ฮิจเราะฮ์สอนอะไรให้เราบ้าง

เรารักท่านอบูอับดิลลาฮฺฮูเซ็น บินอะลี และพี่ชายของท่าน คือฮะซัน บินอะลี رضي الله عنهم ชาวสุนนะฮ์ ถือว่าทั้งสองคือผู้นำเยาวชนในสวรรค์ การรักท่านทั้งสอง คือสัญญานของผู้ศรัทธา การเกลียดท่านทั้งสองคือสัญญานของมุนาฟิกและซินดี้ก

แต่เราจะไม่รักท่านฮูเซ็นจนเลยเถิด จนก้าวข้ามความรักที่อัลลอฮ์และรอซูลสอนไว้ เราจะไม่เสียใจจนตีโพยตีพาย ร้องห่มร้องไห้ ตบหน้า ทรมานตัวเองเพื่อแสดงความเสียใจจากการจากไปของท่าน ที่ผ่านพ้นไปแล้ว 1400 ปี

เพราะมีคนก่อนหน้าท่านที่ประเสริฐกว่าท่านมากมายที่โดนฆาตกรรมจนเสียชีวิต โดยเฉพาะบิดาของท่านคือท่านอะลี رضي الله عنه ก็เสียชีวิตเนื่องจากถูกฆาตกรรมเข่นกัน หากอิสลามสอนให้เราร่ำไห้ ทุบตีตัวเองเนื่องจากผู้นำโดนฆาตกรรมแล้ว

เราคงแทบไม่ต้องทำอะไร นอกจากร้องไห้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี  โดยเฉพาะในโอกาสการเวียนบรรจบของปีใหม่อิสลามตามฮิจเราะฮ์ศักราช

มุสลิมทั่วโลก น้อมรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์นี้ ถึงแม้นักประวัติศาสตร์ระบุว่า นบีเริ่มฮิจเราะฮ์ไปยังอัลมะดีนะฮ์ในเดือนเราะบีอุลเอาวัลก็ตาม แต่กลับมีกลุ่มชนที่แอบอ้างว่ารักนบี แต่ไม่เคยพูดถึงความสำคัญของการฮิจเราะฮ์ของนบีเลย

พวกเขาแทบไม่เคยกล่าวถึงสหายเดินทางของนบีที่เสี่ยงชีวิตอยู่ในถ้ำและร่วมเดินทางพร้อมกับนบีในการเดินทางที่อันตรายที่สุดจนถึงนครมะดีนะฮ์โดยปลอดภัย พวกเขาแทบไม่เคยพูดถึงบุรุษผู้ริเริ่มปีฮิจเราะฮ์เป็นปีในปฎิทินอิสลาม

หนำซ้ำยังกล่าวหา ด่าทอ สาปแช่งท่านทั้งสองด้วยประโยคที่พวกเขาไม่เคยกล่าวแก่อบูญะฮัลหรืออบูละฮับเลย

พวกเขาแทบไม่เคยพูดถึงสหายท่านนบีนับพันที่เสียสละยอมละทิ้งทุกอย่างเพื่อปกป้องนบีและอิสลาม รวมทั้งบรรดามุฮาญิรีนที่อัลมะดีนะฮ์ที่ได้ทุ่มเทสนับสนุนช่วยเหลือคนต่างถิ่นที่มาขอพักพิง

พวกเขาไม่เคยกล่าวถึงสิ่งดีๆที่เป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ต่อประชาชาติของชาวมุฮาญิรีนและชาวอันศ็อรแม้แต่น้อย

แต่มาเน้นเล่าเรื่องโศกนาฏกรรมของท่านฮูเซ็นที่กัรบาลาทุกคืนใน 10 วันแรกของเดือนมุฮัรรอม พร้อมเบี่ยงเบนตีความอัลกุรอานที่กล่าวว่า وليال عشر คือ 10 วันแรกของเดือนมุฮัรรอม ทั้งๆที่ในความเป็นจริงคือ 10 วันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮ์

หากประชาชาติอิสลามได้รับการถ่ายทอดความรู้ผ่านชุดความรู้จากกลุ่มลัทธิบูชาฮูเซ็นในลักษณะนี้ ถามว่า เราสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ฮิจเราะฮ์ของนบีจากแหล่งไหนได้บ้าง

นอกจากการร้องไห้ ทุบหน้าตัวเอง ฉีกเสื้อ ทรมานร่างกาย และโศกาอาดูรกับเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดมาตั้งแต่ 1400 มาแล้ว

ถามว่าฮิจเราะฮ์สอนอะไรเราได้บ้างครับ


โดย Mazlan Muhammad

ขุดโคตรรอฟิเฎาะฮฺ ตอนที่ 2

นักประวัติศาสตร์บางคนมีทัศนะว่า ชีอะฮฺ เริ่มต้นหลังจากฆาตกรรมท่านฮุเซ็น บินอะลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งเป็นทัศนะที่มีความเป็นไปได้สูงมาก หลังจากที่ท่านฮุเซ็นได้ออกจากมะดีนะฮฺสู่อีรัคตามคำเชิญชวนของกลุ่มที่สนับสนุนท่าน แต่เมื่อถึงที่เมืองกัรบาลา พวกเขาได้กลับลอยแพท่านหุเซ็นให้เผชิญหน้ากับกองกำลังฝ่ายตรงกันข้ามอย่างโดดเดี่ยว เป็นผลทำให้ท่านฮุเซ็นถูกฆ่าอย่างทารุณ บรรดาผู้สนับสนุนท่านจึงมีจุดยืนต่อต้านราชวงศ์อุมะวียะฮฺ และมีมติออกจากการสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์นี้ ในช่วงนี้เกิดสงครามบ่อยครั้ง ทำให้สูญเสียชีวิตของแต่ละฝ่ายมากมาย มีการกล่าวถึงคำว่า ชีอะฮฺ กันอย่างแพร่หลาย และกลุ่มนี้มีความผูกพันกับท่านฮุเซ็นมากกว่าท่านอะลีด้วยซ้ำ ดังที่เราเห็นในปัจจุบันที่พวกเขาจัดพิธีกรรมรำลึกการเสียชีวิตของท่านฮุเซ็นอย่างเอิกเกริกใหญ่โตพร้อมบทรำพึงรำพันมากมายตลอดจนร้องห่มร้องไห้ ทุบตี ทรมานตัวเองเสมือนคนบ้าคลั่ง ทั้งๆ ที่พวกเขาไม่เคยจัดพิธีกรรมเช่นนี้ เพื่อรำลึกถึงการเสียชีวิตของท่านอะลีเลย แม้กระทั่งท่านหะซัน บินอะลีที่อาจกล่าวได้ว่าแทบหลุดวงจรที่ไม่ค่อยได้รับการกล่าวถึงในแวดวงชีอะฮฺยุคนี้เลย
การตัดสินใจของท่านฮุเซ็นสู่เมืองอีรัค นับเป็นประเด็นใหญ่ที่เราควรพูดถึงเป็นอย่างยิ่งครับ

ตามอะกีดะฮฺของชาวรอฟีเฎาะฮฺมีความเชื่อว่าบรรดาอิมามเป็นมะอฺศูม การตัดสินใจของอิมามไม่เคยผิดพลาดและพวกเขาสามารถหยั่งรู้ฟ้าดินจนสามารถรับรู้วันตายของตัวเองด้วยซ้ำ
การตัดสินใจของท่านฮุเซ็นสู่เมืองอีรัคมีสาเหตุมาจาก 2 กรณีเท่านั้น คือ
1. เนื่องจากการตัดสินใจอันเด็ดเดี่ยวของท่าน
2. เนื่องจากเป็นคำวิวรณ์(วะฮฺยู) ที่เป็นคำสั่งจากอัลลอฮฺ

หากเป็นกรณีแรกการตัดสินใจของท่านเป็นการตัดสินใจที่มะอฺศูม(ตามความเชื่อของลัทธิรอฟิเฎาะฮฺ) แล้วเราจะไปเสียอกเสียใจกับผลของการตัดสินใจที่ถูกต้องของอิมามไปทำไม ท่านอิมามสามารถทำนายอนาคตมิใช่หรือ แล้วด้วยเหตุผลประการใดที่อิมามยังเข้าไปในอีรัคด้วยความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวทั้งๆ ที่รู้อยู่เต็มอกแล้วว่าจะลงเอยด้วยรูปแบบใด
หากเป็นกรณีที่สอง ทุกอย่างก็จบ เพราะมุสลิมไม่มีสิทธิ์แสดงปฏิกิริยาใดๆ ต่อคำสั่งของอัลลอฮฺนอกจากยอมจำนนและยอมรับด้วยความบริสุทธิ์ใจเท่านั้น เขาไม่สามารถตีโพยตีพายหรือแสดงอาการไม่พอใจต่อคำตัดสินของอัลลอฮฺโดยเด็ดขาด หาไม่แล้ว เขาจะถูกผนวกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชนที่ไม่ศรัทธาต่อเกาะฏอและกอดัรของอัลลอฮฺเลยทีเดียว มุสลิมทุกคนถูกสั่งใช้ให้ค้นหาวิธีการใดๆก็ได้ที่ถูกต้องเพื่อประกันความปลอดภัยของตนเอง หากเกิดสิ่งดี เขาควรชุโกร์ และหากเกิดสิ่งที่ไม่ดี เขาควรศอบัรและมอบหมายแด่อัลลอฮฺสุบฮานะฮูวะตะอาลา ไม่ควรรำพึงรำพันเสียใจร่ำไห้กับสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วนานนับพันๆปี ที่แม้แต่คนไม่เชื่อในพระเจ้าก็ยังไม่ทำเยี่ยงนี้

สรุปแล้ว กลุ่มชนที่แปรพักต์ออกจากการสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์อุมะวียะฮฺคือกลุ่มชนที่มีความคิดเห็นที่ขัดแย้งทางการเมืองเท่านั้น พวกเขายังยึดมั่นในหลักการอะกีดะฮฺและหลักชะรีอะฮฺเฉกเช่นชาวสุนนะฮฺทุกประการ แม้กระทั่งบรรดาอิมามยุคแรกๆ ที่ชาวชีอะฮฺยกย่องว่าเป็นทายาทที่สืบทอดจากท่านอะลีก็ไม่่่ใช่ใครอื่น นอกจากเป็นกลุ่มชนยุคเศาะฮาบะฮ์และยุคตาบิอีนที่ยึดมั่นกับหลักพื้นฐานของชาวสุนนะฮฺทุกประการ

หลังจากกการชะฮีดของท่านฮุเซ็น เหตุการณ์เริ่มคลี่คลายกลับสู่ภาวะปกติในระดับหนึ่ง ในช่วงนี้ลูกชายของท่านคือ อะลีซัยนุลอะบีดีน บิน ฮุเซ็นมีความโดดเด่นมาก ท่านเป็นคนอาลิมที่ใช้ชีวิตอย่างสมถะ ไม่เคยปรากฏร่องรอยที่บ่งบอกว่าท่านมีทัศนะขัดแย้งกับบรรดาเศาะฮาบะฮฺและตาบิอีนในประเด็นอะกีดะฮฺและชะรีอะฮฺเลย
ท่านอาลีซัยนุลอาบิดีนมีบุตรชาย 2 คนที่เป็นคนอาลิมและตักวา คนหนึ่งชื่อมุฮัมมัด อัลบากิร และอีกคนชื่อ ซัยด์ ท่านทั้งสองมีทัศนะเดียวกันกับบรรดาเศาะฮาบะฮฺและตาบิอีน มีเพียงประเด็นเดียวที่ ซัยด์ มีทัศนะว่าท่านอะลี บิน อะบีฏอลิบเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมได้รับตำแหน่งเป็นเคาะลีฟะฮฺมากกว่าท่านอะบูบักร์ อุมัรและอุษมาน แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าซัยด์ มีหลักอะกีดะฮฺที่ต่างกับบรรดาเศาะฮาบะฮฺ ท่านได้ยอมรับการเป็นเคาะลีฟะฮฺของเศาะฮาบะฮฺทั้ง 3 ท่าน แต่เห็นว่าท่านอะลีมีความเหมาะสมกว่าเท่านั้น เพราะท่านเชื่อว่า ในบางกรณี อนุญาตให้แต่งตั้งผู้นำที่มีความประเสริฐน้อยกว่าถึงแม้จะมีผู้นำที่มีคุณสมบัติที่ประเสริฐกว่าก็ตาม ส่วนในประเด็นอื่นๆ ท่านซัยด์มีความเห็นพ้องกันกับเศาะฮาบะฮฺและตาบิอีนทุกประการ
ซัยด์ บิน อะลีซัยนุลอาบีดีน ได้ตัดสินใจไม่สวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์อุมาวียะฮฺตามรอยปู่ของท่าน (ฮุเซ็น) เช่นเดียวกัน จนกระทั่งท่านถูกฆาตกรรมเสียชีวิตในปี 122 ฮ.ศ. บรรดาสานุศิษย์ของท่านได้ริเริ่มก่อตั้งสำนักแนวคิดตามแนวคิดของท่านที่รู้จักในนาม สำนักคิดซัยดียะฮฺ ซึ่งเป็นสำนักคิดที่ใกล้เคียงกับชาวสุนนะฮฺมากที่สุด เว้นแต่ประเด็นเดียวเท่านั้นคือพวกเขาเชื่อว่าท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ มีความประเสริฐและเหมาะสมกว่าเคาะลีฟะฮฺทั้ง 3 สำนักคิดซัยดียะฮฺมีอยู่แพร่หลายในประเทศเยเมนปัจจุบัน

