บทบาทหน้าที่ของประชาชาติอิสลามต่อสถานการณ์ในตุรกีวันนี้

บทความโดย ยัสเซอร์ อับเดลอาซิซ

นักเขียนและนักวิจัยทางการเมือง ผู้อำนวยการศูนย์การสนับสนุนการตัดสินใจ พรรควะสัต -พรรคกลุ่มอิสลาม ของอียิปต์

“ไม่แปลกที่ฝั่งตะวันตก อเมริกา และประเทศอื่น ๆ เกลียดเออร์โดกัน เพราะคนเหล่านี้ควบคุมตุรกีทั้งหมดราวกับว่าเป็นทรัพย์สินของพวกเขา ในอดีตเราต้องรอหลายๆวัน จนกว่าพวกเขาจะอนุญาตให้เราไปเยี่ยมเยียนประเทศของพวกเขา หรือแม้กระทั่งจะทำสิ่งใด ๆ ในการเปลี่ยนแปลงในตุรกี แต่เออร์โดกันมาพลิกหน้าประวัติศาสตร์ พวกเขารอหลายวันเพื่อให้เออร์โดกันรับสายและพวกเขาก็ไม่สามารถทำได้ แม้กระทั่งการควบคุมสถานทูตของพวกเขาโดยปราศจากความรับรู้ของรัฐบาลตุรกีที่นำโดยเออร์โดกัน หลังจากที่เออร์โดกันกีดกันผู้สนับสนุนส่วนใหญ่ของพวกเขาทั้งในและนอกตุรกี   ตุรกียุคแอร์โดฆานในปัจจุบันทำให้พวกเขาหวาดกลัวและพวกเขาไม่มีทางที่จะควบคุมตุรกี  ตลอดจนความเหนือกว่าและความเป็นอิสระของตุรกีได้” 

ตันซู  เซลเลอร์ 

อดีตนายกรัฐมนตรีของตุรกี

● ความเป็นมาของเรื่อง

ในสุนทรพจน์ในระหว่างการเปิดโครงการบริการในรัฐเอสกิเชฮีร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของตุรกี ประธานาธิบดีตุรกี เออร์โดกัน ได้จุดชนวนระเบิดที่ประเทศที่เล็กที่สุดในโลกก็ไม่คาดคิด นับประสาบรรดาผู้ที่คิดว่าตนเป็นใหญ่ที่สุด เออร์โดกัน กล่าวด้วยความมั่นใจและแน่วแน่ เอกอัครราชทูต  10 ประเทศไม่เป็นที่พึงปรารถนาในอาณาเขตของประเทศของเขา

“ในวันที่พวกเขาไม่รู้จักหรือไม่เข้าใจตุรกี พวกเขาจะต้องจากไป” 

เออร์โดกันกล่าวเกี่ยวกับเอกอัครราชทูตทั้ง 10 คน

● ใครคือ ออสมัน คาวาลา ที่จุดชนวนให้เกิดความตึงเครียดระหว่างตุรกีกับสิบประเทศ

เรื่องราวเริ่มต้นด้วยการกลับมาของออสมัน คาวาลา ที่ตุรกีเพื่อทำธุรกิจของพ่อหลังจากที่เขาเสียชีวิตหลังจากเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา ซึ่งเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ที่นั่น และคุ้นเคยกับจอร์จ โซรอส มหาเศรษฐีชาวอเมริกันเชื้อสายยิวที่มีส่วนร่วมในการโค่นล้มลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก

ความสัมพันธ์ระหว่างคาวาลากับโซรอส กระตุ้นให้ฝ่ายหลังใช้ประโยชน์จากคาวาลาในโครงการเพื่อ “สนับสนุนประชาธิปไตย” ในลักษณะของยุโรปตะวันออก และตามแนวความคิดของโซรอส

คาวาลา ซึ่งมีต้นกำเนิดในกรีซโดยเฉพาะจากเมือง Kavala-คาวาลา ของกรีกก่อนที่ปู่ของเขาซึ่งเป็นพ่อค้ายาสูบได้อพยพไปตุรกีเพื่อตั้งถิ่นฐานที่นั่นและธุรกิจของครอบครัวก็เติบโตขึ้น ออสมัน คาวาลา ใช้เงินทุนเหล่านี้ในการต่อต้านรัฐบาลและมีส่วนร่วมในกรณีการประท้วงที่ Gazi Park ในปี 2013 และในการพยายามทำรัฐประหารโดยทหารซึ่งวางแผนโดยกุเลน 

ในแถลงการณ์ที่ลงนามโดยเอกอัครราชทูตอเมริกา เยอรมนี ฝรั่งเศส แคนาดา เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ และนิวซีแลนด์ ยื่นต่อกระทรวงการต่างประเทศตุรกี พวกเขาเรียกร้องให้ปล่อยตัวออสมัน คาวาลา โดยถือว่าการจับกุมตัวว่าเป็นประเด็นที่เบียดบัง “การเคารพในระบอบประชาธิปไตย” ของตุรกี ซึ่งประธานาธิบดีตุรกีเห็นว่าเป็นการแทรกแซงในกิจการภายในของประเทศ เออร์โดกันร้องขอต่อกระทรวงการต่างประเทศให้ประกาศว่า สิบเอกอัครราชทูตไม่เป็นที่พึงประสงค์ในดินแดนตุรกี

● การเขียนกฎใหม่ของเกมส์

อดีตนายกรัฐมนตรีตันซู เซลเลอร์  บรรยายถึงสถานการณ์ที่กระตุ้นให้ทูตทั้งสิบดำเนินการดังกล่าวว่า หลังจากการล่มสลายของออตโตมัน ประเทศเหล่านี้เคยจัดการกับตุรกีในลักษณะนี้ หลังจากการพ่ายแพ้ของจักรวรรดิออตโตมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พวกเขาสามารถกำหนดอำนาจปกครองตุรกีตามข้อตกลงที่ความไม่เป็นธรรมตกอยู่กับผู้พ่ายแพ้ อันเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดหลังจากสงครามปลดปล่อยและการประกาศเป็นสาธารณรัฐหลังจากสิ้นสุดยุคออตโตมัน

ข้อตกลงเหล่านั้นกำหนดว่า ทะเลไม่ใช่ทะเลของตุรกี ทางเดินเรือหรือกองทัพก็ไม่ใช่กองทัพของตุรกี และทรัพย์สินก็ไม่ใช่เงินของตุรกี  นกหรือสัตว์ก็ผ่านไม่ได้ ยกเว้นต้อง “ประสานงาน” กับตะวันตก 

ในช่วงสงครามเย็นระหว่างตะวันตกที่นำโดยอเมริกาและตะวันออกนำโดยสหภาพโซเวียต หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สาธารณรัฐตุรกีกลายเป็นฐานทัพขั้นสูงสำหรับตะวันตกในการต่อสู้กับประเทศตะวันออก ฐานทัพดังกล่าวมีทหารต่างด้าวอาศัยอยู่ มีการสร้างค่ายทหาร ระเบิดนิวเคลียร์และขีปนาวุธพิสัยไกล และสนามบินทหารตามความต้องการของพวกเขา ไม่ว่ารัฐบาลตุรกีจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม แผ่นดินนี้คือดินแดนตะวันตก และการตัดสินใจคือการตัดสินใจของพวกเขา รัฐบาลตุรกีไม่มีส่วนในการตัดสินใจเหล่านี้ เว้นแต่พวกเขาจะแจ้งเรื่องนี้เพื่อทราบ เพื่อกู้หน้าให้รัฐบาล และยืนยันเอกราชปลอมๆที่ตะวันตกให้แก่ตุรกีหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง

หลังจากพรรคเอเค เข้ามามีอำนาจในปี 2003 สิ่งต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปและเงื่อนไขเปลี่ยนไป  สถานการณ์ที่โด่งดังที่สุดของประธานาธิบดีเออร์โดกัน   เกิดขึ้นที่ดาวอสฟอรั่ม เมื่อได้ออกจากการประชุมหลังจากที่นายกรัฐมนตรีอิสราเอลพูดถึง “สันติภาพ” โดยที่เออร์โดกันได้โจมตีอิสราเอลและหน่วยงานระหว่างประเทศที่ปกป้องผู้กระทำผิดแทนที่จะปกป้องเหยื่อ เป็นสัญญาณการเขียนกฎใหม่ของเกมส์ที่ตุรกีไม่มีการอยู่ใต้บังคับบัญชาของใครก็ตาม

