่สรวงสวรรค์ของอัลลอฮฺเท่านั้น

ฮัจญ์มับรูรฺจึงแฝงด้วยปรัชญาอันมากมาย ส่วนหนึ่งสรุปได้ดังนี้

1. ฮัจญ์คือสัญลักษณ์ความเป็นเอกภาพ

            เอกภาพด้านการศรัทธา ซึ่งผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ต้องมีจิตใจที่บริสุทธิ์เพียงเพื่ออัลลอฮฺและมุ่งมั่นสืบสาน จริยวัตรของนบีมูฮัมมัด(ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) เท่านั้น

            เอกภาพด้านการปฏิบัติ ซึ่งผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและเงื่อนไขต่างๆ ของฮัจญ์ด้วยรูปแบบที่เหมือนกัน ในช่วงเวลาอันเดียวกัน ณ สถานที่แห่งเดียวกัน ลักษณะการแต่งกายที่เหมือนกัน ภายใต้การนำแห่งต้นแบบของผู้นำคนเดียวกันคือนบีมูฮัมมัด(ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) โดยผ่านการอรรถาธิบายของนักวิชาการมุสลิมที่ได้รับการยอมรับ

2. ฮัจญ์คือภาพสะท้อนแห่งสาสน์สากลของอิสลาม

                การก่อร่างสร้างประภาคารแห่งอิสลามได้เริ่มต้นด้วยบรรยากาศแห่งสากล ดังจะเห็นได้จากบรรดา  เศาะหาบะฮฺรุ่นแรกที่เป็นเสาหลักแห่งการเผยแผ่อิสลามซึ่งประกอบด้วยอะบูบักร์ที่มาจากตระกูลกุเรชอาหรับ      ศุฮัยบฺจากกรุงโรม บิลาลทาสผู้เสียสละจากอะบิสสิเนีย ซัลมานผู้ดั้นด้นแสวงหาสัจธรรมจากเปอร์เซีย ตลอดจนชาวอาหรับที่คลั่งไคล้และยึดมั่นในเผ่าพันธุ์วงศ์ตระกูล อิสลามสามารถผนวกรวมผู้คนเหล่านั้นให้อยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งอิสลาม และเลื่อมใสศรัทธาคำสอนของนบีมูฮัมมัด(ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) ที่กล่าวไว้ความว่า “ท่านทั้งหลาย จงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺฉันท์พี่น้องกันเถิด”(บุคอรีและมุสลิม)

            คลื่นมหาชนที่หลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศที่กำลังเฏาะวาฟรอบๆ บัยตุลลอฮฺ ทำให้เรานึกถึงดาวเคราะห์ต่างๆ ในระบบสุริยจักรวาลซึ่งล้วนเป็นบริวารที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ในขณะที่ดวงอาทิตย์ก็เป็นเพียงดาวเคราะห์เพียงดวงหนึ่งในระบบแกแล็กซี่อันกว้างไพศาลที่ต้องโคจรตามระบบที่ถูกกำหนดไว้ เช่นเดียวกันกับมนุษย์บนโลกนี้ ที่ต้องโคจรตามระบบบัยตุลลอฮฺ ไม่ว่าขณะเฏาะวาฟหรือขณะดำรงละหมาดที่มุสลิมทั่วโลกต่างผินหน้าไปยังบัยตุลลอฮฺเป็นประจำอย่างน้อย 5 ครั้งต่อวัน ในขณะที่บัยตุลลอฮฺก็เป็นเพียงสัญลักษณ์หนึ่งที่แสดงถึงความนอบน้อมและศิโรราบภายใต้อำนาจของอัลลอฮฺผู้บริหารสากลจักรวาล

3. ฮัจญ์คือการปฏิเสธความเหลื่อมล้ำและวรรณะของมนุษย์

อิสลามปฏิเสธระบบที่วางมนุษย์บนขั้นบันไดของชนชั้นวรรณะ อิสลามสอนว่าทุกคนไม่มีสิทธิวางก้ามแสดงตนเหนือคนอื่นเนื่องจากความแตกต่างด้านชาติพันธุ์หรือสีผิว ไม่มีความเหลื่อมล้ำระหว่างยาจกกับมหาเศรษฐี ชนผิวขาวกับชนผิวดำ นายหรือบ่าวไพร่ เจ้าหน้าที่หรือประชาราษฎร์ ทุกคนจะอยู่ในฐานะที่เท่าเทียมกันหมด เมื่อผู้ประกอบพิธีฮัจญ์เริ่มตั้งใจอิหฺรอมที่มีก็อต ( Miqat หมายถึง จุดพรมแดนที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ต้องตั้งใจและปฏิบัติตามเงื่อนไขของฮัจญ์) โดยการห่มกายด้วยผ้าขาวสองผืน ซึ่งเปรียบเสมือนแม่น้ำลำคลองจำนวนล้านๆ สายที่ไหลบรรจบเข้าสู่มหาสมุทรซึ่งกลายเป็นน้ำทะเลที่มีลักษณะเดียวกันหมด ฉันใดฉันนั้น ผู้คนที่หลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศเป็นจำนวนล้านๆ คน ก็จะกลายเป็นน้ำหนึ่งเดียวกันเมื่อเข้ามาบรรจบ ณ มีก็อต(Miqat) เพื่อหลอมรวมเข้าสู่มหาสมุทรแห่งกระบวนการฮัจญ์อย่างพร้อมเพรียงกัน

ทุกคนไม่มีสิทธิแอบอ้างความเป็นอภิสิทธิชน เว้นแต่ด้วยการตักวา(การยำเกรงต่อพระเจ้า)เท่านั้น

4. ฮัจญ์คือโอกาสให้มุสลิมหวนรำลึกประวัติศาสตร์ความยิ่งใหญ่ของอิสลาม

ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์จะได้ประจักษ์ด้วยสายตาถึงแหล่งกำเนิดของอาทิตย์อุทัยแห่งทางนำและรัศมีอิสลามที่ได้เจิดจรัสทั่วสากล ซึ่งจุดประกายโดยนบีมูฮัมมัด(ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) ได้สัมผัสร่องรอยการเสียสละของบรรดาเศาะหาบะฮฺ(เหล่าสาวก) ตลอดจนหวนรำลึกการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ของสามพ่อแม่ลูก(นบีอิบรอฮีม นบีอิสมาอีลและฮาญัร)ซึ่งกลายเป็นต้นตำรับของการประกอบพิธีฮัจญ์ที่มีการสืบสานมาโดยอนุชนรุ่นหลังเป็นเวลานับพันๆ ปี และจะยังคงอยู่จวบจนสิ้นฟ้าแผ่นดิน บรรดาฮุจญาจสามารถอ่านตำราเล่มใหญ่นี้ด้วยการพินิจพิเคราะห์จากสถานที่จริง เพื่อนำเป็นบทเรียน เติมเต็มกำลังใจและข้อเตือนสติตลอดไป

5. ฮัจญ์ คือ กระบวนการพัฒนาจิตวิญญาณและขัดเกลาจิตใจ

ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ได้รับโอกาสพัฒนาและขัดเกลาจิตใจให้สูงส่ง ตัดขาดจากความโกลาหลของโลก    ดุนยา พวกเขาสวมใส่ผ้า 2 ผืนที่ไม่มีการเย็บถักปักรอย ไม่สามารถแม้กระทั่งใส่น้ำหอม หรือร่วมหลับนอนกับภรรยาของตนเอง ผู้ที่กำลังประกอบพิธีฮัจญ์นั้น พวกเขากำลังสลัดทิ้งการใช้ชีวิตอย่างปกติ สู่การเป็นบ่าวของอัลลอฮฺที่สำรวม หัวใจที่ยำเกรง ลิ้นที่หมั่นเปล่งเสียงตัลบียะฮฺ ดุอา ซิกิร อ่านอัลกุรอาน เพื่อป่าวประกาศถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ มีจิตใจที่สำรวมและสำนึกในความผิดพลาดของตนเอง

บรรยากาศของผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ที่กำลังสะอีย์ระหว่างเขาเศาะฟาและเขามัรวะฮฺจำนวน 7 รอบนั้น เป็นการเสี้ยมสอนให้มุสลิมตระหนักว่า ในโลกแห่งความป็นจริง หากมุสลิมเดินบนเส้นทางอันเที่ยงตรงควบคู่กับการยึดมั่นธงนำที่ถูกต้องแล้ว มุสลิมจะก้าวสู่หลักชัยและไม่มีวันหลงทางเป็นอันขาด

เส้นทางอันเที่ยงตรงสำหรับมนุษยชาติคืออิสลาม ในขณะที่ธงนำที่ได้รับการประกันความถูกต้องคือ  อัลกุรอานและสุนนะฮฺ ที่ผ่านการอรรถาธิบายจากบรรดานักวิชาการมุสลิมที่ได้รับการยอมรับ

6. ฮัจญ์ คือ การสัญจรสู่ถนนแห่งอาคิเราะฮฺ

ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ต้องออกจากบ้านเกิดเมืองนอนซึ่งจำต้องห่างเหินกับครอบครัว พี่น้องผองเพื่อนและบ้านเกิด เปรียบเสมือนผู้ที่พรากจากโลกดุนยา ซึ่งต้องสูญสิ้นทุกอย่างแม้แต่คนรัก ในขณะที่การอาบน้ำ หรือการอาบน้ำละหมาดและการหุ้มกายด้วยผ้า 2 ผืน ก็เปรียบเสมือนการห่อหุ้มศพของผู้เสียชีวิตที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ต้องดำเนินการให้แก่ตนเองก่อนที่จะให้คนอื่นดำเนินการแทนในลักษณะเช่นนี้เมื่อสิ้นชีวิตไป

 การวุกุฟที่อะเราะฟะฮฺที่ควบคู่กับการรำลึกและดุอาต่อเอกอัลลอฮฺ ก็เสมือนสภาพของมนุษย์ที่ถูกฟื้นคืนชีพในวันกียามะฮฺที่ทุกคนกลับไปหาสู่อัลลอฮฺโดยอาศัยเสบียงแห่งตักวาและอีมานเท่านั้น มุสลิมได้รับการฝึกฝนให้ยอมรับสภาพของการกลับหาสู่อัลลอฮฺในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ ก่อนที่เขาจะกลับสู่อัลลอฮฺอย่างแท้จริงเมื่อสิ้นชีวิตแล้ว

ช่างเป็นบรรยากาศที่มีความหมายอันลึกซึ้งที่สามารถเตือนสติแก่ผู้มีปัญญาทั้งหลาย

7. ฮัจญ์คือเวทีภาคปฏิบัติจรรยามารยาทอันสูงส่ง

ตลอดระยะเวลาของการทำฮัจญ์ ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ต้องฝึกฝนให้อยู่ในระเบียบวินัย รู้จักควบคุมอารมณ์ เชื่อฟังผู้นำผู้ทรงคุณธรรม บากบั่นต่อสู้กับความยากลำบากและความเหนื่อยล้าด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ทักทายผู้คนด้วยสลาม ให้อาหาร ใช้วาจาที่สุภาพอ่อนโยน การมีมารยาทอันสูงส่ง และยับยั้งอารมณ์ตนเองมิให้พลาดพลั้งกระทำสิ่งต้องห้ามและสิ่งอบายมุขต่างๆโดยเฉพาะการร่วมหลับนอนกับภรรยาและสิ่งที่กระตุ้นอารมณ์ทางเพศการกระทำอบายมุข และการทะเลาะเบาะแว้ง ตลอดจนหมั่นกระทำความดีทั้งหลาย ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขสำคัญของฮัจญ์มับรูรฺ เพื่อนำไปปฏิบัติเป็นวิถีชีวิตยามกลับสู่มาตุภูมิต่อไป

8.  ฮัจญ์คือการประยุกต์ใช้สาสน์แห่งสันติภาพ

ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์คือผู้ใฝ่สันติ เขาไม่สามารถสร้างความเดือดร้อนใดๆไม่ว่าต่อตนเอง ผู้อื่นสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เหล่าสิงสาราสัตว์แม้กระทั่งกิ่งก้านหรือใบไม้เล็กๆ ก็ตาม ช่วงเวลาการทำฮัจญ์คือช่วงเวลาแห่งสันติ ในขณะที่มักกะฮฺคือดินแดนและอาณาบริเวณที่สันติสุข ดังนั้นผู้ประกอบพิธีฮัจญ์จึงซึมซาบบรรยากาศของสันติภาพทั้งเงื่อนไขแห่งเวลาและสถานที่ เพื่อฝึกฝนให้มุสลิมสร้างความคุ้นเคยในภาคปฏิบัติสู่การประยุกต์ใช้วิถีแห่งสันติในชีวิตจริงต่อไป

สิ่งเหล่านี้คือส่วนหนึ่งของปรัชญาฮัจญ์มับรูรฺ ที่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ต้องศึกษาเรียนรู้และให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง รู้จักประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเมื่อกลับสู่มาตุภูมิ หาไม่แล้วฮัจญ์ก็เป็นเพียงทัศนาจรราคาแพงที่มีการเก็บออมและลงทุนทั้งชีวิต แต่ไม่สามารถเกิดดอกออกผลในชีวิตจริง สังคมมุสลิมก็ตกในวังวนแห่งการบูชาพิธีกรรมและเทศกาลที่ไม่มีผลต่อระบวนการพัฒนาเลย วัลลอฮฺ อะอฺลัม.


โดย Mazlan Muhammad

กิยามะฮ์และต้นกล้า

นบีมูฮัมมัด صلى الله عليه وسلم กล่าวว่า

روى أحمد (12902) ، والبخاري في “الأدب المفرد” (479) ، وعبد بن حميد في “مسنده” (1216) ، والبزار في “مسنده” (7408) عَنْ أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ( إِنْ قَامَتِ السَّاعَةُ وَفِي يَدِ أَحَدِكُمْ فَسِيلَةٌ، فَإِنِ اسْتَطَاعَ أَنْ لَا تَقُومَ حَتَّى يَغْرِسَهَا فَلْيَغْرِسْهَا ) .

ولفظ أحمد : ( إِنْ قَامَتْ عَلَى أَحَدِكُمُ الْقِيَامَةُ ، وَفِي يَدِهِ فَسِيلَةٌ فَلْيَغْرِسْهَا ) .

وصححه الألباني في “الصحيحة” (9) .