ช่วงที่ท่านซัยด์ บินอะลีมีชีวิตอยู่ มีบรรดาสานุศิษย์กลุ่มหนึ่งได้ถามท่านเกี่ยวกับอะบูบักร์และอุมัร ท่านจึงได้กล่าวพรทั้งสองด้วยคำดุอาที่ดี แต่สานุศิษย์กลุ่มนี้ได้ปฏิเสธแนวคิดของท่านและได้ปฏิเสธที่จะกล่าวพรต่ออะบูบักร์และอุมัร กลุ่มนี้จึงถูกเรียกภายหลังว่า รอฟิเฎาะฮฺ หมายถึง กลุ่มชนที่ปฏิเสธ หมายถึง ปฏิเสธแนวคิดของท่านซัยด์ และในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธการเป็นผู้นำของท่านอะบูบักร์และอุมัร กลุ่มนี้ได้แผ่อิทธิพลอย่างกว้างขวางและเป็นต้นตำรับของลัทธิอิมาม 12 ซึ่งเป็นลัทธิที่ครองอำนาจในอิหร่าน เลบานอน และแผ่ขยายอย่างกว้างขวางในประเทศอาหรับและโลกมุสลิมในปัจจุบัน นับแต่นั้นเป็นต้นมา พวกเขาจึงสิ้นสภาพของการเป็นชีอะฮฺอะลีทุกประการ แต่ชื่อที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแนวคิดและอะกีดะฮฺของพวกเขาคือ รอฟิเฎาะฮฺ หมายถึง ผู้ปฏิเสธแนวคิดของท่านซัยด์ และปฏิเสธการเป็นผู้นำของท่านอะบูบักร์และอุมัรนั้นเอง

มีต่อภาค 3


โดย ทีมงานวิชาการ

ขุดโคตรรอฟิเฎาะฮฺ ตอนที่ 1

อุละมาอฺอุศูลได้ตั้งกฎกติกาไว้ว่า “การวินิจฉัยชี้ชัดสิ่งหนึ่งสิ่งใด ถือเป็นส่วนหนึ่งของทัศนวิสัยต่อสิ่งนั้น” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เราไม่สามารถชี้ชัดฟันธงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จนกว่าเราจะรู้แจ้งเห็นจริงสิ่งนั้นอย่างชัดเจนด้วยปัญญาของตนเองอย่างทะลุปรุโปร่งเสียก่อน

เช่นเดียวกันกับกรณี รอฟิเฎาะฮฺ ก่อนที่เราจะตัดสินว่ากลุ่มลัทธินี้จะผิดถูกอย่างไร เราควรต้องศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อนว่ารอฟิเฎาะฮฺคือใคร อะไรคือแก่นแกนคำสอนของพวกเขา หลักอะกีดะฮฺและหลักชะรีอะฮของพวกเขามีประวัติความเป็นมาอย่างไร อะไรคือเป้าหมายและความใฝ่ฝันสูงสุดของพวกเขา สภาพปัจจุบันของพวกเขาเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้คือโจทย์สำคัญและกุญแจหลักที่เราจะไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกทางมากขึ้น

รอฟิเฎาะฮฺคือใคร
ก่อนอื่น ผู้เขียนต้องขอเรียนว่า บางครั้งผู้เขียนใช้”รอฟิเฎาะฮฺ” แทนคำว่า”ชีอะฮฺ” ซึ่งคิดว่า
ท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้เขียนได้ เมื่ออ่านบทความนี้จนจบครับ

ความจริงมันไม่ใช่เป็นปัญหาทางภูมิศาสตร์ ชาติพันธุ์ หรือปัญหาด้านพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้านตามที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นปัญหาที่ได้หยั่งลึกจนกระทบถึงแก่นแกนทางอะกีดะฮฺ ชะรีอะฮฺและประวัติศาสตร์ที่เราต้องหวนกลับศึกษารากเหง้าของปัญหาทั้ง 3 ประเด็นนี้อย่างเข้าถึงจริงๆ

ขอเริ่มประเด็นทางประวัติศาสตร์ก่อนครับ

นักประวัติศาสตร์ได้มีทัศนะที่หลากหลายว่า ชีอะฮฺมีจุดเริ่มต้นอย่างไร แต่เกือบทุกทัศนะเห็นพ้องกันว่าหลังจากฟิตนะฮฺการฆาตกรรมท่านอุษมาน บินอัฟฟาน ชาวมุสลิมยุคนั้นได้แตกออกมาเป็นสองขั้วใหญ่ๆ(ถึงแม้มีกลุ่มน้อยที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดก็ตาม) ขั้วแรกเป็นกลุ่มที่สนับสนุนอะลีเป็นเคาะลีฟะฮฺ ซึ่งถือเป็นกลุ่มส่วนใหญ่ ส่วนขั้วที่สองสนับสนุนท่านมุอาวิยะฮฺที่ปักหลักที่เมืองชาม แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่ากลุ่มที่สนับสนุนท่านอะลี คือกลุ่มที่มีหลักอะกีดะฮฺและชะรีอะฮฺที่เหมือนกับกลุ่มชีอะฮฺในปัจจุบัน ประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้งระหว่างสองกลุ่มนี้คือประเด็นทางการเมืองและที่มาของอำนาจการปกครองเท่านั้น ท้้ั้งสองฝ่ายยังยึดมั่นตามหลักการชาวสุนนะฮฺทุกประการ และท่านอะลีก็ไม่ได้
เรียกร้องและเชิญชวนสู่อะกีดะฮฺและชะรีอะฮฺใหม่ตามความเชื่อของชีอะฮฺยุคปัจจุบัน แม้กระทั่งชาวสุนนะฮฺส่วนใหญ่ในยุคนั้นจนถึงยุคนี้ก็เห็นว่า ฝ่ายอะลีมีความชอบธรรมมากกว่าฝ่ายมุอาวิยะฮฺด้วยซ้ำ ชาวสุนนะฮฺ ยังรักและชื่นชมท่านและครอบครัวท่านเหมือนเศาะฮาบะฮฺท่านอื่นๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพวกเขาได้ขอบะเราะกะฮฺจากอัลลอฮฺด้วยการตั้งชื่อลูกหลานตามชื่อของท่านและลูกหลานของท่านเสมอมา นี่คือจุดยืนของชาวสุนนะฮฺที่ไม่เคยแปรเปลี่ยน ในขณะเดียวก็เห็นว่าฝ่ายมุอาวิยะฮฺก็ได้อิจญ์ติฮาดแล้ว แต่การอิจญ์ติฮาดของเขาอาจพลาดพลั้งไป ซึ่งตามหลักการแล้ว เมื่อมุจญ์ตะฮิดได้อิจญ์ติฮาดในประเด็นหนึ่ง หากเขาถูก เขาจะได้ผลบุญสองเท่า คือผลบุญของการอิจญ์ติฮาดและผลบุญของความถูกต้อง ส่วนผู้ที่อิจญ์ติฮาดพลาดพลั้งไป เขาจะได้รับเพียงผลบุญเดียวคือผลบุญของการอิจญ์ติฮาดเท่านั้น ท่านมุอาวิยะฮฺจึงเข้าข่ายของผู้อิจญ์ติฮาดที่พลาดพลั้ง เราจึงขอดุอาให้อัลลอฮฺทรงอภัยโทษในความผิดพลาดของเขา เราไม่ควรไปวิพากษ์วิจารณ์ท่านในทางที่เสียหาย แต่ในขณะเดียวกันเราก็ไม่ปักใจเชื่อว่าพวกเขาเป็นกลุ่มชนที่มะอฺศูม(ได้รับการปกป้องไม่ให้กระทำบาปเหมือนบรรดานบี) พวกเขาคือมนุษย์ปุถุชนที่มีทั้งถูกต้องและพลาดพลั้ง แต่ความประเสริฐของพวกเขายิ่งใหญ่กว่าและสามารถลบล้างความผิดพลาดของพวกเขาได้ พวกเขาคือประชาชาติที่ได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ละคนก็ได้รับผลการตอบแทนจากอัลลอฮฺอย่างยุติธรรมที่สุด ทั้งการกระทำที่ดีและไม่ดี แล้วเราเป็นใครที่หาญกล้าฟันธงว่าใครผิดใครถูก ในขณะที่เราเพิ่งเกิดมาตามหลังพวกเขาเป็นพันๆปี หากการบริจาคทานของเรามีจำนวนมากมายก่ายกองเท่ากับโลกนี้ทั้งใบ ยังไม่สามารถเทียบได้กับการบริจาคของพวกเขาเท่าอุ้งมือ ท่านเคาะลีฟะฮฺอุมัร บินอับดุลอะซีส เราะหิมะฮุลลอฮฺได้กล่าวว่า “อัลลอฮฺได้ทำให้มือของเราปลอดภัยจากการหลั่งเลือดพวกเขา ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นที่ต้องรักษาลิ้นของเรามิให้ใส่ร้ายเกียรติศักดิ์ศรีของพวกเขา” เพราะการรักพวกเขาคือสัญลักษณ์ของอีมาน ในขณะที่ชิงชังและเคียดแค้นพวกเขาคืออัตลักษณ์ของชาวมุนาฟิกและซินดีก(ผู้บิดเบือน)

สรุปแล้ว ชีอะฮฺตามสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับท่านอะลีเลย และท่านอะลีก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับหลักอะกีดะฮฺและหลักชะรีอะฮฺของลัทธิกลุ่มนี้ ชีอะฮฺอะลียุคแรกคือกลุ่มที่สนับสนุนท่านอะลีและเห็นว่าท่านอะลีมีความเหมาะสมกับตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺมากกว่าท่านมุอาวียะฮฺ ทั้งสองฝ่ายนี้มีความขัดแย้งประเด็นทางการเมืองและที่มาของอำนาจทางการปกครองเท่านั้น ไม่ได้ขัดแย้งด้านอะกีดะฮฺและชะรีอะฮฺแต่ประการใด ชีอะฮฺอะลีในยุคแรกคือชาวสุนนะฮฺที่สนับสนุนอะลีในประเด็นความเหมาะสมการเป็นเคาะลีฟะฮฺเท่านั้น ไม่ใช่เหมือนชีอะฮฺที่ผิดเพี้ยนไปจากหลักการอิสลามเหมือนปัจจุบัน

ต่อภาค 2 >> https://www.theustaz.com/?p=4378


โดย ทีมงานวิชาการ

2 พี่น้องบาร์บาร็อสซ่า : แม่ทัพเรือใหญ่แห่งคิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺ (ตอนที่ 3)

กองทัพเรือบาร์บาร็อสซ่าปฏิบัติการอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน สร้างปัญหาให้กับชาติยุโรปไม่น้อย อำนาจการปกครองของคิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺค่อย ๆ แผ่ขยายเข้าไปในแผ่นดินยุโรปเรื่อย ๆ ในปี ค.ศ.1530 (ตรงกับปี ฮ.ศ.951) จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมัน จึงได้ขอความช่วยเหลือจากอันเดรีย ดอเรีย ผู้บัญชาการเรือชาวเจนัวให้นำทัพต่อสู้กับกองทัพเรือบาร์บาร็อสซ่า

การประจันหน้าครั้งแรกระหว่างบาร์บาร็อสซ่ากับอันเดรียเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1531 ซึ่งบาร์บาร็อสซ่าสามารถเอาชนะเรือรบ 40 ลำของเขามาได้ สุลต่านสุลัยมานได้แสดงการขอบคุณและยกย่องค็อยรุดดีน บาร็บาร็อสซ่าเป็นการเฉพาะด้วย

ปีต่อมา ขณะที่สุลต่านสุลัยมานกำลังมุ่งหน้าไปพิชิตออสเตรีย ดอเรียก็ถือโอกาสเข้ายึดครองบางเมืองบนเขตชายฝั่งกรีซ อย่างไรก็ตาม คิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺก็สามารถยึดคืนมาได้ในภายหลัง ตอนนั้นเองสุลต่านสุลัยมานจึงตระหนักว่า ท่านจำเป็นจะต้องมีกองทัพเรือที่แข็งแกร่งคอยป้องกันดินแดนในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จากการรุกรานของชาติยุโรป ค็อยรุดดีน บาร์บาร็อสซ่า จึงถูกเรียกตัวไปยังกรุงอิสลามบูล (เดิมคือ กรุงคอนสแตนติโนเปิล) และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “กาปูดัน ปาชา” แม่ทัพเรือสูงสุดของคิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺ

ในปี ค.ศ.1538 สมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 3 ประกาศจัดทัพขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วย ทหารชาวสเปน, โรมัน, โปรตุเกส, มอลต้า, เจนัว, เวเนเซีย, ฟลอเรนซ์ และวาติกัน กองทัพนี้มีชื่อว่า “กองทัพพันธมิตรศักดิ์สิทธิ์” นำโดยแม่ทัพอันเดรีย ดอเรีย พวกเขามีเป้าหมายสำคัญคือ การกำจัดบาร์บาร็อสซ่าและทำลายกองทัพเรืออุษมานียะฮฺให้จงได้

ในบรรดาศึกทั้งหลายที่บาร์บาร็อสซ่าเคยต่อสู้นั้น นี่เป็นศึกที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ.1538 ที่เมืองเพรเวซ่า (กรีซ) ในแง่ปริมาณแล้ว กองทัพบาร์บาร็อสซ่ามีจำนวนน้อยกว่ามาก และมีเพียง “กัลเลย์” หรือเรือพายขนาดเล็ก จำนวน 122 ลำเท่านั้นเอง ในขณะที่ฝ่ายดอเรียมีเรือใบมากถึง 300 ลำ บ้างก็ว่า 600 ลำเลยทีเดียว

แม้จำนวนจะน้อยกว่า แต่กองเรือบาร์บาร็อสซ่าใช้ความได้เปรียบบางอย่างเข้าต่อสู้กับศัตรู พวกเขาดึงศักยภาพของเรือกัลเลย์ออกมาใช้อย่างเต็มพิกัด เรือกัลเลย์ไม่จำเป็นต้องอาศัยลมเพื่อแล่นเรือ (เพราะเป็นเรือพาย) มีความคล่องตัวสูง และเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว แม้จะอยู่ในบริเวณอ่าวหรือเกาะที่ไม่มีลมพัดผ่านก็ตาม

กองเรือบาร์บาร็อสซ่าใช้ความได้เปรียบนี้ต่อสู้กับศัตรู ค็อยรุดดีนนำกองเรือของเขา แล่นผ่านช่องแคบเพรเวซ่าออกไปประจัญบานกับกองทัพพันธมิตรยุโรปตรง ๆ พวกเขาโหมกระหน่ำโจมตีอย่างต่อเนื่อง กระทั่งเอาชนะกองเรือครูเสดได้สำเร็จ พวกเขาจมเรือของศัตรูไป 10 ลำ ยึดมาได้อีกเกือบ 40 ลำ และเผาทำลายไปอีก 3 ลำ โดยไม่เสียเรือกัลเลย์ของตัวเองเลยแม้แต่ลำเดียว

อีกทั้งยังสามารถจับทหารคริตเตียนกว่า 3,000 นายไว้เป็นเชลยศึกด้วย อย่างไรก็ตาม บาร์บาร็อสซ่าต้องสูญเสียนักรบของเขาไปประมาณ 400 คน และอีก 800 คนได้รับบาดเจ็บ ความหวาดกลัวได้แผ่กระจายไปทั่วกองทัพพันธมิตรยุโรป และแม้ว่าแม่ทัพเรือคนอื่น ๆ ของพวกเขาจะพยายามโน้มน้าวให้ยังคงสู้ต่อไป แต่สุดท้ายอันเดรีย ดอเรีย ก็ต้องยอมแพ้และสั่งให้ทหารที่เหลือรอดถอยทัพกลับไป

ชัยชนะของบาร์บาร็อสซ่าในศึกเพรเวซ่านี้ ได้นำคิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺขึ้นสู่การเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดเหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ค็อยรุดดีน บาร์บาร็อสซ่าใช้โอกาสนี้ในการเข้าจัดการป้อมปราการทั้งหลายของศัตรูในทะเลอีเจียนและไอโอเนียน (ในกรีซ) กระทั่งในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ.1540 รัฐเวเนเซียก็ได้ขอทำสัญญาสงบศึก และยอมรับในอำนาจของคิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺบนแผ่นดินดังกล่าว พร้อมกับจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้ด้วย ชาวเจนัวเองก็ยอมแพ้ให้กับบาร์บาร็อสซ่า และยอมจ่ายญิซยะฮฺ (ภาษีคุ้มครอง) ให้แก่คิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺทุกปี ทุกเครื่องที่กองทัพเรือจากยุโรปพยายายามจะบุกยึดแผ่นดินของอาณาจักรอิสลาม กองทัพเรือบาร์บาร็อสซ่าก็สามารถป้องกันไว้ได้เสมอ

เมื่อเห็นถึงอัจฉริยภาพของค็อยรุดดีน บาร์บาร็อสซ่า ในปี ค.ศ.1540 จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันถึงกับพยายามจะซื้อตัวบาร์บาร็อสซ่าไป ด้วยการเสนอตำแหน่งผู้บัญชาการเรือสูงสุดของกองทัพเรือโรมันให้กับเขา แต่ค็อยรุดดีนไม่ได้สนใจเลยแม้แต่น้อย เขาจงรักภักดีต่ออิสลามและคิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺอย่างหนักแน่น

ต่อมา จักรพรรดิคาร์ล ที่ 5 ก็ได้ลงมาบัญชาการกองทัพเรือด้วยตัวเอง เขายกทัพมาหวังจะยึดแผ่นดินแอลจีเรียและทำลายกองทัพเรือบาร์บาร็อสซ่าให้ได้ แต่สภาพอากาศที่เลวร้ายและการป้องกันที่แข็งแกร่งของกองเรือบาร์บาร็อสซ่า ได้สร้างความเสียหายที่มากมายแก่กองทัพเรือโรมันอีกครั้ง สุดท้ายพวกเขาจึงถอดใจ ยอมแพ้ และต้องแล่นเรือกลับยุโรปด้วยมือเปล่า กระทั่งในปี ค.ศ.1544 จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ก็ได้ขอทำสัญญาสงบศึกกับสุลต่านสุลัยมาน อัลกอนูนีย์

ในปี ค.ศ.1545 ค็อยรุดดีนถูกเรียกตัวไปยังกรุงอิสตันบูล และปีต่อมา เขาก็เสียชีวิตลงอย่างสงบที่นั่นด้วยวัย 79 ปี ร่างของเขาถูกฝั่งไว้ที่บริเวณช่องแคบบอสฟอรัส บาร์บาร็อสซ่าจากไป โดยทิ้งมรดกเป็นกองทัพเรือที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งไม่มีอาณาจักรหรือรัฐไหนสามารถเทียบเคียงได้ตลอดช่วงหลายศตวรรษต่อมา ตำแหน่งแม่ทัพเรือสูงสุดแห่งคิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺถูกส่งต่อให้กับ “ตุรกูต ร็อยสฺ” ทหารเรือคนสนิทของค็อยรุดดีน บาร์บาร็อสซ่าเอง

จบ


อ้างอิง
‎1. خيرالدين بربروس ดู https://ar.wikipedia.org/wiki/خير_الدين_بربروس
‎2. عروج بربروس ดู https://ar.wikipedia.org/wiki/عروج_بربروس
3. “Hayreddin Barbarossa: Causing a Ruckus as the Notorious Pirate Redbeard” เขียนโดย Ḏḥwty ดู http://www.ancient-origins.net/history-famous-people/hayreddin-barbarossa-causing-ruckus-notorious-pirate-redbeard-005191?nopaging=1
4. “From Pirate to Admiral: The Tale of Barbarossa” เขียนโดย John P. Rafferty ดู https://www.britannica.com/story/from-pirate-to-admiral-the-tale-of-barbarossa
5. “Admiral Hayreddin Barbarossa” เขียนโดย Kallie Szczepanski ดู https://www.thoughtco.com/admiral-hayreddin-barbarossa-195756


อ่านตอนที่ 1 https://www.theustaz.com/?p=4083
อ่านตอนที่ 2 https://www.theustaz.com/?p=4232
อ่านตอนที่ 3 https://www.theustaz.com/?p=4236

ที่มา : GenFa : ประวัติศาสตร์สร้างคนรุ่นใหม่

2 พี่น้องบาร์บาร็อสซ่า : แม่ทัพเรือใหญ่แห่งคิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺ (ตอนที่ 2)

เมื่ออะรูจญ์ได้ขึ้นเป็นผู้ปกครองแอลจีเรีย คิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺก็มองเห็นโอกาสในการขยายฐานอำนาจในแอฟริกาเหนือ จึงได้เสนอการสนับสนุนทางการเงินและการเมืองแก่ 2 พี่น้องบาร์บาร็อสซ่า ด้วยการสนับสนุนนี้ 2 พี่น้องบาร์บาร็อสซ่าจึงมีความมั่นคงมากขึ้นในภูมิภาคนี้

ต่อมา คิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺก็ได้เสนอตำแหน่งผู้ปกครองแอลจีเรียอย่างเป็นทางการให้แก่อะรูจญ์ และตำแหน่งหัวหน้ากองเรือแห่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตกให้แก่ค็อยรุดดีน ทั้ง 2 รับข้อเสนอ กองเรื่องบาร์บาร็อสซ่าจึงได้ชักธงสัญลักษณ์อุษมานียะฮฺขึ้นโบกสะบัด เป็นธงสีเขียวเขียนข้อความว่า

نَصْرٌ مِّنَ اللَّـهِ وَفَتْحٌ قَرِيبٌ وَبَشِّرِ الْمُؤْمِنِينَ يَا مُحَمَّد
“ความช่วยเหลือมาจากอัลลอฮฺ และการพิชิตใกล้เข้ามาแล้ว และจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ศรัทธาเถิด โอ้มุฮัมหมัด”

และยังมีการเขียนชื่อคุละฟาอ์อัรรอชิดีนทั้ง 4 ท่าน มีรูปดาบซุลฟิกอร หัว 2 แฉก และรูปดาว 6 เหลี่ยม ดาราแห่งเดวิดด้วย

ในปี ค.ศ.1518 สเปนและพันธมิตรได้ยกทัพกลับมา หวังจะยึดแอลจีเรียคืนมาจาก 2 พี่น้องบาร์บาร็อสซ่า สเปนปลุกปั่นผู้นำ (อะมีร) เมืองติลิมซานให้ต่อต้านอะรูจญ์ จนเกิดการต่อสู้ที่หนักหน่วง กระทั่งอะรูจญ์ถูกจับตัวไปและไม่นานเขาก็เสียชีวิตลง สเปนชนะสงครามและยึดแอลจีเรียคืนไปได้

คิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺจึงได้แต่งตั้งให้ค็อยรุดดีนเป็น “เบย์เลอเบย์” (หมายถึง ผู้นำ, แม่ทัพ หรือผู้แทนในพื้นที่) ตำแหน่งผู้ปกครองแอลจีเรียจึงถูกส่งต่อให้กับ “ค็อยรุดดีน บาร์บาร็อสซ่า” ในตอนนี้ฉายาบาร์บาร็อสซ่าเป็นของเขาแต่เพียงผู้เดียวแล้ว เขาได้รับการสนับสนุนจากสุลต่านอุษมานียะฮฺในการต่อสู้กับสเปน และสามารถยึดแอลจีเรียกลับคืนมาได้ แอลจีเรียจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของคิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺ อีกทั้งยังเป็นฐานบัญชาการหลักในภูมิภาคทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตกด้วย

เมื่อสุลต่านซาลิมที่ 2 เสียชีวิตลงในปี ค.ศ.1520 ลูกชายที่ชื่อ “สุลัยมาน” ก็ได้ขึ้นครองตำแหน่งสุลต่านคนต่อไป โลกตะวันตกเรียกสุลต่านสุลัยมานว่า “สุลัยมานผู้เกรียงไกร” (The Magnificent) ส่วนในโลกอิสลามเอง ประชาชนให้ฉายาเขาว่า “สุลัยมานผู้ตรากฏหมาย (ที่ยุติธรรม)” (سُلَيْمَان القَانُوْنِي) และเพื่อเป็นการตอบแทนคุณ ค็อยรุดดีนได้ให้คำสัตย์ต่อสุลต่านสุลัยมานว่า กองเรือของเขาพร้อมจะรับใช้คิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺอย่างเต็มที่

ค็อยรุดดีน บาร์บาร็อสซ่า เป็นผู้นำที่มีทักษะสูง เขาฉลาด กล้าหาญ และรอบรู้หลายภาษา กองเรือของเขาได้ทำการต่อสู้กับสเปนอย่างต่อเนื่อง พวกเขาขัดขวางกองเรือสเปนที่บรรทุกทองคำมาจากแผ่นดินอเมริกา และเข้าโจมตีชายฝั่งทะเลในสเปน อีตาลี และฝรั่งเศษด้วย

ในปี ค.ศ.1522 ค็อยรุดดีนได้ส่ง “กูรโตกลู” (Kurtoğlu) ทหารคนสนิทคนหนึ่งของเขาพร้อมกองเรือจำนวนหนึ่ง เข้าพิชิตเกาะโรดส์ ป้อมปราการของอัศวินเซนต์จอห์นคือ “คณะอัศวินบริบาล” หรือ “อิศวินฮอสพิทัลเลอร์” (Knights Hospitaller) ที่หลงเหลือมาจากสงครามครูเสด ซึ่งมักจะสร้างปัญหาให้กับคิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺอยู่เสมอ พวกเขาคอยโจมตีเรืออุษมานียะฮฺที่ปฏิบัติการอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นประจำ การพิชิตในครั้งนี้ถือเป็นการขจัดเสี้ยนหนามที่รบกวนปฏิบัติการต่าง ๆ ของคิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺออกไป

ส่วนในปี ค.ศ.1529 ค็อยรุดดีน บาร์บาร็อสซ่า ก็ได้ช่วยเหลือมุสลิมชาวมัวร์กว่า 70,000 คน หนีออกมาจากแผ่นดินอันดาลุส (สเปน) ไว้ได้สำเร็จ ในนั้นมีชาวยิวรวมอยู่ด้วย และตั้งแต่ปี ค.ศ.1530 เขาได้ล่องเรือต่อสู้กับกองเรือคริสเตียน พิชิตเกาะปาลมาส และเมืองต่าง ๆในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และในปี ค.ศ.1534 กองเรือของเขาก็ได้แล่นตรงไปที่แม่น้ำไทเบอร์ สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วกรุงโรม

คิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺอยู่ในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด สุลต่านสุลัยมานผู้เกรียงไกรนำกองทัพเข้าพิชิตหลายเมืองในยุโรปทางภาคพื้นดิน ส่วนค็อยรุดดีนนำกองเรือเข้าพิชิตน่านน้ำต่าง ๆ ทางภาคพื้นทะเล สุลต่านสุลัยมานประทับใจและยกย่องค็อยรุดดีนเป็นอย่างมาก

กระทั่งในปี ค.ศ.1533 ค็อยรุดดีน บาร์บาร็อสซ่า ลูกชายช่างทำเครื่องปั้นดินเผา ที่ลุกขึ้นต่อสู้กับกองเรือคริสเตียนในฐานะโจรสลัด ที่ตอนนี้กลายมาเป็นผู้นำกองเรือที่เข้มแข็งและยิ่งใหญ่ ก็ได้รับเกียรติจากสุลต่านสุลัยมาน ถูกแต่งตั้งให้เป็น “กาปูดัน ปาชา” แม่ทัพเรือสูงสุดของคิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺ มหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกในเวลานั้น

ความแข็งแกร่งของกองเรือบาร์บาร็อสซ่า ไม่เพียงสร้างปัญหาให้แก่สเปนและโปรตุเกสเท่านั้น แต่ยังเป็นภัยคุกคามครั้งใหญ่สำหรับชาติยุโรปทั้งหมดด้วย

ติดตามตอนต่อไป ตอนที่ 3 https://www.theustaz.com/?p=4236


อ้างอิง :
1. خيرالدين بربروس ดู https://ar.wikipedia.org/…/%D8%AE%D9%8A%D8%B1_%D8%A7%D9%84%…
2. عروج بربروس ดู https://ar.wikipedia.org/…/%D8%B9%D8%B1%D9%88%D8%AC_%D8%A8%…
3. “From Pirate to Admiral: The Tale of Barbarossa” เขียนโดย John P. Rafferty ดู https://www.britannica.com/…/from-pirate-to-admiral-the-tal…
4. “Admiral Hayreddin Barbarossa” เขียนโดย Kallie Szczepanski ดู https://www.thoughtco.com/admiral-hayreddin-barbarossa-1957…
5. “Hayreddin Barbarossa: Causing a Ruckus as the Notorious Pirate Redbeard” เขียนโดย Ḏḥwty ดู http://www.ancient-origins.net/…/hayreddin-barbarossa-causi…


อ่านตอนที่ 1 https://www.theustaz.com/?p=4083
อ่านตอนที่ 2 https://www.theustaz.com/?p=4232
อ่านตอนที่ 3 https://www.theustaz.com/?p=4236

ที่มา : GenFa : ประวัติศาสตร์สร้างคนรุ่นใหม่

สุนทรพจน์แห่งศตวรรษ

แอร์โดฆานกล่าวสุนทรพจน์เปลี่ยนประวัติศาสตร์ ว่าด้วย “มัสยิดอายาโซเฟีย” ฉบับแปลคำต่อคำ

ขึ้นแท่นสุนทรพจน์ยอดเยี่ยมแห่งศตวรรษ ประกาศตัวตน อุดมการณ์และวิสัยทัศน์ และข้อมูลประวัติศาสตร์เชิงลึกชนิดอ่านมาทั้งชีวิตก็ยากจะพบเจอ

สุนทรพจน์ที่ยาวเหยียด แอร์โดฆานประกาศชัดเจน จะสืบทอดอุดมการณ์และวิสัยทัศน์ออตโตมัน ต่อศาสนา โลกมุสลิม ประชาชาติอิสลามและมนุษยชาติ มิตรและศัตรู พร้อมยกย่องสรรเสริญสุลต่านออตโตมัน และวิพากษ์รัฐบาลอะตาเติร์กว่าทรยศ ทำผิดกฎหมาย

หลังจากศาลตุรกีในการยกเลิกการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีในยุคอะตาเติร์กซึ่งเปลี่ยนอายาโซเฟียจากมัสยิดเป็นพิพิธภัณฑ์ หลังจากที่ศาลมีคำสั่งคืนสภาพอายาโซเฟียกลับไปเป็นมัสยิด อีกครั้ง เมื่อวันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม 2020 ประธานาธิบดีตุรกีกล่าวสุนทรพจน์เปลี่ยนประวัติศาสตร์ในทันที

เจ้าชายโอรฮาน อุสมานอูฆโล สายสกุลสุลต่านออตโตมันพอใจอย่างยิ่ง โพสต์เฟสบุ๊คระบุ ” วัตถุประสงค์บรรลุแล้ว ขอให้ความพอใจของอัลเลาะห์บังเกิดแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน”

และทันทีเช่นกัน หลังจากนั้น ทนายความ Pinar Akbina ตัวแทนพรรคปลดปล่อยประชาชน ( HKP ) ประจำอิสตันบูล ได้ยื่นฟ้องประธานาธิบดีตุรกีในวันอาทิตย์ 26/7/2020 ในความผิดฐาน “ละเมิดและโจมตีอะตาร์เติร์ก ” จากการที่แอร์โดฆานออกแถลงการณ์ หลังจากศาลเปิดมัสยิดอายาโซเฟียเพื่อการประกอบศาสนกิจอีกครั้ง

แอร์โดฆานก้าวสู่ความเสี่ยงทางการเมืองอีกครั้ง หลังจากที่เคยติดคุกในข้อหานี้มาแล้วในยุคดำรงดำแหน่งนายกเทศมนตรีกรุงอิสตันบูล

งานนี้ เกมส์ออฟโทรน หมากแต่ละตา บอกได้เลยว่า แอร์ทูฆรุลอยู่เบื้องหลัง เกมส์ออตโตมันทวงบัลลังก์

ไม่แปลกที่บรรดาอุลามาอ์และองค์กรศาสนาอิสลามทั่วโลกออกมาตอบรับกันอย่างพร้อมเพรียง

ข้อความต่อไปนี้เป็นข้อความที่เกือบสมบูรณ์แบบของวาทะประธานาธิบดีแอร์โดฆาน


เราวางแผนที่จะเปิดอายาโซเฟียเพื่อประกอบศาสนกิจในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้ โดยมีการละหมาดวันศุกร์ในวันนั้นและค่าธรรมเนียมแรกเข้าสู่มัสยิดจะถูกยกเลิกหลังจากยกเลิกการเป็นพิพิธภัณฑ์

วันนี้ศาลปกครองสูงสุดล้มคว่ำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 1934 ซึ่งตัดสินใจเปลี่ยนอายาโซเฟียในอิสตันบูลจากมัสยิดเป็นพิพิธภัณฑ์

ในความเป็นจริง การตัดสินใจในช่วงระยะเวลาการปกครองของพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวในปี 1934 ไม่เพียงแต่เป็นการทรยศต่อประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ยังผิดกฎหมายอีกด้วย เพราะอายาโซเฟียไม่ได้เป็นทรัพย์สินของรัฐหรือสถาบันใด ๆ มันเป็นทรัพย์สินของการบริจาคของสุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์

ด้วยคำตัดสินของศาล สถานที่ดังกล่าวก็ได้กลับสู่สถานะมัสยิดอีกครั้ง ใช่ หลังจาก 86 ปี จะกลับไปเป็นมัสยิดตามที่ระบุไว้ในการบริจาคของสุลต่านมูฮัมมัด อัลฟาติห์

กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวตุรกีและประธานฝ่ายศาสนาของประเทศได้เริ่มการเตรียมการที่จำเป็นในกรอบนี้ทันที

ข้อบกพร่องบางอย่างจะหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด เนื่องจากการเตรียมการบางอย่างจะเกิดขึ้นภายในหกเดือน อินชาอัลลอฮ์ เราจะทำมันให้เสร็จในช่วงเวลานั้น และแน่นอนเราเตรียมการ

ผู้ใดจะมา ก็ขอให้มา ทั้งมุสลิม ไม่ใช่มุสลิมและคริสเตียน เมื่อพวกเขาทั้งหมดมา จะเห็นว่าที่เป็นอยู่ที่นี่ไม่เหมือนกับว่าๆกัน ในทางตรงกันข้ามเราจะนำเสนอตัวอย่างที่ดีที่สุดแก่พวกเขาในการถ่ายโอนมรดกที่เราได้รับจากบรรพบุรุษของเราไปสู่อนาคต

อายาโซเฟียจะยังคงเป็นมรดกของมนุษยชาติโดยทั่วไป จะเปิดประตูต้อนรับชาวมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม รวมถึงมัสยิดทั้งหมดของเรา ที่จะต้อนรับทุกคนต่อไปอย่างจริงใจ เราขอเรียกร้องให้ทุกคนเคารพการตัดสินใจของหน่วยงานตุลาการและฝ่ายบริหารในตุรกี

จุดยืนใด ๆ ที่อยู่นอกเหนือการแสดงความคิดเห็นถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของเรา

สิทธิในการดำเนินการกับอายาโซเฟียนั้นเกี่ยวข้องกับอำนาจอธิปไตยของตุรกี และเรายอมรับมุมมองระดับนานาชาติในประเด็นนี้ แน่นอนว่าเราเข้าใจความคิดเห็นทั้งหมดที่แสดงในเวทีระหว่างประเทศในเรื่องนี้ ยกเว้นว่าจุดประสงค์ที่จะใช้สถานที่นั้นเกี่ยวข้องกับสิทธิของอธิปไตยของตุรกี ดังนั้น การเปิดให้นมัสการผ่านการแก้ไขกฎหมายเป็นสิทธิอธิปไตยของประเทศของเรา ตุรกีไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ประเทศอื่น ๆ ทำกับสถานที่เคารพสักการะทางศาสนา

ด้วยเหตุนี้ เราจะรอความเข้าใจแบบเดียวกันจากประเทศต่างๆ เกี่ยวกับการสงวนสิทธิ์ทางประวัติศาสตร์และทางกฎหมายของตุรกี ที่สิทธิเหล่านี้ไม่ย้อนกลับไป 50 ปี หรือ 100 ปี แต่เป็น 567 ปี

และถ้าการถกเถียงในวันนี้มุ่งเน้นไปที่ความเชื่อ ก็ไม่ควรเป็นกรณีอายาโซเฟีย แต่เป็นการต่อต้านศาสนาอิสลามและเกลียดกลัวชาวต่างประเทศที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกวันทั่วโลก

ข้าพเจ้าขอย้ำว่า การตัดสินใจนั้นเกี่ยวข้องกับกฎหมายภายในและสิทธิทางประวัติศาสตร์ของเราเท่านั้น และขอบคุณทุกคน ทุกพรรคการเมือง ผู้นำทางการเมืองและองค์กรประชาสังคมที่ให้การสนับสนุนการตัดสินใจครั้งนี้

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ตุรกีมีสิทธิ์แปลงอายาโซเฟียเป็นมัสยิดตามข้อกำหนดของเอกสารสัญญาวะกัฟ ดูที่ภาพข้างหลัง จะเห็นเอกสารสัญญาดังกล่าวอย่างชัดเจน มันคือสัญญาวะกัฟของสุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ สาระของสัญญาเหล่านี้เป็นหลักอ้างอิงของเรา

เราไม่ลืมว่ามีโบสถ์และธรรมศาลามากกว่า 453 แห่งในตุรกี ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการรับรู้ของเราว่า เรายอมรับในความแตกต่าง ที่ช่วยให้เรายิ่งพัฒนามากขึ้น

แน่นอนว่า แนวคิดแบบเดียวกันนี้ ซึ่งต่อต้านการฟื้นฟูมัสยิดอายาโซเฟีย อาจมีข้อเสนอให้เปลี่ยนมัสยิดสุลต่านอาหมัดอัญมณีของมัสยิดอิสตันบูลเป็นพิพิธภัณฑ์เช่นกัน ความคิดนี้ในอดีตอยากให้มัสยิดสุลต่านอาหมัดเป็นนิทรรศการภาพถ่าย พระราชวัง ยิลดิซ Yildiz Palace เป็นสถานพนัน และอายาโซเฟียเป็นชมรมดนตรีแจ๊ส และพวกเขาได้ทำสิ่งเหล่านี้ไปแล้วบางส่วน