ในช่วง 18 ปี ที่รัฐบาลพรรคเอเคปกครอง ตุรกีมีอำนาจมากมายที่เริ่มต้นจากการพึ่งพาตนเอง โดยเพิ่มขีดความสามารถให้กับตุรกีในทางเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม การต่างประเทศ ด้วยการถือไพ่ที่ทำให้สามารถนั่งที่โต๊ะผู้ใหญ่ได้   การล้มผู้เล่นรายใหญ่ในพื้นที่ ทำให้ทุกคนวิ่งเข้าหาตุรกีเพื่อแก้ปัญหาในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ หลังจากที่กลายเป็นนักแสดงที่ไม่มีใครเทียบได้ แต่ตะวันตกไม่เคยลืมแรงยโสของพวกเขาในการทำหน้าที่กดตะวันออกและแสดงความซาดิสม์ที่ซุกซ่อนอยู่ภายใน

● สงครามที่ไม่มีวันจบ

เนื่องจากนักการเมืองตะวันตกป่วยด้วยโรคซาดิสม์การยึดครอง ความเย่อหยิ่งในความเหนือกว่า  ต้องการให้ตุรกีซึ่งได้หลุดออกมาจากการตกอยู่ใต้การปกครองของพวกเขา จะต้องกลับมาสู่การเชื่อฟัง  แต่การณ์กลับไม่ง่ายเหมือนเก่า ในเมื่อใช้ผลประโยชน์หลอกล่อไม่สำเร็จ ก็ต้องใช้ไม้เรียว

“ตุรกีกลายเป็นพันธมิตรที่ไม่น่าเชื่อถือโดยสิ้นเชิง” เอริค เอเดลมาน ซึ่งดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำอังการาระหว่างปี 2003 – 2005 กล่าวในโทรเลขที่รายงานต่อกระทรวงการต่างประเทศ ดังที่วิกิลีกส์รายงาน

นี่คือทัศนะของอเมริกาต่อรัฐบาลใหม่ของตุรกีในเวลานั้น สังเกตวันที่ของโทรเลข เวลานั้นพรรคเอเคยังไม่มีข้อได้เปรียบเหมือนที่มีในขณะนี้ แต่คนฉลาดสามารถอ่านสถานการณ์นี้ได้ตั้งแต่ต้น และรู้ว่าจะต้องอ่านสถานการณ์ใหม่ในการดำเนินกลยุทธ์ใหม่ต่อตุรกีภายใต้ปกครองของพรรคเอเค

ในบทความ (Presents of a coup in Turkey!)  เราพูดถึงการเล่นอย่างเปิดเผยและการข่มขู่ ของโดนัล ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่า ให้ทำลายเศรษฐกิจของตุรกี บางทีด้วยความไร้เดียงสาทางการเมืองของทรัมป์ จึงได้เปิดเผยแผนดังกล่าว ที่ได้รับการดำเนินการและกำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ในการโจมตีลีร่าของตุรกีโดยน้ำมือของตะวันตกและพี่น้องจากประเทศอ่าวอาหรับ

จากการวิเคราะห์สถานการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ชาวตะวันตกอย่าง Robin Brooks โรบิน บรู๊ค หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ที่ Institute of International Finance (IIF) ผู้ซึ่งเห็นกรณีที่ลีร่าตุรกีตกอย่างรุนแรงในวันนี้ ในคำอธิบายของเขาว่า  การวิเคราะห์ในปัจจุบันทั้งหมดเกี่ยวกับลีร่าตุรกีคือ “การมุ่งเป้าไปที่การแพร่กระจายความตื่นตระหนก” 

โรบิน บรู๊ค กล่าวเพิ่มเติมว่า บางคนคาดว่า สถานการณ์ปัจจุบันจะดำเนินต่อไปอย่างไม่มีกำหนด และเตือนว่านักลงทุนไม่ควรให้ความสนใจกับการวิเคราะห์เหล่านี้ ซึ่งเขาอธิบายว่า “ไร้สาระ” หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Institute of International Finance เน้นว่า ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าจะเกิดสถานะ “ทิ้งเงินท้องถิ่นไปใช้เงินต่างชาติ” อันเนื่องจากความสับสน เขาย้ำว่า ค่าเฉลี่ยการเคลื่อนที่ของเงินในช่วง 13 สัปดาห์ที่ผ่านมา การไหลออกของเงินฝากต่างประเทศเป็นแนวโค้ง หมายความว่า สถานการณ์ไม่มีอะไรมากไปกว่าพายุที่กำลังจะผ่านพ้นไป วิกฤตการณ์ที่ตุรกีได้เห็นในเดือนสิงหาคม 2018 นั้นยิ่งใหญ่กว่า แต่ก็ผ่านไปแล้ว

คำพูดของโรบิน บรู๊ค จบลงแล้ว แต่สงครามยังไม่จบ และมีการใช้ทุกวิถีทางไม่ว่าเศรษฐกิจหรือสังคม เพื่อทำให้ประชาชนต่อต้านกันเองหรือต่อต้านแขกชาวซีเรีย ตะวันตกซึ่งเคยชนะในร้อยปีที่ผ่านมา ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ต่อประเทศกำลังพัฒนา แม้ว่าจะเป็นพันธมิตรก็ตาม

● หน้าที่และพร้อมในสงครามครั้งนี้

เนื่องจากสงครามนี้จะไม่จำกัดเฉพาะที่ตุรกีภายใต้พรรคเอเค เราทุกคนจึงมีหน้าที่ตามความจำเป็น หน้าที่  ทั้งในฐานะรัฐบาลตุรกี  หน้าที่ในฐานะชาวตุรกีและโดยเฉพาะชาวตุรกีเสรี  หน้าที่ในฐานะชาวอาหรับและชาวมุสลิม 

เนื่องจากตุรกีเป็นตัวอย่างของการพยายามหลุดพ้นจากการปกครองของตะวันตก เป็นแบบจำลองไม่ใช่ที่ตัวบุคคลหรือระบบ ความสำเร็จของแบบจำลองนี้จะสร้างแรงบันดาลใจ สู่การลอกเลียนแบบ และแม้กระทั่งการสร้างขึ้นมาใหม่ในพื้นที่ที่ทุกประเทศที่แสวงหาการปลดปล่อยที่แท้จริงและไม่ใช่ของปลอม

ชาวตุรกี โดยเฉพาะในหมู่ผู้ที่เข้าใจคุณค่าของประเทศและตัวแทนของประเทศชาติ  ต้องยืนหยัดอยู่เบื้องหลังผู้นำของพวกเขา และพึงรู้ว่านี่คือสงครามเพื่อเอกราชที่แท้จริงสำหรับประเทศของพวกเขา  ดังนั้น ไม่มีใครควรบกพร่องในหน้าที่ที่มีต่อประเทศของเขา  พวกเขาควรแปลความรักที่แท้จริงเป็นการทำงานและความมุ่งมั่น  เพื่อความเป็นเอกราชที่แท้จริง

สำหรับประชาชาติอิสลาม อันหมายถึงประชาชน ไม่รวมถึงผู้นำเพราะเป็นที่ประจักษ์ต่อประชาชนแล้ว ประชาชนแต่ละคนควรทำงานในบทบาทหน้าที่ของตนเพื่อสนับสนุนความสำเร็จของประสบการณ์ของพรรคเอเคของตุรกี เพื่อปลดปล่อยจากอำนาจที่ครอบงำอยู่ 

ทุกคนควรตระหนักว่านี่เป็นสงครามครั้งใหญ่นี้เป็นไปเพื่ออิสรภาพของโลกมุสลิม การเมืองอาจบังคับให้คุณต้องประนีประนอมและเปลี่ยนจุดยืนที่คุณยืนอยู่ แต่จงจำไว้เสมอว่า เป้าหมายคือสิ่งที่คุณมุ่งหมาย และอย่าลืมกลยุทธ์และเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่คุณมี จงลุกขึ้นเพื่อการบรรลุถึงเป้าหมายเหล่านั้น

อย่างไรก็ตาม ฉันขอเตือนตุรกี ทั้งผู้นำและประชาชน กับวาทะของจอห์น เอฟ. เคนเนดี  ที่ว่า: “จงให้อภัยแก่ศัตรูของคุณ แต่อย่าลืมชื่อของพวกเขา”

□ เผยแพร่ทางเว็บไซต์สำนักข่าว TR เมื่อ 26/10/2021


อ่านบทความต้นฉบับ

แปลโดย Ghazali Benmad

บิดาโดรนแห่งตุรกี เสียชีวิต

มะเร็งคร่าชีวิต Ozdemir Bayraktar 72 ปี วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2564 นับเป็นการสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันทรงคุณค่าของตุรกี

Ozdemir Bayraktar ประธานบริษัท Baykar Makina เพื่อผลิตโดรน และประธานการขับเคลื่อนและพัฒนาเทคโนโลยีแห่งตุรกี ซึ่งในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เขาได้ทุ่มเทและใช้เวลาส่วนใหญ่บนคอมพิวเตอร์ที่สำนักงาน เพื่อค้นคว้าผลิตโดรนจนกระทั่ง เขาตั้งบริษัท 2 บริษัทเพื่อผลิตโครน นับเป็น 2 ใน 4 บริษัทของตุรกีที่ผลิตโครน โดยโดรนที่มีชื่อว่า Bayraktar Mini UAV ถือเป็นโครนรุ่นแรกที่ผลิตโดยตุรกี และมีการพัฒนาจนกระทั่งกลายเป็นเขี้ยวเล็บอันมีประสิทธิภาพสูงสุดของโลกขณะนี้ จนกระทั่งเขาได้รับรางวัลสูงสุดจากประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน เมื่อปีที่แล้ว ในฐานะให้ส่วนสำคัญที่สามารถยึดคืนคาราบัคจากการยึดครองของอาร์เมเนีย