ความว่า :

หากผู้ใดประสบกับกิยามะฮ์ (ความอลหม่าน ปั่นป่วน) และในมือของเขามีต้นกล้า เขาจงปลูกมันเถิด

บทเรียนจากหะดีษนี้

       1.    กิยามะฮ์ ณ ตรงนี้อาจหมายถึงวันกิยามะฮ์ที่เป็นที่รู้กัน และอาจหมายถึงภาวะความสับสนอลหม่านที่เกิดขึ้นทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว สังคมหรือประเทศ สังเกตได้จากสำนวนหะดีษที่ว่า  إن قامت الساعة (หากวันกิยามะฮ์เกิดขึ้น) إن قامت على أحدكم القيامة (หากวันกิยามะฮ์เกิดขึ้นกับผู้ใด)

       2.    จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ปัจจุบัน ทุกคนเห็นพ้องกันว่า นี่คือภาวะความสับสนอลหม่านอันหนักหน่วงที่สุดที่รุมเร้ามนุษยชาติทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว สังคม ประเทศ ภูมิภาคและสากล  เราทุกคนรู้ดีหรืออาจประสบด้วยตนเอง

       3.    ท่ามกลางความสับสนอลหม่านของสังคมโลก นบีแห่งอิสลามได้สอนให้ผู้ศรัทธารู้จักใช้สติ มองอนาคตด้วยความหวัง มองโลกในแง่ดี ปลุกจิตสำนึกและเพิ่มพลังบวก ด้วยการแนะนำให้”ปลูกต้นกล้า” ให้งอกเงยไปทั่วโลกหล้า

       4.    “ต้นกล้า” ณ ที่นี้ หาใช่เป็นเพียงหน่อไม้หรือต้นอ่อนเพียงชนิดเดียว หากยังรวมถึง “ต้นกล้าแห่งความดีงาม” ที่เป็นต้นทุนซึ่งอาจถูกซุกซ่อนในแต่ละคนหรือสังคม เป็นต้นกล้าหรือเมล็ดพันธุ์ที่พร้อมงอกเงยอย่างสมบูรณ์ เมื่อถูกปักหรือหว่านลงในดินอันอุดมสมบูรณ์

       5.    มนุษย์ทุกคนมี “ต้นกล้า” ที่เขาสามารถปักลงบนดินเพื่อแพร่ขยายความดีงามให้อนุชนรุ่นหลังสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งเป็นทรัพย์สมบัติ ความรู้ ประสบการณ์ ผลงานและความดีงามต่างๆ ที่เขาสามารถแปลงเป็นเศาะดะเกาะฮ์ ญาริยะฮ์ (กุศลทานอันไหลริน)

       6.    นบีแห่งอิสลามไม่เคยสอนให้เราเป็นคนท้อแท้ สิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย โทษคนอื่นและงอมืองอเท้ารับมือโชคชะตาโดยไม่พยายามแก้ไขปัญหาอย่างสุดความสามารถ ทว่า สอนเราให้รู้จักใช้สถานการณ์วิกฤตให้เป็นโอกาส หมั่นเพาะปลูกต้นกล้าแห่งความดี แม้ว่าจะอยู่ในภาวะคับขันอันแสนสาหัสสักปานใดก็ตาม

       7.    จึงขอเชิญชวนพี่น้องที่กำลังประสบกับภาวะกิยามะฮ์แห่งโควิดขณะนี้ ลองสำรวจในตัวท่านและรอบๆตัวท่านว่า มี”หน่อไม้” หรือ “เมล็ดพันธุ” ชนิดไหนบ้างที่อยู่ในมือท่าน ที่ท่านพอมีความสามารถหว่านหรือปักมันลงในดินแห่งความดี วันนี้ท่านได้ใช้ทรัพย์สิน เงินทอง ตำแหน่งหน้าที่ ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ เพื่อเป็นกุศลทานให้ลูกหลานในวันข้างหน้าหรือยัง

#กิยามะฮ์เกิดขึ้นแล้ว

#แต่ในมือท่าน_ยังมีต้นกล้า


โดย Mazlan Muhammad

เกณฑ์การพิจารณาคน

อยากให้พี่น้องอ่านบทความนี้อย่างน้อย 5 จบครับ

(บทความ 3 ภาษา)

—————————-

قال الشيخ محب الدين الخطيب في مقدمته على ‘العواصم’ لابن العربي:

“والتاريخ الصادق لا يريد من أحد أن يرفع لأحد لواء الثناء والتقدير، لكنه يريد من كل من يتحدث عن رجاله أن يذكر لهم حسناتهم على قدرها، وأن يتقى الله في ذكر سيئاتهم فلا يبالغ فيها ولا ينخدع بما افتراه المغرضون من أكاذيبها.

نحن المسلمين لا نعتقد العصمة لأحد بعد رسول الله – صلى الله عليه وسلم -، وكل من ادعى العصمة لأحد بعد رسول الله – صلى الله عليه وسلم – فهو كاذب. فالإنسان إنسان، يصدر عنه ما يصدر عن الإنسان، فيكون منه الحق والخير، ويكون منه الباطل والشر.

وقد يكون الحق والخير في إنسان بنطاق واسع فيعد من أهل الحق والخير، ولا يمنع هذا من أن تكون له هفوات. وقد يكون الباطل والشر في إنسان آخر بنطاق واسع، فيعد من أهل الباطل والشر، ولا يمنع هذا من أن تبدر منه بوادر صالحات في بعض الأوقات.

يجب على من يتحدث عن أهل الحق والخير إذا علم لهم هفوات، أن لا ينسى ما غلب عليهم من الحق والخير، فلا يكفر ذلك كله من أجل تلك الهفوات.

ويجب على من يتحدث عن أهل الباطل والشر إذا علم لهم بوادر صالحات، أن لا يوهم الناس أنها من الصالحات من أجل تلك الشوارد الشاذة من أعمالهم الصالحات.”

مقدمة العواصم (46 – 47).

🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒

‎بركات الشيخ محب الدين الخطيب رحمه الله دالم مقدمة بليو كفد العواصم  كاريا ابن العربي رحمه الله

‎سجاره يڠ بنر، تيدق ممرلوكن ڤوجي- ڤوجين دري سسياڤ ڤون، تاڤي اڤ يڠ دڤرلوكن اياله اڬر كيت سموا مڠنڠ جاس دان كبايكن ڤارا توكوه سيلم مڠيكوت قدر سومبڠن يڠ تله مريك چورهكن . تاكوتله

‎كڤد الله دالم مڽبوت كبوروقكن مريك ، جاڠن كترلالوان دان جاڠن ڤول ترتيڤو دڠن بريتا – بريتا ڤلسو حاصل چيڤتأن ڤارا ڤندوستا

سباڬي سئورڠ مسلم ، كيت برايمان بهاوا تياد سياڤ ڤون يڠ معصوم سلأين درڤد رسول الله صلى الله عليه وسلم، سياڤ يڠ مڠاكو ديريڽ مميليكي كإيستيميوأن اين ، مك دي اداله سبنرڽ ڤندوستا . مأنسي اداله تتڤ مأنسي ، دي اكن برتيندق سڤرت مأنسي بياس برتيندق . مك دي اكن ملاكوكن كبنرن دان كبأيكن ، سڤرتيمان دي اكن ملاكوكن كباطلن دان كجاهتن.

تركادڠ ،

دالم ديري سبهاڬين مأنسي  ، اد ترداڤت  سيسي بنر دان بأيكڽ  يڠ بڬيتو باڽق، لالو كيت  ملتقكن دي سباڬي مأنسي يڠ بأيك دان صالح ،  مسكيڤون دي موڠكين ڤرنه ملاكوكن كسيلڤن. دان  سبهاڬين مأنسي ، اد تردافت سيسي باطل دان بوروقڽ يڠ بڬيتو باڽق ، لالو دي دڬولوڠكن سباڬي اورڠ جاهت دان باطل ، مسكيڤون دي جوڬ ملاكوكن كبأيكن  .