มุมมองนี้ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานมาตลอดทุกยุคสมัย ไม่มีอะไรนอกจากการปรากฏตัวของแนวความคิดต่อต้านความเป็นสมัยใหม่ ที่ซ่อนอยู่ภายใต้ความทันสมัยที่เรียกว่าสมัยใหม่ และสนับสนุนให้ปิดนครวาติกันและเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ พร้อมเปลี่ยนอายาโซเฟียเป็นพิพิธภัณฑ์ ล้วนเป็นผลงานของตรรกะเดียวกัน

ดังนั้น เราจึงไม่แปลกใจ ถ้าในอนาคตอันใกล้ คนเหล่านี้จะเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงกะอ์บะหซึ่งเป็นศาสนาสถานที่เก่าแก่ที่สุดหรือมัสยิดอัลอักซอเป็นพิพิธภัณฑ์เช่นกัน

หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ตุรกีที่สว่างที่สุดคือการพิชิตอิสตันบูล และการเปลี่ยนแปลงอายาโซเฟียไปเป็นมัสยิด หลังจากการปิดล้อมเป็นเวลานาน สุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ ก็เข้าสู่อิสตันบูล เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 1453 และตรงไปที่อายาโซเฟีย จากนั้นชาวไบเซนไทน์ที่ต่างตกอยู่ในความกลัวและความวิตกกังวล รอชะตากรรมของพวกเขาในวิหารอายาโซเฟีย แต่สุลต่านกลับให้การรับรองความปลอดภัยในชีวิตและเสรีภาพของพวกเขา

จากนั้นสุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ ก็เข้าสู่วิหารอายาโซเฟีย แล้วปักธงเป็นสัญลักษณ์ของการพิชิตในสถานที่ที่มิห์รอบตั้งอยู่ในปัจจุบัน ยิงลูกศรไปยังทิศของโดมแล้วทำการอะซานครั้งแรกภายในวิหาร แล้วย้ายไปที่มุมหนึ่งของวิหาร ลงสุญูดขอบคุณแล้วละหมาด 2 ร็อกอัต ซึ่งการปฏิบัติเช่นนี้ถือเป็นการเปลี่ยนวิหารอายาโซเฟียเป็นมัสยิด สุลต่านได้ทำการตรวจสอบไข่มุกแห่งอิสตันบูลอย่างละเอียดจากพื้นถึงเพดาน

นักประวัติศาสตร์ได้รายงานว่า สุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ ได้ท่องบทกวีสองวรรค ขณะที่เขายืนอยู่หน้าซากปรักหักพังที่เกิดขึ้นกับตัวอาคารอายาโซเฟีย

บทกวีกล่าวว่า “แมงมุมทอผ้าม่านในวังของซีซาร์ และนกฮูกปกป้องดูแลหอคอยอัฟราสิยาบ “

นี่คือสภาพเมืองคอนสแตนติโนเปิ้ลและอายาโซเฟียที่พังพินาศขณะที่สุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ เข้าปกครอง

อายาโซเฟียที่สุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ รับมา เป็นอาคารที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นครั้งที่ 3 บนซากปรักหักพังของโบสถ์คริสตจักร 2 หลัง ที่ถูกเผาทำลายในช่วงความวุ่นวาย

สุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ ได้เปิดอายาโซเฟียเพื่อละหมาดวันศุกร์ หลังจากเมืองถูกพิชิตเพียง 3 วัน ด้วยความพยายามอย่างหนัก

ในวันนั้น เมื่อสุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ เข้ามาในมัสยิดพร้อมกับทหารและเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีการต้อนรับด้วยเสียงตักบีร์และซอลาวาต โดยที่อ๊ากชัมสุดดีน กล่าวคุตบะฮ์และเป็นอิหม่ามละหมาดวันศุกร์ในวันนั้น

และเมื่อสุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ พิชิตคอนสแตนติโนเปิ้ล ก็ได้รับฉายาเป็น “จักรพรรดิโรมัน” และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จดทะเบียนในนามของราชวงศ์ไบแซนไทน์ และตามกฎนี้ อายาโซเฟียก็จดทะเบียนในนามของมุฮัมมัด อัลฟาติห์และในนามหน่วยทรัพย์วะกัฟที่สุลต่านตั้งขึ้น

และในยุคสาธารณรัฐ ได้มีการออกเอกสารสิทธิ์ให้แก่หน่วยวะกัฟนี้อย่างเป็นทางการในภาษาตุรกีปัจจุบัน เพื่อจดทะเบียนสถานะทางกฎหมาย

ถ้ามัสยิดอายาโซเฟียไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของสุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ ก็จะไม่มีสิทธิ์ที่จะอุทิศสถานที่แห่งนี้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย

สุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ กล่าวไว้ในเอกสารวะกัฟกว่า 100 หน้า ลงวันที่ 1 มิถุนายน 1453 ต่อไปนี้

“บุคคลใดที่เปลี่ยนแปลงองค์กรทรัพย์วะกัฟนี้ที่ได้เปลี่ยนอายาโซเฟียเป็นมัสยิด หรือเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดข้อหนึ่งข้อใด หรือยกเลิกหรือแก้ไข หรือแม้กระทั่งพยายามที่จะหยุดผลของการวะกัฟเกี่ยวกับมัสยิด ด้วยการคัดค้านหรือทุจริต หรือการตีความที่ผิดวิธี หรือเปลี่ยนต้นหลัก และขัดขวางการใช้ผลประโยชน์ หรือช่วยเหลือและชี้นำผู้ที่ทำเช่นนั้น หรือมีส่วนร่วมกับผู้ที่กระทำการดังกล่าวอย่างผิดกฎหมาย หรือทำให้อายาโซเฟียพ้นสภาพจากการเป็นมัสยิด หรือเรียกร้องสิ่งต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นผู้ปกครองดูแลผ่านวิธีการเท็จ หรือยึดครองเป็นกรรมสิทธิ์โดยทุจริต ข้าพเจ้าขอพูดกับทุกท่านว่า เขาได้กระทำสิ่งต้องห้ามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและกระทำบาป

ผู้ใดก็ตามที่เปลี่ยนแปลงวะกัฟนี้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือกลุ่มคน เขาจะต้องถูกสาปแช่งจากพระเจ้า ศาสนทูต มะลาอิกะฮ์ ผู้ปกครอง และชาวมุสลิมทุกคนตลอดไป

และเราขอให้พระเจ้าไม่ลดหย่อนการทรมาน และไม่มองใบหน้าของพวกเขาในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ

ใครก็ตามที่ได้ฟังคำพูดเหล่านี้ และยังดำเนินการเปลี่ยนแปลง ความผิดของเขาจะตกแก่ผู้อนุญาตให้เปลี่ยนแปลง และพวกเขาทั้งหมดจะได้รับการทรมานจากพระเจ้า และอัลลอฮ์ทรงได้ยินและทรงรู้ “

ใช่ สุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ กล่าวไว้เช่นนั้น และด้วยการตัดสินใจของเราในวันนี้ เราจะรอดพ้นจากโทษฑัณฑ์ของดุอาอ์เหล่านั้น

สุลต่านได้เข้ามาปกป้องและพัฒนาคริสตจักรออร์โธด็อกซ์ซึ่งถูกอัปเปหิจากนิกายคริสเตียนอื่น ๆ

ภายในอาณาบริเวณโดมของมหาวิหารและรั้วกำแพงแห่งนี้ นับตั้งแต่วันนั้น และตลอดระยะเวลา 481 ปี เป็นที่อะซาน การซอลาวาต การตักบีร ดุอาอ์ พิธีคอตัมอัลกุรอาน และการเฉลิมฉลองเมาลิดินนบี

ด้วยการพิชิตครั้งนั้น อิสตันบูลที่มีอายาโซเฟียเป็นสัญลักษณ์ ได้ฟื้นขึ้นมาอีกครั้งหลังจากทรุดโทรมมานานหลายศตวรรษจากแผ่นดินไหว ไฟไหม้ การลักขโมยและการปล่อยปละละเลย

ในฐานะของสุลต่าน มุฮัมมัด อัลฟาติห์ จึงพยายามเพิ่มความสวยงามให้กับอิสตันบูล และวิหารอายาโซเฟียซึ่งเป็นที่รู้จักมานานในฐานะ “มัสยิดแห่งเมืองใหญ่” หลังจากการเพิ่มเติมรอบนอก และได้กลายเป็นมัสยิดที่ให้บริการแก่ผู้ศรัทธาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน

อายาโซเฟียผ่านการบูรณะมานับครั้งไม่ถ้วน กว่าจะสวยงามอลังการและเป็นที่ประทับใจของตุรกีในวันนี้

และแม้กระทั่งชื่อของมัน ซึ่งหมายถึง “ปัญญาของพระเจ้า” ก็ยังคงไว้เหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง

จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า บรรพบุรุษของเราไม่เพียงแต่จะเปลี่ยนวิหารนี้เป็นมัสยิด หลังจากตกอยู่กับใครซากปรักหักพังและทรุดโทรมในรัฐที่กำลังล่มสลาย พร้อมการฟื้นฟูและยกสถานะ

เป็นที่น่าสังเกตว่าอายาโซเฟียมีสถานะพิเศษในหัวใจของชาวตุรกีตลอดมาทุกยุคสมัย และในใจเรามีความรักเป็นพิเศษสำหรับอายาโซเฟียตั้งแต่เรายังเด็ก

เรามั่นใจว่า เราได้ให้บริการที่ดีต่อคนของเรา โดยการเปิดประตูของอาคารทางวัฒนธรรมแห่งนี้เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจและคืนสถานะเดิม

การพิชิตอิสตันบูลนั้นเป็นญิฮาดเล็กๆ สำหรับผู้คน แต่การทำนุบำรุงให้มีชีวิตชีวาต่างหากที่เป็นหนึ่งในญิฮาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

เมื่ออายาโซเฟียถูกสร้างขึ้นในยุคของกรุงโรมตะวันออก วัสดุก่อสร้างถูกนำมาจากเขตชานเมืองของจักรวรรดิ จากอียิปต์ถึงอิซเมียร์ และจากซีเรียไปจนถึง Palexir

สำหรับสุลต่านหลังจากการพิชิต พวกเขานำผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะมาจากอนาโตเลียและรูมิลลี (ดินแดนยุโรปในจักรวรรดิออตโตมัน) มาที่อิสตันบูลเพื่อบูรณะและเสริมสร้างอายาโซเฟียขึ้นมาอีกครั้ง

และสุลต่านออตโตมันก็ใช้ประโยชน์จากมรดกทางวัฒนธรรมที่พวกเขาได้สืบทอดมา

ตัวอย่างที่ดีของเรื่องนี้คือการที่มุฮัมมัด อัลฟาติห์ อนุรักษ์โมเสคของภายในอายาโซเฟียเป็นอย่างดี

โมเสคนี้ยังคงเหมือนเดิมตลอดหลายปีที่ผ่านมา จากนั้นถูกปกคลุมเพื่อปกป้องจากปัจจัยภายนอก และการกระทำนี้สอดคล้องกับสาระสำคัญของศาสนาอิสลามและสิ่งที่ศาสดาแนะนำ เมื่อท่านขอให้ชาวมุสลิมไม่โจมตีและการก่อวินาศกรรมเมื่อเผยแผ่ศาสนา

เมื่อท่านอุมัร์ บินคอตต๊อบ เข้ากรุงเยรูซาเล็ม ท่านรับรองสิทธิของคริสเตียนและชาวยิว และปกป้องสถานที่นมัสการของพวกเขา และตามวิถีทางของรัฐที่บรรพบุรุษก่อตั้งขึ้น ผู้นำของจักรวรรดิออตโตมันได้ดำเนินรอยตามรูปแบบการพิชิตที่สืบทอดมรดกมา

ดังนั้น อายาโซเฟียที่มาถึงทุกวันนี้ หลังจากเวลาผ่านไป 481 ปีแล้ว ยังคงรักษามิห์รอบ แท่นมิมบัร หออาซาน เครื่องหมายราชวงศ์ ภาพวาด แกะสลัก เชิงเทียน พรมและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ

ตลอดประวัติศาสตร์ในอิสตันบูล อายาโซเฟียเป็นสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่านมากที่สุด เพื่อพบกับฝูงชนเนื่องจากเป็นสถานที่ที่ฝูงชนชมความปลื้มปิติในช่วงวันพิเศษเช่น ตารอเวียะห์ ลัยละตุลกอดร์ และงานเลี้ยง ดังนั้นสิทธิของชาวตุรกีต่ออายาโซเฟียไม่น้อยไปกว่าผู้สร้างยุคแรก

ด้วยการพิชิตอิสตันบูล ทำให้เมืองกลายเป็นเมืองแห่งสันติภาพที่ชาวมุสลิม คริสเตียนและยิว ได้อาศัยอยู่อย่างสันติสุข

ประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นถึงการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ที่เราทำเพื่อความเจริญรุ่งเรือง ความมั่นคง ความสงบสุข และความถ้อยทีถ้อยอาศัยในทุกที่ที่เราไปพิชิต และวันนี้บริเวณข้างๆ มัสยิดของเราในทุกหนแห่งทั่วประเทศจะมีโบสถ์โบราณของศาสนาต่างๆนับพันแห่ง ตั้งอยู่เคียงข้าง

นอกจากนี้ โบสถ์คริสต์และศาสนสถานตั้งอยู่ในชุมชนที่สมาชิกของพวกเขารวมตัวกัน ขณะนี้มีโบสถ์และศาสนสถาน 435 แห่ง ที่เปิดให้ประกอบศาสนกิจในประเทศของเรา ภาพเช่นนี้เราไม่สามารถหาได้ในภูมิภาคอื่น ๆ เป็นการแสดงออกถึงความเข้าใจของเราที่เห็นความแตกต่าง เป็นความมั่งคั่ง แม้ว่าในฐานะชาติ เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาได้

ในยุโรปตะวันออกและภูมิภาคบอลข่านซึ่งชาวออตโตมานถูกบังคับให้อพยพออกมา ศาสนสถานที่บรรพบุรุษของเราสร้างขึ้นมาหลายศตวรรษคงเหลือเพียงไม่กี่แห่ง

แต่สิ่งไม่ดีเหล่านี้ไม่สามารถเป็นตัวอย่างได้ เราจะรักษาอารยธรรมแห่งการสร้างสรรค์ของเราอย่างแข็งขัน

เป็นที่น่าสังเกตว่ากรณีพิพาทเกี่ยวกับอายาโซเฟียนั้น สามารถย้อนกลับไปถึงหนึ่งศตวรรษ ในช่วงเวลาหลายปีที่ อนาโตเลียและอิสตันบูลถูกยึดครอง ได้มีการหารือกันเกี่ยวกับการเปลี่ยนอายาโซเฟียให้เป็นโบสถ์ และก้าวย่างแรกที่สะท้อนถึงเจตนาของหน่วยทหารของฝ่ายยึดครอง คือการตั้งฐานทัพพร้อมอุปกรณ์พรั่งพร้อมที่หน้าประตูอายาโซเฟีย

ในเวลานั้นผู้บัญชาการฝรั่งเศสของหน่วยทหารนี้บอกเจ้าหน้าที่ออตโตมันว่าเขาต้องการตั้งฐานทัพขจที่นี่และทหารตุรกีควรออกจากมัสยิดอายาโซเฟีย

แต่เจ้าหน้าที่ชาวออตโตมันในขณะนั้น พันตรีเตาฟีก เบ ซึ่งถูกมอบหมายหน้าที่ให้ปกป้องอายาโซเฟีย พร้อมกับทหารของเขา พวกเขาบอกกับทหารฝรั่งเศสว่า“ คุณไม่สามารถเข้ามาที่นี่และคุณจะไม่มีวันเข้าไปได้ เพราะสถานที่แห่งนี้เป็นศาสนสถานของเรา และถ้าคุณพยายาม อาวุธหนักเหล่านี้จะให้การตอบสนองครั้งแรก จากนั้นการตอบสนองครั้งที่สองจะมาถึงคุณจากมุมต่าง ๆ ของมัสยิด และหากคุณต้องการเห็นการล่มสลายของอายาโซเฟียบนหัวของคุณก็ลองเข้ามา”

เป็นที่ทราบกันดีว่าชาวต่างชาติมีความสนใจในอายาโซเฟียอย่างต่อเนื่องในหลายปีต่อมา ด้วยเหตุผลข้อแก้ตัวต่าง ๆ เช่น งานฟื้นฟูโมเสก

ในช่วงเวลาของรัฐบาลพรรคเดียว (ในตอนต้นของการก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกี) รัฐบาลได้กำหนดพระราชกฤษฎีกา ให้ระยะทางระหว่างมัสยิดอย่างน้อย 500 เมตร เพื่อปิดมัสยิดอายาโซเฟียมิให้มีการปฏิบัติศาสนกิจอีกต่อไป

หลังจากนั้นไม่นานในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1935 ได้มีการประกาศว่าสถานที่แห่งนี้ถูกดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์และเปิดให้ผู้เยี่ยมชม

ในช่วงหลายปีที่อายาโซเฟียถูกปิดมิให้ปฏิบัติศาสนกิจ มัสยิดถูกเบียดเบียนอย่างหนัก พวกเขาทำลายโรงเรียนอายาโซเฟียซึ่งเป็นโรงเรียนที่สร้างโดยสุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ ข้างอาคารอายาโซเฟีย เป็นสถานศึกษาที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยออตโตมันแห่งแรก โดยไม่มีเหตุผลใดๆ แล้วพวกเขาก็ตัดพรมที่หายากที่ตกแต่งบนพื้นแล้วแจกจ่ายไปทั่วๆกัน และพวกเขายังนำแท่งเทียนโบราณไปทำลายในที่หลอมละลาย

เช่นเดียวกัน ภาพเขียนที่ยังคงอยู่ในสถานที่ปัจจุบัน ในตอนแรกภาพเหล่านั้นถูกวางไว้ในโกดังเพราะพวกเขาไม่สามารถพาออกไปจากประตู เพราะภาพมีขนาดใหญ่ และก็ถูกนำมาวางอีกครั้งในภายหลังในยุคของพรรคประชาธิปไตย

การทำลายล้างอายาโซเฟียยังไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่นี้ สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการให้อะไรที่เกี่ยวกับอายาโซเฟียเมื่อมันเป็นมัสยิด ใพวกเขาเกือบจะทำลายแม้แต่หออะซาน เพราะหออะซานเล็กของอายาโซเฟียที่สร้างขึ้นในช่วงรัชสมัยของสุลต่านบายาซีด ที่ 2 ถูกทำลายในชั่วข้ามคืนโดยไม่มีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายใด ๆ มารองรับ

ดังนั้น เมื่ออิบราฮิม ฮัคกี้ คอนยาลี นักประวัติศาสตร์ นักข่าว และนักดนตรี เห็นว่า คิวต่อไปต้องเป็นมัสยิดอายาโซเฟียแน่ เขาจึงตีพิมพ์รายงานทันทีว่า หออะซานเหล่านี้เป็นสิ่งสนับสนุนโดมของมัสยิด และถ้าหออะซานถูกทำลาย จากนั้นมัสยิดอายาโซเฟียก็จะถูกทำลายตาม และหลังจากนั้นพวกเขาก็ยกเลิกโครงการทำลายหออะซาน

ในช่วงเวลาดังกล่าว มัสยิดและโรงเรียนหลายแห่งประสบภัยพิบัติในลักษณะเดียวกัน

การคืนสภาพมัสยิดอายาโซเฟีย ถือเป็นการฟื้นคืนชีพครั้งใหม่ดังที่เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในสถานที่นี้นับตั้งแต่วันก่อตั้งในอดีต

การฟื้นคืนมัสยิดอายาโซเฟียเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงอิสรภาพของมัสยิดอัลอักศอ มันเป็นเสมือนเสียงเท้าของชาวมุสลิมทั่วโลกในการย่ำเดินออกจากยุคของความโดดเดี่ยวเดียวดาย และการฟื้นฟูครั้งนี้ยังเป็นความหวังครั้งใหม่สำหรับผู้ถูกกดขี่ ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ผู้ถูกสังหารและการล่าอาณานิคมทั่วโลก

และเช่นเดียวกัน การฟื้นฟูอายาโซเฟีย ยังมีความหมายว่า เราในฐานะชาวตุรกี ชาวมุสลิม และมนุษยชาติทั้งมวล เรามีสิ่งที่จะบอกกับโลกว่า เรามีประวัติศาสตร์ของเราเอง ตั้งแต่สมรภูมิบัดร์ ยสมรภูมิมาลาซการ์ Battle of Malazir(ค.ศ.1701) สมรภูมินิโคโปลิส Battle of Nicopolis ( ค.ศ.1396 )ไปจนสมรภูมิแกลิโปลี (ค.ศ.1915) เป็นเครื่องหมายบ่งบอกถึงความมุ่งมั่นของเราที่จะแบกรับมรดกของผู้สละชีพและนักรบของเรา ในอดีตที่ผ่านมา แม้ว่าจะต้องแลกด้วยชีวิตของเราก็ตาม

การฟื้นคืนชีพให้มัสยิดอายาโซเฟีย ไม่มีความหมายอื่นใดนอกจากเป็นการทักทายจากศูนย์กลางไปยังทุกเมืองที่เป็นสัญลักษณ์อารยธรรมของเรา ตั้งแต่เมืองบุคคอรอ(อุซเบกิสสถาน) ไปจนถึงแอนดาลุสเซีย การฟื้นฟูครั้งนี้เป็นภาระหน้าที่ที่จำเป็นสำหรับเราที่มีต่อสุลต่านอาลับ อัรสะลาน (สุลต่านเซลจู๊ก) ถึงสุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ และสุลต่านอับดุลหะมีด ข่าน

นอกจากนี้ การฟื้นฟูอายาโซเฟียในครั้งนี้ ยังเป็นสัญลักษณ์ของการกลับมาอีกครั้งของอาทิตย์อุทัยแห่งอารยธรรมของเราที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม มโนธรรม จริยธรรม เอกภาพ และภราดรภาพ เป็นอารยธรรมที่ความปรารถนาของมวลมนุษยชาติตั้งตารอ และเป็นการทำลายโซ่ตรวนที่ล่ามตรึงอยู่ที่ประตูของวิหารนี้ และผูกล่ามหัวใจและข้อเท้าของมวลมนุษย์ชาติเอาไว้

การที่อายาโซเฟียซึ่งเป็นภารกิจที่สุลต่านอัลฟาติห์ฝากให้เราดูแล ได้กลับกลายเป็นมัสยิดอีกครั้งหลังจาก 86 ปี ไม่มีความหมายใด นอกจากเป็นการลุกขึ้นสู้ครั้งใหม่ และเป็นการตอบโต้ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการโจมตีที่เลวทรามต่ำช้าต่อคุณค่าอัตลักษณ์ของเราทั่วโลกอิสลาม

ตุรกีในทุกขั้นตอนที่ได้ดำเนินการในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีความกระตือรือร้นที่จะเป็นผู้กระทำ ไม่ใช่ผู้ถูกกระทำ ในทุกเวลาและทุกสถานที่

ในการต่อสู้ทางประวัติศาสตร์ที่เราต่อสู้ในฐานะชาติ เราสร้างสะพานจากอดีตสู่อนาคตที่รวบรวมมนุษยชาติทั้งหมด เพื่ออนาคตที่สดใสของอารยธรรมที่เราเป็นตัวแทน

เรามุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามเส้นทางอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ด้วยการเสียสละอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง หากพระเจ้าประสงค์ โดยไม่หยุดและไม่รู้เหนื่อยจนกว่าจะไปถึงเป้าหมาย

มัสยิดอายาโซเฟียมีสถานะพิเศษในหมู่นักเขียนและกวี นักการทูตและกวีชาวตุรกี Yahya Kemal Beyatli เขียนบทความ ในปี 1922 ว่า

“รัฐนี้มีรากฐานทางศีลธรรมสอง ประการแรกคือการเรียกร้องให้ละหมาดจากหออะซานอายาโซเฟียที่ยังคงได้ยิน

และประการที่สองคือการอ่านอัลกุรอานต่อหน้าผ้าคลุมอันทรงเกียรติ (ผ้าคลุมของพระศาสดาที่วังโตบกาปี ในอิสตันบูล) ที่ยังคงเปล่งประกาย”

ในทำนองเดียวกันกวีและศิลปินตุรกีจำนวนมากได้เขียนประเด็นการห้ามละหมาดในอายาโซเฟีย

บทกวีที่เขียนโดยนักเขียนชาวตุรกี หรือนักร้องเพลงผู้ที่ถือเอาอายาโซเฟียเป็นเครื่องหมายสำหรับการพิชิตอิสตันบูล เช่น นาจิบ ฟาดิล กัสสาคุรก์ Naguib Fadel Kassakurk นักเขียนชาวตุรกี กวีและนักคิด ที่กล่าวว่า

“ผู้ที่หวาดกลัวว่าเติร์กจะยังคงอยู่ในดินแดนนี้ได้หรือไม่ เป็นคนเดียวกันที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเปิดอายาโซเฟียเพื่อประกอบศาสนกิจอีกครั้ง”

และจากบทกวีของนาซีม หิกมัต Nazim Hekmat เมื่อร้องลำนำเกี่ยวกับการพิชิตอิสตันบูล ว่า

“วันยิ่งใหญ่ที่เฝ้ารอของอิสลาม อิสตันบูลเติร์กหลังจากเป็นคอนสแตนติโนเปิ้ลแห่งโรม พิชิตอิสตันบูลในแปดสัปดาห์กับสามวัน สุลต่านแห่งเติร์กขี่ม้าป่า เป็นจอมทัพผู้ท้าทายโลกเข้ามาทางประตูอะเดรนา คือผู้รับใช้ที่ได้รับพระพรจากพระเจ้า สุลต่านผู้พิชิตเมืองดี พระเจ้ามอบพรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดให้แก่เรา เมื่อเขาได้ละหมาดตอนบ่ายในฮาเกียโซเฟีย”

