เล่าเรื่อง “ปาเลสไตน์” ผ่านแผนที่ [ ตอนที่ 2 ]

หากดูตามเนื้อหาภาษาอังกฤษที่ปรากฏในแผนที่ข้างใต้บทความนี้ เพื่อน ๆ ก็คงเห็นเหมือนผมว่ามันมี 2 เรื่องสำคัญที่เราควรต้องทำความเข้าใจ เรื่องแรกคือคำว่า British Mandate หรือ “ดินแดนใต้อาณัติของอังกฤษ” ซึ่งในที่นี้ก็คือ ‘ปาเลสไตน์’ อีกเรื่องก็คือคำว่า “Jewish Immigration from Europe” หรือชาวยิวที่อพยพมาจากยุโรป

ขออธิบายเรื่อง “ดินแดนใต้อาณัติของอังกฤษ” ก่อนครับ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาติมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทำข้อตกลงและสัญญาเกี่ยวกับอาณาเขตดินแดนภายในอาณาจักรออตโตมันกับหลายฝ่าย ถึงแม้ว่าทุกข้อตกลงจะมีจุดร่วมคือการแบ่งแยกดินแดนภายในของอาณาจักรออตโตมันเดิม ทว่าแต่ละชาติต่างไม่ลงรอยกันในเรื่องรูปแบบการปกครองของพื้นที่ดังกล่าว

ดังจะเห็นได้จากกรณีการตัดสินเรื่องดินแดนปาเลสไตน์ว่าจะให้ฝ่ายใดครอบครอง สนธิสัญญาที่ลงนามโดย เซอร์เฮนรี่ แม็กมาฮอน (Sir. Henry McMahon) ข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษที่ทำกับชารีฟ ฮุสเซน เจ้าผู้ครองดินแดนฮิยาซ ระบุว่า อังกฤษจะให้เอกราชแก่ชาวอาหรับในดินแดนหลายส่วนซึ่งรวมถึงปาเลสไตน์ หากชาวอาหรับช่วยอังกฤษทำสงครามรบกับเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 1

ในขณะเดียวกันเมื่อปี ค.ศ.1917 ลอร์ด อาร์เธอร์ เจมส์ บัลโฟร์ (Lord Arthur James Balfour) รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษในสมัยนั้น ก็เป็นผู้ลงนามใน “คำประกาศบัลโฟร์” มอบดินแดนปาเลสไตน์ให้เป็นที่พักพิงถาวรของชาวยิว

แต่ในข้อตกลงไซคส์ – พิโกต์ (Sykes – Picot Agreement) อังกฤษและฝรั่งเศสตกลงกันว่าจะให้ดินแดนปาเลสไตน์เป็น “ดินแดนสากล” (international zone)

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ก่อนที่จะเกิดการจัดตั้งรัฐอิสราเอล เขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซ่าในปัจจุบัน ดินแดนปาเลสไตน์ได้เป็นประเด็นที่ชาติมหาอำนาจถกเถียงกันในเรื่องของกรรมสิทธิ์ครอบครองดินแดน โดยที่เสียงส่วนใหญ่ของชาวอาหรับไม่เคยได้รับรู้เรื่องราวความเป็นไปดังกล่าว

ในขณะที่อังกฤษและฝรั่งเศสต้องการรักษาอำนาจอิทธิพลทางการเมืองและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วยการรักษาดินแดนอาณานิคมของตน สหรัฐอเมริกาที่เริ่มเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1917 กลับสนับสนุนให้ดินแดนอาณานิคมมีสิทธิในการกำหนดชะตาชีวิตตนเอง (self-determination) ตามหลักการ 14 ข้อของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา วูดโรล์ วิลสัน

แนวคิดที่ขัดแย้งกันของชาติมหาอำนาจได้คลี่คลายลงหลังการประชุมสันติภาพที่ปารีส (Paris Peace Conference) ในปี ค.ศ. 1919 ซึ่งรัฐบาลต่าง ๆ ตกลงกันบริหารอาณาบริเวณเหล่านี้ในนามของสันนิบาตชาติ เรียกว่า “ดินแดนใต้อาณัติ” (mandate) ซึ่งได้รับการรับรองจากมาตรา 22 (Article 22) ของกติกาสันนิบาตชาติ (The Covenant of the League of Nations) โดยมีคณะกรรมการจัดการดินแดนใต้อาณัติเป็นผู้ดูแล

ต่อมาได้มีการทำสนธิสัญญาแซฟร์ (Treaty of Sèvres) ขึ้น โดยกำหนดให้อังกฤษได้รับมอบดินแดนปาเลสไตน์และเมโสโปเตเมียให้ไปอยู่ใต้อาณัติ ส่วนฝรั่งเศสได้รับมอบดินแดนซีเรีย (ซึ่งรวมเลบานอนด้วย) มาอยู่ภายใต้อาณัติของตนตามมาตรา 22 ของกติกาสันนิบาตชาติและมติในที่ประชุมซาน รีโม (San Remo Conference) ของปี ค.ศ. 1920

อันที่จริงแล้ว ดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติก็คือข้อตกลงระหว่างประเทศในการบริหารดินแดนหนึ่งในฐานะตัวแทนของสันนิบาตชาติก่อนที่ดินแดนเหล่านั้นจะมีความพร้อมในการเป็นรัฐเอกราช ดังนั้นอังกฤษจึงไม่มีสิทธิ์ที่จะยกดินแดนปาเลสไตน์ (ซึ่งอยู่ในอาณัติของอังกฤษขณะนั้น) ไปให้ใคร

หน้าที่อังกฤษตามมาตรา 22 ของสันนิบาตชาติคือการส่งมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้กับเจ้าของดินแดนเมื่อเขาพร้อมที่จะจัดตั้งรัฐชาติสมัยใหม่ ดังนั้น การที่อังกฤษยกดินแดนปาเลสไตน์ให้ชาวยิวผ่านคำประกาศบัลโพร์จึงเป็นเรื่องผิดกฏหมายมาตั้งแต่ต้น

เรื่องที่ 2 คือ “Jewish Immigration from Europe” หรือชาวยิวที่อพยพมาจากยุโรป

อย่างที่ได้เรียนรับใช้ไปก่อนหน้านี้ ปาเลสไตน์ไม่ใช่ดินแดนที่ว่างเปล่า แต่เป็นดินแดนที่มีชาวอาหรับปาเลสไตน์อาศัยอยู่แล้วเป็นจำนวนมาก พวกเขามีพื้นที่ทำเกษตรกรรม มีตลาดร้านค้า มีเมือง มีหมู่บ้าน มีถนนหนทาง มีการค้าขายและการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในส่วนอื่น ๆ ของโลก

ตามสถิติที่มีการศึกษาไว้ ในปี 1878 ชาวปาเลสไตน์มีจำนวนประชากรมากถึง 462,465 คน ในจำนวนนี้ร้อยละ 96.8 คือชาวอาหรับที่เป็นมุสลิมและคริสเตียน มีชาวยิวอาศัยอยู่เพียงร้อยละ 3.2 เท่านั้น