‎ اوله حال دمكين ، باڬي مريك يڠ مڽبوت تنتڠ اورڠ يڠ بنر دان صالح ، دكالا برلاكو ڤداڽ ببراڤ كسيلڤن ريڠن، مك جاڠنله دي ملوڤأي كبنرن دان كبايكنڽ يڠ باڽق ايت ، جاڠنله سكالي-كالي كبايكنڽ منجادي سيا-سيا اوليه كران كسيلڤنڽ يڠ امت سديكيت

‎دمكين جوڬ اڤبيل سسئورڠ برچاكڤ تنتڠ سي باطل دان جاهت، والوڤون اي مميليكي چيري- چيري كبايكن ، مك جاڠن سكالي-كالي اي مڠليروكن مأنسي كو

نونڽ دي اداله اورڠ صالح،دڠن سبب عمالن بأيكڽ يڠ أمت سديكيت ايت

🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒

ประวัติศาสตร์ที่แท้จริง ไม่ต้องการให้ใครยกธงสรรเสริญเยินยอใคร แต่ต้องการให้ทุกคนกล่าวถึงวีรบุรุษในประวัติศาสตร์ของพวกเขาด้วยคุณงามความดี ตามผลงานของพวกเขาและจงยำเกรงพระเจ้าในการกล่าวถึงความชั่วร้ายของพวกเขา ดังนั้น จงอย่าพูดเกินจริงและอย่าให้ถูกหลอกลวงโดยคำโกหกของคนคิดร้ายประดิษฐ์ขึ้น

ในฐานะมุสลิม เราเชื่อศรัทธาว่า นอกจากเราะซูลุลลอฮ์แล้ว ไม่มีผู้ใดที่ปลอดภัยจากการพลาดพลั้งและทำบาป

ผู้ใดคิดว่าตนมีสิทธิ์พิเศษนี้ คนนั้นคือจอมโกหก มนุษย์คือมนุษย์ ที่อาจแสดงพฤติกรรมในฐานะมนุษย์ปุถุชน เขาอาจแสดงออกถึงสัจธรรมและความดีงาม เฉกเช่นที่เขาอาจกระทำสิ่งมดเท็จและความชั่วร้าย

คนๆหนึ่งอาจมีส่วนของสัจธรรมและความดีงามในตัวเขามากมาย เราจึงนับเขาว่าเป็นคนดีมีคุณธรรม ถึงแม้เขาอาจพลั้งพลาดในบางครั้งก็ตาม และคนๆหนึ่ง อาจมีส่วนของความมดเท็จและความชั่วร้ายอยู่มากมาย เขาจึงถูกนับอยู่ในกลุ่มคนมดเท็จและชั่วร้าย แม้ในบางครั้งบางคราว เขาอาจทำความดีบ้างก็ตาม

ดังนั้น สำหรับผู้ที่พูดถึงคนดีมีคุณธรรม ซึ่งอาจเกิดความบกพร่องหรือพลาดพลั้ง เขาจำเป็นต้องให้น้ำหนักกับสัจธรรมและความดีงามอันมากมายของเขา อย่าให้ความดีงามของเขากลายเป็นสิ่งไร้ค่าด้วยความผิดพลาดอันน้อยนิดของเขา

เข่นเดียวกันกับ คนที่พูดถึงคนมดเท็จและชั่วช้า เมื่อรู้ว่าเขาเคยทำความดีมาบ้าง ก็อย่าทำให้ผู้คนสับสนว่าเขาเป็นคนดีมีคุณธรรม จนกระทั่งกลบเกลื่อนความชั่วร้ายอันมากมาย เมื่อเทียบกับเสี้ยวหนึ่งความดีของเขา


โดย Mazlan Muhammad

สารร้อนจากตุรกีเรียกร้องและสั่งสอนชัยค์อัซฮัรและมุฟตีอียิปต์

ศาสตราจารย์มุฮัมมัด กูร์มาซ อดีตหัวหน้าฝ่ายศาสนาของตุรกี ปัจจุบันดำรงหัวหน้าสถาบันความคิดอิสลาม ได้ส่งสารด่วนถึงชัยค์อะหมัด  ตอยยิบ ชัยค์อัซฮัรและเชากี  อัลลาม มุฟตีอียิปต์

สารดังกล่าวปรากฏในวิดีโอที่เผยแพร่โดยกูรมาซ  เมื่อวันเสาร์ 27/6/2021  ซึ่งเน้นย้ำถึง “ความจำเป็นในการกดดันต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจในอียิปต์เพื่อให้เปลี่ยนใจในการพิพากษาประหารชีวิตนักวิชาการและปัญญาชน 12 คน หลังจากการพิจารณาคดีและการจำคุกเป็นเวลานาน เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง ที่เกิดขึ้นในอียิปต์ตั้งแต่ปี 2013”

กูร์มาซเตือนว่า “การดำเนินการประหารชีวิตนี้จะเป็นอันตรายต่อมวลประชาชาติอิสลาม ทั้งในด้านการเมืองและศาสนา เพิ่มความบาดหมางกันและขยายขอบเขตการละเมิดระหว่างภาคส่วนต่างๆ ของอียิปต์”

ศ.กูร์มาซ เน้นว่า “ใครก็ตามที่ออกฟัตวาและลงนามในคำพิพากษานี้จะถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ว่าเป็นมุฟตีเลือดและปืน”

กูร์มาซกล่าวว่า “การตัดสินประหารชีวิตนักวิชาการและนักคิดเหล่านี้เนื่องจากแรงกดดันทางการเมืองนั้น  ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับหลักการของอิสลามที่เรียกร้องให้เคารพความศักดิ์สิทธิ์ของเลือดและชีวิตของชาวมุสลิม เคารพในความคิดและเสรีภาพ และเรียกร้องความเป็นธรรมและความยุติธรรม  แม้ในเหตุการณ์การแข่งขันทางการเมือง”

ศ.กูร์มาซแสดงถึงการยอมรับต่อเงื่อนไขทางการเมืองที่อียิปต์กำลังเผชิญอยู่ โดยถือว่าเป็นความพยายามในการยุติความขัดแย้งภายในทุกประเด็นที่พยายามบ่อนทำลายความมั่นคงของสังคมอียิปต์และติดหล่มความไม่สงบ”

กูร์มาซเรียกร้องมุฟตีของอียิปต์ ซึ่งเป็นผู้ลงนามรับรองการประหารชีวิต ให้ตรวจสอบคำพิพากษาดังกล่าว และพยายามใช้บทบาทอำนาจที่มีเพื่อปกป้องรักษาชีวิตของชาวมุสลิม โดยเน้นว่า “ประชาชาติอิสลามจะไม่มีวัน ลืมความเมตตากรุณาของทุกคนที่ยืนหยัดเพื่อสัจจธรรม และหยุดยั้งการสร้างความเดือดร้อนต่อชาวมุสลิม และพยายามอย่างเต็มที่เพื่อรักษาความเป็นเอกภาพและความสามัคคีของมุสลิม”

กูร์มาซเตือนให้รำลึกถึงบทบาทของดินแดนอียิปต์อันมีเกียรติในยุครุ่งอรุณแห่งอิสลามในฐานะที่เป็นแหล่งกำเนิดนักวิชาการและที่พักพิงสำหรับนักศึกษาหาความรู้”

นอกจากนี้ เขายังกล่าวอีกว่า “ไม่มีใครปฏิเสธสถานะของอัลอัซฮาร์โดยเฉพาะและอียิปต์ในประเทศอิสลาม ยกเว้นผู้เนรคุณ” โดยเน้นว่า “ศักดิ์ศรีอันยิ่งใหญ่นี้ทำให้อียิปต์มีความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ และได้กลายเป็นบทบาทต้นแบบสำหรับโลกอิสลาม และเป็นที่ยอมรับในด้านวิทยาการ ความยุติธรรม ความเคร่งครัดในศาสนา  จริยธรรม อารยธรรม และความทันสมัย”

เขากล่าวเสริมว่า “จากทั้งหมดที่กล่าวมา เรารู้สึกตกใจกับข่าวการพิพากษาประหารชีวิตนักวิชาการและนักคิดชาวอียิปต์ 12 คน หลังจากการพิจารณาคดีและจำคุกเป็นเวลานาน”

กูร์มาซกล่าวต่อชัยค์อัซฮัรและมุฟตีอียิปต์ ว่า “ตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม มุฟตีเป็นผู้สืบทอดพระศาสดาในการปฏิบัติหน้าที่วินิจฉัยบทบัญญัติศาสนา และมุฟตีเป็นผู้ลงนามในนามของอัลลอฮ์ ไม่ใช่ผู้ลงนามในนามการเมือง รัฐบาล และผู้มีอำนาจ ผู้ใดฟัตวาตามความรู้สึกหรือการคาดเดา  ถือเป็นการอ้างเท็จต่ออัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์โดยปราศจากความรู้ และรับบาปของผู้ที่ขอคำฟัตวา”

กูร์มาซปิดท้ายคำแถลงโดยอายะฮ์อัลกุรอานที่ว่า

 “وَلَا تَقُولُوا لِمَا تَصِفُ أَلْسِنَتُكُمُ الْكَذِبَ هَٰذَا حَلَالٌ وَهَٰذَا حَرَامٌ لِّتَفْتَرُوا عَلَى اللَّهِ الْكَذِبَ ۚ إِنَّ الَّذِينَ يَفْتَرُونَ عَلَى اللَّهِ الْكَذِبَ لَا يُفْلِحُونَ”.