ยิ่งไปกว่านั้น นิฮาน อาซีซ นักประวัติศาสตร์และกวีชาวตุรกี ถูกถามว่า “ถ้าคุณมาที่โลกอีกครั้ง คุณต้องการเป็นอะไร?” เขาตอบว่า “ฉันต้องการเป็นอิหม่ามของอายาโซเฟีย”

คอลีล ไอนาลิเจก นักประวัติศาสตร์ระหว่างประเทศชาวตุรกี กล่าวว่า “ตะวันตกไม่เคยลืมการพิชิตอิสตันบูลหรืออายาโซเฟีย” หมายความว่า ประเด็นของอายาโซเฟียและการพิชิตอิสตันบูลเป็นประเด็นทางการเมืองมากกว่า

ในเรื่องนี้นักเขียนนวนิยายชาวตุรกีบายามิก็พูดว่า “การเปลี่ยนมัสยิดอายาโซเฟียเป็นพิพิธภัณฑ์ ไม่ได้บ่อนทำลายแรงบันดาลใจของคริสเตียนที่มีต่อเมืองอิสตันบูล ในทางตรงกันข้ามกลับเพิ่มความกล้าหาญและความกระตือรือร้น”

อุสมาน ยูกเซล ซัรเดงเจต Osman Yuxel Sardengchet นักเขียนชาวตุรกี กล่าวถึงบทความที่เป็นเหตุให้ถูกพิพากษาประหารชีวิต ในหัวข้อ “อายาโซเฟีย Hagia Sophia”

เขากล่าวว่า
“โอ้ มหาวิหารอายาโซเฟีย ไม่ต้องกังวลลูกหลานของผู้พิชิตจะทำลายเจว็ดทั้งหลายแหล่ พวกเขาจะเปลี่ยนท่านกลับไปเป็นมัสยิดอีกครั้ง พวกเขาจะใช้น้ำตาทำน้ำละหมาด พวกเขาจะก้มกราบระหว่างฝากำแพงของท่าน เสียงตะห์ลีลและตักบีร์จากโดมเสาจะกู่ก้องให้ได้ยินอีกคำรบ และจะเป็นการพิชิตครั้งที่สอง เหล่ากวีจะเขียนเกี่ยวกับมหากาพย์นี้ เสียงอะซานจะดังขึ้นอีกครั้ง รวมถึงเสียงตักบีร์จากหออะซานที่เงียบเหงาน่าสงสารเหล่านั้น ระเบียงของหออะซานของท่านจะเรืองรองด้วยแสงไฟในการแสดงความเคารพต่อพระเจ้าและเกียรติยศของศาสดา จนกระทั่งผู้คนตกอยู่ในความฉงนสนเท่ห์ว่า อัลฟาติห์ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่อีกครั้งหรือไฉน ทุกสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้น โอ้ อายาโซเฟีย และการพิชิตครั้งที่สองจะเป็นการฟื้นคืนชีพหลังจากความตาย นี่คือสิ่งแน่นอนไม่ต้องกังวล และวันเหล่านี้ใกล้เข้ามา บางทีพรุ่งนี้หรือบางทีอาจจะเร็วกว่า “

ขอบคุณอัลลอฮ์ที่เรามาถึงวันที่กวีผู้นี้ได้รำพึงรำพันไว้ในอดีต
และไม่ต้องสงสัยเลยว่าบทกวีที่ดีที่สุดที่เขียนเกี่ยวกับอายาโซเฟีย มีไว้สำหรับนิฮาล อาเซีย กวีชาวตุรกึ

ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีกับทุกคนอีกครั้งในการพิจารณาคดีครั้งนี้ ซึ่งทำให้อายาโซเฟียเปลี่ยนมาเป็นมัสยิดอีกครั้ง และข้าพเจ้าขอย้ำว่า เราจะเปิดมัสยิดเพื่อนมัสการพร้อมกับรักษามรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติไปพร้อมๆกัน

ดูคลิปต้นฉบับ

อ่านต้นฉบับภาษาอาหรับ

https://www.trtarabi.com/now/%D8%A7%D9%84%D9%86%D8%B5-%D8%A7%D9%84%D9%83%D8%A7%D9%85%D9%84-%D9%84%D8%AE%D8%B7%D8%A7%D8%A8-%D8%A3%D8%B1%D8%AF%D9%88%D8%BA%D8%A7%D9%86-%D8%A7%D9%84%D8%AA%D8%A7%D8%B1%D9%8A%D8%AE%D9%8A-%D9%84%D9%84%D8%A3%D9%85%D8%A9-%D8%AD%D9%88%D9%84-%D8%A2%D9%8A%D8%A7-%D8%B5%D9%88%D9%81%D9%8A%D8%A7-27221


แปลโดย Ghazali Benmad

คุตบะฮ์เสียงเพรียกจากอายาโซเฟีย คำต่อคำ

24 กรกฎาคม 2020 ศ.ดร.อาลี อัรบัช ประมุขฝ่ายศาสนาของตุรกี คุตบะฮ์ครั้งแรกที่มัสยิดอายาโซเฟีย เมื่อวันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม 2020 โดยมีผู้คน ราว 350,000 คน เข้าร่วมเป็นประจักษ์พยานและร่วมพิธีละหมาดวันศุกร์ครั้งประวัติศาสตร์นี้

ในนามแห่งอัลลอฮ์ผู้กรุณาปรานี
‎اِنَّمَا يَعْمُرُ مَسَاجِدَ اللّٰهِ مَنْ اٰمَنَ بِاللّٰهِ وَالْيَوْمِ الْاٰخِرِ وَاَقَامَ الصَّلٰوةَ وَاٰتَى الزَّكٰوةَ وَلَمْ يَخْشَ اِلَّا اللّٰهَ فَعَسٰٓى اُو۬لٰٓئِكَ اَنْ يَكُونُوا مِنَ الْمُهْتَد۪ينَ.
“แท้จริง ผู้ที่จะทำนุบำรุงบรรดามัสยิดของอัลลอฮ์นั้นคือผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และวันปรโลก และดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาต และเขามิได้ยำเกรงผู้ใดนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น ดังนั้น ชนเหล่านี้แหละจะเป็นผู้ที่อยู่ในหมู่ผู้รับคำแนะนำ”

ท่านศาสนทูต صلى الله عليه وسلم กล่าวว่า
‎لَتُفْتَحَنَّ الْقُسْطَنْطِينِيَّةُ فَلَنِعْمَ الْأَمِيرُ أَمِيرُهَا وَلَنِعْمَ الْجَيْشُ ذَلِكَ الْجَيْشُ.
“คอนสแตนติโนเปิลจะถูกเปิด ผู้นำผู้นั้นเป็นสุดยอดผู้นำ และกองทัพนั้นเป็นสุดยอดกองทัพ”

อายาโซเฟียสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ และของฝากของสุลต่านมูฮัมหมัด อัลฟาติห์ ให้มุสลิมดูแลรักษา

มวลมุสลิมทั้งหลาย
สันติสวัสดีจากอัลลอฮ์ ตลอดจนการดูแลของพระองค์ และบารอกะฮ์จงมีแด่ท่านทั้งหลาย

ในห้วงเวลาอันประเสริฐ ในสถานที่อันประเสริฐวันนี้ พร้อมๆกับวันอีดิลอัฎฮาที่ใกล้เข้ามาทุกขณะ ในวันที่ 3 ซุลฮิจญะฮ์ มัสยิดอายาโซเฟียได้พบหน้ากับผู้ละหมาดอีกครั้ง และเป็นวันที่แผลบาดลึกได้หายขาด ความโศกเศร้าเสียใจของชาวตุรกีได้สิ้นสุดลง

ขอขอบคุณต่ออัลลอฮ์อย่างที่สุด
วันนี้โดมทั้งหลายของอายาโซเฟีย กึกก้องไปด้วยเสียงตักบีร์ ตะห์ลีล และซอลาวาต เสียงอาซานและซิกิรดังก้องจากหออะซาน นี่คือความกระตือรือร้นและความปรารถนาของลูกหลานของสุลต่านอัลฟาติห์ได้สำเร็จลงแล้ว ความเงียบงันของศาสนสถานแห่งนี้สิ้นสุดลงแล้วเช่นกัน วันนี้ มัสยิดอายาโซเฟียได้พบกับผู้มาละหมาดแล้ว

วันนี้คล้ายคลึงกับเมื่อ 70 ปีที่แล้ว เมื่อ 16 มุอัซซิน (ผู้อะซาน) ของ 16 หออะซาน ณ มัสยิดสุลต่านอะหมัด ( ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับอายาโซเฟีย ) ได้ดังขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ต้องหยุดไป 18 ปี

วันนี้ เป็นวันที่ชาวมุสลิมยืนละหมาดด้วยน้ำตาแห่งความปลาบปลื้มปิติยินดี ด้วยความนอบน้อมและความซาบซึ้ง สูยูดด้วยความรู้สึกขอบคุณต่อองค์อภิบาล

มวลการสรรเสริญและการขอบคุณ เป็นสิทธิของอัลลอฮ์ ที่ทำให้เราได้มารวมตัวกันในวันนี้

พรและสันติสุข จงมีแด่ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด صلى الله عليه وسلم ผู้กล่าวว่า
‎لَتُفْتَحَنَّ الْقُسْطَنْطِينِيَّةُ فَلَنِعْمَ الْأَمِيرُ أَمِيرُهَا وَلَنِعْمَ الْجَيْشُ ذَلِكَ الْجَيْشُ.
“คอนสแตนติโนเปิลจะถูกเปิด ผู้นำผู้นั้นเป็นสุดยอดผู้นำ และกองทัพนั้นเป็นสุดยอดกองทัพ”

สันติสุขจงบังเกิดแก่ซอฮาบะฮ์ผู้ทรงเกียรติ ผู้ออกไปในวิถีแห่งอัลลอฮ์ เพื่อเสาะแสวงวาจาสิทธิ์ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอบูอัยยูบ อัลอันซอรี ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้สถาปนาทางจิตวิญญาณแห่งอิสตันบูล ตลอดจนบรรดาผู้เจริญรอยตามพวกเขาเหล่านั้น และบรรดาชะฮีดและนักรบของเรา ผู้ทำให้อานาโตเลียเป็นแดนดินถิ่นอาศัยสำหรับเรา และพิทักษ์ปกป้องอย่างไม่ขาดตกบกพร่องเสมอมา

สันติสุขจงบังเกิดแก่ อ๊าก ชัมซุดดีน ผู้ทรงวิชาและภูมิปัญญา ที่ได้สลักความรักความปรารถนาที่จะพิชิตอายาโซเฟียในหัวใจของสุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ และได้เป็นอิหม่ามนำละหมาดในมัสยิดอายาโซเฟียครั้งแรก ในวันที่ 1 มิถุนายน 1453

‎فَاِذَا عَزَمْتَ فَتَوَكَّلْ عَلَى اللّٰهِۜ اِنَّ اللّٰهَ يُحِبُّ الْمُتَوَكِّل۪ينَ
“เมื่อท่านได้ตัดสินใจแล้ว ก็จงมอบหมายแด่อัลลอฮ์เถิด เพราะความจริงอัลลอฮ์รักบรรดาผู้มอบหมายต่อพระองค์”

สันติสุขจงบังเกิดแก่ผู้นำหนุ่ม สุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ ผู้สร้างเทคโนโลยีระดับแนวหน้าในยุคนั้น ผู้สร้างเรือบก ที่ด้วยความช่วยเหลือของอัลลอฮ์ ทำให้สามารถพิชิตอิสตันบูลได้ และผู้ไม่ยอมให้เมืองนี้เสียหายแม้เพียงหินก้อนก็ห้ามมิให้ทุบทำลาย

สันติสุขจงบังเกิดแก่สินาน นายช่างใหญ่และสถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่ ที่ได้สร้างหออาซานประดับมัสยิดอายาโซเฟีย ที่ยังคงตระหง่านตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา เพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษของท่าน

สันติสุขจงบังเกิดแก่พี่น้องผู้ร่วมศรัทธาจากทุกแดนดิน และผู้ที่อดทนรอเพื่อเฉลิมฉลองการเปิดมัสยิดอายาโซเฟียเพื่อประกอบศาสนกิจอีกคำรบหนึ่ง

สันติสุขพึงบังเกิดแก่บรรพบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของเรา ที่ได้อุทิศชีวิตเพื่อสัจธรรม ศีลธรรมจรรยา ธำรงความยุติธรรมในแผ่นดิน ตลอดจนความดีงามและมนุษยธรรม

สันติสุขพึงบังเกิดแก่บรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ในประเทศของเรา รวมถึงผู้นำทางความรู้ วิชาการและภูมิปัญญา และความดีงาม ตลอดจนผู้ที่ทุ่มเทความพยายามด้วยความอดทน ตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งวันนี้ เพื่อให้ของฝากอันมีค่านี้ได้รองรับผู้ละหมาดอีกครั้ง

