นิยามอิสลาม คุณลักษณะอิสลาม 18 ประการ [ตอนที่ 1]


คำถาม: “ในยุคของเรา มีการเรียกร้องสู่ที่อิสลามแตกต่างกันไป เราอยากให้ท่านให้รายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับลักษณะของศาสนาอิสลามที่ท่านเรียกร้อง เพื่อไม่ให้เราสับสน”

คำตอบ โดยเชคยูซุฟ อัลกอรฎอวีย์


1- อิสลามสื่อสารกับปัญญา และอาศัยปัญญาในการทำความเข้าใจศาสนาและสร้างสรรค์โลก

อิสลามเรียกร้องสู่วิทยาศาสตร์ อีกทั้งเรียกร้องให้มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และนำวิธีการที่ทันสมัยที่สุดมาใช้  และทำตามหลักวิทยาศาสตร์ในทุกด้าน

การคิดการคิดใคร่ครวญเป็นศาสนกิจประเภทหนึ่ง

การแสวงหาความรู้ทุกประการที่สังคมมีความจำเป็นถือเป็นพันธกรณีระดับฟัรดู

ความล้าหลังทางวิทยาศาสตร์ ถือเป็นความผิดและอาชญากรรมร่วมสมัย

2- อิสลามที่เรียกร้องสู่การอิจติฮาด-วิเคราะห์สังเคราะห์-และนวัตกรรม ต่อต้านการยึดติดและการลอกเลียนแบบ  อีกทั้งเชื่อมั่นในการก้าวให้ทันความก้าวหน้าและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

ชะรีอะฮ์ไม่มีปัญหากับสิ่งใหม่ ๆ และไม่อับจนหนทางในการแก้ไขปัญหาใด ๆ  แต่เป็นความบกพร่องทางความรู้หรือเจตจำนงความมุ่งมั่นของชาวมุสลิม 

ในสมัยของเรา การอิจติฮาดได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่เลี่ยงไม่ได้ เป็นสิ่งจำเป็นตามบทบัญญัติศาสนาและตามสภาพความเป็นจริงของสังคม  ผู้ที่มีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นการอิจติฮาดแบบคัดเลือก หรือการอิจติฮาดเชิงสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นรายบุคคลหรือองค์คณะ การอิจติฮาดบางส่วนหรือทั้งหมดทุกประเด็น

3- ศาสนาอิสลามมีอัตลักษณ์ในความเป็นทางสายกลางในทุกสิ่ง และบัญญัติให้ทางสายกลางเป็นหนึ่งในคุณลักษณะพื้นฐานของประชาชาติอิสลาม

อิสลามเป็นความสมดุลเชิงบวกในทุกด้าน ทั้งด้านความเชื่อและการปฏิบัติ ด้านวัตถุธรรมและนามธรรม ให้ความสมดุลระหว่างจิตวิญญาณและวัตถุธาตุ ระหว่างสติปัญญาและจิตใจ ระหว่างโลกนี้และโลกหน้า  ระหว่างสิทธิและหน้าที่   และอื่น ๆ  ตลอดจนสร้างสมดุลที่ยุติธรรมระหว่างปัจเจกและสังคม โดยมิให้ปัจเจกบุคคลได้รับสิทธิและเสรีภาพมากเกินไปจนกระทบต่อผลประโยชน์ส่วนรวมเหมือนสิ่งที่ทุนนิยมกระทำ แต่ก็ไม่ได้ให้อำนาจให้สังคมครอบงำและกดดันปัจเจกให้เหี่ยวเฉา ไร้แรงจูงใจและความทุ่มเท  ดังเช่นที่ลัทธิคอมมิวนิสต์และลัทธิสังคมนิยมสุดโต่งกระทำ

4- อิสลามมีลักษณะเป็นสัจนิยม ( Realism ) มองโลกตามความเป็นจริง  ไม่ได้ลอยอยู่ในโลกของอุดมคตินิยม และไม่ปฏิบัติต่อมนุษย์เหมือนเป็นเทวดา แต่เป็นมนุษย์ที่มีผิดมีถูก ยอมรับในความอ่อนแอของมนุษย์

อิสลามจึงส่งเสริมความดีและยับยั้งความชั่ว กำหนดบทลงโทษ เปิดประตูแห่งการกลับใจ  ยอมรับเหตุผลข้อจำกัด  บัญญัติการลดโทษและข้อยกเว้นในกรณีต่างๆ เช่น กรณีไม่เจตนา  หลงลืม หรือถูกบังคับ

อนุญาตให้ใช้หลักความเป็นจริงที่ต่ำกว่า เมื่ออุดมคติอันสูงส่งเป็นไปไม่ได้

5- อิสลามให้เกียรติผู้หญิง และถือว่าผู้หญิงเป็นบุคคลที่มีความสามารถเต็มตามกฎหมาย มีสิทธิและหน้าที่แห่งตน  อิสลามปกป้องดูแลผู้หญิงในฐานะลูกสาว ภรรยา และมารดา อีกทั้งเป็นสมาชิกของครอบครัวและสังคม ตลอดจนให้มีส่วนร่วมในศาสนพิธี  การเรียนรู้และในการทำงาน

6- อิสลามเชื่อว่าครอบครัวเป็นพื้นฐานของสังคม และการแต่งงานนั้นเป็นพื้นฐานของครอบครัว ดังนั้น ศาสนาอิสลามจึงเรียกร้อง ส่งเสริมสาเหตุ และขจัดอุปสรรคทางเศรษฐกิจออกจากเส้นทางของการสร้างครอบครัว ผ่านการศึกษาและการบัญญัติกฎหมาย  ปฏิเสธประเพณีจอมปลอมที่ทำให้การแต่งงานมีอุปสรรคและล่าช้า เช่น สินสอดทองหมั้นที่มีมูลค่าสูง  ความฟุ่มเฟือยในเรื่องของชำร่วย ของขวัญ  งานเลี้ยงและงานแต่งงาน รวมถึงการจัดเครื่องเรือน เครื่องนุ่งห่มและเฟอร์นิเจอร์  เครื่องประดับ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

7- อิสลามให้ความสำคัญกับการศึกษาและการอบรมสั่งสอน  ยิ่งกว่ากฎหมาย   เพราะกฎหมายไม่ได้สร้างสังคม แต่สร้างโดยการศึกษาอย่างต่อเนื่อง การชี้นำที่ลึกซึ้ง

พื้นฐานของการฟื้นฟูศิลปวิทยาและการเปลี่ยนแปลงทุกอย่างคือ คนที่มีความคิดและมโนธรรม  มีศรัทธาและศีลธรรม และคนดีจึงเป็นพื้นฐานของสังคมที่ดี

8- อิสลามสร้างสังคมบนสายสัมพันธ์ของภราดรภาพและความสามัคคีในหมู่สมาชิกสังคม  ไม่มีที่สำหรับความขัดแย้งทางเชื้อชาติ  ความขัดแย้งทางศาสนา ความขัดแย้งทางชนชั้น หรือความขัดแย้งทางนิกาย. ทุกคนเป็นพี่น้องกันโดยพันธนาการของการเป็นบ่าวของอัลลอฮ์  และการเป็นบุตรของอาดัม

“إن ربكم واحد، وإن أباكم واحد”

“พระเจ้าของพวกท่านองค์เดียวกัน บรรพบุรุษของท่านคนเดียวกัน”

ความเห็นต่างระหว่างมนุษย์เป็นความประสงค์และปรีชาญาณของอัลลอฮ์ผู้ทรงฤทธานุภาพ และในวันแห่งการฟื้นคืนชีพพระองค์จะตัดสินความเห็นต่างระหว่างพวกเขา

9- อิสลามไม่ยอมรับโหราศาสตร์ และไม่มีชนชั้นนักบวชที่ผูกขาดศาสนาและมโนธรรมและปิดประตูการสื่อสารกับอัลลอฮ์ยกเว้นผ่านทางพวกเขา 

ในศาสนาอิสลาม คนทุกคนเป็นนักการศาสนา และไม่จำเป็นต้องมีคนกลางระหว่างคนกับพระเจ้า เพราะทุกคนอยู่ใกล้พระเจ้ายิ่งกว่าเส้นเลือดที่ลำคอ

นักปราชญ์ด้านศาสนาเป็นเพียงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น และการอ้างอิงถึงก็เฉกเช่นเดียวกับการอ้างอิงทุกคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาของตน


เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ซีเอ็นเอ็น CNN

https://arabic.cnn.com/middleeast/2014/06/07/qardawi-islam

แปลสรุปโดย Ghazali Benmad

สตรีนางเดียวที่อัลกุรอานระบุชื่ออย่างชัดเจน

وَمَرْيَمَ ٱبْنَتَ عِمْرَٰنَ ٱلَّتِىٓ أَحْصَنَتْ فَرْجَهَا فَنَفَخْنَا فِيهِ مِن رُّوحِنَا وَصَدَّقَتْ بِكَلِمَٰتِ رَبِّهَا وَكُتُبِهِۦ وَكَانَتْ مِنَ ٱلْقَٰنِتِينَ ( التحريم/١٢)

ความว่า : และมัรยัมบุตรีของอิมรอน ผู้ซึ่งรักษาพรหมจารีของนาง แล้วเราได้เป่าวิญญาณของเราเข้าไปในนาง และนางได้ศรัทธาต่อบัญญัติต่าง ๆ แห่งพระเจ้าของนาง และ (ได้ศรัทธาต่อ) คัมภีร์ต่าง ๆ ของพระองค์ และนางจึงอยู่ในหมู่ผู้นอบน้อมภักดีทั้งหลาย

อิมามกุรฏุบีย์ ได้อธิบายสาเหตุที่อัลลอฮ์เรียกชื่อของนางมัรยัมในอัลกุรอานกว่า 30 ครั้ง และไม่เรียกสตรีท่านอื่นๆด้วยชื่อของนางในอัลกุรอาน เนื่องจากธรรมเนียมของชาวอาหรับ โดยเฉพาะบุคคลชั้นสูงเช่นกษัตริย์หรือผู้นำ จะไม่เรียกสตรีด้วยชื่อของนาง แต่จะเรียกฉายาหรือตามชื่อสามี ครั้นเมื่อชาวคริสเตียนได้ใส่ร้ายนางมัรยัมและบุตรชายของนางด้วยคำใส่ร้ายต่างๆนานา อัลลอฮ์จึงต้องการปกป้องนางด้วยเกียรติอันสูงส่งด้วยกล่าวชื่อจริงของนาง ถึงแม้จะฝืนธรรมเนียมของชาวอาหรับก็ตาม แถมยังใช้ชื่อนางเป็นหนึ่งในซูเราะฮ์ของอัลกุรอานอีกด้วย