ขอบคุณภาพ จาก TRT عربي

เขาพร้อมด้วยลูกชาย 3 คนจัดตั้งบริษัทผลิตโดรน โดยลูกชายคนหนึ่งชื่อSelcuk Bayraktar 42 ปี ได้แต่งงานกับลูกสาวคนสุดท้องของประธานาธิบดีแอร์โดอานชื่อสุมัยยะฮ์

เขาเสียชีวิตพร้อมฝากผลงานอันยิ่งใหญ่ซึ่งเป็นที่เกรงขามของชาติตะวันตกในขณะนี้

เชื่อว่า ลูกชายทั้ง 3 คน คงรับช่วงต่อภารกิจนี้

رحمه الله رحمة واسعة

وغفر له وأسكنه فسيح جناته


https://mubasher.aljazeera.net/news/politics/2021/10/18/وفاة-رائد-صناعة-الطائرات-المسيرة

โดย Mazlan Muhammad

ตุรกีกับอัฟกานิสถาน

■ บทความโดย  ดร.ยาซีน  ออกเตย์  รองหัวหน้าพรรคเอเค พรรครัฐบาลตุรกี และอดีต สส.ของพรรค

อ่านต้นฉบับ

https://bit.ly/3Exdxre

อัฟกานิสถานมีบทบาทสำคัญในการเมืองโลกตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่สองของศตวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากได้เห็นการยึดครองและสงครามมากมายทั้งในฐานะประเทศและภูมิศาสตร์ อาจเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการมุ่งเน้นไปที่ฉากตอลิบานและฉากของสงครามกลางเมืองที่กำลังดำเนินอยู่และภาพทั่วไปที่แสดงให้เห็นว่าอัฟกานิสถานเป็นเขตขัดแย้ง แต่ภูมิศาสตร์ที่ยากลำบากนี้ บรรดามหาอำนาจทั้งหมดพากันผ่านเข้ามาตามลำดับ แต่พวกเขาทั้งหมดจำต้องถอนตัวออกไป หลังจากได้รับบทเรียนที่จำเป็น

ประเด็นนี้คือสิ่งที่กำหนดชะตากรรมของสหภาพโซเวียตช่วงที่มีอายุได้เจ็ดสิบปี และช่วงสงครามเย็นที่ตามมา  ประเทศนี้ไม่สนใจว่าใครลงทุนในมันและลงทุนอะไร เช่นเดียวกับที่ไม่สนใจว่าพันธมิตรกับใครกับใคร เพราะท้ายที่สุดเป็นที่แน่นอนว่าทุกคนที่ทำสงครามที่นั่น  ล้วนพากันสร้างความหายนะให้แก่ตนเอง

แน่นอน ตุรกีไม่สามารถเพิกเฉยต่อภูมิศาสตร์ที่สำคัญนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากความสมดุลของโลกที่เกิดขึ้นจากที่นั่นมีผลที่ตุรกีรู้สึกได้

คำพูดที่ว่าสหรัฐฯ ถูกบังคับให้ถอนตัวจากอัฟกานิสถานหลังจากยี่สิบปีของการยึดครองอย่างเข้มงวดและความพยายามอย่างกว้างขวางในการควบคุมประเทศ หรือที่ว่า  กลุ่มตอลิบานบังคับให้สหรัฐฯ ถอนตัวออกไป แม้ตอลิบานจะมีศักยภาพที่จำกัด คำพูดทั้งสองอธิบายและสรุปได้ตรงตามความเป็นจริง

ข้าพเจ้าไม่เห็นว่า การสรุปสถานการณ์ในลักษณะนี้จะเป็นการเข้าข้างหรือเกลียดชังต่อฝ่ายใด ไม่ว่าสหรัฐอเมริกาหรือกลุ่มตอลิบาน แต่เป็นการสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เช่นเดียวกับการกล่าวว่ากลุ่มตอลิบานประสบความสำเร็จด้วยคุณลักษณะหรือข้อได้เปรียบที่พวกเขามี เราต้องตระหนักถึงสิ่งนั้น

ด้วยเหตุนี้ เราพบว่าในที่สุดสหรัฐอเมริกาก็ถึงจุดสิ้นสุดของแบบจำลองในการวางรูปแบบ ไม่ว่าจะในด้านการเมือง สังคม หรือทางการทหาร ต่อหน้าการต่อต้านของกลุ่มตอลิบาน ที่ยืนกรานที่จะดำเนินต่อสู้ด้วยความอดทนเป็นระยะเวลานาน

ไม่ใช่เราที่พูดแบบนี้ แต่เจ้าหน้าที่ของอเมริกาเองที่ยอมรับว่า ตราบเท่าที่ประเทศของพวกเขายังคงอยู่ในอัฟกานิสถาน  จะติดหล่มอยู่ในหล่มมหึมาท่ามกลางความสูญเสียที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน สำหรับกลุ่มตอลิบาน พวกเขามีความสูญเสียเพียงเล็กน้อย

ไม่ต้องสงสัยเลยว่าสถานการณ์ใหม่นี้ทำให้เราจำเป็นต้องทำความรู้จักกับกลุ่มตอลิบานให้มากขึ้นอีกหน่อย หากอัฟกานิสถานมีความสำคัญต่อเรา  แต่หากวิสัยทัศน์ของตุรกีไม่กว้างพอ ก็ไม่ต้องไปแยแสต่อภูมิศาสตร์ที่กำหนดเส้นทางของโลกในช่วงสี่สิบปีที่ผ่านมา

มีอีกแง่มุมหนึ่งที่ต้องชี้ให้เห็นคือ เมื่อเราเรียกร้องให้สนับสนุนให้มองตาลีบันด้วยสายตาสื่อตะวันตกหรือสื่อต่อต้านอิสลามโดยทั่วไป ไม่ได้หมายความว่าเรามองว่าตอลิบานเป็นวีรบุรุษ สัญลักษณ์หรือคุณธรรมเหนือธรรมชาติ ความคิดแบบนี้ไม่ใช่ลักษณะของเรา แต่เป็นความคิดฝ่ายซ้าย ซึ่งฝันถึงความโกลาหลบนถนนทุกสายในตุรกี

แต่ถ้าหากว่าตุรกีมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและความเข้าใจที่ลึกซึ้ง  ที่ทำให้รู้ว่าใครคือกลุ่มตอลิบาน ธรรมชาติของกลุ่มคืออะไร และอะไรที่อัฟกานิสถานสามารถทำได้และอะไรที่ไม่สามารถ

แน่นอนว่ามีบางภาคส่วนที่ต่อต้านอิสลามมาก่อนและยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อกลุ่มตอลิบานก้าวมามีอำนาจ และพวกเขาปฏิเสธความจริงโดยปราศจากหลักความยุติธรรมแม้แต่น้อย  ถึงขนาดว่าหากพวกเขาพูดคำว่าตอลิบาน  พวกเขาจะคิดว่าลิ้นของพวกเขาจะไม่สะอาดเว้นแต่จะต้องสาปแช่งกลุ่มตอลิบานและแสดงปฏิกิริยาแสดงความเกลียดชังต่อพวกเขา

แต่ในทางกลับกัน พวกเขาไม่ได้พูดอะไรเกี่ยวกับผู้ยึดครองอัฟกานิสถานเป็นเวลา   50  ปี และได้สังหารชาวอัฟกัน ซึ่งอาจจะมากกว่าที่กลุ่มตอลิบานสังหารถึง  50 เท่า  ประหนึ่งว่าอัฟกานิสถานสดใสและเงียบสงบก่อนที่กลุ่มตอลิบานจะเข้าควบคุม และเมื่อมันเข้าควบคุม ทุกสิ่งที่สวยงามก็จบลง ทั้งๆที่ในความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการถอนตัวของประเทศที่ครอบครอง

ในทางกลับกัน สิ่งที่อัฟกานิสถานจะทำในระยะต่อไปยังคงเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับทุกคน ในบริบทนี้ ความกังวลที่ร้ายแรงเกี่ยวกับการปฏิบัติของตอลิบานในอดีต จะถือว่าเป็นเรื่องไม่จริงไม่ได้  แต่จะต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม และกลั่นกรองขอบเขตการปฏิบัติของตอลิบานเกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม หรือความเข้าใจอิสลามของตอลิบาน และสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับสภาพสังคมและประเพณีในอัฟกานิสถานอย่างไร