สันติสุขจงบังเกิดแก่ประชาชนชาวตุรกี ที่มีวิชาความรู้และปัญญา ที่ได้ปลูกความหวังและความอดทน ตลอดจนบรรดาเพื่อนๆผู้ทรงวิชาและความดีงามทั้งหลาย ขอให้ได้รับความเมตตาปรานีจากองค์อภิบาลโดยทั่วกัน

กวีรจนาไว้ว่า
“อายาโซเฟียคือวิญญาณ และทิพยสถานพิเศษสำหรับเรา”
และว่า
“อายาโซเฟียจะต้องเปิดแน่นอน โอ้คนหนุ่มสาว จงรอ รอความเมตตาที่จะลงมา หลังจากฝนห่าใหญ่ จะต้องมีน้ำไหลบ่า ฉันขอเป็นเศษหญ้าบนธารน้ำนั้น ฉันไม่ต้องการสิ่งใดมากไปกว่านั้น อายาโซเฟียจะต้องเปิด ดุจดั่งทิพย์คัมภีร์ที่ไม่มีวันปิดได้”

ผู้ศรัทธาที่มีเกียรติทั้งหลาย
ด้วยอายุที่ยาวนานกว่า 15 ศตวรรษ อายาโซเฟียถือเป็นสถานแห่งวิชาการและศาสนพิธีที่มีคุณค่ายิ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ วิหารโบราณแห่งนี้บ่งชี้ถึงสภาพการเคารพสักการะอย่างยอดเยี่ยมต่ออัลลอฮ์ องค์อภิบาลแห่งสากลโลก

อายาโซเฟีย สัญลักษณ์แห่งชัยชนะ และของฝากของสุลต่านมูฮัมหมัด อัลฟาติห์ ให้มุสลิมดูแลรักษา สุลต่านได้บริจาควะกัฟให้ไว้ เป็นมัสยิดตราบจนวันฟื้นคืนชีพ

ตามหลักความเชื่อของเรา ทรัพย์วะกัฟเป็นสิ่งที่ห้ามล่วงละเมิด ไม่อาจเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากเจตนาของผู้บริจาคได้ ผู้ใดละเมิดจะถูกสาปแช่ง

ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่สุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ได้บริจาค สถานที่นี้จะไม่ใช่ทิพยสถานสำหรับชาวตุรกีเท่านั้น แต่เป็นสมบัติของประชาชาติทั้งมวลของท่านนบีมุฮัมมัด صلى الله عليه وسلم

อายาโซเฟีย เป็นสถานที่ที่ประกาศความเมตตาของอิสลามต่อสังคมโลก สุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ กล่าวกับชาวเมืองที่หนีเข้ามาหลบภัยในวิหารอายาโซเฟียภายหลังการพิชิตเพราะกลัวการลงโทษ ว่า “อย่าได้กลัวเลย นับแต่นี้ไปไม่ต้องกลัวว่าจะมีการละเมิดเสรีภาพและชีวิตของพวกท่าน ไม่มีใครถูกปล้นชิง ไม่มีใครเบียดเบียนใคร ไม่มีใครถูกลงโทษเพราะความเชื่อทางศาสนา”

ด้วยเหตุนี้ อายาโซเฟียจึงเป็นสัญลักษณ์ของการเคารพต่อความศรัทธาในศาสนาและจริยธรรมการใช้ชีวิตที่หลากหลาย

โอ้ศรัทธาชนผู้ทรงเกียรติทั้งหลาย
การเปิดอายาโซเฟียสำหรับการประกอบศาสนกิจ เป็นการแสดงถึงการเป็นทิพยสถานสำหรับมุสลิมในฐานะมัสยิดมานานถึง 500 ปี และเป็นการหวนคืนสู่สถานะเดิม

การเปิดอายาโซเฟียสำหรับการประกอบศาสนกิจ เป็นการย้ำเตือนถึงสถานภาพมัสยิดต่างๆทั่วโลก ที่กำลังโศกเศร้าเพราะการถูกกดขี่บีฑา โดยเฉพาะอย่างยิ่งมัสยิดอักซอ ที่ความหวังยังคงมั่นไม่สั่นคลอน

การเปิดอายาโซเฟียสำหรับการประกอบศาสนกิจ ถือเป็นการสืบทอดอารธรรมของเราที่มีหลักศรัทธาต่ออัลลอฮ์เป็นรากฐาน มีวิทยาการเป็นก้อนอิฐ มีจริยธรรมจรรยาเป็นพื้นปู สู่ความรุ่งเรืองรุ่งโรจน์ต่อไป

มวลมุสลิมผู้ทรงเกียรติ
อารยธรรมของเรามีมัสยิดเป็นแกนกลาง มัสยิดคือแหล่งกำเนิดของความสามัคคี ความรุ่งเรือง วิทยาการและวิชาความรู้ของเรา

อัลลอฮ์กล่าวถึงผู้มีสิทธิทำนุบำรุงมัสยิดว่า
‎”اِنَّمَا يَعْمُرُ مَسَاجِدَ اللّٰهِ مَنْ اٰمَنَ بِاللّٰهِ وَالْيَوْمِ الْاٰخِرِ وَاَقَامَ الصَّلٰوةَ وَاٰتَى الزَّكٰوةَ وَلَمْ يَخْشَ اِلَّا اللّٰهَ فَعَسٰٓى اُو۬لٰٓئِكَ اَنْ يَكُونُوا مِنَ الْمُهْتَد۪ينَ”
“แท้จริง ผู้ที่จะทำนุบำรุงบรรดามัสยิดของอัลลอฮ์นั้นคือผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และวันปรโลก และดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาต และเขามิได้ยำเกรงผู้ใดนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น ดังนั้น ชนเหล่านี้แหละจะเป็นผู้ที่อยู่ในหมู่ผู้รับคำแนะนำ”

พี่น้องทั้งหลาย
จะมีอะไรที่น่าเศร้าเสียใจมากไปกว่ามัสยิดที่หออาซานที่ไร้สรรพเสียง แท่น มิมบัรที่วังเวง ลานมัสยิดที่เงียบเหงา ไร้ผู้คน

วันนี้ มุสลิมในประเทศต่างๆทั่วโลกยังคงถูกย่ำยีอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องจากมัสยิดที่ถูกละเมิด บ้างถูกปิดตาย บ้างถูกระเบิดทำลายทิ้ง มุสลิมหลายล้านคนถูกย่ำยี

ณ ที่นี่ ข้าพเจ้าต้องการแสดงให้เห็นถึงทัศนคติที่ยอดเยี่ยมของสุลต่านมุฮัมมัด อัลฟาติห์ที่ได้ปฏิบัติต่ออายาโซเฟีย และขอเรียกร้องให้หยุดวาทกรรม การกระทำ และการประทุษร้ายต่ออิสลาม

พี่น้องทั้งหลาย
ในฐานะผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ที่ทราบถึงเป้าหมายอันยิ่งใหญ่และภาระอันบริสุทธิ์ที่มีต่ออายาโซเฟีย หน้าที่ที่ยิ่งใหญ่สำหรับเราในวันนี้คือการเผยแพร่เมตตาธรรม ความเห็นอกเห็นใจ สันติภาพ ความสงบสุขและความดีงามไปให้ทั่วหล้า เพราะรากเดิมของอิสลามคือสันติภาพ และความรอดพ้น

นี่เป็นเหตุผลของการส่งท่านนบีแห่งความเมตตาและบรรดาศาสนทูตผู้ทรงเกียรติ صلوات الله عليهم أجمعين

ดังนั้น สิ่งที่เราต้องทำ คือการทำงานทั้งกลางวันและกลางคืนเพื่อให้แน่ใจว่าความเมตตากรุณา ความถูกต้องและความยุติธรรม ได้มีชัยมีอำนาจในโลกนี้

เราต้องเป็นความหวังเพื่อความรอดของมนุษยชาติที่อยู่ในวงจรของปัญหาที่ยิ่งใหญ่ เราจำเป็นต้องรักษาความยุติธรรมในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ล้อมรอบไปด้วยการกดขี่ ความอยุติธรรม น้ำตา และความสิ้นหวัง

เราจำเป็นต้องสดับรับฟังคำเรียกร้องที่ว่า “ มุสลิมเอย ! จงทำความเข้าใจอิสลามในความหมายที่ถูกต้องและสวยงาม จงใช้ชีวิต และเผยแพร่ศาสนา แม้ว่ามีใครก็ตามที่จะมาฆ่าท่าน แต่เขากลับได้รับพบทางรอดเพราะท่าน !

เราเชื่อตามที่อาลีกล่าวไว้ว่า“ ทุกคนเป็นพี่น้องกันในศาสนาของท่าน หรือเท่าเทียมกับท่านในความเป็นมนุษย์ ” เราเชื่อว่าโลกเป็นบ้านของเราที่ใช้ร่วมกัน เราเชื่อว่าสมาชิกทุกคนในบ้านนี้ โดยไม่คำนึงถึงศาสนา เชื้อชาติ สีผิวหรือประเทศ มีสิทธิ์ที่จะอยู่อย่างอิสระ และอย่างมนุษย์ อย่างปลอดภัยในกรอบของค่านิยมสากล และหลักการทางศีลธรรม

ภายใต้โดมแห่งอายาโซเฟีย เราเรียกร้องให้มนุษยชาติทุกคนรักษาความยุติธรรม ความสงบ ความเห็นอกเห็นใจ และความชอบธรรม

เราเรียกร้องให้ปกป้องคุณค่าสากลและหลักการทางศีลธรรมที่ปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และทำให้เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเกียรติที่สุด

ในฐานะศาสนิกของศาสนาสุดท้ายและศาสนาที่แท้จริงซึ่งประกาศว่า ชีวิตของแต่ละคน โดยไม่คำนึงถึงเพศและอายุนั้น ไม่สามารถล่วงละเมิดได้ เราขอให้มนุษยชาติให้ความร่วมมือและร่วมมือกันในการปกป้องชีวิต ศาสนา สติปัญญา ทรัพย์สินและเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ทุกคน

เพราะในวันนี้ เรามีความจำเป็นยิ่งกว่าในยุคใดๆ ต่อการบูรณาการหัวใจกับสามัญสำนึกเข้าด้วยกัน บูรณาการระหว่างเหตุผลกับความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเข้าด้วยกัน สร้างความใกล้ชิดระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

ในตอนท้ายของคุตบะฮ์ ข้าพเจ้าเรียกร้องสังคมโลกจากสถานที่อันทรงเกียรตินี้

โอ้มนุษยชาติทั้งหลาย !

ประตูของมัสยิดอายาโซเฟียจะยังคงเปิดให้แก่บ่าวทุกคนของอัลลอฮ์โดยไม่เลือกปฏิบัติ เหมือนประตูมัสยิดสุไลมานี มัสยิดสะลีมะยะฮ์ มัสยิดสุลต่านอาหมัด และมัสยิดอื่น ๆ ของเรา

การเดินทางสู่ความศรัทธา การนมัสการ ประวัติศาสตร์และการไตร่ตรองในบรรยากาศทางจิตวิญญาณของมัสยิดอายาโซเฟียจะดำเนินต่อไปอย่างไม่ขาดสาย

ขออัลลอฮ์ผู้ทรงอำนาจ โปรดช่วยให้เราสามารถรับใช้มัสยิดอายาโซเฟียที่มีสถานะพิเศษในประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์ของเรา และคุณค่าพิเศษในหัวใจของเรา ขออัลลอฮโปรดอำนวยให้เราให้เกียรติที่เหมาะสมคู่ควรกับมัสยิดพิเศษเฉกเช่นอายาโซเฟีย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาผู้ที่ทุ่มเทความพยายามเพื่อปกป้องวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของเรา และการนำมัสยิดอายาโซเฟียคืนสู่สถานะเดิม ขอให้อัลลอฮ์รับพวกเขาให้อยู่ในกลุ่มบ่าวผู้ประเสริฐของพระองค์ ที่พระองค์รักและพึงพอใจต่อพวกเขา

■ ต้นฉบับภาษาอาหรับ
https://www.aa.com.tr/ar/%D8%AA%D8%B1%D9%83%D9%8A%D8%A7/%D9%86%D8%B5-%D8%A3%D9%88%D9%84-%D8%AE%D8%B7%D8%A8%D8%A9-%D8%AC%D9%85%D8%B9%D8%A9-%D9%81%D9%8A-%D8%A2%D9%8A%D8%A7-%D8%B5%D9%88%D9%81%D9%8A%D8%A7-%D8%A8%D8%B9%D8%AF-86-%D8%B9%D8%A7%D9%85%D8%A7-%D9%88%D8%AB%D9%8A%D9%82%D8%A9/1921128

■ ต้นฉบับภาษาอังกฤษ
https://www.trtworld.com/magazine/hagia-sophia-friday-prayer-full-transcript-of-the-sermon-38377?fbclid=IwAR0tetlAn58Fs1dYaHffwoirTRanoL5YUAaIHD_F4jqZzp2h-YqcRrJ8nxc


แปลโดย Ghazali Benmad