แต่ระหว่างปี ค.ศ. 1882-1914 ชาวยิวจากยุโรปจำนวน 65,000 คนเริ่มอพยพเข้ามา ชาวยิวเริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้นภายใต้การปกครองของเจ้าอาณานิคมอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และต่อมาอังกฤษได้ออกคำประกาศบัลฟอร์ซึ่งให้สัญญาจะจัดตั้งดินแดนของชาวยิวขึ้นในปาเลสไตน์

มาตรการดังกล่าวนี้ขัดแย้งกับคำสัญญาก่อนหน้านั้นของอังกฤษที่ทำขึ้นในปี ค.ศ. 1915 ซึ่งอังกฤษสัญญาว่าจะมอบสิทธิในการปกครองตนเองให้ชาวอาหรับที่อยู่ในภูมิภาคนั้นทั้งหมดหากอาหรับให้ความร่วมมือกับอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่ 1

ในปี 1922 ประชากรอาหรับมุสลิมและคริสเตียนมีจำนวน 757,182 หรือคิดเป็นร้อยละ 87.6 ของประชากรทั้งหมด ส่วนชาวยิวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11 ในช่วงทศวรรษที่ 1920 ชาวปาเลสไตน์เริ่มเห็นว่าแผ่นดินของพวกเขาถูกฉกชิงไปโดยชาวยุโรป การปะทะกันครั้งแรกระหว่างชาวปาเลสไตน์และชาวยิวจึงเริ่มต้นขึ้นและยังเป็นเช่นนั้นเรื่อยมา

ระหว่างปี ค.ศ. 1920-1931 ชาวยิวจำนวน 108,825 คนได้อพยพเข้ามาในดินแดนปาเลสไตน์ จนกระทั่งช่วงต้นของทศวรรษ 1930 จำนวนประชากรยิวในปาเลสไตน์ยังอยู่ที่ไม่เกินร้อยละ 17 (จำนวนประชากรทั้งหมดในปาเลสไตน์ในปี 1930 อยู่ที่ 1,035,154 คน คิดเป็นชาวอาหรับมุสลิมและคริสเตียนจำนวนร้อยละ 81.6 และชาวยิวจำนวนร้อยละ 16.9)

แต่การขึ้นมามีอำนาจของฮิตเลอร์ในเยอรมันได้ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป

ในเวลาเพียง 5 ปี ระหว่างปี 1932-1936 ชาวยิวจำนวน 174,000 คนได้หลั่งไหลกันเข้ามาในปาเลสไตน์ ทำให้จำนวนชาวยิวเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ

ระหว่างปี ค.ศ. 1937-1945 ชาวยิวอพยพเข้ามาอีก 119,800 คน ในขณะที่ชาวโลกพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความน่าสะพรึงกลัวของการฆ่าล้างชาวยิวของนาซีเยอรมัน ความพยายามที่จะทำให้ปาเลสไตน์กลายเป็นดินแดนของชาวยิวก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

ในปี 1947 ก่อนที่รัฐอิสราเอลจะถูกสถาปนาขึ้น โครงสร้างประชากรในดินแดนปาเลสไตน์ได้เปลี่ยนไปมาก จากแต่ก่อนตอนปี 1918 ชาวยิวมีจำนวนเพียงแค่ร้อยละ 6 ของประชากรทั้งหมด แต่ถัดมาอีกเพียงแค่ 29 ปี หรือในปี 1947 ประชากรชาวยิวได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 33 (ดูแผนที่ข้างใต้)

นี่แหละครับผลจากการที่ดินแดนปาเลสไตน์ตกเป็นดินแดนใต้อาณัติของอังกฤษอยู่นานหลายปี

ติดตามตอนต่อไป


โดย Srawut Aree

12 กุมภาพันธ์ รำลึกวันเสียชีวิตอิหม่ามหะซัน อัลบันนา : เหตุผลของคนรังเกียจหะซัน บันนา

ชัยค์มูฮัมหมัด ฆอซาลี กล่าวในหนังสือ ”  دستور الوحدة الثقافية بين المسلمين   ธรรมนูญแห่งเอกภาพทางวิชาการของสังคมมุสลิม” ว่า

“อิหม่ามหะซัน  บันนา ผู้ซึ่งข้าพเจ้าและใครต่อใครอีกจำนวนมาก เห็นว่า ท่านเป็น “มุจัดดิด-นักปฏิรูป” ในฮิจเราะฮ์ศักราชศตวรรษที่ 14″

“ท่านวางหลักการจำนวนหนึ่ง ที่จะทำให้ความแตกแยกจะกลายเป็นความสามัคคี ทำให้เป้าหมายแจ่มชัดในความขมุกขมัว และนำมุสลิมหวนคืนสู่คัมภีร์ของพระเจ้าและซุนนะฮ์ของท่านศาสดาของพวกเขา”

“หะซัน อัลบันนา ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของบรรดาผู้นำอิสลามในอดีต อัลลอฮ์ได้ให้พรสวรรค์ที่หลายคนมีมารวมกันในตัวท่านคนเดียว ท่านอ่านอัลกุรอานเป็นกิจวัตรด้วยสำเนียงไพเราะเสนาะโสต ทั้งยังสามารถอรรถาธิบายได้ช่ำชองประดุจดั่งอัตตอบารีย์ หรือกุรตุบีย์ และโดดเด่นเป็นพิเศษในการทำความเข้าใจความหมายที่ยากที่สุดและจากนั้นนำเสนอแก่ผู้คนในลักษณะที่ง่ายและเข้าใจได้ทั่วกัน”

“ในขณะเดียวกัน วิธีการอบรมสั่งสอนศิษย์ผู้ติดตามท่าน และการจุดไฟรักต่ออัลลอฮ์ของท่าน ทำให้นึกถึงหาริษ อัลมุหาซิบีย์ หรืออบูฮามิด อัลฆอซาลี”

“อิหม่ามอัลบันนา เข้าใจประวัติศาสตร์อิสลามอย่างครอบคลุมทะลุปรุโปร่ง สามารถเข้าใจปัจจัยความรุ่งเรืองและความตกต่ำ น้ำขึ้นน้ำลง ในยุคต่างๆของอิสลาม และมีความรู้ที่ลึกอย่างที่สุดเกี่ยวกับโลกอิสลามในปัจจุบัน และการสมคบคิดของต่างชาติในการยึดครองโลกมุสลิม”

“ท่านได้ก่อตั้งกลุ่มขึ้นมา เพื่อกระทุ้งทำลายอาณานิคมทางวัฒนธรรมและทางทหาร และใส่วิญญาณแห่งชีวิตเข้าสู่เรือนร่างที่ไม่ไหวติง ทำให้อเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส

ส่งเอกอัครราชทูตไปยังรัฐบาลของกษัตริย์ฟารุกเรียกร้องให้ยุบกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ในที่สุดกลุ่มก็ถูกยุบ และอิหม่ามหนุ่มก็ถูกสังหาร”

“หะซัน บันนา เริ่มต้นทำงานจากศูนย์  ไร้เสียงโหวกเหวก เพื่อปลุกอิสลามที่หลับใหลอยู่ในหัวใจได้ตื่นฟื้นคืนมา รวมถึงการกำกับทิศทางการทำงาน”