“และอย่าพูดในสิ่งที่ลิ้นของท่านโกหกว่าสิ่งนี้หะลาลและสิ่งนั้นฮาราม เพื่อการอ้างเท็จต่ออัลลอฮ์  ผู้ที่อ้างเท็จต่ออัลลอฮ์จะไม่ประสบความสำเร็จ”

ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2021 ศาลอุทธรณ์ของอียิปต์ อันเป็นศาลสูงสุดในระบบศาลยุติธรรมของอียิปต์ ได้พิพากษายืนให้ประหารชีวิตบุคคล 12 คน ขณะที่ปรับเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต (25 ปี) กับผู้ต้องหาอีก 32 คน

คำตัดสินเหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากการพิจารณาคดีของจำเลย 739 คนในคดีที่มีส่วนร่วมในการต่อต้านรัฐประหารที่จัตุรัสรอบีอะฮ์ อัล-อดาวิยะฮ์ ในกรุงไคโร ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2013 ในคดีที่เรียกว่า “คดีสลายการชุมนุมที่รอบีอะฮ์” ซึ่งผู้สนับสนุนประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มุร์ซีแห่งอียิปต์ได้เข้าร่วมประท้วงต่อต้านการรัฐประหาร ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายหลายพันคน

ฟิลิป ลูเทอร์ ผู้อำนวยการโครงการวิจัยและสนับสนุนโครงการตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวดังกล่าว โดยกล่าวว่า “โทษประหารชีวิตที่รุนแรงเหล่านี้ถูกพิพากษาปี 2018 หลังจากการไต่สวนคดีหมู่อย่างไร้ความเป็นธรรมอย่างร้ายแรง ถือเป็นความอัปยศที่ทำลายชื่อเสียงของศาลสูงสุดของอียิปต์” พร้อมกับเรียกร้องรัฐบาลอียิปต์ให้ออกคำสั่งอย่างเป็นทางการให้หยุดการดำเนินการตามคำพิพากษา และพิจารณาคดีใหม่อีกครั้งต่อผู้ประท้วงที่เคยถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานก่ออาชญากรรมรุนแรง ในการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมและเป็นกลางโดยไม่ใช้โทษประหารชีวิต”

ในส่วนของ Human Rights Watch International ในวันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน 2026 ได้เรียกร้องให้ทางการอียิปต์ลดโทษประหารชีวิตนักโทษ 12 คน รวมทั้งผู้นำของกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ในคดีที่สื่อเรียกว่า “คดีสลายการชุมนุมที่รอบีอะฮ์” ที่โดดเด่นได้แก่ มุฮัมมัด บัลตาจี อับดุรรอหมาน อัลบัรร์ และอุซามะฮ์  ยาซีน อดีตรัฐมนตรีในยุคมุรซี

ในคำแถลงของโจ สตอร์ก รองผู้อำนวยการฝ่ายตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ของ  Human Rights Watch International เรียกร้องให้ประธานาธิบดีซิซีของอียิปต์หยุดโทษประหารชีวิตทันที

ในบริบทเดียวกัน นักเคลื่อนไหวทางการเมืองและสิทธิมนุษยชนจากอียิปต์และทั่วโลก และองค์กรระหว่างประเทศ ทำจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ รัฐบาลอียิปต์ยุติการประหารชีวิตนักการเมืองอียิปต์จำนวนหนึ่งตามคำพิพากษาที่เพิ่งออกมาเมื่อเร็วๆ นี้”

ผู้ลงนามในจดหมายแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งที่นับตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนปี 2013 ทางการอียิปต์ได้เปลี่ยนกลไกการพิจารณาคดีให้เป็นระบบการปราบปรามแบบบูรณาการ ซึ่งได้ออกคำพิพากษาโทษประหารชีวิตฝ่ายตรงข้ามจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และได้ดำเนินการประหารชีวิตฝ่ายตรงข้ามไปหลายสิบคน

ผู้ลงนามเน้นว่า “โทษประหารชีวิตเหล่านี้แสดงถึงการละเมิดพันธสัญญาระหว่างประเทศและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน เนื่องจากคำพิพากษาเหล่านี้ส่วนใหญ่ออกมาหลังจากการพิจารณาคดีที่ขาดมาตรฐานความยุติธรรมขั้นพื้นฐานที่สุดก่อน ที่ศาลพิเศษที่ทางการอียิปต์จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินคดีฝ่ายตรงข้ามหรือนักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมทั้งหมด”

พวกเขาย้ำว่า “การปฏิบัติของรัฐบาลซีซี ละเมิดสนธิสัญญาทั้งหมดที่เขาทำกับสหภาพยุโรปภายใต้ปฏิญญาความร่วมมืออียิปต์-ยุโรป ที่ซีซีได้ยืนยันการเคารพสิทธิมนุษยชนและข้อตกลงที่เกี่ยวข้อง”

พวกเขาเน้นว่า “ระบอบการปกครองของอียิปต์จะไม่ออกคำสั่งประหารชีวิตต่อไปโดยปราศจากความเงียบของยุโรป ที่ยังเพิ่มความร่วมมือกับระบอบซิซีและการเยือนของผู้นำยุโรปไปยังอียิปต์ การต้อนรับซีซีในปารีสปี 2020 และ 2021 และมอบรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดให้”

ผู้ลงนามในจดหมายฉบับนี้ ได้แก่ Mohamed Mahsoub Darwish อดีตรัฐมนตรีและศาสตราจารย์ด้านกฎหมายของอียิปต์ Ayman Nour หัวหน้าพรรค Ghad Al-Tawra, Bahey El-Din Hassan นักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาวอียิปต์ และ Mohamed El-Feki หัวหน้าของฟอรัมรัฐสภาอียิปต์เพื่อเสรีภาพ

ในบรรดาองค์กรที่ลงนามในจดหมายนั้น ได้แก่ French Rally for the Defense of Democracy in Egypt, the Association for Justice and Rights Without Borders, the Women’s Association for Human Rights, Egyptians Abroad for Democracy in Japan, and the Egyptian community in South Africa.