‎الحكمة من التصريح باسم مريم في القرآن دون غيرها من النساء – إسلام ويب – مركز الفتوى


โดย Mazlan Muhammad

สตรีที่ได้รับการกล่าวถึงในอัลกุรอาน

1. นางฮาวา (อะอฺร็อฟ/189) 

{هُوَ ٱلَّذِى خَلَقَكُم مِّن نَّفۡسٍ وَٰحِدَةٍ وَجَعَلَ مِنۡهَا زَوۡجَهَا لِيَسۡكُنَ إِلَيۡهَاۖ فَلَمَّا تَغَشَّىٰهَا حَمَلَتۡ حَمۡلًا خَفِيفًا فَمَرَّتۡ بِهِۖ فَلَمَّآ أَثۡقَلَت دَّعَوَا ٱللَّهَ رَبَّهُمَا لَئِنۡ ءَاتَيۡتَنَا صَٰلِحًا لَّنَكُونَنَّ مِنَ ٱلشَّٰكِرِينَ}

ความว่า : “พระองค์นั้นคือผู้ที่ได้ทรงบังเกิดพวกเจ้าจากชีวิตเดียว และได้ทรงให้มีขึ้นจากชีวิตนั้น ซึ่งคู่ครองของชีวิตนั้น เพื่อชีวิตนั้นจะได้มีความสงบสุขกับนาง ครั้นเมื่อชีวิตนั้นได้สมสู่นาง นางก็อุ้มครรภ์อย่างเบา ๆ แล้วนางก็ผ่านมันไป ครั้นเมื่อนางอุ้มครรภ์หนัก เขาทั้งสองก็วิงวอนต่ออัลลอฮ์ผู้เป็นพระเจ้าของเขาทั้งสองว่า ถ้าหากพระองค์ทรงประทานบุตรที่สมบูรณ์ให้ข้าพระองค์แล้ว แน่นอนข้าพระองค์ก็อยู่ในหมู่ผู้ขอบคุณ”

2. ภรรยานบีนูห์ (อัตตะห์รีม/10)

3. ภรรยานบีลูฏ (อัตตะห์รีม/10)

{ضَرَبَ ٱللَّهُ مَثَلًا لِّلَّذِينَ كَفَرُواْ ٱمۡرَأَتَ نُوحٍ وَٱمۡرَأَتَ لُوطٍۖ كَانَتَا تَحۡتَ عَبۡدَيۡنِ مِنۡ عِبَادِنَا صَٰلِحَيۡنِ فَخَانَتَاهُمَا فَلَمۡ يُغۡنِيَا عَنۡهُمَا مِنَ ٱللَّهِ شَيۡـًٔا وَقِيلَ ٱدۡخُلَا ٱلنَّارَ مَعَ ٱلدَّٰخِلِينَ}

ความว่า : อัลลอฮฺทรงยกอุทาหรณ์แก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาถึงภริยาของนูหฺ และภริยาของลู๊ฏ นางทั้งสองอยู่ภายใต้การปกครองของบ่าวที่ดีทั้งสองในหมู่ปวงบ่าวของเรา แต่นางทั้งสองได้ทรยศต่อเขาทั้งสอง ดังนั้นเขาทั้งสองจึงไม่สามารถช่วยเขาทั้งสองให้พ้นจากการลงโทษของอัลลอฮฺแต่ประการใด จึงมีเสียงกล่าวขึ้นว่า เจ้าทั้งสองจงเข้าไปในไฟนรกพร้อมกับบรรดาผู้ที่เข้าไปในมัน

4. ลูกสาวนบีลูฏ ( ฮูด/78-79)

{وَجَآءَهُۥ قَوۡمُهُۥ يُهۡرَعُونَ إِلَيۡهِ وَمِن قَبۡلُ كَانُواْ يَعۡمَلُونَ ٱلسَّيِّـَٔاتِۚ قَالَ يَٰقَوۡمِ هَٰٓؤُلَآءِ بَنَاتِى هُنَّ أَطۡهَرُ لَكُمْۖ فَٱتَّقُواْ ٱللَّهَ وَلَا تُخۡزُونِ فِى ضَيۡفِىٓۖ أَلَيۡسَ مِنكُمۡ رَجُلٌ رَّشِيدٌ ، قَالُواْ لَقَدۡ عَلِمۡتَ مَا لَنَا فِى بَنَاتِكَ مِنۡ حَقٍّ وَإِنَّكَ لَتَعۡلَمُ مَا نُرِيدُ}

ความว่า : “และกลุ่มชนของเขาได้มาหาเขา พวกเขารีบร้อนมายังเขา และก่อนหน้านั้นพวกเขาเคยทำความชั่ว เขากล่าวว่า กลุ่มชนของฉันเอ๋ย เหล่านี้คือลูกสาวของฉัน พวกนางนั้นบริสุทธิ์สำหรับพวกท่าน ดังนั้น พวกท่านจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิดและอย่าทำให้ฉันขายหน้าต่อแขกของฉันเลย ไม่มีคนที่มีสติสัมปชัญญะในหมู่พวกท่านบ้างหรือ (ฮูด :78) พวกเขากล่าวว่า โดยแน่นอน ท่านรู้ดีว่า เราไม่มีสิทธิ์ในลูกสาวของท่าน และแท้จริงท่านรู้ดีถึงสิ่งที่เราปรารถนา (ฮูด :79)  ”

5. นางซาราห์ (อิบรอฮีม/37)

{رَّبَّنَآ إِنِّىٓ أَسۡكَنتُ مِن ذُرِّيَّتِى بِوَادٍ غَيۡرِ ذِى زَرۡعٍ عِندَ بَيۡتِكَ ٱلۡمُحَرَّمِ رَبَّنَا لِيُقِيمُواْ ٱلصَّلَوٰةَ فَٱجۡعَلۡ أَفۡـِٔدَةً مِّنَ ٱلنَّاسِ تَهۡوِىٓ إِلَيۡهِمۡ وَٱرۡزُقۡهُم مِّنَ ٱلثَّمَرَٰتِ لَعَلَّهُمۡ يَشۡكُرُونَ}

ความว่า : “โอ้พระเจ้าของเรา แท้จริงข้าพระองค์ได้ให้ลูกหลานของข้าพระองค์ พำนักอยู่ ณ ที่ราบลุ่มนี้โดยไม่มีพืชผลใดๆ ซึ่งอยู่ใกล้บ้านอันเป็นเขตหวงห้ามของพระองค์ โอ้พระเจ้าของเรา เพื่อให้พวกเขาดำรงการละหมาด ขอพระองค์ทรงให้จิตใจจากปวงมนุษย์ มุ่งไปยังพวกเขา และทรงประทานปัจจัยยังชีพที่เป็นพืชผลแก่พวกเขาหวังว่าพวกเขาจะขอบคุณ”

6. นางฮาญัร ( ฮูด/71-73)

{وَٱمۡرَأَتُهُۥ قَآئِمَةٌ فَضَحِكَتۡ فَبَشَّرۡنَٰهَا بِإِسۡحَٰقَ وَمِن وَرَآءِ إِسۡحَٰقَ يَعۡقُوبَ ،  قَالَتۡ يَٰوَيۡلَتَىٰٓ ءَأَلِدُ وَأَنَا۠ عَجُوزٌ وَهَٰذَا بَعۡلِى شَيۡخًاۖ إِنَّ هَٰذَا لَشَىۡءٌ عَجِيبٌ ، قَالُوٓاْ أَتَعۡجَبِينَ مِنۡ أَمۡرِ ٱللَّهِۖ رَحۡمَتُ ٱللَّهِ وَبَرَكَٰتُهُۥ عَلَيۡكُمۡ أَهۡلَ ٱلۡبَيۡتِۚ إِنَّهُۥ حَمِيدٌ مَّجِيدٌ}

ความว่า : และภริยาของเขายืนอยู่ แล้วนางก็หัวเราะเราจึงแจ้งข่าวดีแก่นางด้วย (การได้บุตรชื่อ) อิสฮาก และหลังจากอิสฮากคือยะอ์กูบ (ฮูด:71) , นางกล่าวว่า โอ้ แปลกแท้ ๆ ฉันจะมีบุตรหรือ ขณะที่ฉันแก่แล้ว และนี่สามีของฉันก็แก่หง่อมแล้ว แท้จริงนี่เป็นเรื่องประหลาดแท้ (ฮูด :72) , พวกเขากล่าวว่า เธอแปลกใจต่อพระบัญชาของอัลลอฮ์หรือ ความเมตตาของอัลลอฮ์และความจำเริญของพระองค์จงประสบแด่พวกท่านโอ้ครอบครัว (ของอิบรฮีม) แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ได้รับการสรรเสริญ ผู้ทรงประเสริฐยิ่ง (ฮูด : 73)

7. ภรรยานบีซะกะรียา (มัรยัม/5)

{وَإِنِّى خِفۡتُ ٱلۡمَوَٰلِىَ مِن وَرَآءِى وَكَانَتِ ٱمۡرَأَتِى عَاقِرًا فَهَبۡ لِى مِن لَّدُنكَ وَلِيًّا}

ความว่า : “และแท้จริงข้าพระองค์กลัวลูกหลานของข้าพระองค์ ภายหลัง (การตายของ) ข้าพระองค์ และภริยาของข้าพระองค์ก็เป็นหมันด้วย ดังนั้นขอพระองค์ทรงโปรดประทานทายาทที่ดีจากพระองค์แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด”

8. ภรรยาเจ้าเมืองอิยิปต์ (ยูซุฟ/21)