“เกียรติศักดิ์ของท่านเพียงพอแค่เพียงผลงานการสร้างกลุ่มคนหนุ่มที่ทำลายค่ายทหารอังกฤษที่ตั้งอยู่ในแนวคลองสุเอซ และคอยติดตามโจมตีจนกระทั่งอังกฤษถอนตัวออกไปจากอียิปต์”

“เกียรติศักดิ์ของท่านเพียงพอแค่เพียงผลงานการสร้างคนหนุ่มที่รบปะทะกับยิวในทุกสมรภูมิ สามารถยัดเหยียดความปราชัยและทำให้ยิวต้องล่าถอยทุกครั้งไป”

“นี่คือเหตุผลที่ทำให้ลัทธิล่าอาณานิคมยืนยันที่จะต่อต้านสำนักนี้ไม่ว่า ณ ที่ใดๆ ในโลก”


โดย Ghazali Benmad

มหัศจรรย์​แห่งผู้​สร้าง : อูฐ.. สุดยอดพาหนะ​แห่งทะเลทราย

ทะเลทรายดินแดนที่มีอุณหภูมิสูงถึง 55 องศาเซลเซียส ไม่ต่างจากเตาอบขนาดใหญ่บนโลกใบนี้ พื้นทรายที่แผ่กว้างสุดลูกหูลูกตา นอกจากจะบรรจุความร้อนไว้เต็มที่แล้ว ก็ยังอาจมีพายุทรายที่พัดอย่างรุนแรง จนสามารถทำอันตรายต่อดวงตาได้ นอกจากนี้ พายุทรายยังอาจพัดทรายเข้าจมูกจนถึงหายใจไม่ได้อีกด้วย บางคนจึงเรียกทะเลทรายว่าแดนมรณะ ซึ่งก็น่าจะจริง โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ไม่มีอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการเดินทางฝ่าทะเลทราย

พาหนะที่ใช้ในทะเลทรายจำเป็นต้องถูกออกแบบมาอย่างเฉพาะเจาะจง มีการป้องกันเป็นอย่างดี ถึงจะใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมอันหฤโหดเช่นนี้ มันจะต้องถูกออกแบบมาให้ใช้ได้ในสภาพอากาศที่ร้อนจัดและมีการป้องกันไม่ให้ทรายเข้าไปสร้างความเสียหายได้เมื่อเกิดพายุทราย

นอกจากนี้ ผู้ที่คิดจะสร้างพาหนะที่เดินทางฝ่าทะเลทรายไปได้โดยลำพัง จะต้องทำให้มันเดินทางได้ไกลๆโดยใช้พลังงานเพียงน้อยนิดและไม่ต้องเติมน้ำมันบ่อยๆ สิ่งที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเหมาะสมดังกล่าวไม่ใช่ยานยนต์ชนิดใดๆเลย แต่เป็นสัตว์ที่เรียกว่า”อูฐ” นั่นเอง

อูฐรับใช้ชาวทะเลทรายมาอย่างต่อเนื่องยาวนานหลายศตวรรษและเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของทะเลทราย

ความร้อนในทะเลทรายเปรียบเสมือนเพชฌฆาตที่คร่าทุกชีวิตได้อย่างง่ายดาย นอกจากกิ้งก่าและแมลงตัวเล็กๆแล้ว ก็ไม่มีสิ่งมีชีวิตอื่นใดที่จะมีชีวิตอยู่รอดกลางทะเลทรายได้อีกนอกจาก​อูฐ

อูฐเป็นสัตว์ใหญ่ชนิดเดียวที่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ท่ามกลางความหฤโหดของสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้ อัลเลาะห์ซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงสร้างอูฐให้มีคุณสมบัติพิเศษในการที่จะมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายสุดขีดแบบนี้ พระองค์ไม่ได้ทรงสร้างมันขึ้นมาเพื่อประดับประดาทะเลทรายเท่านั้น แต่จะอำนวยให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากมันอย่างมากมาย ดังที่ทรงยกสิ่งถูกสร้างต่างๆมากล่าวไว้ในพระคัมภีร์อัลกุรอานให้มนุษย์ได้คิดใคร่ครวญพิจารณาถึงการมีอยู่ของพระผู้ทรงสร้าง  หนึ่งในนี้คืออูฐ

(أَفلا يَنظُرُونَ إِلى الإِبِلِ كَيْفَ خُلِقَتْ)

พวกเขาไม่พิจารณาดูอูฐดอกหรือว่ามันถูกวันเกิดมาอย่างไร (อัล-ฆอซียะห์ : 17)

หากเราได้พิจารณาดูอูฐดังที่พระผู้เป็นเจ้าตรัสไว้ จะพบว่าคุณสมบัติที่พระผู้สร้างมอบให้แก่มันนั้น มีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตอยู่ในทะเลทรายอย่างน่าอัศจรรย์ เราจะเห็นถึงรายละเอียดต่างๆของความมหัศจรรย์แห่งการสร้างที่สำคัญที่สุดเพื่อใช้ชีวิตท่ามกลางความร้อนระอุก็คือการดื่มน้ำเพื่อดับกระหาย ซึ่งน้ำและอาหารคือสิ่งที่หาได้ยากยิ่งท่ามกลางทะเลทรายอันเวิ้งว้าง ฉะนั้นสัตว์ชนิดใดก็ตามที่จะมีชีวิตอยู่ได้ภายใต้สภาพแวดล้อมแบบนี้ จะต้องมีความทนทานต่อความหิวความกระหายได้อย่างทรหดอดทนที่สุด และแน่นอนอูฐถูกสร้างให้เป็นสัตว์ที่มีความทรหดที่สุดชนิดหนึ่งในโลก

อูฐสามารถมีชีวิตอยู่ได้ท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุโดยไม่ต้องกินและดื่มเลยติดต่อกันเป็นเวลา 8 วัน และเมื่อใดก็ตามที่มันไปเจอแหล่งน้ำอันแสนจะหายากกลางทะเลทราย มันก็มีความสามารถในการดื่มกินเข้าไปเป็นจำนวนมาก เพื่อสำรองไว้เป็นเสบียง อูฐสามารถกินน้ำได้มากมายคิดเป็นน้ำหนักถึง 1 ใน 3 ของน้ำหนักตัวของมันภายในเวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้นนั่นหมายถึงว่ามันกินน้ำได้มากถึง 130 ลิตรภายในครั้งเดียว อวัยวะส่วนที่อูฐใช้เก็บน้ำก็คือโหนกซึ่งมีไขมันสะสมอยู่มากถึง 40 กิโลกรัม และโหนกนี้แหละที่ทำให้อูฐอยู่ในทะเลทรายได้เป็นวันๆโดยที่ไม่ต้องกินหรือดื่มอะไรเลย

อาหารกลางทะเลทรายส่วนใหญ่จะแห้งและมีหนามแหลมคม แต่พระผู้เป็นเจ้าก็ทรงสร้างกระเพาะอาหารและระบบการย่อยอาหารของอูฐให้รองรับกับสภาพอาหารที่โหดร้ายต่ออวัยวะภายในเช่นนี้ได้ ฟันและปากของมันถูกสร้างมาให้เคี้ยวหนามที่แหลมคม กระเพาะก็ถูกออกแบบมาให้ทนทานและย่อยกิ่งไม้ได้แทบทุกชนิดที่มีในทะเลทราย

ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ความอันตรายอีกประการหนึ่งของทะเลทรายก็คือพายุทราย เมื่อต้องเผชิญกับพายุทะเลทรายที่มีทรายเม็ดเล็กๆนับล้าน ซึ่งอาจทำให้ดวงตาบอดได้ แต่อัลเลาะห์ผู้​ทรงเมตตาได้สร้างระบบป้องกันดวงตาจากเม็ดทรายให้กับอูฐ โดยให้อูฐมีเปลือกตาที่พิเศษกว่าสัตว์อื่นคือ ให้เปลือกตาที่ปิดลงมากั้นทรายจำนวนมากจากพายุนั้นทนทานและปกป้องดวงตาของมันอย่างปลอดภัย ยิ่งไปกว่านั้นเปลือกตาของมันยังมีลักษณะโปร่งใส เพื่อให้มันสามารถมองเห็นได้ แม้ในขณะที่ปิดเปลือกตา ทั้งนี้เพื่อป้องกันเม็ดทรายมิให้เข้ามาทำลายดวงตา นอกจากนี้ยังให้มันมีขนตาที่ยาวและหนาเป็นตัวช่วยอีกทางหนึ่งด้วย

จมูกของอูฐก็ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษแบบที่สัตว์ชนิดอื่นไม่สามารถเลียนแบบได้อีกเช่นกัน โดยเมื่อมีความจำเป็นต้องเผชิญกับพายุทะเลทราย จมูกของมันจะสามารถยื่นมาปิดรูจมูกได้สนิทจนเม็ดทรายจากพายุไม่สามารถเล็ดลอดผ่านเข้าไปได้

สิ่งที่เป็นอันตรายที่สุดของพาหนะที่เดินทางในทะเลทรายก็คือการติดหล่ม ซึ่งทำให้เคลื่อนตัวไปไหนไม่ได้อีกต่อไปแต่อูฐปลอดจากความเสี่ยงนี้ ถึงแม้ว่าในบางครั้งมันต้องบรรทุกสัมภาระหนัก 100 กิโลกรัม

ทั้งนี้เพราะเท้าของอูฐได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อใช้เดินบนทรายโดยเฉพาะ โดยให้มีนิ้วเท้าที่มีขนาดใหญ่ซึ่งใช้งานได้เหมือนกับรองเท้าที่ใช้ใส่เดินบนหิมะ ทำให้เท้าของอูฐไม่จมลงในพื้นทราย ขาที่ยาวทำให้ลำตัวของอูฐอยู่ห่างจากพื้นทรายที่ร้อนระอุ ลำตัวของอูฐมีขนที่แข็งและดกหนาเพื่อป้องกันจากแสงแดดที่แผดเผา แล้วเมื่อตกค่ำก็ช่วยป้องกันมันจะอากาศที่หนาวเย็นลง บางส่วนบนผิวหนังของอูฐถูกสร้างให้มีความหนาเพื่อเป็นฉนวนกันความร้อน ทำให้มันสามารถนั่งอยู่บนผืนทรายที่ร้อนได้ จุดที่เป็นหนังหนาอยู่นี้ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังจากการนั่งหลายๆครั้ง จนเกิดเป็นหนังหนาด้านขึ้น แต่มันมีอยู่แล้วตั้งแต่มันคลอดออกมา การสร้างที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเฉพาะเจาะจงเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันถึงความสมบูรณ์ของการสร้างของพระผู้สร้าง เมื่อเราพิจารณาถึงลักษณะเฉพาะของอูฐด้านต่างๆ เช่น ระบบพิเศษที่ถูกสร้างให้กับอูฐให้ทนต่อความกระหายน้ำ

โหนกที่ทำให้มันเดินทางได้โดยไม่ต้องกินอาหารและน้ำ

โครงสร้างของเท้าที่ทำให้เท้าไม่จมลงในทราย หนังตาที่ใสและขนตาที่ปกป้องดวงตาของอูฐจากเม็ดทราย

จมูกที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อป้องกันไม่ให้ทรายที่พัดมากับพายุเข้าไปได้

โครงสร้างของริมฝีปากและฟันที่ทำให้อูฐกินกิ่งไม้ที่แข็งและแหลมคมได้ ระบบการย่อยที่สามารถย่อยได้ทุกอย่าง

หนังหนาที่เป็นเหมือนฉนวนกันผิวหนังจากความร้อนระอุของผืนทราย

ขนที่ถูกออกแบบสร้างมาอย่างพิเศษที่ช่วยป้องกันทั้งอากาศร้อนและหนาว

สิ่งต่างๆที่เป็นปรากฏการณ์เหล่านี้ทฤษฎีวิวัฒนาการไม่สามารถให้คำตอบได้ แต่สิ่งเหล่านี้คือความจริงที่เป็นหลักฐานอันชัดเจนที่ชี้ให้เห็นถึงความสามารถอันล้ำเลิศเหนือคำบรรยายใดๆ อัลลอฮ ซุบหานะฮูวะตะอาลา ผู้ทรงสร้างอูฐเพื่อให้มันเป็นสุดยอดพาหนะกลางทะเลทราย เพื่ออำนวยให้มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากมันด้วยความเมตตาของพระองค์และเพื่อเป็นหลักฐานอันแจ้งชัดถึงการมีอยู่และความยิ่งใหญ่ของพระองค์


อ้างอิง

http://midad.com/article/219378/%D8%A7%D9%84%D8%A5%D8%B9%D8%AC%D8%A7%D8%B2-%D8%A7%D9%84%D8%B9%D9%84%D9%85%D9%8A-%D9%81%D9%8A-%D9%82%D9%88%D9%84%D9%87-%D8%AA%D8%B9%D8%A7%D9%84%D9%89-%D8%A3%D9%81%D9%84%D8%A7-%D9%8A%D9%86%D8%B8%D8%B1%D9%88%D9%86-%D8%A5%D9%84%D9%89-%D8%A7%D9%84%D8%A5%D8%A8%D9%84-%D9%83%D9%8A%D9%81-%D8%AE%D9%84%D9%82%D8%AA?fbclid=IwAR1AysW1O51NBnRj-X-cYKKMfYKLn3JO_7A4agmEAJG5-FfOsrPYoHHQYRU

แปลโดย Ismail Rao

ความลับที่ประเสริฐสุด

อิมามชาฟิอีย์ رحمه الله กล่าวว่า

 คุณภาพของคน พิสูจน์ได้จาก 3 ประการ       

1.             ปกปิดความยากจน จนกระทั่งผู้คนนึกว่า เขารวย          

2.             ปกปิดความโกรธเคือง จนกระทั่งผู้คนเข้าใจว่า เขาพอใจ           

3.             ปกปิดความลำบาก จนกระทั่งผู้คนเข้าใจว่าเขาสุขสบาย

*‏قال الإمام الشافعي :

[جوهر المرء في ثلاث :

كتمان الفقر؛ حتى يظن الناس من عفتك، أنك غني –

وكتمان الغضب؛ حتى يظن الناس أنك راض –

[ وكتمان الشدة؛ حتى يظن الناس أنك متنعم –

اللهم أنعم علينا برضاك


ที่มา fb : Dr. Tareq AlSuwaidan

วิธีเลี้ยงลูกของท่านนบี และการประยุกต์ใช้ของบรรพชนสะลัฟซอและห์ และข้อคิดของอุลามาอ์ผู้ทรงธรรม [ตอนที่ 2]