สำหรับผู้ที่เปรียบเทียบระหว่างตุรกีกับอัฟกานิสถาน และนำแบบจำลองจากที่นี่ไปที่นั่น ฉันไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะรู้วิธีอ่านและเขียนหรือไม่

พวกเขาพากันขอบคุณต่อเซคคิวลาร์และ Kemalist เมื่อกล่าวถึงพัฒนาการในอัฟกานิสถาน ที่ซึ่งไม่มีตรรกะในข้อเสนอเลย แต่เป็นสภาวะของอารมณ์ล้วนๆ

และอีกอย่าง ข้าพเจ้าอยากจะพูดถึงข้อเท็จจริงพื้นฐานที่นี่ อัตราการรู้หนังสือในอัฟกานิสถานมีเพียง 30% เท่านั้น และ 42% ของชาวอัฟกันมีอายุระหว่าง 0 ถึง 14 ปี ในขณะที่ 80% ของชาวอัฟกันอาศัยอยู่ในชนบท ซึ่งหมายความว่าอัตราการเป็นเมืองอยู่ที่ระดับเพียง 20% ดังนั้น ชนเผ่าจึงมีบทบาทสำคัญในชีวิตทางการเมืองและสังคมของอัฟกานิสถาน หากเราคำนึงถึงอัตราของผู้คนที่อาศัยอยู่ในชนบท

หากเราไม่พูดถึงอัฟกานิสถาน แต่เป็นชนเผ่าแอฟริกัน เราจะเห็นเหตุการณ์ที่น่าตกใจอันเนื่องจากสภาพของสังคม แต่กลับไม่มีอิทธิพลต่อสื่อเหมือนกับสิ่งที่เกิดในอัฟกานิสถาน ตัวอย่างเช่นในรวันดา การตีความทางศาสนาแบบใดในสงครามกลางเมืองของรวันดา ที่ทำให้สามารถสังหารคนกว่าล้านคนอย่างโหดเหี้ยมภายในหนึ่งสัปดาห์  มีใครพูดถึงเรื่องนี้บ้างไหม?

การตีความศาสนาอิสลามไม่ได้เป็นสิ่งที่รับผิดชอบในสิ่งที่กลุ่มตอลิบานได้ทำ และไม่ได้เป็นสาเหตุของการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับการต่อต้านอิสลามทั่วโลก และไม่ใช่หลักนิติศาสตร์อิสลามที่ต้องรับผิดชอบต่อนโยบายของตอลิบานมากเท่ากับขนบธรรมเนียมประเพณี โดยเฉพาะเมื่อพูดถึง “ปุชตุน” ที่มีประเพณีกำหนดบุรกา (ผ้าคลุมใบหน้าและร่างกายของผู้หญิง) กล่าวอีกนัยหนึ่ง กลุ่มตอลิบานเป็นผลผลิตของความเข้าใจดั้งเดิมที่ได้รับอิทธิพลจากประเพณีท้องถิ่น

และอย่าลืมว่าต่างชาติที่ยึดครองอัฟกานิสถานมาเป็นเวลาราว 40 ปี และสงครามต่อต้านประเพณีนี้อาจทำให้อัฟกานิสถานปิดตัวเองมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่บุรก้าเปลี่ยนจากสัญลักษณ์ดั้งเดิมไปเป็นปฏิกิริยาโกรธแค้นต่อการยึดครองที่ดำเนินมายาวนาน

ดังนั้นจึงเป็นที่ชัดเจนว่าระยะห่างทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิศาสตร์ระหว่างตุรกีและอัฟกานิสถานนั้นยาวนานมาก แต่การตีความทางการเมืองดูเหมือนจะลดระยะห่างเหล่านั้นไปในทางที่ต่างออกไป


สรุปโดย Ghazali Benmad

16 กันยายน รำลึกวันประหารชีวิตอุมัร มุคตาร์

16 กันยายน รำลึกวันประหารชีวิตอุมัร มุคตาร์ (1880-1931) นักรบซานูซีย์ ราชสีห์ทะเลทราย

●  ตอนที่ 1 มุฮัมมัด อะซัด กับ อุมัร มุคตาร์

มุฮัมมัด อะซัด ( 1900-1992) นักคิดและนักเดินทางชาวออสเตรียเชื้อสายยิว หลังจากเข้ารับอิสลาม ในปี 1926 ได้หมกมุ่นอยู่กับการญิฮาดและการสถาปนารัฐอิสลาม  ได้เป็นที่ปรึกษาคิงอับดุลอาซีซ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ซาอุดิอาระเบีย   ตลอดจนร่วมกับมุฮัมมัด อิกบาลในการสถาปนนาปากีสถาน และร่วมต่อสู้กับกลุ่มซานูซีย์และอุมัร  มุคตาร์ ในลิเบีย ในการต่อต้านการยึดครองของอิตาลี รวมถึงร่วมมือในการกอบกู้เอกราชของอินโดนีเซีย และยังเขียนหนังสือขจัดความสงสัยเกี่ยวกับอิสลาม และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างตะวันตกกับอิสลาม

● การเกิดและการเลี้ยงดู

มุฮัมมัด อะซัด  ซึ่งมีชื่อเดิมว่า Leopold Weiss เกิดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1900 ในเมือง Liebmerg ในครอบครัวชาวยิวที่เคร่งศาสนา ปู่ของเขาเป็นแรบไบ มุฮัมมัด อะซัดเชี่ยวชาญภาษาฮีบรูเมื่ออายุ 13 ปี และศึกษาคัมภีร์โตราห์และทัลมุด

● การเรียน

Leopold Weiss เริ่มเรียนที่มหาวิทยาลัยเวียนนา แต่ไม่นานก็หยุด และเดินทางไปยังกรุงเบอร์ลินในวัยยี่สิบต้นๆ  ซึ่งได้เข้าร่วมกับวงการวัฒนธรรมที่หมกมุ่นอยู่กับการศึกษาเรื่องราวของชาวตะวันออก

● หน้าที่การงาน

Leopold Weiss ทำงานในกรุงเบอร์ลินที่สาขาหนึ่งของหน่วยงาน “United Brass of America” ​​และในปี 1921 ก็กลายเป็นบรรณาธิการด้านวัฒนธรรมของหนังสือพิมพ์ Frankfurter Allgemeine

หลังจากเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามในปี 1926 ใช้ชื่อว่า มุฮัมมัด อะซัด ได้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ตั้งรกรากอยู่ในนครมะดีนะฮ์ และได้พบกับอับดุลอาซิซ อาลซาอูด ผู้ก่อตั้งและกษัตริย์องค์แรกของซาอุดีอาระเบีย และทำงานเป็นที่ปรึกษาของเขา

ระหว่างที่พำนักอยู่ในอินเดีย เขาได้ร่วมกับมูฮัมหมัด อิกบาลในการก่อตั้งรัฐอิสลามแห่งปากีสถาน ซึ่งให้เกียรติอย่างสูงแก่มุฮัมมัด อะซัด โดยการให้สัญชาติแก่เขา และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ซึ่งสุดท้าย ได้เป็นรัฐมนตรีผู้มีอำนาจเต็มของปากีสถานในสหประชาชาติ

ในปี 1952 ได้ลาออกจากงานในสหประชาชาติ และออกจากนิวยอร์คเพื่อไปยังสวิตเซอร์แลนด์และทุ่มเทให้กับการเขียนและการเขียนเป็นเวลา 10 ปี จากนั้นเขาก็ย้ายไปที่เมืองแทนเจียร์ของโมร็อกโกซึ่งเขาใช้เวลา 20 ปี

● ประสบการณ์ทางความคิด

ความสนใจของมุฮัมมัด อะซัด ต่อตะวันออก อาหรับ และปาเลสไตน์ เป็นปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนวิถีชีวิต ความเชื่อและความคิดของเขา หลังจากที่ไปเยือนปาเลสไตน์ในปี 1922 มุฮัมมัด อะซัด ได้เขียนบทความชุดหนึ่งซึ่งทำให้โดนข้อหาเป็นยิวแอนตี้เซมิติกส์- ซึ่งเขาเตือนชาวอาหรับถึงแผนการอพยพชาวยิว ที่นั่น เขาได้สัมภาษณ์อย่างร้อนแรงกับจิม ไวซ์แมนน์  ประธานองค์กรไซออนิสต์สากล World Zionist Congress

ในปี 1926 การเปลี่ยนแปลงทางปัญญาที่โดดเด่นที่สุดเกิดขึ้นในชีวิตของ Leopold Weiss โดยเขาเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามในปี 1926 ที่มัสยิด Wilmsdorf ซึ่งเป็นมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองเบอร์ลินของเยอรมนี