{وَقَالَ ٱلَّذِى ٱشۡتَرَىٰهُ مِن مِّصۡرَ لِٱمۡرَأَتِهِۦٓ أَكۡرِمِى مَثۡوَىٰهُ عَسَىٰٓ أَن يَنفَعَنَآ أَوۡ نَتَّخِذَهُۥ وَلَدًاۚ وَكَذَٰلِكَ مَكَّنَّا لِيُوسُفَ فِى ٱلۡأَرۡضِ وَلِنُعَلِّمَهُۥ مِن تَأۡوِيلِ ٱلۡأَحَادِيثِۚ وَٱللَّهُ غَالِبٌ عَلَىٰٓ أَمۡرِهِۦ وَلَٰكِنَّ أَكۡثَرَ ٱلنَّاسِ لَا يَعۡلَمُونَ}

ความว่า : และผู้ที่ซื้อเขามาจากอียิปต์ กล่าวกับภริยาของเขาว่า จงให้ที่พักแก่เขาอย่างมีเกียรติ บางทีเขาจะทำประโยชน์ให้เราได้บ้างหรือรับเขาเป็นบุตร และเช่นนั้นแหละเราได้ทำให้ยูซุฟมีอำนาจในแผ่นดิน และเพื่อเราจะได้สอนให้เขารู้วิชาทำนายฝัน และอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้พิชิตในกิจการของพระองค์ และแต่ว่าส่วนใหญ่ของมนุษย์ไม่รู้

9. บรรดาสตรีเมืองอิยิปต์(ยูซุฟ/30-32)

{وَقَالَ نِسۡوَةٌ فِى ٱلۡمَدِينَةِ ٱمۡرَأَتُ ٱلۡعَزِيزِ تُرَٰوِدُ فَتَىٰهَا عَن نَّفۡسِهِۦۖ قَدۡ شَغَفَهَا حُبًّاۖ إِنَّا لَنَرَىٰهَا فِى ضَلَٰلٍ مُّبِينٍ

 ، فَلَمَّا سَمِعَتۡ بِمَكۡرِهِنَّ أَرۡسَلَتۡ إِلَيۡهِنَّ وَأَعۡتَدَتۡ لَهُنَّ مُتَّكَـًٔا وَءَاتَتۡ كُلَّ وَٰحِدَةٍ مِّنۡهُنَّ سِكِّينًا وَقَالَتِ ٱخۡرُجۡ عَلَيۡهِنَّۖ فَلَمَّا رَأَيۡنَهُۥٓ أَكۡبَرۡنَهُۥ وَقَطَّعۡنَ أَيۡدِيَهُنَّ وَقُلۡنَ حَٰشَ لِلَّهِ مَا هَٰذَا بَشَرًا إِنۡ هَٰذَآ إِلَّا مَلَكٌ كَرِيمٌ ، قَالَتۡ فَذَٰلِكُنَّ ٱلَّذِى لُمۡتُنَّنِى فِيهِۖ وَلَقَدۡ رَٰوَدتُّهُۥ عَن نَّفۡسِهِۦ فَٱسۡتَعۡصَمَۖ وَلَئِن لَّمۡ يَفۡعَلۡ مَآ ءَامُرُهُۥ لَيُسۡجَنَنَّ وَلَيَكُونًا مِّنَ ٱلصَّٰغِرِينَ }

ความว่า : และพวกผู้หญิงในเมืองกล่าวว่า ภริยาของผู้ว่าฯ ได้ยั่วยวนเด็กรับใช้ของนาง แน่นอนเขาทำให้นางหลงรัก แท้จริงเราเห็นว่านางอยู่ในการหลงผิดอย่างชัดแจ้ง (ยูซุฟ : 30) , เมื่อนางได้ยินเสียง (กล่าวหา) โจษจันของนางเหล่านั้น นางจึงส่งคนไปยังนางเหล่านั้นและนางได้เตรียมที่พักพิงสำหรับนางเหล่านั้นและได้นำมีดมาให้ทุกคนในหมู่นางเหล่านั้น และนางกล่าว (แก่เขา) ว่าจงออกไปหานางเหล่านั้น เมื่อนางเหล่านั้นเห็นเขาก็ให้การสรรเสริญและเฉือนมือของพวกนาง และกล่าวว่า เป็นไปไม่ได้ นี่ไม่ใช่มนุษย์เป็นแน่ มิใช่อื่นใดนอกจากมะลักผู้มีเกียรติ (ยูซุฟ : 31) , นางกล่าวว่า นั่นคือสิ่งที่พวกเธอประณามฉันเกี่ยวกับเขา และแน่นอนฉันได้ยั่วยวนเขาแต่เขาขัดขวางอย่างแข็งขัน และหากเขาไม่ปฏิบัติตามที่ฉันสั่งเขา แน่นอนเขาจะถูกจำคุกและจะอยู่ในหมู่ผู้ยอมจำนน (ยูซุฟ : 32)

10. มารดานบีมูซา (อัลเกาะศ็อศ/7)

{وَأَوۡحَيۡنَآ إِلَىٰٓ أُمِّ مُوسَىٰٓ أَنۡ أَرۡضِعِيهِۖ فَإِذَا خِفۡتِ عَلَيۡهِ فَأَلۡقِيهِ فِى ٱلۡيَمِّ وَلَا تَخَافِى وَلَا تَحۡزَنِىٓۖ إِنَّا رَآدُّوهُ إِلَيۡكِ وَجَاعِلُوهُ مِنَ ٱلۡمُرۡسَلِينَ}

ความว่า : และเราได้ดลใจแก่มารดาของมูซา จงให้นมแก่เขา เมื่อเจ้ากลัวแทนเขาก็จงโยนเขาลงไปในแม่น้ำ และเจ้าอย่าได้กลัวและอย่าได้เศร้าโศก แท้จริงเราจะให้เขากลับไปหาเจ้า และเราจะทำให้เขาเป็นหนึ่งในบรรดารอซูล

11. พี่สาวนบีมูซา (อัลเกาะศ็อศ/11)

{وَقَالَتۡ لِأُخۡتِهِۦ قُصِّيهِۖ فَبَصُرَتۡ بِهِۦ عَن جُنُبٍ وَهُمۡ لَا يَشۡعُرُونَ}

ความว่า : และนางได้กล่าวแก่พี่สาวของเขา จงติดตามไปดูเขา ดังนั้น (พี่สาวของมูซา) ได้เห็นเขาแต่ไกล โดยที่พวกเขาไม่รู้

12. ภรรยานบีมูซา (อัลเกาะศ็อศ/26)

{قَالَتۡ إِحۡدَىٰهُمَا يَٰٓأَبَتِ ٱسۡتَـٔۡجِرۡهُۖ إِنَّ خَيۡرَ مَنِ ٱسۡتَـٔۡجَرۡتَ ٱلۡقَوِىُّ ٱلۡأَمِينُ}

ความว่า : นางคนหนึ่งในสองคนกล่าวว่า โอ้คุณพ่อจ๋า จ้างเขาไว้ซิ แท้จริงคนดีที่ท่านควรจะจ้างเขาไว้คือ ผู้ที่แข็งแรง ผู้ที่ซื่อสัตย์

13. ภรรยาฟิรเอาน์ (อัลเกาะศ็อศ/9)

{وَقَالَتِ ٱمۡرَأَتُ فِرۡعَوۡنَ قُرَّتُ عَيۡنٍ لِّى وَلَكَۖ لَا تَقۡتُلُوهُ عَسَىٰٓ أَن يَنفَعَنَآ أَوۡ نَتَّخِذَهُۥ وَلَدًا وَهُمۡ لَا يَشۡعُرُونَ}

ความว่า : และภริยาของฟิรเอานฺกล่าวว่า (เขาจะเป็นที่) น่าชื่นชมยินดีแก่ดิฉันและแก่ท่านอย่าฆ่าเขาเลย บางทีเขาจะเป็นประโยชน์แก่เรา หรือเราจะถือเขาเป็นลูก และพวกเขาหารู้สึกตัวไม่

14. ราชินีสะบะอฺ (อันนัมลุ/32)

{قَالَتۡ يَٰٓأَيُّهَا ٱلۡمَلَؤُاْ أَفۡتُونِى فِىٓ أَمۡرِى مَا كُنتُ قَاطِعَةً أَمۡرًا حَتَّىٰ تَشۡهَدُونِ}

ความว่า : พระนางทรงกล่าวว่า “โอ้หมู่บริหารทั้งหลายเอ๋ย ! จงให้ข้อชี้ขาดแก่ฉันในเรื่องของฉัน ฉันไม่อาจจะตัดสินใจในกิจการใด จนกว่าพวกท่านจะอยู่ร่วมด้วย”

15. ภรรยาอิมรอน ( อาละอิมรอน/35)

{إِذۡ قَالَتِ ٱمۡرَأَتُ عِمۡرَٰنَ رَبِّ إِنِّى نَذَرۡتُ لَكَ مَا فِى بَطۡنِى مُحَرَّرًا فَتَقَبَّلۡ مِنِّىٓۖ إِنَّكَ أَنتَ ٱلسَّمِيعُ ٱلۡعَلِيمُ}

ความว่า : จงรำลึกถึงขณะที่ภรรยาของอิมรอน กล่าวว่า โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์ได้บนไว้ว่าให้สิ่ง(บุตร)ที่อยู่ในครรภ์ของข้าพระองค์ ถูกเจาะจงอยู่ในฐานะผู้เคารพอิบาดะฮฺต่อพระองค์และรับใช้พระองค์เท่านั้น ดังนั้นขอพระองค์ได้โปรดรับจากข้าพระองค์ด้วยเถิด แท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้

16. มัรยัม บินติอิมรอน ( อัตตะห์รีม/12)

{وَمَرۡيَمَ ٱبۡنَتَ عِمۡرَٰنَ ٱلَّتِىٓ أَحۡصَنَتۡ فَرۡجَهَا فَنَفَخۡنَا فِيهِ مِن رُّوحِنَا وَصَدَّقَتۡ بِكَلِمَٰتِ رَبِّهَا وَكُتُبِهِۦ وَكَانَتۡ مِنَ ٱلۡقَٰنِتِينَ}

ความว่า : และมัรยัมบุตรีของอิมรอน ผู้ซึ่งรักษาพรหมจารีของนาง แล้วเราได้เป่าวิญญาณของเราเข้าไปในนาง และนางได้ศรัทธาต่อบัญญัติต่าง ๆ แห่งพระเจ้าของนาง และ (ได้ศรัทธาต่อ) คัมภีร์ต่าง ๆ ของพระองค์ และนางจึงอยู่ในหมู่ผู้นอบน้อมภักดีทั้งหลาย