การเลี้ยงดูลูกให้เป็นคนดี

จะรอให้ลูกเติบใหญ่ก่อนไม่ได้

หรือแม้แต่จะรอให้ลูกอยู่ในครรภ์ก็ไม่ได้

แต่จะต้องเริ่มตั้งแค่การหาคู่ครอง

อิสลามสอนว่า การเลี้ยงดูลูกให้เป็นคนดี จะต้องเริ่มตั้งแต่การแสวงหาคู่ครองที่เป็นคนดี มีคุณธรรมประจำใจ

รอให้มีลูกก่อน… ก็อาจจะสายเกินไป

ทุกฝ่าย ทั้งชายหญิง ควรพิจารณาคุณสมบัติของคู่ชีวิตตรงที่”ความเป็นคนดีมีคุณธรรม” มากกว่าเหตุผลอื่นๆ

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«إِذَا خَطَبَ إِلَيْكُمْ مَنْ تَرْضَوْنَ دِينَهُ وَخُلُقَهُ فَزَوِّجُوهُ، إِلَّا تَفْعَلُوا تَكُنْ فِتْنَةٌ فِي الْأَرْضِ وَفَسَادٌ عَرِيضٌ».  رواه الترمذي

 “เมื่อมีผู้ที่พวกท่านพอใจในศาสนาและมารยาทของเขามาสู่ขอบุตรสาวของท่าน พึงแต่งงานแก่เขาเถิด มิเช่นนั้นจะก่อให้เกิดฟิตนะฮฺบนหน้าแผ่นดินและเป็นการบ่อนทำลายอย่างถ้วนหน้า”  (หะดีษรายงานโดยอัตติรมิซีย์ )

تُنْكَحُ الْمَرْأَةُ لِأَرْبَعٍ : لِمَالِهَا ، وَلِحَسَبِهَا ، وَلِجَمَالِهَا ، وَلِدِينِهَا ، فَاظْفَرْ بِذَاتِ الدِّينِ تَرِبَتْ يَدَاكَ  . رواه البخاري

“สตรีจะถูกแต่งงาน ด้วยเหตุ 4 ประการ  เพราะทรัพย์ของนาง เพราะความดีของนาง เพราะความงามของนาง และเพราะศาสนาของนาง ดังนั้น ท่านจงเลือกสตรีที่มีศาสนาเถิด ท่านจะได้ดี ” (รายงานบุคอรีย์และมุสลิม)


ย่อยหนังสือ

منهج التربية النبوية للطفل مع نماذج تطبيقية من حياة السلف الصالح وأقوال العلماء العاملين

“ว่าด้วยวิธีเลี้ยงลูกของท่านนบี และการประยุกต์ใช้ของบรรพชนสะลัฟซอและห์และข้อคิดของอุลามาอ์ผู้ทรงธรรม”

แปลสรุปโดย Ghazali Benmad

วิธีเลี้ยงลูกของท่านนบี และการประยุกต์ใช้ของบรรพชนสะลัฟซอและห์และข้อคิดของอุลามาอ์ผู้ทรงธรรม [ตอนที่ 1 ]

منهج التربية النبوية للطفل مع نماذج تطبيقية من حياة السلف الصالح وأقوال العلماء العاملين

“ว่าด้วยวิธีเลี้ยงลูกของท่านนบี และการประยุกต์ใช้ของบรรพชนสะลัฟซอและห์และข้อคิดของอุลามาอ์ผู้ทรงธรรม”

หนังสือที่ซัยยิดอบุลหะซัน อัลนัดวีย์ แนะนำว่า ครอบครัวมุสลิมควรมีไว้ทุกบ้าน และควรจัดรายการเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ

อินชาอัลลอฮ์

ตอบโจทย์การแก้ปัญหาสังคมแบบยั่งยืนตามแนวทางของอัลลอฮ์ที่ให้แก้ปัญหาทุกอย่างด้วยการพัฒนาคน

إِنَّ اللّهَ لاَ يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّى يُغَيِّرُواْ مَا بِأَنْفُسِهِمْ

“แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่เปลี่ยนแปลงประชาชาติใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง”

มาก้าวข้าม “อิสลามวาทกรรม” สู่ “อิสลามเชิงพฤติกรรมที่ตกผลึกเป็นเลือดเป็นเนื้อ”


สรุปโดย Ghazali benmad

บาปเงียบ : มหันตภัยยุคสื่อไร้พรมแดน

           หนุ่มสาวที่แสนเรียบร้อย แสดงออกถึงบุคลิกภาพที่ควรค่าแก่การยกย่อง เป็นผู้ที่ใฝ่เรียนรู้ศาสนาในสายตาของบุคคลทั่วไป ถ้าเป็นมุสลิมีนก็จะไว้เคราพองาม พิถีพิถันในเรื่องการแต่งกาย แลดูสะอาดสะอ้าน ถ้าเป็นมุสลิมะฮ์จะสวมใส่ฮิญาบอย่างมิดชิดเรียบร้อย บางคนปิดใบหน้าและฝ่ามือ เพื่อยึดมั่นตามแบบฉบับสุนนะฮ์  คบค้าสมาคมกับผู้รู้ทางศาสนา บรรดามิตรสหายอยู่ในหมู่ผู้ที่ใฝ่ศึกษาหาความรู้ ฯลฯ…..

          ปรากฏการณ์นี้ ถือเป็นภาพที่บ่งบอกถึงการยึดมั่นในศาสนาของกลุ่มเยาวชน แต่จะเป็นสิ่งดียิ่ง หากเบื้องหลังของพวกเขาจะใสสะอาดหมดจด ยิ่งกว่าเบื้องหน้าที่ปรากฏมาให้เห็น หรือยามที่พวกเขาสงบนิ่งในขณะเข้าเฝ้าต่อหน้าพระองค์อัลลอฮ์ นั้น จะสามารถรักษาความบริสุทธิ์ใจไว้ได้ มากกว่ายามที่พวกเขาแสดงออกมาต่อหน้าผู้คน

          ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะมีข้อมูลที่ทำให้ทราบว่า หนุ่มสาวหลายคนที่ดูแสนจะเรียบร้อย แต่เมื่ออยู่ในที่ลับตาผู้คนแล้ว พวกเขากลับกลายเป็นสาวกของชัยฎอน จมดิ่งอยู่ในห้วงทะเลแห่งตัณหาและอบายมุขชนิดโงหัวไม่ขึ้นเลยทีเดียว

          พวกเขาและพวกเธอ มักบริโภคสื่อไร้พรมแดนที่ไร้สาระ  เสพติดเว็บไซต์ที่ไร้จริยธรรมอยู่เนืองนิจ ครุ่นคิดติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตที่มักใช้นามแฝงเพื่อกลบเกลื่อนชื่อจริง ใช้กลยุทธ์ลับ ลวง พราง เพื่อสนองตัณหาอารมณ์ใฝ่ต่ำ บางครั้งก็ใส่ร้ายป้ายสีบุคคลอื่นๆ หรือองค์กรต่างๆ ให้พลอยได้รับความเสื่อม และเสียชื่อเสียงไปด้วย