Leopold Weiss ออกเดินทางเพื่อปกป้องศาสนาอิสลามและขจัดต่อข้อสงสัยเกี่ยวกับศาสนานี้ และพยายามเชื่อมช่องว่างระหว่างอารยธรรมอิสลามและอารยธรรมตะวันตกในหนังสือของเขา ซึ่งมุร๊อด  ฮอฟแมนน์  นักคิดชาวเยอรมันมุสลิมเชื้อสายยิว อธิบายว่าเป็นของขวัญจากตะวันตกสำหรับอิสลาม

ในปี 2008 เมืองหลวงของออสเตรียได้ยกย่องความพยายามของมูฮัมหมัด อะซัด ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ในการส่งเสริมการเจรจาทางวัฒนธรรมระหว่างโลกอิสลามกับโลกตะวันตก และตั้งชื่อถนนในจัตุรัสสหประชาชาติตามชื่อของเขา และได้เข้าร่วมในการผลิตสารคดีเรื่อง “The Road to Mecca” ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากชีวประวัติตอนปลายของนักคิดมุสลิมคนนี้

กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนีได้ดำเนินตามตัวอย่างในออสเตรีย โดยให้เกียรติแก่เขาด้วยการสร้างสัญลักษณ์ที่ระลึกในชื่อของเขาไว้ในหมู่บ้านที่เขาอาศัยอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1920

● งานเขียน

เขามีหนังสือหลายเล่ม ที่สะดุดตาที่สุด: อิสลาม ณ ทางแยก, รากฐานของรัฐและการปกครองในศาสนาอิสลาม, ถนนสู่มักกะฮ์, การแปลความหมายของคัมภีร์กุรอ่าน และการแปลซอเหียะห์อัลบุคอรี, และศาสนาจากอดีต.

● การเสียชีวิตของมุฮัมมัด อะซัด

มุฮัมมัด อะซัด เสียชีวิตในเมือง Mijas ของสเปน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1992 และถูกฝังตามความประสงค์ของเขาในสุสานอิสลามในเมืองกรานาดา ตามคำสั่งเสียของเขา


โดย Ghazali Benmad

“มินฟิกฮ์เดาละฮ์ ฟิลอิสลาม – ศาสตร์ว่าด้วยรัฐในหลักการอิสลาม” ของชัยค์ยูซุฟ กอรฎอวีย์ [ตอนที่ 2 ]

  • อัตลักษณ์ของรัฐในอิสลาม

ศาสนาอิสลามผสมผสานศาสนาและรัฐเข้าด้วยกัน โดยไม่มีการแยกระหว่างทางโลกกับศาสนา  เช่นเดียวกับที่อิสลามพยายามสร้างบุคคลที่ดี ครอบครัวที่ดีและสังคมที่ดี อิสลามก็พยายามสร้างรัฐที่ดีด้วย

รัฐในศาสนาอิสลามไม่ใช่รูปแบบของรัฐที่โลกรู้จักมาก่อนหรือหลังอิสลาม แต่ค่อนข้างเป็นรัฐที่แตกต่างจากสิ่งอื่นใด โดยมีจุดมุ่งหมาย แนวทาง องค์ประกอบ และคุณลักษณะเฉพาะ

เพราะเป็นรัฐพลเรือนที่ปกครองโดยศาสนาอิสลาม และตั้งอยู่บนพื้นฐานของพันธะสัญญา(บัยอะฮ์) การปรึกษาหารือ(ชูรอ) และความยุติธรรม

เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกคัดเลือกมาจากผู้มีความสามารถด้านต่างๆ และมีความซื่อสัตย์  ไม่มีสถานะของนักบวชหรือศาสนา และไม่เป็นรัฐเซคคิวลาร์ที่ปฏิเสธและเป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนา หรือถือว่าเป็นยาฝิ่นของประชาชาติ แยกศาสนาออกจากชีวิตและสังคมด้านต่างๆ และไม่ใช่รัฐที่ปฏิเสธผู้ไม่เชื่อในศาสนาอิสลามในดินแดนของอิสลาม แต่ยินดีต้อนรับพวกเขาตราบเท่าที่พวกเขายอมรับบทบัญญัติทางสังคมเหนือพวกเขา  ส่วนสิ่งที่เกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธาและเงื่อนไขส่วนตัวของพวกเขา ต่างศาสนิกมีอิสระที่จะปฏิบัติตามสิ่งที่ศาสนาของพวกเขาบัญญัติ

รัฐในศาสนาอิสลามเป็นสถานที่นัดพบของศาสนาและทางโลก  การผสมผสานของวัตถุสสารกับจิตวิญญาณ ความสมานฉันท์ระหว่างอารยธรรมกับความมีคุณธรรม และการรวมเป็นหนึ่งของหมู่ภูมิบุตร ภายใต้ร่มธงของอัลกุรอานที่ควบคู่กับความรู้และปัญญาพร้อมกันไป และไม่ใช่แค่เครื่องมือรักษาความปลอดภัยที่ปกป้องจากการรุกรานภายในหรือการบุกรุกจากภายนอก

เป็นรัฐที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับคำสอน หลักการ และศีลธรรมของศาสนาอิสลาม และทำให้หลักการและศีลธรรมเหล่านั้นเป็นจริงที่จับต้องได้  และเป็นรัฐให้คำแนะนำสั่งสอน ไม่ใช่รัฐเน้นหารายได้ภาษี

รัฐในอิสลาม ไม่มีสถานะศักดิ์สิทธิ์สำหรับผู้ปกครอง ที่ทำให้เขาอยู่เหนือความรับผิดชอบหรือการพิจารณาคดี  ผู้ปกครองเป็นเพียงตัวแทนของประชาชน  เป็นเพียงประชาชนคนหนึ่ง ที่มีถูกและผิด มีดีและชั่ว และถ้าเขาถูก ผู้คนต้องเชื่อฟังและร่วมมือช่วยเหลือ และถ้าทำผิดพลาด ประชาชนก็จะตรวจสอบสวนและปรับปรุงแก้ไข

รัฐในอิสลามไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการปกครองและการตัดสินใจของคนๆเดียว หรือครอบครัวใด หรือตระกูลใด  แต่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยในการเลือกของผู้ปกครอง ไม่มีใครเป็นผู้นำโดยขัดต่อเจตจำนงของประชาชน

รัฐในอิสลามปกป้องสิทธิของผู้อ่อนแอ ไม่ใช่ผลประโยชน์ของผู้แข็งแกร่ง บังคับความมั่งคั่งของคนรวยให้คืนให้กับคนจนผ่านระบบซะกาต และแบ่งสรรปันส่วนให้ทุกคนที่มีความต้องการต่อปัจจัยยังชีพ 

เป็นรัฐของผู้ถูกกดขี่และผู้อ่อนแอที่ถูกเหยียบย่ำด้วยเท้าของเผด็จการ รัฐในอิสลามจะยืนเคียงข้างผู้อ่อนแอและต่อสู้เพื่อความรอดของพวกเขา

เป็นรัฐแห่งสิทธิและเสรีภาพ  ทั้งสิทธิในการมีชีวิต ความเป็นเจ้าของ ความเพียงพอในปัจจัยขั้นต่ำในการดำรงชีวิต

เป็นรัฐที่ปลอดภัยในศาสนา ชีวิต เกียรติยศ ทรัพย์สินเงินทอง และวงศ์ตระกูล  โดยที่เสรีภาพทางศาสนา เสรีภาพในความเชื่อและการสักการะเป็นของทุกคน

เป็นรัฐแห่งการยึดมั่นในกฎหมาย เสรีภาพในการพูด ความคิดเห็น และเสรีภาพในความรู้และความคิด 

ทั้งเปิดกว้างในสำนักหลักความเชื่ออะกีดะฮ์  กฎหมาย การตีความอัลกุรอาน และตะเซาวุฟ และอื่นๆ  แตกต่างกันในด้านสำนักความคิดแต่สามารถอยู่ร่วมกันได้ เป็นรัฐของหลักการและศีลธรรมโดยไม่เบี่ยงเบนไปจากนี้


แปลสรุปโดย Ghazali Benmad

“มินฟิกฮ์เดาละฮ์ ฟิลอิสลาม – ศาสตร์ว่าด้วยรัฐในหลักการอิสลาม” ของชัยค์ยูซุฟ กอรฎอวีย์ [ตอนที่ 1]

รัฐศาสตร์อิสลาม น่าจะเป็นประเด็นที่กำลังร้อนฉ่าในนาทีนี้  นักวิชาการอิสลามหลายๆท่านได้นำเสนอข้อมูลทางวิชาการที่แตกต่างกันไป ตามทัศนะของแต่ละท่าน