17. ภรรยานบีอัยยูบ ( อัลอันบิยา/84)

{فَٱسۡتَجَبۡنَا لَهُۥ فَكَشَفۡنَا مَا بِهِۦ مِن ضُرٍّۖ وَءَاتَيۡنَٰهُ أَهۡلَهُۥ وَمِثۡلَهُم مَّعَهُمۡ رَحۡمَةً مِّنۡ عِندِنَا وَذِكۡرَىٰ لِلۡعَٰبِدِينَ}

ความว่า : ดังนั้น เราได้ตอบรับการร้องเรียนของเขาแล้วเราได้ปลดเปลื้องสิ่งที่เป็นความทุกข์ยากแก่เขา และเราได้ให้ครอบครัวของเขาแก่เขา และเช่นเดียวกับที่เขาได้เคยมีมาก่อน (เช่น บุตรหลานและพวกพ้อง) เป็นความเมตตาจากเรา และเป็นข้อตักเตือนแก่บรรดาผู้ที่เคารพภักดี

18. ภรรยานบีมุฮัมมัด (อัลอะห์ซาบ/32)

{يَٰنِسَآءَ ٱلنَّبِىِّ لَسۡتُنَّ كَأَحَدٍ مِّنَ ٱلنِّسَآءِۚ إِنِ ٱتَّقَيۡتُنَّ فَلَا تَخۡضَعۡنَ بِٱلۡقَوۡلِ فَيَطۡمَعَ ٱلَّذِى فِى قَلۡبِهِۦ مَرَضٌ وَقُلۡنَ قَوۡلًا مَّعۡرُوفًا}

ความว่า : โอ้ บรรดาภริยาของนะบีเอ๋ย! พวกเธอไม่เหมือนกับสตรีใด ๆ ในเหล่าสตรีอื่นหากพวกเธอยำเกรง (อัลลอฮฺ) ก็ไม่ควรพูดจาเพราะพริ้งนัก เพราะจะทำให้ผู้ที่ในหัวใจของเขามีโรคเกิดความโลภ แต่จงพูดด้วยถ้อยคำที่พอเหมาะพอควร

19. อุมมุลมุมินีนเคาะดีญะฮ์ (ฏอฮา/132)

{وَأۡمُرۡ أَهۡلَكَ بِٱلصَّلَوٰةِ وَٱصۡطَبِرۡ عَلَيۡهَاۖ لَا نَسۡـَٔلُكَ رِزۡقًاۖ نَّحۡنُ نَرۡزُقُكَۗ وَٱلۡعَٰقِبَةُ لِلتَّقۡوَىٰ}

ความว่า : และเจ้าจงใช้ครอบครัวของเจ้า ให้ทำละหมาด และจงอดทนในการปฏิบัติ เรามิได้ขอเครื่องยังชีพจากเจ้า เราต่างหากเป็นผู้ให้เครื่องยังชีพแก่เจ้า และบั้นปลายนั้นสำหรับผู้ที่มีความยำเกรง

20. อุมมุลมุมินีนอาอิชะฮ์ (อันนูร:11-20)

{إِنَّ ٱلَّذِينَ جَآءُو بِٱلۡإِفۡكِ عُصۡبَةٌ مِّنكُمْۚ لَا تَحۡسَبُوهُ شَرًّا لَّكُمۖ بَلۡ هُوَ خَيۡرٌ لَّكُمْۚ لِكُلِّ ٱمۡرِئٍ مِّنۡهُم مَّا ٱكۡتَسَبَ مِنَ ٱلۡإِثۡمِۚ وَٱلَّذِى تَوَلَّىٰ كِبۡرَهُۥ مِنۡهُمۡ لَهُۥ عَذَابٌ عَظِيمٌ  ، لَّوۡلَآ إِذۡ سَمِعۡتُمُوهُ ظَنَّ ٱلۡمُؤۡمِنُونَ وَٱلۡمُؤۡمِنَٰتُ بِأَنفُسِهِمۡ خَيۡرًا وَقَالُواْ هَٰذَآ إِفۡكٌ مُّبِينٌ  ، لَّوۡلَا جَآءُو عَلَيۡهِ بِأَرۡبَعَةِ شُهَدَآءَۚ فَإِذۡ لَمۡ يَأۡتُواْ بِٱلشُّهَدَآءِ فَأُوْلَٰٓئِكَ عِندَ ٱللَّهِ هُمُ ٱلۡكَٰذِبُونَ،  وَلَوۡلَا فَضۡلُ ٱللَّهِ عَلَيۡكُمۡ وَرَحۡمَتُهُۥ فِى ٱلدُّنۡيَا وَٱلۡأٓخِرَةِ لَمَسَّكُمۡ فِى مَآ أَفَضۡتُمۡ فِيهِ عَذَابٌ عَظِيمٌ ،  إِذۡ تَلَقَّوۡنَهُۥ بِأَلۡسِنَتِكُمۡ وَتَقُولُونَ بِأَفۡوَاهِكُم مَّا لَيۡسَ لَكُم بِهِۦ عِلۡمٌ وَتَحۡسَبُونَهُۥ هَيِّنًا وَهُوَ عِندَ ٱللَّهِ عَظِيمٌ ، وَلَوۡلَآ إِذۡ سَمِعۡتُمُوهُ قُلۡتُم مَّا يَكُونُ لَنَآ أَن نَّتَكَلَّمَ بِهَٰذَا سُبۡحَٰنَكَ هَٰذَا بُهۡتَٰنٌ عَظِيمٌ ،     يَعِظُكُمُ ٱللَّهُ أَن تَعُودُواْ لِمِثۡلِهِۦٓ أَبَدًا إِن كُنتُم مُّؤۡمِنِين ، وَيُبَيِّنُ ٱللَّهُ لَكُمُ ٱلۡأٓيَٰتِۚ وَٱللَّهُ عَلِيمٌ حَكِيمٌ ، إِنَّ ٱلَّذِينَ يُحِبُّونَ أَن تَشِيعَ ٱلۡفَٰحِشَةُ فِى ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَهُمۡ عَذَابٌ أَلِيمٌ فِى ٱلدُّنۡيَا وَٱلۡأٓخِرَةِۚ وَٱللَّهُ يَعۡلَمُ وَأَنتُمۡ لَا تَعۡلَمُونَ، وَلَوۡلَا فَضۡلُ ٱللَّهِ عَلَيۡكُمۡ وَرَحۡمَتُهُۥ وَأَنَّ ٱللَّهَ رَءُوفٌ رَّحِيمٌ}

ความว่า : แท้จริงบรรดาผู้นำข่าวเท็จมานั้น เป็นบุคคลกลุ่มหนึ่งจากพวกเจ้า พวกเจ้าอย่าได้คิดว่ามันเป็นการชั่วแก่พวกเจ้า แต่ว่ามันเป็นการดีแก่พวกเจ้า สำหรับทุกคนในพวกเขานั้น คือสิ่งที่เขาได้ขวนขวายไว้จากการทำบาป ส่วนผู้ที่มีบทบาทมากในเรื่องนี้ในหมู่พวกเขานั้น เขาผู้นั้นจะได้รับการลงโทษอย่างมหันต์ (อันนูร :11) เมื่อพวกเจ้าได้ยินข่าวเท็จนี้ ทำไมบรรดามุอฺมินและบรรดามุอฺมินะฮฺ จึงไม่คิดเปรียบเทียบกับตัวของพวกเขาเองในทางที่ดี และกล่าวว่า นี่เป็นเรื่องโกหกอย่างชัดแจ้ง (อันนูร :12) ทำไมพวกเขาจึงไม่นำพยานสี่คนมาเพื่อมัน หากพวกเขาไม่นำพยานเหล่านั้นมาแล้ว ดังนั้นชนเหล่านั้น ณ ที่อัลลอฮฺพวกเขาเป็นผู้กล่าวเท็จ (อันนูร :13) และหากมิใช่ความโปรดปรานของอัลลอฮฺแก่พวกเจ้า และความเมตตาของพระองค์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าแล้ว แน่นอนการลงโทษอย่างมหันต์ก็จะประสบแก่พวกเจ้า ในสิ่งที่พวกเจ้ากำลังง่วนกันอยู่ (อันนูร :14) ขณะที่พวกเจ้าได้รับข่าวนั้น ด้วยการพูดกันระหว่างพวกเจ้า และพวกเจ้าพูดกันในสิ่งที่พวกเจ้าไม่มีความรู้ และพวกเจ้าคิดว่ามันเป็นเรื่องเล็ก แต่ ณ ที่อัลลอฮฺนั้นมันเป็นเรื่องใหญ่ (อันนูร :15) เมื่อพวกเจ้าได้ยินมัน ทำไมพวกเจ้าจึงไม่กล่าวว่า ไม่บังควรที่เราจะพูดถึงเรื่องนี้ มหาบริสุทธิ์แห่งพระองค์ท่าน นี่มันเป็นการกล่าวร้ายอย่ามหันต์ (อันนูร :16) อัลลอฮฺทรงตักเตือนพวกเจ้า เพื่อมิให้กลับไปประพฤติเช่นนี้อีกเป็นอันขาด หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา (อันนูร :17) และอัลลอฮฺทรงชี้แจงโองการทั้งหลายอย่างชัดเจนแก่พวกเจ้า และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ (อันนูร :18) แท้จริงบรรดาผู้ชอบที่จะให้เรื่องบัดสีแพร่หลายไปในหมู่ผู้ศรัทธานั้น พวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างเจ็บปวด ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และอัลลอฮฺทรงรอบรู้และพวกเจ้าไม่รู้ (อันนูร :19) และหากมิใช่ความโปรดปรานของอัลลอฮฺแก่พวกเจ้า และความเมตตาของพระองค์แล้ว และแท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงเอ็นดู ผู้ทรงเมตตาเสมอ (อันนูร :20)

21. อุมมุลมุมินีนหัฟเศาะฮ์:อัตตะห์รีม/1-5)