และองค์กรและสมาคมอิสลาม 31 แห่งได้ถือว่า “การสนับสนุนการตัดสินประหารชีวิตนี้เป็นลางร้าย และการดำเนินการตามนั้นจะเป็นความโง่เขลาและอาชญากรรมครั้งใหญ่ที่จะเปิดประตูกว้างสำหรับผลที่เลวร้าย”

คำพูดนี้ปรากฏขึ้นในแถลงการณ์ร่วมที่ออกโดยองค์กรและสมาคมเหล่านี้ ซึ่งพวกเขาแสดงความโกรธและประณามคำพิพากษาที่ออกโดยตุลาการของอียิปต์ ต่อนักวิชาการ 12 คนและผู้นำของขบวนการอิสลาม รวมถึงโทษจำคุกตลอดชีวิตต่อคนอื่น ๆ  องค์กรเหล่านั้นเรียกร้องให้เพิกถอนคำพิพากษาที่ไม่เป็นธรรมเหล่านี้ในทันที” โดยเตือนว่าการดำรงอยู่ต่อไปของคำพิพากษาเหล่านั้นอาจระเบิดสถานการณ์และส่งผลให้เกิดการกระทำที่ไม่มีใครสามารถควบคุมได้

ในบรรดาสมาคมและองค์กรอิสลามที่โดดเด่นที่สุดที่ลงนามในแถลงการณ์ ได้แก่ International Union of Muslim Scholars, Association of Ahl al-Sunnah Scholars, Council of Palestinian Scholars, the Libyan Dar al-Ifta, the Council of Yemeni Scholars, สหพันธ์นักวิชาการและสถาบันอิสลามในตุรกี และสมาคมสหภาพอิสลามในเลบานอน


อ่านเพิ่มเติม

โดย Ghazali Benmad

ฟัตวาของโอไอซีว่าด้วยโคโรน่า [ตอนที่ 1]

องค์กรโอไอซี Organisation of Islamic Cooperation-OIC    เป็นองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในโลกรองจากสหประชาชาติ มีสมาชิก 57 ประเทศ มีสถาบันฟิกฮ์ International Fiqh Academy ที่ประชุมที่ใหญ่ที่สุดในโลกของนักฟิกฮ์มุสลิมระดับตัวแทนของรัฐสมาชิก  จัดสัมมนาพิเศษเพื่อหารือเกี่ยวกับพัฒนาการของโคโรนาจากมุมมองทางศาสนา เมื่อ 16 เมษายน 2020 โดยมีสมาชิกคณะกรรมการฟัตวาและแพทย์เข้าร่วม 30 คน ในการประชุมแบบ“ออนไลน์”  โดยมีนักวิชาการผู้หญิงและแพทย์มีส่วนร่วม

ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับฟัตวาและแนวทางนิติศาสตร์อิสลามประมาณ 23 ข้อ เกี่ยวกับการระบาดใหญ่ของโคโรนา ในบรรดาฟัตวาที่โดดเด่นที่สุดเหล่านี้คือการอนุมัติให้ถอดอุปกรณ์ช่วยหายใจเมื่อจำเป็นออกจากผู้ที่ติดเชื้อไวรัส และอนุญาตให้แพทย์ละหมาดรวม รวมถึงการอนุญาตสัญญาการแต่งงาน “ออนไลน์” นอกเหนือจากการห้ามใช้กลไก “ภูมิคุ้มกันหมู่” ในการรักษา

ต่อไปนี้ เป็นบทสรุปฟัตวาที่สภาฟิกห์ International Fiqh Academy ตามคำแถลงที่ออกโดยสภาและองค์การความร่วมมืออิสลาม

1. คำจำกัดความของโรค

โรคโคโรนาไวรัส  2019 หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า “โควิด-19” คือ การติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ และองค์การอนามัยโลกประกาศอย่างเป็นทางการว่าโรคระบาดนี้เป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลกเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 ระดับการติดเชื้อมีตั้งแต่การเป็นพาหะไวรัสแต่ไม่มีอาการ  ไปจนถึงขั้นรุนแรง อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 2 ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ แต่จะแตกต่างกันไปตามประเทศและความรุนแรงของอาการ ไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อนี้ได้ มาตรการควบคุมการติดเชื้อยังคงเป็นตัวหลักในการป้องกัน เช่น การล้างมือและการระงับอาการไอ การเว้นระยะห่างทางกายภาพของผู้ดูแลผู้ป่วย นอกเหนือจากสิ่งที่เรียกว่า social distancing ระหว่างผู้คน

 2. เป็นที่ทราบกันดีว่าหลักการอิสลามมีลักษณะเด่นหลายประการ ที่สำคัญที่สุดคือ การบรรเทาความยากลำบาก  การเปิดกว้าง การอำนวยความสะดวก การห่างไกลความลำบาก และการบังคับเพียงน้อย 

และหากพบว่ามีความยากลำบากและความจำเป็นแล้ว อัลลอฮ์ผู้ทรงฤทธานุภาพได้อนุญาตให้ทำสิ่งต้องห้าม และละทิ้งสิ่งที่จำเป็นต้องทำไปจนกระทั่งความจำเป็นดังกล่าวสิ้นสุดลง และนั่นคือความเมตตา ความเมตตากรุณาและความเอื้ออาทรจากอัลลอฮ์ที่มีต่อบ่าวของพระองค์

 3. ดังนั้นคนจึงมีความจำเป็นในการปกป้องชีวิตและสุขภาพ  มุสลิมต้องป้องกันตนเองจากโรคภัยไข้เจ็บให้มากที่สุด และหลักการอิสลามมีหน้าที่ในการช่วยชีวิตจากการถูกทำลาย และทำให้การมีชีวิตรอดเป็นสิทธิ์ของแต่ละคน โดยการป้องกันโรคและความเจ็บป่วยก่อนที่จะเกิดขึ้นและโดยการรักษาหลังจากที่เกิดขึ้น ท่านศาสดามูฮัมหมัด ศอลฯ กล่าวว่า

“عباد الله، تداووا، فإنَّ الله تعالى لم يضع داءً إلا وضع له الدواء إلا داء واحداً: الهرَمُ”،

“บ่าวของอัลลออ์ จงแสวงหายา เพราะอัลลอฮ์ผู้ทรงฤทธานุภาพไม่ได้สร้างโรคโดยไม่ได้ให้มียารักษา ยกเว้นโรคเดียว : ชราภาพ”

รวมถึงไม่อนุญาตให้สิ้นหวังในความช่วยเหลือของอัลลอฮ์หรือสิ้นหวังในความเมตตาของพระองค์ หากทว่าความหวังในการรักษาโรคให้หายควรคงอยู่  ดังนั้น ศาสนาอิสลามจึงปฏิเสธสิ่งที่เรียกว่า “ภูมิคุ้มกันหมู่” ที่เรียกร้องให้ปล่อยให้โรคแพร่กระจายก่อน ซึ่งจะทำลายผู้ที่สมควรเสียชีวิต ทั้งผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เพราะถือเป็นความล้มเหลวในการปฏิบัติต่อสิ่งจำเป็นตามหลักการรักษาโรค

4. รัฐบาลอาจกำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับเสรีภาพส่วนบุคคลในลักษณะที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการป้องกันการเข้าและออกจากเมือง เคอร์ฟิว กักกันพื้นที่ใกล้เคียง หรือการห้ามเดินทาง และอื่นๆ ที่จะช่วยยับยั้งไวรัส และป้องกันการแพร่ระบาด เพราะเป็นไปตามหลัก “การกระทำของผู้นำประเทศต้องรับผิดชอบต่อสังคม” เป็นไปตามกฎชารีอะฮ์ที่ระบุว่า

“تصرف الإمام على الرعية منوط بالمصلحة”

“การปฏิบัติของผู้นำต่อประชาชนเป็นไปตามอรรถประโยชน์”

5. ความสะอาดในศาสนาอิสลามเป็นศาสนกิจและการทำดีต่ออัลลอฮ์ประการหนึ่ง  ดังหลักฐานในเรื่องนี้ที่มีมากมาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขอนามัยส่วนบุคคลทั่วไปและข้อควรระวังเฉพาะสำหรับโรคระบาดนี้ อันได้แก่ การล้างมือด้วยสบู่และน้ำ การสวมใส่ หน้ากากอนามัย ถุงมือ และการปฏิบัติตามคำสั่งด้านสุขภาพที่ออกโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นหน้าที่ตามกฎหมายในการป้องกันไวรัส และอนุญาตให้ใช้เครื่องฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อที่มือและพื้นผิว ที่จับ ฯลฯ ได้ เนื่องจาก “แอลกอฮอล์ดังกล่าวไม่ใช่นะจิส-สิ่งสกปรก-ตามหลักการอิสลาม”