ชัยค์ยูซุฟ  กอรฎอวีย์ ปูชนียบุคคลทางวิชาการอิสลามที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติจากหลายๆชาติ อดีตประธานสหพันธ์อุลามาอ์นานาชาติและสภาฟัตวาแห่งยุโรป ได้เขียนตำรา  “มินฟิกฮ์เดาละฮ์ ฟิลอิสลาม – ศาสตร์ว่าด้วยรัฐในหลักการอิสลาม” เป็นหนึ่งในตำราเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ในอิสลาม ที่ผู้เขียนวิเคราะห์สังเคราะห์จากหลักการศาสนาอิสลาม ตามแนวทางของนักปฏิรูปสังคมมุสลิมยุคหลัง   โดยเฉพาะทัศนะที่ชัยค์มุฮัมมัด ฆอซาลี ให้น้ำหนัก  ในประเด็นประชาธิปไตย พรรคการเมือง  การเลือกตั้ง  รัฐสภา  สิทธิทางการเมืองของสตรีและต่างศาสนิก และอื่นๆ

● โดยมีสาระพอสังเขปดังนี้

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ด้วยการเกิดขึ้นของสำนักอิสลามสายกลาง และอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นในสังคมอิสลามตลอดจนความสามารถในการขยายในแนวนอนและแนวตั้งในส่วนต่าง ๆ ของสังคม การโจมตีของกลุ่มเซคคิวลาร์ต่อแนวคิดว่าด้วยรัฐในศาสนาอิสลาม เพิ่มขึ้นเพื่อขู่ขวัญผู้คนให้หวาดกลัวอิสลาม

ชนชั้นปกครองได้เริ่มเชื่อมโยงการปกครองของศาสนาอิสลามกับระบอบศาสนจักรในคริสตศาสนา  ว่าเป็นการปกครองปกครองในพระนามของพระเจ้า ถือว่าคำสั่งของผู้นำมาจากพระบัญชาของพระเจ้า ผู้ปกครองจะไม่ถูกปฏิเสธ แม้ว่าจะทำผิดพลาด  หรืออนุญาตสิ่งที่ต้องห้ามและห้ามในสิ่งที่ได้รับอนุญาต

หนังสือนี้ต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจความคิด ความหมาย ลักษณะของรัฐ เพื่อทราบความจริงของศาสนาอิสลามและจิตวิญญาณของกฎเกณฑ์ทางศาสนา

● รัฐในศาสนาอิสลาม

● สถานะของรัฐในหลักการอิสลาม

นักล่าอาณานิคมในดินแดนมุสลิมสามารถปลูกฝังความเท็จว่าอิสลามเป็นศาสนา ไม่ใช่รัฐ และไม่เกี่ยวอะไรกับการปกครอง การเมือง และด้านต่างๆของชีวิต

ทั้งที่ความจริงก็คือศาสนาอิสลามคือ ศาสนาที่ครอบคลุม คัมภีร์ของอิสลามถูกประทานลงมาเพื่ออธิบายทุกอย่าง รวมไปถึงเวลา สถานที่ และมนุษย์ นี่ไม่ใช่นวัตกรรมจากสำนักอิสลามสายกลาง แต่เป็นสิ่งที่ตำราอิสลามต่างๆได้สรุปถึงข้อเท็จจริงที่ถูกต้องของประวัติศาสตร์และธรรมชาติถึงความครอบคลุมของศาสนาอิสลาม

การสถาปนารัฐอิสลามเป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมที่มีความสามารถ มุสลิมจะทำบาปหากไม่ปฏิบัติ และจะไม่ได้รับความรอดจากบาปนี้ เว้นแต่ได้ปฏิเสธแม้ด้วยหัวใจเมื่อไม่สามารถ  ต่อความเบี่ยงเบนไปจากกฎหมายของอัลลอฮ์ และร่วมมือกับพี่น้องมุสลิมเพื่อสร้างชีวิตวิถีอิสลามที่ชี้นำโดยหลักการอิสลามที่ถูกต้อง

ท่านศาสนทูต-ขอพรและสันติสุขจากอัลลอฮ์จงมีแด่ท่าน- พยายามสร้างรัฐสำหรับศาสนาอิสลามและเป็นถิ่นฐานสำหรับการเรียกร้องสู่อิสลาม  ในดินแดนที่ไม่มีใครมีอำนาจนอกจากอิสลาม

นี่คือตั้งแต่วันแรกที่ท่านถูกแต่งตั้ง และตั้งแต่วันแรกที่ท่านโยกย้ายไปเรียกร้องเชิญชวนตามเผ่าต่างๆ กำลังมองหาใครสักคนที่จะช่วยท่านสร้างดินแดนของศาสนาอิสลาม จนกระทั่งอัลลอฮ์ได้ให้พบกับชาวอันซอร์ นครมะดีนะฮ์จึงกลายเป็นบ้านหลังแรกของศาสนาอิสลาม และเป็นฐานของรัฐอิสลามใหม่  ในประวัติศาสตร์ของชาวมุสลิม พวกเขาไม่เคยรู้จักการแบ่งแยกระหว่างศาสนากับรัฐ  ยกเว้นเมื่อศตวรรษแห่งฆราวาสนิยม ที่กำลังมีอำนาจในยุคนี้ และนี่คือสิ่งที่ผู้ส่งสารของอัลลอฮ์ ได้บอกข่าวนี้ล่วงหน้าว่า

ألا إن رحى الإسلام دائرة، فدوروا مع الإسلام حيث دار، ألا إن القرآن والسلطان سيفترقان فلا تفارقوا الكتاب، ألا إنه سيكون عليكم أمراء يقضون لأنفسهم ما لا يقضون لكم، فإن عصيتموهم قتلوكم، وإن أطعتموهم أضلوكم، قالوا وماذا نصنع يا رسول الله، قال كما صنع أصحاب عيسى بن مريم، نُشروا بالمناشير، وحملوا على الخُشب، موت في طاعة الله خير من حياة في معصية الله

“กงล้อแห่งอิสลามจะหมุนไป ไม่ว่าอิสลามจะหมุนไปทางไหนพวกท่านจงหมุนตาม  อัลกุรอานและอำนาจปกครองจะแยกจากกัน ดังนั้นอย่าแยกจากคัมภีร์  จะมีผู้ปกครองของพวกท่านที่ปกครองเพื่อพวกเขาเอง ไม่ใช่เพื่อพวกท่าน  และหากพวกท่านไม่เชื่อฟัง พวกเขาจะฆ่าพวกท่าน และหากพวกท่านเชื่อฟังพวกเขา พวกเขาก็จะพาท่านหลงทาง” พวกเขาก็กล่าวว่า “โอ้ ท่านร่อซูลุลลอฮ์ แล้วเราจะทำอย่างไร” ท่านตอบว่า “เช่นเดียวกับบรรดาสหายของพระเยซู บุตรมัรยัม ซึ่งถูกเลื่อยด้วยเลื่อย และถูกแขวนบนไม้แขวน  ความตายโดยเชื่อฟังอัลลอฮ์ ดีกว่าการมีชีวิตโดยไม่เชื่อฟังอัลลอฮ์”


แปลสรุปโดย Ghazali Benmad

ซีรี่ส์ “รู้จักชัยค์ยูซุฟ กอรฎอวีย์” [ตอนที่5]

อ่านไดอะรี่ส่วนตัว ชัยค์ยูซุฟ  กอรฎอวีย์”

เหตุการณ์นี้ก็ได้เกิดขึ้นกับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะต้องถูกลงโทษ แต่ว่าญาติของมารดาซึ่งอยู่ไกล้กุตตาบผ่านมาพอดี จึงได้ขอร้องให้เว้นโทษแก่ข้าพเจ้า ทำให้ข้าพเจ้าไม่ถูกลงโทษ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าเป็นความบังเอิญหรือไม่ แต่ความเป็นไปได้กรณีหลังน่าจะมากกว่า ด้วยความร่วมมือระหว่างมารดากับชัยค์

ชัยค์หามิดเป็นฮาฟิซผู้จำอัลกุรอานที่มีศักดิ์ศรี  ปกติแล้วฮาฟิซทั่วไปมักจะรับจ้างอ่านอัลกุรอานแก่ผู้ล่วงลับที่สุสานในวันพฤหัสบดี  โดยรับค่าจ้างเล็กๆน้อยๆ จากญาติผู้ตาย  ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นอาหาร แต่ชัยค์ไม่กระทำเช่นนั้น

ท่านเป็นคนเรียบง่าย สะอาดสะอ้าน ละหมาด 5 เวลาที่มัสยิดเป็นประจำ มัสยิดอยู่ไกล้กุตตาบ ท่านมักจะเป็นอิหม่ามหากอิหม่ามประจำมัสยิดไม่อยู่

ที่กุตตาบ เราจะท่องจำอัลกุรอานส่วนหนึ่งตามความเหมาะสม  โดยเราจะเขียนลงไปในแผ่นไม้ทาน้ำมันพืช ที่สามารถเขียนด้วยน้ำหมึกได้ เราซื้อน้ำหมึกจากช่างย้อมผ้าในตำบลของเรา  โดยเกษตรกรมักจะใส่เสื้อโต้บสีน้ำเงิน ซึ่งเดิมสีขาวแล้วนำมาย้อมด้วยสีน้ำเงิน  เช่นเดียวกับผู้หญิงที่ใส่ผ้าใหมดำซึ่งเดิมเป็นสีขาว