{يَٰٓأَيُّهَا ٱلنَّبِىُّ لِمَ تُحَرِّمُ مَآ أَحَلَّ ٱللَّهُ لَكَۖ تَبۡتَغِى مَرۡضَاتَ أَزۡوَٰجِكَۚ وَٱللَّهُ غَفُورٌ رَّحِيمٌ ،  قَدۡ فَرَضَ ٱللَّهُ لَكُمۡ تَحِلَّةَ أَيۡمَٰنِكُمْۚ وَٱللَّهُ مَوۡلَىٰكُمْۖ وَهُوَ ٱلۡعَلِيمُ ٱلۡحَكِيمُ ، وَإِذۡ أَسَرَّ ٱلنَّبِىُّ إِلَىٰ بَعۡضِ أَزۡوَٰجِهِۦ حَدِيثًا فَلَمَّا نَبَّأَتۡ بِهِۦ وَأَظۡهَرَهُ ٱللَّهُ عَلَيۡهِ عَرَّفَ بَعۡضَهُۥ وَأَعۡرَضَ عَنۢ بَعۡضٍۖ فَلَمَّا نَبَّأَهَا بِهِۦ قَالَتۡ مَنۡ أَنۢبَأَكَ هَٰذَاۖ قَالَ نَبَّأَنِىَ ٱلۡعَلِيمُ ٱلۡخَبِيرُ ، إِن تَتُوبَآ إِلَى ٱللَّهِ فَقَدۡ صَغَتۡ قُلُوبُكُمَاۖ وَإِن تَظَٰهَرَا عَلَيۡهِ فَإِنَّ ٱللَّهَ هُوَ مَوۡلَىٰهُ وَجِبۡرِيلُ وَصَٰلِحُ ٱلۡمُؤۡمِنِينَۖ وَٱلۡمَلَٰٓئِكَةُ بَعۡدَ ذَٰلِكَ ظَهِيرٌ ، عَسَىٰ رَبُّهُۥٓ إِن طَلَّقَكُنَّ أَن يُبۡدِلَهُۥٓ أَزۡوَٰجًا خَيۡرًا مِّنكُنَّ مُسۡلِمَٰتٍ مُّؤۡمِنَٰتٍ قَٰنِتَٰتٍ تَٰٓئِبَٰتٍ عَٰبِدَٰتٍ سَٰٓئِحَٰتٍ ثَيِّبَٰتٍ وَأَبۡكَارً }

ความว่า : โอ้นะบีเอ๋ย ทำไมเจ้าจึงห้ามสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงอนุมัติแก่เจ้า เพื่อแสวงหาความพึงพอใจบรรดาภริยาของเจ้าเล่า และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตา (อัตตะห์รีม :1)  แน่นอน อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดแก่พวกเจ้าแล้วในการแก้คำสาบานของพวกเจ้า และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงคุ้มครองพวกเจ้า และพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ (อัตตะห์รีม :2) และจงรำลึกขณะที่ท่านนะบีได้บอกความลับเรื่องหนึ่งแก่ภริยาบางคนของเขา ครั้นเมื่อนางได้บอกเล่าเรื่องนี้ (แก่คนอื่น) และอัลลอฮฺได้ทรงแจ้งเรื่องนี้แก่เขา (ท่านนะบี) เขาก็ได้แจ้งบางส่วนของเรื่องนี้ และไม่แจ้งบางส่วน ครั้นเมื่อเขา (ท่านนะบี) ได้แจ้งเรื่องนี้แก่นาง นางได้กล่าวว่า ใครบอกเล่าเรื่องนี้แก่ท่าน เขา (ท่านนะบี) กล่าวว่า พระผู้ทรงรอบรู้ พระผู้ทรงตระหนักยิ่ง ทรงแจ้งแก่ฉัน (อัตตะห์รีม :3) หากเจ้าทั้งสองกลับเนื้อกลับตัว ขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ (ก็จะเป็นการดีแก่เจ้าทั้งสอง) เพราะแน่นอนหัวใจของเจ้าทั้งสองก็โอนอ่อนอยู่แล้ว แต่หากเจ้าทั้งสองร่วมกันต่อต้านเขา (ท่านนะบี) แท้จริงอัลลอฮฺ พระองค์เป็นผู้ทรงคุ้มครองเขา อีกทั้งญิบรีล และบรรดาผู้ศรัทธาที่ดี ๆ และนอกจากนั้น มะลาอิกะฮฺก็ยังเป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุนอีกด้วย (อัตตะห์รีม :4) หากเขาหย่าพวกนาง บางทีพระเจ้าของเขาจะทรงเปลี่ยนแปลงให้แก่เขามีภริยาที่ดีกว่าพวกนาง เป็นหญิงที่นอบน้อมถ่อมตน เป็นหญิงผู้ศรัทธา เป็นหญิงผู้ภักดี เป็นหญิงผู้ขอลุแก่โทษ เป็นหญิงผู้มั่นต่อการอิบาดะฮฺ เป็นหญิงผู้มั่นต่อการถือศีลอด เป็นหญิงที่เป็นหม้าย และที่เป็นหญิงสาว (อัตตะห์รีม :5)        

22. อุมมุลมุมินีน ซัยนับบินติญะห์ซิ ( อัลอะห์ซาบ/37-38)

{وَإِذۡ تَقُولُ لِلَّذِىٓ أَنۡعَمَ ٱللَّهُ عَلَيۡهِ وَأَنۡعَمۡتَ عَلَيۡهِ أَمۡسِكۡ عَلَيۡكَ زَوۡجَكَ وَٱتَّقِ ٱللَّهَ وَتُخۡفِى فِى نَفۡسِكَ مَا ٱللَّهُ مُبۡدِيهِ وَتَخۡشَى ٱلنَّاسَ وَٱللَّهُ أَحَقُّ أَن تَخۡشَىٰهُۖ فَلَمَّا قَضَىٰ زَيۡدٌ مِّنۡهَا وَطَرًا زَوَّجۡنَٰكَهَا لِكَىۡ لَا يَكُونَ عَلَى ٱلۡمُؤۡمِنِينَ حَرَجٌ فِىٓ أَزۡوَٰجِ أَدۡعِيَآئِهِمۡ إِذَا قَضَوۡاْ مِنۡهُنَّ وَطَرًاۚ وَكَانَ أَمۡرُ ٱللَّهِ مَفۡعُولًا ، مَّا كَانَ عَلَى ٱلنَّبِىِّ مِنۡ حَرَجٍ فِيمَا فَرَضَ ٱللَّهُ لَهُۥۖ سُنَّةَ ٱللَّهِ فِى ٱلَّذِينَ خَلَوۡاْ مِن قَبۡلُۚ وَكَانَ أَمۡرُ ٱللَّهِ قَدَرًا مَّقۡدُورًا }

ความว่า : และจงรำลึกถึงขณะที่เจ้าพูดกับผู้ที่อัลลอฮฺทรงโปรดปรานแก่เขา และเจ้าได้ให้ความสงเคราะห์แก่เขา และจงดูแลรักษาภริยาของเจ้าไว้ให้อยู่กับเจ้า และจงยำเกรงอัลลอฮฺ และเจ้าได้ซ่อนไว้ในจิตใจของเจ้าเรื่องที่อัลลอฮฺจะทรงเปิดเผยมัน และเจ้ากลัวเกรงมนุษย์ แต่อัลลอฮฺทรงสมควรยิ่งกว่าที่เจ้าจะกลัวเกรงพระองค์ ครั้นเมื่อเซด ได้หย่ากับนาง แล้ว เราได้ให้เจ้าแต่งงานกับนาง เพื่อที่จะไม่เป็นที่ลำบากใจแก่บรรดาผู้ศรัทธาชายใน เรื่องการ (การสมรสกับ) ภริยาของบุตรบุญธรรมของพวกเขา เมื่อพวกเขาหย่ากับพวกนางแล้วและพระบัญชาของอัลลอฮฺนั้นจะต้องบรรลุผลเสมอ (อัลอะห์ซาบ :37) ไม่เป็นการลำบากใจอันใดแก่ท่านนะบีในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้แก่เขา (นี่คือ) แนวทางของอัลลอฮฺ (ที่ได้มีขึ้นแล้ว) ต่อบรรดาผู้ได้ล่วงลับในสมัยก่อน และพระบัญชาของอัลลอฮฺนั้นได้กำหนดไว้แล้ว (อัลอะห์ซาบ :38)

23. อุมมุลมุมินีนอุมมุหะบีบะฮ์ (มุมตะหะนะฮ์/7)

{عَسَى ٱللَّهُ أَن يَجۡعَلَ بَيۡنَكُمۡ وَبَيۡنَ ٱلَّذِينَ عَادَيۡتُم مِّنۡهُم مَّوَدَّةًۚ وَٱللَّهُ قَدِيرٌۚ وَٱللَّهُ غَفُورٌ رَّحِيمٌ}

ความว่า : บางทีอัลลอฮฺจะทรงทำให้เกิดความรักใคร่ระหว่างพวกเจ้ากับบรรดาผู้ที่พวกเจ้าถือเป็นศัตรูในหมู่พวกเขา และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอานุภาพและอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัยผู้ทรงเมตตาเสมอ

24. นางเคาละฮ์บินติษะละบะฮ์ (อัลมุญาดิละฮ์/1)

{قَدۡ سَمِعَ ٱللَّهُ قَوۡلَ ٱلَّتِى تُجَٰدِلُكَ فِى زَوۡجِهَا وَتَشۡتَكِىٓ إِلَى ٱللَّهِ وَٱللَّهُ يَسۡمَعُ تَحَاوُرَكُمَآۚ إِنَّ ٱللَّهَ سَمِيعٌۢ بَصِيرٌ}

ความว่า : โดยแน่นอน อัลลอฮฺทรงได้ยินถ้อยคำของสตรีที่กำลังโต้แย้งกับเจ้าในเรื่องสามีของนาง และนางได้ร้องทุกข์ต่ออัลลอฮฺ และอัลลอฮฺนั้นทรงได้ยินการตอบโต้ของเจ้าทั้งสอง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรู้เห็นเสมอ

25.  สตรีผู้คลายเกลียวด้าย( อันนะห์ลุ/92)