          เยาวชนที่รัก …. เจ้าอย่ามองข้ามการเพ่งพินิจและการตรวจสอบของอัลลอฮ์ อย่างเด็ดขาด โดยยอมลงทุนฝ่าฝืนพระองค์ และตอบรับการเรียกร้องของชัยฏอน

          ท่านซะห์นูน (รอฮิมะฮุลลอฮ์) ได้กล่าวไว้ ความว่า

“เจ้าจงอย่าริประกาศตัวเป็นศัตรูคู่อริกับชัยฏอนในที่เปิดเผย  แต่กลับเป็นสหายรักกับมันยามลับตาผู้คน”

          เพราะแท้จริง บาป ที่คนๆ หนึ่งกระทำไว้ ณ ที่ลับตาผู้คนนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะชักนำเขาสู่ความวิบัติ และบ่อนทำลายความดีงามที่สะสมไว้

 นบีมุฮัมมัด  صلى الله عليه وسلمได้กล่าวไว้ว่า

جاء  عَنِ النَّبِىِّ صلى الله عليه وسلم أَنَّهُ قَالَ   لأَعْلَمَنَّ أَقْوَامًا مِنْ أُمَّتِى يَأْتُونَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ بِحَسَنَاتٍ أَمْثَالِ جِبَالِ تِهَامَة بَيْضَاء فَيَجْعَلُهَا اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ هَبَاءً مَنْثُورًا  َقالَ ثَوْبَانُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ صِفْهُمْ لَنَا جَلِّهِمْ لَنَا أَنْ لاَ نَكُونَ مِنْهُمْ وَنَحْنُ لاَ نَعْلَمُ . قَالَ : أَمَا إِنَّهُمْ إِخْوَانُكُمْ وَمِنْ جِلْدَتِكُمْ وَيَأْخُذُونَ مِنَ اللَّيْلِ كَمَا تَأْخُذُونَ وَلَكِنَّهُمْ أَقْوَامٌ إِذَا خَلَوْا بِمَحَارِمِ اللَّهِ انْتَهَكُوهَا   رواه ابن ماجه و صححه الألبانى

          ความว่า “แน่แท้ ฉันรู้ว่า มีชนกลุ่มหนึ่งในประชาชาติของฉัน ที่พกพาความดีงามและกุศลทานอันมากมายสะสมไว้ในวันกิยามะฮ์

เปรียบเสมือนเทือกเขาติฮามะฮ์ที่ขาวสะอาด

แต่อัลลอฮ์   ทรงทำให้ความดีงามอันมากมายเหล่านั้น กลายเป็นเศษฝุ่นที่ปลิวว่อนเท่านั้น (ไม่มีคุณค่าใดๆ ทั้งสิ้น)

ท่านเซาบาน จึงถามว่า โอ้ ศาสนทูตของอัลลอฮ์

ได้โปรดบอกคุณลักษณะของพวกเขาให้เรา

ทราบด้วย และโปรดอธิบายให้พวกเราทราบอย่างแจ้งชัด เผื่อว่าเราจะได้ระมัดระวังมิให้เป็นเช่นกลุ่มนั้น ในสภาพที่เราไม่รู้ตัว

นบีมุฮัมมัด صلى الله عليه وسلم   จึงตอบว่า พวกเขาคือพี่น้องของท่านนั่นแหละ มีสีผิวเช่นเดียวกับพวกท่าน พวกเขาดำรงตนในเวลากลางคืนด้วยการละหมาดกลางคืนเช่นเดียวกับพวกท่าน แต่ยามใดที่พวกเขาอยู่ในที่ลับตาผู้คนแล้ว พวกเขาจะละเมิดและฝ่าฝืนคำสั่งใช้ของอัลลอฮ์ ”

บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ/4245,ดู อัซซิลซิละฮฺ อัศเศาะฮีหะฮฺ 2/18


โดย Mazlan Muhammad

ความต่างระหว่าง 2 ดุอา

ความต่างระหว่างสองดุอา

اللهم ارزقني

โอ้อัลลอฮ์ได้โปรดประทานริสกีให้ฉัน

กับ

اللهم بارك لي في رزقي

โอ้อัลลอฮ์โปรดประทานความบะรอกัตในริสกีของฉัน

ถามว่า มุอฺมินควรดุอาท่อนไหนดี

ตอบ

ท่อนที่สองดีที่สุด

เพราะ

อัลลอฮ์ทรงประกันว่าพระองค์จะประทานริสกีให้แก่ทุกคน แม้กระทั่งหนอนในซอกหิน

แต่พระองค์ไม่ประทานความบะรอกัต เว้นแต่ผู้ที่พระองค์รักเท่านั้น

บะรอกัตจึงเป็นขุนพลชั้นเอกของอัลลอฮ์

เมื่ออยู่กับทรัพย์สิน มันจะทำให้ทรัพย์สินนั้นงอกเงยและเพิ่มพูน

เมื่ออยู่กับลูกๆ มันจะทำให้กลายเป็นลูกศอลิห์

เมื่ออยู่กับความรู้ มันจะกลายเป็นความรู้ที่มีประโยชน์

เมื่ออยู่กับมิตรสหาย มันจะกลายเป็นมิตรสหายที่ประเสริฐ

เมื่ออยู่กับชีวิตเรา มันจะทำให้ชีวิตมีคุณค่าและเป็นที่พอใจ ณ พระองค์

จงขอความบะรอกัตจากพระองค์ แทนที่จะขอริสกี อายุยืน หรือลูกหลานมากมายเพียงอย่างเดียว

————

اللهم بارك لي في رزقي ومالي وأولادي وزوجي وعلمي وحياتي وجميع ما أعطيتني

وارزقني خير ما أعطيت السائلين

โอ้อัลลอฮ์ได้โปรดประทานความบะรอกัตในริสกีของฉัน ทรัพย์สมบัติของฉัน ลูกหลานและคู่ชีวิตของฉัน ความรู้ของฉัน ชีวิตของฉันและทุกอย่างที่พระองค์ประทานให้ฉัน และจงประทานริสกีให้ฉันสิ่งที่ดีทีสุดที่พระองค์ได้ประทานให้แก่ผู้ขอ


โดย Mazlan Muhammad

คำกล่าวแสดงความยินดีแก่บัณฑิตมอย. รุ่นที่ 9/2554

ชีค ดร.อุมัร อุบัยด์ หะสะนะฮฺ

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและอิสลามศึกษาประเทศกาตาร์

เนื่องในโอกาสพิธีประสาทปริญญารุ่นที่ 9 ประจำปีการศึกษา 2554

29 มกราคม 2555

          มวลการสรรเสริญแด่พระผู้ทรงเลือกสรรให้เราอยู่ในฐานะผู้รับมรดกภารกิจของบรรดานบีและสืบทอดเจตนารมณ์แห่งอัลกุรอาน พระองค์กล่าวความว่า : “และเราได้ให้คัมภีร์เป็นมรดกสืบทอดมาแก่บรรดาผู้ที่เราคัดเลือกแล้วจากปวงบ่าวของเรา บางท่านในหมู่พวกเขาเป็นผู้อธรรมแก่ตัวเองและบางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้เดินสายกลางและบางคนในหมู่พวกเขาเป็นผู้รุดหน้าในการทำความดีทั้งหลาย” (ฟาฏิร/32)และเราวอนขอจากอัลลอฮฺได้โปรดทำให้เราเป็นกลุ่มชนที่เป็นรุดหน้าในการทำความดีเพื่อตอบสนองคำสั่งของอัลลอฮฺ ความว่า “ ท่านทั้งหลายจงแข่งขันรุดหน้าทำความดีกันเถิด ” (อัลบาเกาะเราะฮฺ/148)