เราซื้อหมึกแล้วนำใส่ไว้ในที่ใส่ แล้วใช้ปากกาไม้ที่เราเหลาเป็นปากเป็ด บางครั้งชัยค์หามิดเหลาให้เรา  ทุกวันเราจะเขียนจำนวนอายะฮฺที่เราต้องท่องตามกำหนด  ให้ชัยค์ตรวจสอบความถูกต้องก่อนท่องจำ  และกลับมาท่องต่อที่บ้าน วันต่อมาเราก็จะท่องให้ผู้ช่วยของชัยค์ฟัง หากใครจำไม่ดีก็จะถูกให้กลับไปท่องใหม่  หลังจากท่องจำส่วนที่ต้องท่องจำประจำวันแล้ว ก็จะทบทวนที่จำมาแล้วให้ชัยค์ฟัง

ในการฝึกเขียน เด็กๆจะลอกเลียนแบบกันเอง เพราะการสอนเขียนขณะนั้นยังไม่มีระบบ  แม้ว่าบางครั้งชัยค์จะเขียนให้เราดูบนกระดานดำ หรือเขียนบางคำให้นักเรียนเขียนตาม  ท่านจะเขียนหลายๆครั้งให้นักเรียนเรียนรู้วิธีการเขียน

ทุกๆวันเราจะท่องจำทำนองเสนาะโดยที่เราไม่เข้าใจความหมายอะไรเลย เราจะท่องจำพร้อมๆกันว่า

บา บา อะลิฟ

บี  บา ยี

บู  บา  วาว

ตา  ตา อลิฟ

ตี   ตา   ยี

ตู  ตา  วาว

และทุกๆวัน ชัยค์ให้เราท่องจำคุณลักษณะของอัลลอฮฺยี่สิบประการ คือ

الوجود والقدم والبقاء ومخالفته تعالى للحوادث، وقيامه بنفسه، والوحدانية، والعلم والإرادة والقدرة والحياة والسمع والبصر والكلام، وكونه تعالى عالمًا ومريدًا وقادرًا وحيًا وسميعًا وبصيرًا ومتكلمًا.

และท่องจำลูกๆทั้งเจ็ดของท่านนบี ศอลฯ  อับดุลลอฮฺ  กอเซ็ม  อิบรอฮีม  ฟาติหม๊ะ  ซัยนับ รุกัยยะฮฺ  และอุมมุกัลษูม

การท่องประวัติศาสดาแบบนี้พอจะมีประโยชน์บ้าง  แต่การท่องจำหลักศรัทธาด้วยวิธีนี้ข้าพเจ้าคิดว่าไม่ถูกต้อง เพราะศรัทธาไม่ก่อเกิดด้วยวิธีเช่นนี้  การท่องจำเช่นนี้ไม่ก่อให้เกิดแนวคิดที่ถูกต้องหรือความรู้สึกอันใด

ชัยค์หามิดให้ข้าพเจ้าท่องจำญุซอัมมะ โดยเริ่มจากหลังถัดๆมา จนจบ  แล้วตามด้วยญุซตะบารอกะ  และญุซซะริยาต จนกระทั่งซูเราะฮฺอันนัจญม์ด้วยวิธีนี้


ที่มา เพจ อ่านบันทึกส่วนตัว ชัยค์ยูซุฟ กอรฎอวีย์

ซีรี่ส์ “รู้จักชัยค์ยูซุฟ กอรฎอวีย์” [ตอนที่4]

อ่านไดอะรี่ส่วนตัว ชัยค์ยูซุฟ  กอรฎอวีย์”

ตำบลของเราค่อนข้างใหญ่ ขณะที่ข้าพเจ้ายังเด็ก มีประชากรมากกว่า 20,000   คน มีกุตตาบ 4  แห่ง แห่งหนึ่งอยู่บริเวณใจกลางตำบล ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านและซอยของเรา  และที่เหลืออยู่ทิศตะวันออกและตะวันออกอย่างละหนึ่งแห่ง

กุตตาบแต่ละแห่งเป็นที่รู้จักกันในนามของครูผู้สอน ซึ่งปกติแล้วก็เป็นเจ้าของและอยู่ติดกับบ้านหรือเป็นส่วนหนึ่งของบ้านครูผู้สอน

ในบริเวณบ้านของเราเป็นที่ตั้งของกุตตาบชัยค์ยะมานีย์ มุรอดและกุตตาบชัยค์หามิด อบูซูวัยล์

ครั้งแรกข้าพเจ้าไปเรียนที่กุตตาบชัยค์ยะมานีย์ มุรอด ตามคำแนะนำของญาติพี่น้องตนหนึ่งที่มีลูกเรียนอยู่ที่นั่น แต่ไปเพียงวันเดียวและไม่ไปอีกเลยหลังจากนั้น เพราะชัยค์ใช้วิธีตีเด็กทุกคนเพื่อกระตุ้นให้ท่องจำโดยไม่มีเหตุผลหรือความผิดใดๆ  ซึ่งรวมถึงข้าพเจ้าด้วยตั้งแต่วันแรกที่ไปเรียน  อาจจะเป็นข้าพเจ้าไม่ชอบการทำร้ายรังแกหรือถูกทำร้ายรังแกโดยธรรมชาติ

หลังจากนั้นข้าพเจ้าจึงไม่ยอมไปเรียนที่กุตตาบใดๆ ระยะหนึ่ง จนกระทั่งคุณแม่คะยั้นคะยอ ให้ไปเรียนที่กุตตาบชัยค์หามิด ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของคุณตา และรับรองว่าจะขอร้องให้ชัยค์สอนด้วยดี และขอร้องมารดาของชัยค์ ซึ่งเป็นน้าของข้าพเจ้าชื่อรัยยาด้วย

คุณแม่ได้จูงมือข้าพเจ้าไปเยี่ยมบ้านคุณตาและพาไปมอบตัวกับชัยค์  และกล่าวว่า นี้เป็นอะมานะฮฺของท่านแล้ว ชัยค์กล่าวว่า เขาคือลูกของเรา เราจะดูแลเขาอย่างดี

ชัยค์และมารดาได้ต้อนรับข้าพเจ้าอย่างดี  ข้าพเจ้ามักจะไปยังกุตตาบเป็นคนแรก ข้าพเจ้าจะไปเคาะประตูบ้านคุณน้ารัยยาตั้งแต่เช้าตรู่ แล้วเอาลูกกุญแจไปเปิดประตูกุตตาบ บ้างนางเปิดประตูให้ข้าพเจ้า  นางเตือนให้ข้าพเจ้าระวังตัวหมัดบนพื้นกุตตาบที่เป็นพื้นดินเหมือนบ้านส่วนใหญ่ทั่วไป  ตัวหมัดจะกรูกันเข้ามานักเรียนคนแรกที่ไปโรงเรียน ซึ่งก็คือข้าพเจ้าในทุกๆวัน ข้าพเจ้าก็หนีขึ้นไปบนแคร่สี่เหลี่ยม  รอจนเด็กๆมา และได้รับส่วนแบ่งจากการกัดของตัวหมัดเหมือนๆ กัน

ค่าเล่าเรียนที่กุตตาบต่ำมากๆ คือครึ่งเปียส ( หนึ่งปอนด์อียิปต์เท่ากับ  100 เปียส อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน หนึ่งดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ …. ปอนด์อียิปต์ ) ต่อสัปดาห์ โดยเก็บทุกๆวันพุธซึ่งเป็นวันนัดของตำบล แต่จำนวนนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่สำหรับเด็กๆหลายคน ซึ่งในจำนวนนั้นรวมข้าพเจ้าด้วย แต่ชัยค์ได้อนุโลมสำหรับข้าพเจ้าโดยเก็บครึ่งเปียสต่อสองสัปดาห์ เนื่องจาก หนึ่งข้าพเจ้ากำพร้าบิดา และสองข้าพเจ้าเรียนเก่ง

คุณลักษณะที่ดีอีกประการหนึ่งของชัยค์คือ ท่านไม่เคยตีข้าพเจ้าเลย แม้ว่าท่านจะตีเด็กอื่นๆทั้งหมด

ข้าพเจ้ายังจำได้ ครั้งหนึ่งชัยค์จะตีข้าพเจ้า มิใช่เป็นเพราะความบกพร่องในการท่องจำ แต่เพราะสาเหตุอื่น โดยผู้ปกครองส่วนใหญ่กลัวลูกหลานจะไปอาบน้ำที่เหมืองน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันศุกร์ชัยค์จะใช้ดินสอทำเครื่องหมายที่ขาของเด็กๆ  และในวันเสาร์ก็จะเปิดดู ใครที่เครื่องหมายดังกล่าวยังคงอยู่ก็โชคดี หากใครไม่มีก็แสดงว่าไปอาบน้ำที่เหมืองน้ำแล้ว