{وَلَا تَكُونُواْ كَٱلَّتِى نَقَضَتۡ غَزۡلَهَا مِنۢ بَعۡدِ قُوَّةٍ أَنكَٰثًا تَتَّخِذُونَ أَيۡمَٰنَكُمۡ دَخَلًۢا بَيۡنَكُمۡ أَن تَكُونَ أُمَّةٌ هِىَ أَرۡبَىٰ مِنۡ أُمَّةٍۚ إِنَّمَا يَبۡلُوكُمُ ٱللَّهُ بِهِۦۚ وَلَيُبَيِّنَنَّ لَكُمۡ يَوۡمَ ٱلۡقِيَٰمَةِ مَا كُنتُمۡ فِيهِ تَخۡتَلِفُونَ}

ความว่า : และพวกเจ้าอย่าเป็นเช่นนางที่คลายเกลียวด้ายของนาง หลังจากที่ได้ปั่นให้มันแน่นแล้ว โดยถือเอาการสาบานของพวกเจ้าเป็นการล่อลวงระหว่างพวกเจ้า เพื่อที่จะให้ชาติหนึ่งเข้มแข็งกว่าอีกชาติหนึ่ง แท้จริง อัลลอฮ์ทรงทดลองพวกเจ้าด้วยการสาบาน และแน่นอน พระองค์จะทรงชี้แจงแก่พวกเจ้าในวันกิยามะฮ์ ถึงสิ่งที่พวกเจ้าขัดแย้งกันในเรื่องนั้น

26. ภรรยาอาบูละฮับ ( อัลมะสัด/4-5)

{وَٱمۡرَأَتُهُۥ حَمَّالَةَ ٱلۡحَطَبِ ، فِى جِيدِهَا حَبۡلٌ مِّن مَّسَدٍۢ}

ความว่า : ทั้งภริยาของเขาด้วย นางเป็นผู้แบกฟืน (อัลมะสัด :4) ที่คอของนางมีเชือกถักด้วยใยอินทผลัม (อัลมะสัด :5)

จะสังเกตได้ว่าอัลกุรอานไม่ได้กล่าวชื่อนางโดยตรง เพียงแต่มีการพาดพิงโดยอ้อม หรือกล่าวถึงสตรีที่อยู่ในเหตุการณ์ บางครั้งจะติดห้อยด้วยชื่อของสามีเท่านั้น แม้กระทั่งภรรยาหรือลูกสาวของนบีมุฮัมมัด

มีเพียงสตรีนางเดียวที่อัลกุรอานระบุชื่ออย่างชัดเจน แถมในอายัตหนึ่งอัลกุรอานได้กล่าวชื่อนางและบิดาพร้อมกันด้วย ومريم بنت عمران  โดยชื่อนี้ถูกเอ่ยชื่อในอัลกุรอาน 34 ครั้ง ตามจำนวนสุญูดละหมาดฟัรฎูในแต่ละวัน

พี่น้องพอทราบสาเหตุไหมว่าเป็นเพราะเหตุใด?????????


โดย Mazlan Muhammad

Menepuk air di dulang, terpencik muka sendiri

منڤوق اير ددولڠ، ترڤنچيق موك سنديري

“Menepuk air di dulang, terpencik muka sendiri”

สุภาษิตมลายูท่อนนี้ แปลตามตรงคือ “ ตบน้ำในถาด น้ำจะกระเซ็นใส่หน้าตนเอง”

เพื่อให้บทเรียนแก่คนที่ชอบเปิดโปงความชั่วร้ายของคนอื่น สุดท้ายตัวเองกลับทำสิ่งชั่วร้ายนั้นเช่นกัน หรือเป็นประโยคที่สะกิดใจคนที่กระทำสิ่งที่สร้างความอับอายให้แก่ตนเอง

ประโยคนี้ใช้ได้กับคนที่ทำชั่ว สุดท้ายเขาได้รับผลกระทบจากการกระทำชั่วของเขาเอง

บางบริบทก็ใช้กับคนที่ชอบเล่าเรื่องที่ไม่ดีของตนเองหรือคนในครอบครัวให้คนอื่นฟัง สุดท้ายตัวเองที่ได้รับความอับอาย

สำนวนไทยเท่าที่นึกออกคือสุภาษิตที่ว่า

“ ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง “

หรือพี่น้องมีสำนวนอื่น เชิญแลกเปลี่ยนได้ครับ

🙂 🙂 🙂


โดย Mazlan Muhammad

การสังหารหมู่อำเภอชาเตียน ที่มาของชะฮีด 1,600 ชีวิต

.

นับแต่กลางศตวรรษที่ 19 จนเกือบสิ้นศตวรรษที่ 20 นับเป็นกลียุคของแผ่นดินจีน ด้วยปัญหานานัปการที่รุมเร้าเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนแอภายในราชสำนัก ภัยคุกคามจากต่างชาติ อุดมการณ์ทางการเมืองที่หลากหลาย ตลอดจนการแก่งแย่งชิงความเป็นใหญ่ในหมู่ผู้มีอำนาจ ยังความระส่ำระสายไปทั่วทุกหัวระแหง ไม่เว้นแม้แต่มณฑลยูนนาน หรือ หยวินหนาน (云南) ที่อยู่ชิดติดพรมแดนอุษาคเนย์

.

แม้เมื่อจีนรวมกันเป็นหนึ่งภายใต้ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1949 เคราะห์กรรมของพี่น้องชาวจีนก็ยังไม่หมดสิ้นเพียงเท่านั้น เนื่องจากการขึ้นสู่อำนาจของ “แก๊ง 4 คน” ซึ่งมีแนวคิดซ้ายตกขอบในปี ค.ศ.1966 ทำให้เกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมโค่นล้างวัฒนธรรมประเพณีเก่าอยู่นานนับสิบปี มีผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายของคนเหล่านี้อย่างเหลือคณานับ

.

มีอยู่หนึ่งเหตุการณ์ที่ไม่ค่อยถูกกล่าวถึงในประวัติศาสตร์กระแสหลักของชาติ คือการสังหารหมู่ที่อำเภอชาเตียนในปี ค.ศ.1975

.

.

ชาเตียน (沙甸) เป็นอำเภอหนึ่งในมณฑลยูนนาน ขึ้นกับเมืองเก้อจิ้ว (个旧) จังหวัดหงเหอ (红河) ประชาชนเกือบทั้งหมดเป็นชนชาติหุย คือมุสลิมที่มีเชื้อสายและวัฒนธรรมแบบจีนตามนิยามของรัฐบาลจีนแดง

.

ในยุคที่ “แก๊ง 4 คน” เรืองอำนาจ ศาสนาทั้งหมดถูกตราหน้าในฐานะยาเสพติดที่มอมเมาประชาชน ถ่วงรั้งความก้าวหน้าของชาติ รัฐจึงใช้อำนาจในการกำจัดศาสนา บีบคั้นให้ผู้คนสมาทานความเชื่อแบบลัทธิเหมาแทน

.

อำเภอชาเตียนได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรงจากนโยบายดังกล่าว มัสยิดทุกแห่งถูกสั่งปิด ประชาชนไม่มีสิทธิ์ละหมาด อัลกุรอานถูกเผาทิ้ง มิหนำซ้ำชาวหุยจำนวนมากยังถูกบีบบังคับให้กินเนื้อหมู มีรายงานว่ามัสยิดแห่งหนึ่งถูกใช้เป็นโรงเชือดหมู กระดูกหมูที่ถูกเชือดแล้วก็โยนทิ้งลงบ่อน้ำที่ใช้สำหรับอาบน้ำละหมาด

.

นั่นเป็นพฤติกรรมที่ชาวอำเภอชาเตียนยากจะยอมรับ ในปี ค.ศ.1974 ชาวหุยในชาเตียนและพื้นที่ข้างเคียงรวม 1,000 คนจึงขึ้นรถไฟไปปักกิ่งเพื่อรายงานปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ปัญหายังคงยืดเยื้อต่อไป

.

ปลายปีเดียวกัน ชาวหุยมากกว่า 800 คนเดินทางไปยังนครคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลยูนนาน เพื่อเรียกร้องเสรีภาพในการนับถือศาสนาในรัฐธรรมนูญ พร้อมกันนั้น พวกเขาได้จัดตั้งกองกำลังของตนเองเพื่อคุ้มกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นด้วย

.

ท่าทีที่แข็งกร้าวของกองกำลังชาวหุยสร้างความหวาดระแวงแก่รัฐบาลเป็นอย่างยิ่ง คำเรียกร้องเหล่านั้นไม่เพียงได้รับการเมินเฉยแทนคำตอบ หากพรรคคอมมิวนิสต์จีนยังมองว่านั่นคือการแข็งข้อต่อระบอบการปกครอง

.

กรกฎาคม ค.ศ.1975 ความตึงเครียดระหว่างทั้งสองฝ่ายก็ดำเนินมาถึงจุดแตกหัก ประธานเหมา เจ๋อตง ลงนามมอบฉันทะให้กองทัพปลดปล่อยประชาชน (PLA) ให้เข้าปราบปรามกองกำลังชาวหุย

.

กองทัพนายทหารที่ผ่านการฝึกฝนอย่างดีนับ 10,000 นาย ยกพลเข้าล้อมอำเภอชาเตียนอย่างแน่นหนาก่อนเช้ามืดวันที่ 29 กรกฎาคม ส่งผลให้เกิดการปะทะกันระหว่างชาวบ้านที่มีอาวุธกับเจ้าหน้าที่รัฐ

.

หนึ่งสัปดาห์แห่งการต่อสู้ผ่านไปพร้อมกับคราบเลือดและเขม่าปืนที่เพิ่มร่องรอยมากขึ้นทุกขณะ PLA ใช้ทั้งปืน ปืนใหญ่วิถีโค้ง เครื่องพ่นไฟ และระเบิดทางอากาศในการโจมตี เป็นเหตุให้ชาวหุยนับร้อย ๆ คนล้มตาย บ้านเรือนกว่า 4,400 หลังถูกทำลาย ความเสียหายลามไปสู่อำเภอข้างเคียงด้วย

.