 6. การคัดแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสถือเป็นการปฏิบัติที่จำเป็นตามหลักการอิสลาม ดังที่ทราบกันทั่วไป และสำหรับบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเป็นพาหะของไวรัสหรือแสดงอาการของโรคในระหว่างกักตัวอยู่บ้าน ต้องปฏิบัติตามที่เรียกว่า social distancing  ต่อครอบครัวและคนทั่วไปผู้ที่มาติดต่อสัมพันธ์กับเขา รวมทั้งไม่อนุญาตให้ผู้มีอาการ บิดบังอาการของโรคต่อหน่วยงานทางการแพทย์ที่มีอำนาจ ตลอดจนผู้ที่ติดต่อกับเขา  นอกจากนี้ยังจำเป็นสำหรับทุกคนที่รู้จักผู้ติดเชื้อที่ไม่ระมัดระวังเกี่ยวกับโรค ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพ เพราะสิ่งนี้นำไปสู่การแพร่กระจายของโรคนี้และการขยายตัวของภัยอันตราย

7. แพทย์และผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า การชุมนุมทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ดังนั้นจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงเหตุผลและหลีกเลี่ยงการชุมนุมในทุกรูปแบบ

อัลลอฮ์กล่าวว่า

يا أيها الذين آمَنُوا خُذوا حِذْرَكُم

“ท่านผู้ศรัทธาทั้งหลายพึงระวังตัว” (อันนิสา : 71)

และรวมถึงการอนุญาตให้ปิดมัสยิดไม่ให้ละหมาดวันศุกร์ การละหมาดจามาอะฮ์ ละหมาดตะรอวิฮ์ การละหมาดอีด  ระงับการประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์ การระงับกิจการ การหยุดงาน  การขนส่ง เคอร์ฟิว ปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัย การใช้การศึกษาทางไกล และการปิดสถานที่ชุมนุมต่างๆ รวมถึงการปิดรูปแบบอื่น ๆ

8. เมื่อมัสยิด ที่ประชุมและกลุ่มต่างๆแล้ว  จำเป็นต้องรักษาการอะซาน เพราะเป็นหนึ่งในพิธีกรรมของศาสนาอิสลาม และมุอัซซินกล่าวในการเรียกร้องให้ละหมาด:

“صلوا في رحالكم أو في بيوتكم”

“ละหมาดในที่พักหรือในบ้านของพวกท่าน”

ตามหะดีษที่ท่านอิบนุอุมาร์และอิบนุอับบาส รายงานจากท่านศาสดามูฮัมหมัด ศอลฯ และอนุญาตให้ชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน ละหมาดจามาอะฮ์ได้ หากพวกเขาต้องการ โดยไม่เชิญเพื่อนบ้าน

 9. เมื่อมัสยิดปิดทำการ ผู้คนจะละหมาดซุห์รี่ที่บ้าน แทนการละหมาดวันศุกร์ ไม่อนุญาตให้ละหมาดวันศุกร์ที่บ้าน เพราะการละหมาดวันศุกร์ที่บ้านไม่สามารถทดแทนการละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิดได้ นอกจากนี้ หน่วยงานผู้มีอำนาจอาจจัดให้มีการกล่าวคุตบะฮ์และละหมาดวันศุกร์ในมัสยิด  ตามเงื่อนไขสุขภาพเชิงป้องกันและเงื่อนไขทางหลักฟิกฮ์  และมีการเผยแพร่ทางโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต และวิทยุ เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากสิ่งนั้น แต่ไม่อนุญาตให้ปฏิบัติละหมาดวันศุกร์ที่บ้านตามอิหม่ามที่มัสยิด เนื่องจากมีระยะห่างระหว่างพวกเขา

 10. อนุญาตให้คนทำงานในสาขาสุขภาพและความมั่นคงและอื่นๆที่คล้ายกัน ในสภาวะการระบาดใหญ่นี้ ใช้ข้อผ่อนปรนด้วยการใช้วิธีการละหมาดรวม ทั้งรวมล่วงหน้าหรือรวมร่นไปภายหลัง โดยการเปรียบเทียบกับการเดินทาง  ด้วยเหตุผลความยากลำบากและความจำเป็น หรือการรวมในเชิงกายภาพ ตามทัศนะของฝ่ายที่เห็นว่าไม่อนุญาตการละหมาดรวม


 อ่านต้นฉบับ

https://www.oic-oci.org/topic/?t_id=23343&t_ref=13985&lan=ar

โดย Ghazali Benmad

ความรักที่มีต่อท่านนบีมูฮัมมัด

เราไม่ต้องการความรักต่อนบี เหมือนความรักของอะบูฏอลิบ รักและชื่นชมนบี แต่ไม่ตามนบี จนเสียชีวิตในสภาพปฏิเสธอิสลาม

เราไม่ต้องการละหมาดของอับดุลลอฮ์บินอุบัยย์ ที่ละหมาดตามหลังนบี แต่หัวใจร้อนรุ่มด้วยความเกลียดชังนบี

เราไม่ต้องความสัมพันธ์ทางเครือญาติของอะบูละฮับพร้อมภรรยากับนบี ที่ทั้งสองได้ประกาศเป็นศัตรูกับนบีจนถึงวาระสุดท้าย

แต่เราต้องการจุดยืนของอับดุลลอฮ์บินอับดุลลอฮ์บินอุบัยย์ อิกริมะฮ์บินอะบูญะฮัล คอลิดบินวะลีด อุมัรบินค็อฏฏอบ และเศาะฮาบะฮ์ท่านอื่นๆ ที่เปิดตำราหน้าหนึ่งของชีวิตด้วยความเคียดแค้นและเกลียดชังอิสลาม แต่หลังจากทบทวนและคลุกคลี พวกเขามีบทสรุปท้ายบทอันสวยงามและสูงส่ง ด้วยการศรัทธาต่อนบีและโลดแล่นเป็นหนึ่งในพลทหารผู้ปกป้องและเผยแพร่อิสลาม


โดย Mazlan Muhammad

การสร้างจิตสำนึกต่อสังคม

قال رجلٌ: يا رَسولَ اللهِ، إنَّ فُلانةَ يُذكَرُ مِن كَثرةِ صَلاتِها وصَدقَتِها وصيامِها، غيرَ أنَّها تُؤذي جيرانَها بِلِسانِها؟ قال: هيَ في النَّارِ، قال: يا رَسولَ اللهِ، فإنَّ فُلانةَ يُذكَرُ مِن قِلَّةِ صيامِها وصَدقَتِها وصَلاتِها، وإنَّها تَتَصدَّقُ بالأَثوارِ مِن الأَقِطِ، وَلا تُؤذي جيرانَها بِلسانِها؟ قال: هيَ في الجنَّةِ.