          ความจำเริญและศานติขอมอบแด่ศาสนทูตผู้เป็นบรมครูซึ่งท่านได้กล่าวความว่า “ แท้จริงฉันถูกส่งมายังโลกนี้ในฐานะบรมครูเท่านั้น ” ส่วนหนึ่งของการวอนดุอาอฺของท่านอยู่เนืองนิจ คือ “ ฉันขอให้พระพระองค์ทรงเพิ่มพูนความรู้แก่ฉันด้วยเถิด ” และท่านขอความคุ้มครองให้รอดพ้นจากความรู้ที่ไม่มีประโยชน์เพราะความรู้ไม่มีคุณค่าจะไม่สามารถสร้างประโยชน์แก่มวลมนุษย์ ด้วยเหตุนี้มนุษย์ที่เป็นที่รักที่สุดของอัลลอฮฺคือ ผู้ที่สร้างคุณประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์มากที่สุด

–        ฯพณฯรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลามประเทศกาตาร์

–        ท่านนายกสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

–        อธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

–        กรรมการสภา คณะผู้บริหารและคณาจารย์ แขกผู้มีเกียรติ ผู้ปกครองและลูกหลานบัณฑิตทุกท่าน

Assalamu alaikum warahmatullah wabarakatuh

          อัลลอฮฺกล่าว ความว่า “ จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) “ ด้วยความโปรดปรานของอัลลอฮและด้วยความเมตตาของพระองค์จงดีใจเถิดด้วยสิ่งดังกล่าวนั้น (เพราะความโปรดปรานและความเมตตาของพระองค์)ดียิ่งกว่าสิ่งพวกเขาสะสมไว้ ” (ยูนุส/58)

          ในโอกาสพิธีประสาทปริญญา รุ่นที่ 9 มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาในครั้งนี้ ผมใคร่ขอแสดงความความยินดีและเป็นช่วงเวลาที่มีความเหมาะสมที่สุดที่เราต่างปลาบปลื้มเนื่องจากความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่นี้ ที่อัลลอฮฺได้ประทานเตาฟิกให้กำเนิดมหาวิทยาลัยแห่งนี้และได้ดำเนินภารกิจอย่างสำเร็จลุล่วงและทรงอุปถัมป์สถาบันแห่งนี้ด้วยการให้โอกาสแก่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมพัฒนา ดังกรณีกระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลามประเทศกาตาร์ที่ได้ยืนอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่กับมหาวิทยาลัยในการเปิดสาขาและศาสตร์ต่างๆที่สร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แก่นักศึกษา สร้างความภูมิใจให้กับพวกเขาในการเป็นผู้รับมรดกจากบรรดาศาสนทูตและเสริมสร้างบุคลิกภาพแห่งความเป็นสายกลางและสันติเพื่อสานต่อภารกิจของบรรดานบี รู้จักปฏิสัมพันธ์กับยุคสมัยอย่างรู้เท่าทัน พร้อมเชิญชวนมนุษย์สู่คุณค่าของอิสลามด้วยวิทยปัญญาและการตักเตือนที่ดี เพราะบัณฑิตในวันนี้คือกำลังหลักที่สำคัญของสังคมในอนาคต พวกเขาจะแบกภาระศาสนานี้ในสังคมต่อไป นบีได้กล่าวความว่า “ ความรู้นี้จะถูกรับภาระโดยผู้ทรงความยุติธรรมที่สืบทอดจากบรรพชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า พวกเขาจะปฏิเสธการตีความของคนไม่รู้ จะลบล้างการแอบอ้างของมิจฉาชน และจะยับยั้งการเบี่ยงเบนของบรรดาผู้สุดโต่ง ”  (รายงานโดยบัยหะกีย์)

ผู้มีเกียรติทุกท่าน

ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า ภราดรภาพอิสลาม ยืนหยัดด้วยฐานแห่งหลักการศรัทธา ดั้งอัลลอฮ กล่าวความว่า “ ศรัทธาชนคือพี่น้องกัน ”  (อัลหุญร็อต/10)  นบีมุหัมมัดกล่าวความว่า   “ จะไม่เป็นผู้ศรัทธาจนกว่าเขาจะรักพี่น้องของเขาเสมือนที่เขารักตนเอง ”  (รายงานโดยอัลบุคอรีย์)  ประชาชาติมุสลิมคือประชาชาติเดียวที่ก่อร่างสร้างตัวด้วยอัลกุรอานและสามารถโลดแล่นด้วยพลังแห่งมัสยิด และมัสยิดคือสถาบันแรกที่ค้ำจุนการกำเนิดของสังคมมุสลิม  อิสลามได้กำหนดว่าการแสวงหาความรู้คือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคน ทั้งนี้เพราะการเรียนการสอน การแสวงหาความรู้และการอ่านถือเป็นกุญแจสำคัญในศาสนานี้ พจนารถแรกที่ถูกประทานลงมายังฟากฟ้า เพื่อกอบกู้มนุษย์บนโลกนี้และสร้างอารยธรรมแห่งความปรานี ผ่านศาสนาทูตคนสุดท้ายคือพจนารถที่เริ่มต้นด้วย “ อิกเราะ ” แปลว่าจงอ่าน

สิ่งเหล่านี้เป็นคำยืนยันถึงอัตลักษณ์สาสน์ของเรา พร้อมปฏิบัติภารกิจบนโลกนี้ทั้งต่อตนเอง สังคม ประเทศชาติและมนุษยชาติทั้งมวล อัลลอฮฺได้กำหนดเป้าหมายสำคัญของการประทานนบีมูฮำมัดคือ การธำรงไว้ซึ่งความปรานีแก่สากลจักรวาล เราต้องถามตัวเองว่า อะไรบ้างที่เป็นบทบาทและผลงานของเราในอารยธรรมแห่งความปรานีนี้ อารยธรรมสายกลางและความสมดุล  ดังที่อัลลอฮฺกล่าว ความว่า “ และในทำนองเดียวกัน เราได้ให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติที่เป็นกลาง เพื่อพวกเจ้าจะได้เป็นสักขีพยานแก่มนุษย์ทั้งหลาย“ (อัลบะเกาะเราะฮฺ / 143)                           

ภารกิจสำคัญของเราขณะนี้คือ ทวงคืนกระบวนการสร้างอารยธรรมแห่งความปรานี  อารยธรรมที่เรียกคืนศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพในความเชื่อและประกอบพิธีทางศาสนาและกำหนดทางเลือกแก่ตนเอง ภายใต้สโลแกน ” ไม่มีการบังคับในการนับถือศาสนา”(อัลบะเกาะเราะฮฺ/256)หลังจากที่เราชี้แจงเส้นทางที่ถูกต้องและเส้นทางที่เบี่ยงเบนแก่มนุษย์แล้ว

นับเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่มหาวิทยาลัยอิสลามยะลายึดถือมาโดยตลอด คือการให้เกียรติบุคคลตามโอกาสพิเศษต่าง โดยที่ในปีนี้มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาได้มีมติ มอบรางวัล โล่เกียรติคุณ ผู้สร้างคุณประโยชน์แก่สังคมดีเด่น(Tokoh Berjasa) แก่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง

เลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้าพเจ้าในนามคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ใคร่แสดงความยินดีแก่ท่านด้วยความจริงใจ

           แขกผู้มีเกียรติ

           ลูกหลานบัณฑิตทุกท่าน

          สาส์นของท่านยิ่งใหญ่มาก และใหญ่เพิ่มเป็นทวีคูณเมื่อเทียบกับการที่ท่านอยู่ในประเทศนี้ ภารกิจของท่านถือเป็นการก่อสร้างที่หนักหน่วง ถือเป็นญิฮาดและสัญลักษณ์สำคัญของการญีฮาดทีเดียว

          ดังนั้น จึงไม่แปลกที่อัลกุรอานใช้คำว่า “ กองกำลังกลุ่มหนึ่ง“ แทนกลุ่มนักศึกษา ดังที่  อัลกุรอานกล่าว ความว่า “ ทำไมแต่ละกลุ่มในหมู่พวกเขาจึงไม่ออกไปเพื่อหาความเข้าใจในศาสนา และเพื่อจะได้ตักเตือนหมู่คณะของพวกเขา เมื่อพวกเขาได้กลับมายังหมู่คณะของพวกเขา โดยหวังว่าหมู่คณะของพวกเขาจะได้ระมัดระวัง “ (อัตเตาบะฮฺ /122)        

ดังกรณีที่ อัลกุรอานใช้คำว่า “ กองกำลังกลุ่มหนึ่ง” กับกองพลในสนามรบ “ พวกเจ้าจงออกไปกันเถิด ทั้งที่ผู้มีสภาพว่องไว และผู้ที่มีสภาพเชื่องช้า (บุคคลทุกประเภทที่สามรถจะเดินทางได้) และจงเสียสละทั้งด้วยทรัพย์ของพวกเจ้า และชีวิตของพวกเจ้าในทางของอัลลอฮฺ นั่นแหละคือสิ่งที่ดียิ่งสำหรับพวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้

          วันนี้เป็นวันแห่งความปลาบปลื้มและปีติยินดี จากความสำเร็จของลูกหลานของเราที่เป็นบัณฑิตใหม่ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของการกลับสู่ครอบครัว สังคม และประชาชาติ เราจำเป็นที่จะต้องมอบภารกิจให้กับพวกเขาในการนำศาสตร์ความรู้ที่ถูกต้อง และลบล้างทัศนคติเชิงลบทั้งหลาย พร้อมนำความรู้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิต และตักเตือนพวกเขาให้พ้นจากเส้นทางที่เบี่ยงเบน (หวังว่าหมู่พวกเขาจะได้ระมัดระวัง)

          พี่น้องนักศึกษา

          ใบปริญญาจากมหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนเข็มทิศ จะนำทางสู่การทำงานและเป็นกุญแจดอกเล็กๆ เพื่อเปิดทางในกระบวนการสร้างสิ่งยิ่งใหญ่ และปริญญาคือการเริ่มต้น ไม่ใช่เป็นการสิ้นสุดของการศึกษาหาวิชาความรู้

          ขอดุอาอฺจากอัลลอฮฺให้เพิ่มพูนความรู้ และขอความคุ้มครองให้รอดพ้นจากความรู้ที่ไม่มีประโยชน์ ภารกิจทุกอย่างขอมอบแด่อัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงคุ้มครองที่ดีเลิศ และผู้ทรงช่วยเหลือที่ดีเยี่ยม

          สุดท้ายนี้ ขอแสดงความยินดีให้กับบัณฑิตทุกคน และขอชื่นชมมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาและคณะผู้บริหารที่มีบทบาทสำคัญ ในการสร้างเกียรติประวัติของมุสลิมในภูมิภาคนี้ และได้สร้างหอประภาคารแห่งการเรียนรู้ และแสงสว่างที่นำทางแก่มวลมนุษย์ นำเสนอคุณค่าของศาสนาอิสลาม ที่ปราศจากรุนแรงและสุดโต่ง

Wassalam

สายธารทางความคิดของชาติตะวันตก

ดาร์วินสอนมนุษย์ว่า คนวิวัฒนาการมาจากลิง
มาเคียเวลเลียน สอนให้ผู้แสวงหาอำนาจให้เป็นสุนัขจิ้งจอกและสิงโตในคนเดียวกัน

อารยธรรมชาติตะวันตยุคใหม่จึงเป็นอารยธรรมที่มาจากสายธารทางความคิดของความเป็นสัตว์ ที่ไร้ปัญญา ขาดสติ บูชาอารมณ์ ใช้กำลัง เล่ห์เหลี่ยมเพทุบาย โหดร้ายอำมหิต

หลังจากตะวันตกถูกครอบงำโดยนักการศาสนาที่อธรรม บีบบังคับให้ผู้คนดูถูกสติปัญญา ฉุดรั้งมนุษย์ตกอยู่ใน “ยุคมืด” อันปวดร้าวทรมาน ทำให้ชาติตะวันตก เข็ดหลาบกับความโหดร้ายของศาสนา พวกเขาจึงปฏิเสธศาสนาอย่างไม่มีเยื่อใย และอ้าแขนต้อนรับคุณค่าของความเป็นสัตว์เดรัจฉานแทน

พวกเขาจึงมองอิสลาม เหมือนศาสนาที่ตนเองเชื่อถือในยุคมืด กอปรด้วยวาทกรรมการใส่ร้ายและการโจมตีเชิงระบบต่ออิสลาม ทำให้ชาติตะวันตกจึงหวาดกลัวและชังอิสลามเข้ากระดูกดำ

ปัจจุบัน ท่ามกลางโลกยุคข้อมูลไร้พรมแดน ทำให้ความรู้อิสลามได้รับการถ่ายทอดอย่างกว้างขวาง ชาวยุโรปบางส่วนมีโอกาสศึกษาอิสลามอย่างใกล้ชิด ทำให้พวกเขาต้องพ่ายแพ้กับสัจธรรมอิสลาม

หลายคนที่เคยเป็นนักการเมืองขวาจัดที่เคยเคียดแค้นอิสลาม หลายคนที่เคยจมปลักในทะเลอารมณ์ทั้งดารา นักแสดง นักร้องหรือแม้กระทั่งแก๊งค์สตาร์ หลายคนที่เคยเป็นผู้มีชื่อเสียงในสาขาอาชีพต่างๆ หลายคนแม้กระทั่งนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา สุดท้าย ต้องยอมศิโรราบกับสัจธรรมแห่งอิสลาม เพราะอิสลามไม่เคยปฏิเสธปัญญา และปัญญาที่บริสุทธิ์ต้องการการชี้นำจากอิสลาม


โดย Mazlan Muhammad