รัฐบาลระบุตัวเลขผู้เสียชีวิตไว้ที่ 130 คน ในขณะที่บรรดาอิหม่ามหรือผู้นำชาวหุยในชาเตียนประมาณผู้เสียชีวิตไว้ที่ 1,600 คน เป็นเด็ก 300 คน ซึ่งนั่นเป็นจำนวนมากถึง 1 ใน 4 ของผู้คนทั้งหมดในอำเภอที่มีอยู่ในเวลานั้น

.

.

ครั้นเมื่อประธานเหมาถึงแก่อสัญกรรมในปีถัดมา แก๊ง 4 คนก็พลอยหมดอำนาจ ทั้ง 4 ถูกจับกุมและพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำจีนคนใหม่เร่งดำเนินการเยียวยาผู้เสียหายและออกแถลงขอโทษพี่น้องหุยในอำเภอชาเตียนอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1979 พร้อมทั้งประณามเหตุการณ์สังหารหมู่ครั้งนั้นว่า “เป็นการกระทำที่เลวร้ายและรุนแรงที่สุดในยุคปฏิวัติวัฒนธรรม”

.

ตั้งแต่นั้นมา ชาเตียนก็ได้รับการดูแลเป็นพิเศษจากรัฐ กองทัพหน่วยที่เคยทำลายได้รับคำสั่งให้กลับมาสร้างเมืองนี้ใหม่ พร้อม ๆ กับที่เติ้ง เสี่ยวผิง เริ่มต้นเปิดประเทศ รัฐบาลได้เอื้อให้ธุรกิจของอำเภอชาเตียนเข้าถึงตลาดมาเลเซียและชาติตะวันออกกลางได้ง่ายดาย ทั้งยังส่งนักเรียนนักศึกษาชาวหุยไปเล่าเรียนภาษาและศาสนาในต่างแดนเป็นจำนวนมาก

.

ส่วนผู้ที่จากไปในเหตุการณ์นองเลือดเมื่อปี 1975 คนรุ่นหลังและผู้รอดชีวิตได้ยกย่องพวกเขาเป็น “ชะฮีด” หรือผู้พลีชีพเพื่อยืนหยัดความศรัทธาต่ออิสลาม รัฐบาลจีนยุคใหม่สร้างอนุสรณ์สถานเป็นเสาสูง จารึกข้อความฟาติฮะห์ (บทแรกในอัลกุรอาน) เอาไว้เพื่อรำลึกถึงเหล่าชะฮีด ที่ภาษาจีนเรียกทับศัพท์ว่า ชาซีเต๋อ (沙希德)

.

ปัจจุบัน ชาเตียนมีชื่อเสียงในฐานะเมืองท่องเที่ยวเชิงฮาลาล สิ่งปลูกสร้างหลังใหญ่สุดของที่นี่คือ มัสยิดกลางชาเตียน (沙甸大清真寺) อันโดดเด่นเป็นสง่าด้วยยอดโดมสีเขียวและหออะซาน 4 มุมซึ่งประยุกต์มาจากมัสยิดอันนะบะวีย์ซึ่งเป็นที่ฝังศพศาสดามุฮัมมัดในนครมะดีนะฮ์ มีความจุมากถึง 10,000 คน เป็นมัสยิดที่ใหญ่และงามที่สุดแห่งหนึ่งในมณฑลยูนนาน

.

อย่างไรก็ดี อดีตที่เคยเกิดขึ้นก็ไม่มีวันลบเลือนได้หมด มัสยิดกลางอันงดงามหลังนี้ก็ได้รับการขนานนามว่า เป็นอนุสรณ์สถานแห่งการไถ่บาปที่ถือกำเนิดขึ้นบนรอยเลือดและคราบน้ำตาของชาวชาเตียนเอง


เครดิตภาพ @Zhu Yi Qing
เครดิตภาพ @Zhu Yi Qing

เครดิตข้อมูล : Pattadon Kijchainukul

https://www.facebook.com/pattadon.kijchainukul/posts/pfbid025wN6u4hNpoz4wYTgBJNNzt592huFPEKLbMfD1heD4Era39cSwMW4aSzjgaPM9iCBl

การเปลี่ยนแปลงสังคมเริ่มต้นจากการพัฒนาคน (ตอนที่ 2) : โรดแมปการปฏิรูปสังคม

การปฏิรูปสังคมขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนวิธีคิด เจตคติและวัฒนธรรม เท่านั้น

อัลลอฮ์กล่าวว่า

إِنَّ اللَّهَ لَا يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّىٰ يُغَيِّرُوا مَا بِأَنفُسِهِمْ

“แท้จริงอัลลอฮฺจะมิเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง”

การเปลี่ยนแปลงคน หลักๆ แล้วมาจาก

1) การสร้างสวรรค์ในบ้าน การสร้างตัวตนและบุคลิกภาพของลูกๆในครอบครัว

2) การศึกษาจากครูผู้ทรงคุณวุฒิและมีความเป็นเลิศด้านอุปนิสัย มีคุณธรรมที่ตกผลึกเป็นวิถีชีวิต

ทั้งสองประเด็นนี้ควรเป็นวาระแห่งประชาชาติอิสลามยุคนี้ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยการ

– ศึกษาชีวิตส่วนตัวของท่านนบี ศอลฯ

– ศึกษาชีวิตส่วนตัวของซอฮาบะฮ์

– ศึกษาชีวิตส่วนตัวของอุลามาอ์ในอดีตและอุลามาอ์ร่วมสมัย

– และเสาะแสวงหาเพื่อศึกษาจากครูผู้ทรงคุณวุฒิและมีความเป็นเลิศด้านอุปนิสัย มีคุณธรรมที่ตกผลึกเป็นวิถีชีวิต

ชัยค์มุฮัมมัด ฆอซาลี กล่าวว่า

“ข้าพเจ้ายังคงยืนยัน สิ่งที่ยากที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงคน ส่วนการเปลี่ยนรัฐบาล จะเกิดขึ้นทันทีที่คนต้องการ”

สิ่งที่ยากที่สุดคือการปรับพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลงเจตคติ นิสัยและวัฒนธรรมของปัจเจก

การปฏิรูปสังคมจึงต้องอาศัยเวลา และเภสัชกรสังคมผู้เชี่ยวชาญในการคิดสูตรเยียวยา

การปฏิรูปด้วยการจัดตั้งองค์กรใหม่ๆ การออกกฎหมายหรือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขระเบียบใหม่ๆ การโค่นล้ม  เปลี่ยนแปลงรัฐบาล 

จึงเป็นได้แค่เปลี่ยนผู้กัดกินสังคมคนใหม่ หาได้เข้ามาแก้ปัญหาใดๆ ไม่

องค์กร กฏหมาย ระเบียบของนานาประเทศ ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่ที่มีประสิทธิภาพต่างกันก็เพราะเนื้อแท้ วัฒนธรรมของคนแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน


CR: ผศ.ดร. ฆอซาลี เบ็ญหมัด Ghazali Benmad

การเปลี่ยนแปลงสังคมเริ่มต้นจากการพัฒนาคน (ตอนที่ 1) : ความสำคัญ

คนทำงานแก้ปัญหาสังคมมุสลิมมากมายผิดหวังไม่ได้ดังใจ  อุปสรรคจิปาถะ

พยายามมาทุกรูปแบบ ทั้งพัฒนาความรู้การศึกษา ความเชื่อความศรัทธา วางระเบียบกฎเกณฑ์  การพัฒนาด้านประชาสัมพันธ์  ข้อมูลตัวเลข วัตถุเทคโนโลยี  บางครั้งถึงขั้นเปลี่ยนผู้นำตามระบบ  หรือด้วยการปฏิวัติรัฐประหาร โค่นล้มเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศ  ฯลฯ

แต่ทำไมโลกมุสลิมและสังคมมุสลิมจึงยังคงอุดมไปด้วยปัญหา ทั้งด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ  การศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ฯลฯ

วิถีชีวิตคนย้อนแย้งกับคัมภีร์ที่ท่องอยู่ทุกวี่วัน

จริงหรือไม่ที่รูปแบบต่างๆ เหล่านั้นคือกุญแจไขปัญหา ?

เหตุผลคำตอบจากนักวิชาการมากมาย และข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ทุกวี่วันบอกว่า “ไม่จริง”

ความเปลี่ยนแปลงระดับความคิดและเจตคติ นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับลึกสุดและสูงสุด

  • ความคิดและเจตคติ เป็นสิ่งที่นบีอิบรอฮีมใช้วัดความเป็นคนดีที่ต้องการ ในขณะเลือกมารดาแห่งประชาชาติ ให้แก่นบีอิสมาแอล
  • ความคิดและเจตคติ เป็นสิ่งที่ท่านอุมัร ใช้วัดความเป็นคนดี ที่ต้องการ ในขณะเลือกคนมาเป็นสะไภ้ในตระกูลคอตต๊อบ

ปราชญ์ระดับกูรูปรมาจารย์ต่างเห็นตรงกัน  “กุญแจ” ไขปัญหาทั้งปวงอยู่ที่ “การพัฒนาคน”  การทำให้คำสอนอิสลามตกผลึกเป็นวิถีชีวิต เป็นลมหายใจ เป็นเลือดเนื้อ เป็นกุรอานเดินได้ เท่านั้น

● อิบนุอะตออิลละห์ อัสสะกันดะรีย์

กล่าวในตำรา “หิกัม-ยอดวิชา” ว่า

“จงฝังกลบตัวตนลงในดินแดนนิรนาม อันต้นไม้ที่ไร้รากหยั่งดินลึกย่อมไม่มีวันงอกงาม”

● อาลี อิซซัต เบโกวิช

ในหนังสือรวมบทความ ” عوائق النهضة الإسلامية  ตัวถ่วงความเจริญของสังคมมุสลิม”  ได้บทสรุปจากการอ่านและวิเคราะห์อัลกุรอานทั้งเล่มว่า

[ ข้าพเจ้าตระหนักแล้วว่า ปัญหาทั้งมวล ทั้งในด้านกฎหมาย สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่ครอบงำความคิดของข้าพเจ้าตั้งแต่ยังหนุ่มๆ ที่ทำให้ข้าพเจ้าสนับสนุนและยอมรับการปฏิรูปทั่วโลก สามารถแก้ไขได้ด้วยระบบการสร้างคนเท่านั้น  ระบบการสร้างคน เป็นหรือเกือบจะเป็นแกนหลักของทุกสิ่งทุกอย่าง ]