الراوي : أبو هريرة | المحدث : الألباني | المصدر : صحيح الترغيب

الصفحة أو الرقم: 2560 | خلاصة حكم المحدث : صحيح |

ความว่า :

ชายคนหนึ่งถามเราะซูลุลลอฮ์ว่า สตรีนางหนึ่งได้รับการกล่าวขานว่านางละหมาด ถือศีลอดและบริจาคทานเป็นจำนวนมาก เพียงแต่นางชอบทำร้ายเพื่อนบ้านของนางด้วยวาจา นบีจึงตอบว่า นางอยู่ในนรก ชายคนนั้นถามเราะซูลุลลอฮ์อีกว่า สตรีอีกนางหนึ่งได้รับการกล่าวขานว่านางละหมาด ถือศีลอดและบริจาคทานเป็นจำนวนน้อยนิด แต่นางไม่เคยทำร้ายเพื่อนบ้านของนางด้วยวาจาเลย นบีจึงตอบว่า นางอยู่ในสวรรค์

ข้อคิดจากหะดีษ

          1.       อันตรายของการสร้างความเดือดร้อนแก่คนอื่นด้วยวาจา

          2.       การที่คนๆหนึ่งชอบละหมาด ถือศีลอดและบริจาคทานเป็นสรณะ ไม่สามารถการันตีได้ว่า คนๆนั้นมีมารยาทดีเสมอไป โดยเฉพาะเรื่องการใช้วาจา ตราบใดที่เขาไม่สามารถซึมซับและประยุกต์ใช้ปรัชญาความดีเหล่านั้นในภาคปฏิบัติ

          3.       ภาพรวมของสตรีต่อการใช้ลิ้นและการปฏิบัติต่อเพื่อนบ้าน

          4.       การรู้จักรักษาความดีงาม มิให้ถูกทำลายด้วยพฤติกรรมเชิงลบของตนเอง หรืออีกนัยหนึ่ง การทำความดีเป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือการรู้จักทะนุถนอมความดีมิให้สูญเปล่า

          5.       ความสัมพันธ์ระหว่างการทำอิบาดะฮ์ส่วนตัวกับจิตสาธารณะ

          6.       ความสำคัญของการปลูกฝังจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม การไม่สร้างความเดือดร้อนแก่สังคมรอบข้าง ซึ่งสำคัญยิ่งกว่าการละหมาดสุนัต การถือศีลอดสุนัต และการบริจาคทานสุนัตด้วยซ้ำ

          7.       ความสมบูรณ์ของอิสลามระหว่างความดีในระดับปัจเจกบุคคล กับผลกระทบระดับสาธารณะ

          8.       อิสลามปฏิเสธการสร้างความเดือดร้อนแก่ตนเองและสังคม ไม่ว่าจะเป็นการริเริ่ม ต้นเหตุหรือการตอบโต้


โดย Mazlan Muhammad

อัลลอฮฺจะเมินเฉยและละเลยกับการกระทำอันต่ำตมเช่นนี้หรือ

رواه ابن ماجه من حديث البراء مرفوعاً : لزوال الدنيا أهون عند الله من قتل مؤمن بغير حق. والنسائي من حديث عبد الله بن عمرو رفعه مثله لكن قال: من قتل رجل مسلم

ดูเพิ่มเติม :

‏https://www.islamweb.net/…/%D8%B1%D8%AA%D8%A8%D8%A9-%D8…

ความหมาย

“แน่แท้ การสูญหายโลกนี้ทั้งใบ ณ อัลลอฮ์แล้ว ยังมีฐานะด้อยยิ่งกว่าการสังหารผู้ศรัทธาคนเดียวโดยไม่ชอบธรรม”

บางรายงานระบุว่า “ยิ่งกว่าการสังหารชายมุสลิม”

บางรายงานเริ่มต้นด้วย “ แน่แท้การถล่มกะอฺบะฮ์ ทีละชิ้น ทีละก้อน…”

หะดีษเหล่านี้ เพื่อยืนยันถึงคุณค่าของชีวิตผู้ศรัทธา ณ อัลลอฮ์ ที่สูงส่งยิ่งกว่าสิ่งใดในโลกนี้ แม้กระทั่งกะอฺบะฮ์ก็ตาม  จนกระทั่งสิ่งเหล่านี้แทบไม่มีราคาใดๆเลย เมื่อเทียบกับชีวิตของผู้ศรัทธาเพียงคนเดียว

ก่อนหน้านี้ ทั่วโลกชื่นชมรัฐบาลอิยิปต์ที่เป็นสื่อกลางยุติสงคราม 11 วันที่กาซ่า และส่งกองกำลังช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้แก่พี่น้อง จนมีข่าวว่าอิยิปต์เตรียมทุ่มงบหลายร้อยล้านดอลล่าร์เพื่อบูรณะซ่อมแซมความสูญเสียจากสงครามครั้งนี้

แต่ช่วงนี้กลับมีข่าวว่า ศาลอิยิปต์ตัดสินประหารชิวิตแกนนำประท้วงอิยิปต์ 12 คน โดยมีผลบังคับใช้ทันทีเมื่อนายซีซีย์ลงนามรับรองคำคัดสินนี้

ทั่วโลกและเสรีชนต่างเฝ้ารอการตัดสินสุดท้ายครั้งนี้อย่างเต้นระทึก

แต่สำหรับผู้ศรัทธา หะดีษข้างต้นจะระทึกยิ่งกว่า

ต่อให้นายซีซีย์ร่วมพัฒนา สร้างความเจริญให้แก่โลกนี้ทั้งใบ หรือสร้างมัสยิดทั่วทวีปและแว่นแคว้น แต่เขาไปตั้งใจสังหารชีวิตมุสลิมโดยอธรรมเพียงคนเดียว ความดีงามของเขาไม่มีค่าใดๆ ณ อัลลอฮ์ เหยื่ออธรรมของเขา จะกอดแน่นตัวเขาในขณะเลือดสาดพร้อมร้องเรียนต่อหน้าอัลลอฮ์ว่า ข้าแต่พระองค์ ถามเขาด้วยว่า เขาสังหารฉัน เพราะเหตุผลอันใด

แล้วหากเหยื่อสังหารของเขาคือผู้ศรัทธา ดาอีย์ผู้เขิญชวนผู้คนสู่ความสวยงามของอิสลาม บุคคลผู้ที่ริมฝีปากของเขาพร่ำซิกิร์และอ่านพจนารถของอัลลอฮ์ ใบหน้าที่ถูกชโลมด้วยน้ำละหมาดอยู่เป็นนิจ หน้าผากที่ก้มสุญูดต่ออัลลอฮ์ และหัวใจที่น้อมรำลึกถึงพระองค์เป็นสรณะ

ถามว่า พระองค์จะเมินเฉยและละเลยกับการกระทำอันต่ำตมเช่นนี้หรือ


โดย Mazlan Muhammad

เส้นทางสองเส้น

ผิดแล้วเตาบัตที่มีองค์ประกอบทั้ง 3 ประการคือตัดใจ เสียใจและตั้งใจไม่หวนทำอีก อันนี้คือปกติวิสัยของศรัทธาชน แม้กระทั่งนบีอาดัม ก็เคยประสบกับตนเองมาแล้ว ท่านและภรรยา จึงกล่าวประโยคทองที่เป็นอุทาหรณ์แก่ลูกหลานกล่าวเป็นแบบอย่าง ซึ่งถูกจารึกในอัลกุรอาน ว่า

 قَالَا رَبّنَا ظَلَمْنَا أَنْفُسنَا وَإِنْ لَمْ تَغْفِر لَنَا وَتَرْحَمنَا لَنَكُونَنَّ مِنْ الْخَاسِرِينَ

-الأعراف/٢٣

ทั้งนบีอาดัมและนางฮาวา จึงกลับไปสู่สวรรค์อันสุขสถาพรนิรันดร์กาล

แต่หากกระทำผิดด้วยความดื้อดึง ขัดขืน ไม่เชื่อฟัง แถมภูมิใจกับการกระทำของตน ไม่สำนึกผิด กล่าวโทษคนอื่น แค้นเคือง ไฟสุมอก มองโลกในแง่ร้าย หมดหวังในความเมตตาของอัลลอฮ์ พร้อมเผยแพร่ความผิดของตนไปยังผู้อื่น อันนี้คือมรดกบาปของอิบลีสที่ถูกสาปแช่งและโดนขับไล่ไสส่งออกจากสวรรค์พร้อมๆกับความโกรธกริ้วของพระองค์มาแล้ว

อิบลีสและพลพรรค จึงถูกทรมานในนรกชั่วกัลป์

จะนำบทเรียนของนบีอาดัมและนางฮาวา

หรือจะสานต่อมรดกบาปของอิบลีสที่ถูกสาปแช่ง

#เลือกเอาเองครับ


โดย Mazlan Muhammad