ที่มาเพจ อ่านบันทึกส่วนตัว ชัยค์ยูซุฟ กอรฎอวีย์

ซีรี่ส์ “รู้จักชัยค์ยูซุฟ กอรฎอวีย์” [ตอนที่3]

อ่านไดอะรี่ส่วนตัว ชัยค์ยูซุฟ  กอรฎอวีย์”

บ้านสองหลัง

สิ่งหนึ่งที่อัลลอฮฺอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้าคือ การมีบ้านสองหลัง

หลังแรกคือบ้านของครอบครัวเรา ที่เป็นครอบครัวใหญ่ ประกอบด้วยลุง และลูกๆ และข้าพเจ้ากับมารดา

อีกหลังหนึ่งคือบ้านของคุณตา ที่ข้าพเจ้าไปบ่อยๆ และอยู่คราวละนานๆ เพราะสองสาเหตุคือ มารดาได้มีความสุขกับครอบครัวของนาง และมีลูกของน้าๆ ที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับข้าพเจ้าหลายคน ที่เราได้เล่นกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งต่างจากลุงกับป้าไม่มีลูกที่มีอายุไกล้เคียงกับข้าพเจ้า

ส่วนใหญ่เรามักจะอยู่ที่นั่นตลอดวัน และกลับจากละหมาดอีชาและอาหารค่ำ

บ้านของคุณปู่อยู่ใกล้กับตัวเมืองมากกว่า ใช้ทั้งเตาแก๊สและเตาถ่าน มีโซฟาและเก้าอี้นวม แต่ที่บ้านของเรามีม้านั่งพิงกับผนังบ้านเพียงตัวเดียว


ที่มาเพจ อ่านบันทึกส่วนตัว ชัยค์ยูซุฟ กอรฎอวีย์

อัฟกานิสถาน ฏอลิบานรีเทิรน์และแนวโน้มในอนาคต[ตอนที่ 7]

Taliban และ IS-Khurasan

สองสายธารที่บรรจบได้ยาก

หลังจากการประกาศรัฐอิสลามที่อิรักและซีเรียในปี 2014  Taliban ปากีสถานก็ได้ประกาศให้คำสัตยาบันต่อผู้นำ IS ขณะนั้นคือ นายอะบูบักร์ อัลบัฆดาดีย์ ตามด้วยสมาชิกTalibanจากอัฟกานิสถานบางคนที่แปรพักตร์สนับสนุน IS

ต้นปี 2015 IS ได้ประกาศจัดตั้งรัฐอิสลามคูรอซาน (Islamic State -Khurosan IS-Kh) ซึ่งเป็นชื่อเก่าในอดีตที่ครอบคลุมอัฟกานิสถานปากีสถาน อิหร่านและประเทศในเอเชียกลางในปัจจุบันโดยใช้พื้นที่ในอำเภอแห่งหนึ่งทางภาคตะวันออกของอัฟกานิสถาน คือ Nangarhar เป็นศูนย์ปฏิบัติการ มีกองกำลังหลายพันคน

ปฏิบัติการสำคัญ

IS-Kh ได้ออกแถลงการณ์เป็นผู้รับผิดชอบเหตุการณ์นองเลือดหลายครั้งที่เกิดขึ้นที่อัฟกานิสถานและปากีสถานรวมทั้งการเชือดสังหารชาวบ้านในมัสยิด โรงพยาบาลและที่สถานะอื่น ๆ

ในปี 2019 IS-Kh ได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุโจมตีชาวชีอะฮ์ในงานมงคลสมรสที่กรุงคาบูล ทำให้มีผู้เสียชีวิต 91 ราย

เช่นเดียวกันกับเหตุโจมตีในปี 2020 ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงคาบูล ที่มีชาวชีอะฮ์อาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่ การระเบิดครั้งนี้ มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่เสียชีวิต 16 ราย

ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 กลุ่ม

ถึงแม้จะเป็นสองกลุ่มสุนหนี่ที่มาจากกลุ่มติดอาวุธเช่นกัน แต่ทั้งสองมีความแตกต่างทั้งแนวคิด ปรัชญา ยุทธศาสตร์และเป้าหมายโดยเฉพาะการตอบโต้ระหว่างสองฝ่าย ที่หลายครั้งเกิดการปะทะด้วยอาวุธ โดยฝ่าย IS-Kh ได้ประกาศอย่างชัดเจนว่าTalibanเป็นกลุ่มที่ได้ตกศาสนา ( ชาวมุรตัดดีน) รายละเอียดความแตกต่างของทั้งสองกลุ่มนี้ ได้นำเสนอแล้วในตอนที่ 3 ของบทความ

Talibanจึงเป็นก้างขวางคอที่สกัดยุทธศาสตร์การรุกคืบของ IS ที่คูรอซาน ต่างกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่อิรักและซีเรีย ซึ่งกลุ่มนี้สามารถเข้าไปยึดครองได้อย่างง่ายดายในช่วงแรก ถึงแม้ในรอบต่อมา ถูกกองกำลังบัชชาร์ยึดคืนก็ตาม

ในปี 2019 กองกำลังรัฐบาลอัฟกานิสถานที่ปฏิบัติติการร่วมกับสหรัฐอเมริกาได้ประกาศความปราชัยในจังหวัด Nangarhar เมืองทางภาคตะวันออกของประเทศ

ตามรายงานของสหรัฐอเมริการะบุว่า IS-Kh ได้ปฎิบัติการตามเครือข่ายที่นอนหลับ ซึ่งแฝงอยู่ในกรุงคาบูล เพื่อปฏิบัติการโจมตีและก่อการร้ายในพื้นที่

ปฏิกิริยา IS-Kh ต่อ Talibanรีเทิร์น

IS-Kh ได้กล่าวประณาม Talibanอย่างรุนแรง ที่ Talibanได้ร่วมลงมือลงนามกับวอชิงตันที่จัดขึ้น ณ กรุงโดฮาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2020 โดยทั้งสองได้ตกลงเรื่องการถอนทัพของสหรัฐอเมริกาและต่างชาติให้ออกจากอัฟกานิสถาน IS-Kh กล่าวหา Talibanว่าเปลี่ยนจุดยืนและขายอุดมการณ์

หลังเหตุการณ์ช๊อคโลก Talibanรีเทิร์น เมื่อ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา องค์กรอิสลามทั่วโลกและผู้นำประเทศอิสลามบางประเทศได้มองในแง่บวกและชื่นชมต่อชัยชนะครั้งนี้ ซึ่งตรงกันข้ามกับ IS ที่สงวนท่าทีและเงียบเฉย แม้กระทั่งกล่าวแสดงความยินดี

ผู้สังเกตการณ์ระบุว่า ระหว่างเดือนมกราคม- สิงหาคมปีนี้ ISได้ปฏิบัติการโจมตีมาแล้ว 216 ครั้ง เทียบกับ 34 ครั้งในช่วงดังกล่าว เมื่อปีที่ผ่านมา

นิตยสารฝรั่งเศสฉบับหนึ่งกล่าวว่าสถานการณ์เช่นนี้ ทำให้อัฟกานิสถานกลายเป็นแหล่งปฏิบัติการที่สร้างสีสันแห่งใหม่ของ IS มันไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการถอนกำลังของกองทัพสาหรัฐอเมริกา แต่การรีเทิร์นของ Talibanต่างหากที่ทำให้ IS-Kh ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่

“การพ่ายแพ้อย่างหมดรูปของกองกำลังอัฟกันที่ผ่านมา ทำให้เราต้องหวนกลับนึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่อิรักเมื่อปี 2011 ผมเกรงว่าจะเป็นหนังที่ถูกฉายซ้ำที่อัฟกานิสถาน พร้อมๆ กับการพัฒนาการอย่างมีนัยของ IS และ Al-Qaeda”

Colin Clark ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกกลางชาวสหรัฐอเมริกา กล่าวทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจ

ล่าสุด เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2021 เกิดเหตุระเบิดพลีชีพที่บริเวณใกล้สนามบินกรุงคาบูล มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายสิบคน พร้อมคำแถลงการณ์จาก IS-Kh ที่แสดงความรับผิดชอบเช่นเคย

#งานหินสุดๆของ Talibanได้เริ่มขึ้นแล้ว

#เมฆดำทมึนเหนือท้องฟ้าอัฟกานิสถานเริ่มก่อตัวอีกครั้ง

#ร่วมดุอาให้ชาวอัฟกัน


ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.aljazeera.net/news/2021/8/26/%D8%B7%D8%A7%D9%84%D8%A8%D8%A7%D9%86-%D9%88%D8%AA%D9%86%D8%B8%D9%8A%D9%85-%D8%A7%D9%84%D8%AF%D9%88%D9%84%D8%A9-%D8%A8%D8%A3%D9%81%D8%BA%D8%A7%D9%86%D8%B3%D8%AA%D8%A7%D9%86-%D9%85%D8%A7-%D8%B3%D8%B1

โดย Mazlan Muhammad