● ซัยยิด กุตบ์

กล่าวใน ตัฟซีร “ฟีซิลาล อัลกุรอาน-ใต้ร่มกุรอาน”ว่า

[ ความจริงแล้ว ทรราชก็แค่ปุถุชนคนหนึ่ง  ไม่มีฤทธิ์เดชอำนาจอะไรแต่อย่างใด เพียงแต่เพราะฝูงชนที่ไร้ศักดิ์ศรี ยื่นหลังให้ขี่ ยื่นคอให้จูง ยื่นศีรษะให้เหยียบย่ำ ]

● ชัยค์มุฮัมมัด ฆอซาลี

กล่าวในหนังสือ “โรดแมปเริ่มที่นี่” الطريق من هنا 

“รัฐบาลจะเก่งกาจสักเพียงใดก็ไม่อาจบรรลุเป้าหมาย นอกจากจะต้องพึ่งพิงภาคประชาชนที่มีเนื้อแท้ที่ดีเลิศและมีเจตนารมณ์อันสูงส่ง ประชาชนจึงเป็นรากฐานและที่พึ่งสุดท้าย เรามุสลิมพ่ายแพ้ในสมรภูมิมากมายที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยอำนาจรัฐ สังคมที่ไม่มีความสามารถที่จะลบล้างประเพณีคร่ำครึในระดับสถาบันครอบครัว  จะไม่มีวันได้รับชัยชนะในสมรภูมิการเมือง ผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ด้านจริยธรรมจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ด้านอื่นได้อย่างไร”


CR: ผศ.ดร. ฆอซาลี เบ็ญหมัด Ghazali Benmad

คนเรา (บางคน) นี่แปลก

คนเรา (บางคน) นี่แปลก

ถอยป้ายแดง ผ่อนเดือนละหมื่น

ขึ้นบ้านใหม่งบเป็นล้าน

สั่งตู้โชว์ที่ห้องรับแขกตั้งไว้เด่นสง่า

งานบิ้วอินแต่ละมุมบ้าน สุดอลัง

เปลี่ยนไอโฟนกลัวตกเทรด์เป็นว่าเล่น

ท่องเที่ยวมาทั้งในและต่างแดน

แถมชิม ช้อป คอยสะสมบารมี

เคอร์รี่ส่งวัสดุถึงหน้าบ้านทุกยามเมื่อ

เสื้อผ้าที่สวมใส่ แบรนด์เนมกันทั้งนั้น

แต่

ราคากุรบาน 4-5 พัน กลับอ้างว่าไม่มีตัง

ซื้อรถราคาเป็นล้าน

แต่อ้างไม่กุรบานเพราะขาดเงิน

กุรบาน เป็นการซื้อประกันให้ปลอดภัยจากการได้รับโทษในวันอาคิเราะฮ์

#ปีนี้อย่าลืมเนี้ยตกุรบานกันนะครับ


โดย Mazlan Muhammad

คุณรู้จักซอมบี้ดีแค่ไหน

ในความเข้าใจของคนทั่วไปบนโลกใบนี้ ไม่เว้นแม้กระทั่งประชาชาติมุสลิม ซอมบี้ (Zombie) คือสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วฟื้นใหม่พร้อมความดุร้าย ซอมบี้คือตัวแสดงในสื่อบันเทิงแนวสยองขวัญและจินตนิมิต คำนี้มาจากนิทานพื้นบ้านชาวเฮติที่ว่าซอมบี้เป็นศพคนตายที่กลับมามีชีวิตด้วยวิธีการต่าง ๆ ส่วนใหญ่มาจากเวทมนตร์ การพรรณนาถึงซอมบี้ในสมัยใหม่ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ แต่มักใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เช่นการแผ่รังสี โรคทางจิต ไวรัส อุบัติเหตุทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

คำว่า “zombie” ในภาษาอังกฤษ บันทึกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1819 ในประวัติศาสตร์ของประเทศบราซิล ซึ่งคือที่มาของเรื่องราวที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะประชาชาติมุสลิม

ความจริงซอมบี้คือวีรบุรุษมุสลิมที่สถาปนาอาณาจักรอิสลามที่บราซิล มีชื่อเดิมว่า JanJa Zombie ผู้สถาปนารัฐอิสลามที่บราซิล หลังจากที่กองทัพโปรตุเกสได้ยึดครองบราซิลและประเทศอิสลามชายฝั่งแอฟริกาภาคตะวันตกในช่วงปีค.ศ. 1539 กองทัพนักล่าอาณานิคมได้ทำให้ชาวแอฟริกันกลายเป็นทาสรับใช้และปล้นสะดมทรัพยากรกลับสู่ประเทศของตน

ท่ามกลางการกดขี่ทารุณและฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โหดเหี้ยมที่สุด มีวีรบุรุษมุสลิมชาวแอฟริกันคนหนึ่งนามว่า JanJa Zombie ในปีค.ศ. 1775 ได้ลุกขึ้นเชิญชวนผู้คนสู่สัจธรรมแห่งอิสลามและความเชื่อที่ถูกต้อง พร้อมประกาศให้ผู้คนลุกขึ้นต่อสู้เพื่ออิสรภาพและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เมื่อมีผู้คนจำนวนมากให้การสนับสนุนเขาจึงประกาศสถาปนารัฐอิสลามที่บราซิลโดยมีเมือง “มีราส” เป็นเมืองหลวง หลังจากนั้นรัฐอิสลามนี้ได้กลายเป็นเหยื่ออันโอชะที่บรรดานักล่าได้รุมขย้ำและสวาปาม จนกระทั่งรัฐอิสลามล่มสลายและ JanJa Zombie ได้เสียชีวิตในฐานะชะฮีด หลังจากนั้นองค์การทารุณกรรมและปล้นสะดมนานาชาติในนามมิชชันนารี ก็ได้บังคับขู่เข็ญให้พลเมืองเปลี่ยนนับถือศาสนาใหม่

หลังจากที่พวกเขาพบศพของนายซอมบี้ พวกเขาได้กระทำการอย่างป่าเถื่อนด้วยการตัดศีรษะ มือ เท้าและลากศพประจานไปทั่วเมือง เช่นเดียวกันกับศพมุสลิมอื่นๆ เพื่อสร้างความหวาดผวาและสยองขวัญแก่ผู้คนที่พบเห็น การทารุณกรรมในลักษณะนี้ยังคงต่อเนื่องนานกว่า 50 ปี จนกระทั่งประวัติศาสตร์ของนายซอมบี้ค่อยๆเลือนหายไปจากความทรงจำ

นักล่าอาณานิคมได้ปฏิบัติแผนชั่วด้วยการเผยแพร่ประวัติศาสตร์เชิงลบแก่มุสลิมแอฟริกา โดยเฉพาะวีรบุรุษอย่าง JanJa Zombie ด้วยการผลิตหนังและสารคดีสยองขวัญและภาพยนตร์การ์ตูนสำหรับเด็กๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ทำลายและบิดเบือนประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของชาวมุสลิม โดยให้โลกจดจำแต่ความป่าเถื่อนและภาพแห่งความโหดร้ายสยดสยองของชาวมุสลิมเท่านั้น

พวกเขาไม่ได้ฆ่ามนุษย์เพียงอย่างเดียวแต่ได้สังหารมนุษยธรรมไปด้วย

พวกเขาไม่ได้เป็นอาชญากรสงคราม แต่เป็นอาชญากรทางประวัติศาสตร์ที่อำมหิตที่สุด

เที่ยวระรานราวีไปทั่วโลก แล้วสถาปนาตัวเองเป็นผู้ดี พร้อมๆกับสร้างประวัติศาสตร์ให้ชาติอื่นเป็นตัวแทนแห่งความโหดร้ายแทน

หากชาติตะวันตกจดจำเรื่องราวของซอมบี้คือผีดิบที่ดุร้ายน่ากลัว ก็พอเข้าใจได้

แต่กับประชาชาติมุสลิมแท้ๆ เราจะอธิบายปรากฏการณ์นี้อย่างไร


สรุปจากหนังสือ

วีรบุรุษอิสลาม 100 คนที่เปลี่ยนโลก

หน้า 291-292

โดย Jihad Al-Turbani

สรุปโดย Mazlan Muhammad

การจาบจ้วงบุคคลสำคัญทางศาสนา

หากการจาบจ้วงบุคคลสำคัญทางศาสนา มีผลทำให้ศาสนานั้นต้องมัวหมองไร้ค่าแล้วไซร้ อิสลามน่าจะเป็นศาสนาที่ไร้ค่าชนิดไม่มีชิ้นดีอะไรเลย เพราะบุคคลสำคัญทางศาสนาอิสลามตั้งแต่นบีมูฮัมมัด อัครสาวก และผู้รู้อิสลามในทุกยุคสมัย ล้วนแล้วถูกจาบจ้วง ดูแคลน ดูหมิ่น และล้อเลียนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยผู้จาบจ้วงจะครอบคลุมตั้งแต่บุคคลธรรมดา ไปจนถึงระดับองค์กร สมาคม ลัทธิทางศาสนา ไม่เว้นแม้กระทั่งในนามรัฐบาล

แต่อิสลามเป็นศาสนาที่ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วโลกมากที่สุดขณะนี้ สัจธรรมและความสวยงามของอิสลามยังเป็นสิ่งที่จับต้องได้สำหรับผู้ศึกษาด้วยหัวใจที่เปิดกว้าง ถึงแม้จะเป็นที่ชิงชังสำหรับผู้ปฏิเสธก็ตาม

يُرِيدُونَ أَنْ يُطْفِئُوا نُورَ اللَّهِ بِأَفْوَاهِهِمْ وَيَأْبَى اللَّهُ إِلَّا أَنْ يُتِمَّ نُورَهُ وَلَوْ كَرِهَ الْكَافِرُونَ

พวกเขาต้องการเพื่อจะดับแสงสว่างของอัลลอฮฺด้วยปากของพวกเขา และอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงยินยอม นอกจากจะทรงให้แสงสว่างของพระองค์สมบูรณ์เท่านั้น และแม้ว่าบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาจะชิงชังก็ตาม (อัตเตาบะฮ์ : 32)


โดย Mazlan Muhammad