ความแตกต่าง

ภาพขณะนาย Mustafa Bulent Ecevit (เสียชีวิตปี 2006 ขณะอายุ 81 ปี) อดีตนายกรมต. ตุรกีไปเยี่ยมอดีตปธน. คลินตัน เขาได้รับการต้อนรับที่ห้องทำงานของนายคลินตันอย่างไร้เกียรติที่สุด

Ecivit คนนี้ คือคนเดียวกันที่ขับไล่นางมัรวะฮ์ สส. หญิงคนแรกที่ใส่ฮิญาบให้ออกจากรัฐสภา และหลังจากนั้นอีก 11 วัน นางถูกขับไล่ออกจากตุรกีพร้อมถอนสัญชาติ ไปเป็นพลเมืองของสหรัฐฯ

(ดูบรรยากาศในสภาตุรกีครั้นนางมัรวะฮ์ถูกขับไล่ออกจากสภา เมื่อปี 1999 เนื่องจากนางใส่ฮิญาบ )

อัลลอฮ์จึงตอบแทนเขาด้วยความต่ำต้อยและไร้ศักดิ์ศรี

ภาพขณะที่ปธน. แอร์โดอานนั่งประชุมสมาชิกนาโต้ล่าสุดที่เบลเยี่ยม อยู่ๆปธน.ไบเดนแห่งสหรัฐฯ ได้เข้ามาทักทายอย่างเป็นมิตรและให้เกียรติ

ปธน. แอร์โดอาน ได้คืนสัญชาติตุรกีให้กับนางมัรวะฮ์และแต่งตั้งท่านเป็นทูตตุรกีประจำกัวลาลัมเปอร์เมื่อหลายปีก่อน

แอร์โดอานให้เกียรติฮิญาบอันเป็นสัญลักษณ์แห่งอิสลาม อัลลอฮ์จึงให้เกียรติท่านบนโลกนี้ก่อนที่จะได้รับเกียรติที่แท้จริงในอาคิเราะฮ์

แต่สำหรับผู้ที่ดูถูกศาสนาของพระองค์  ก็ลองพิจารณาภาพซ้ายมือให้ดีๆอีกครั้ง

#รึว่ามีคนเคลมว่าห้ามพูดสิ่งร้ายๆกับคนที่ตายแล้ว


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

ใครคือ ฟาติมา กาวักจี กุลฮาน

ฟาติมา กาวักจี กุลฮาน (Fatima Kavakci Gülhan – Abu Syanab) หญิงสาวตุรกีที่สวมฮิญาบ ซึ่งได้รับเลือกโดยท่านประธานาธิบดีแอร์โดอานให้เป็นล่ามแปลภาษาในการประชุมสุดยอดผู้นำนาโต้ล่าสุด

เธอคือใคร

ฟาติมา เป็นลูกสาวของ นางมัรวะฮ์ ศอฟา กาวักจี (Merve Kavakcı)อดีตนักการเมืองหญิง ผู้สวมผ้าคลุมฮิญาบเข้าสภาในสมัยการปกครองของทายาทเคมาลลิสต์ และต้องถูกไล่ออกจากสภาและโดนเนรเทศเพราะสวมฮิญาบในปี 1999 ต่อมาในปี 2017 นางได้รับการแต่งตั้งเป็นทูตตุรกีประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์จนกระทั่งปัจจุบัน ส่วนพ่อของเธอเป็นชาวจอร์แดนที่อพยพจากปาเลสไตน์ ซึ่งถือสัญชาติสหรัฐอเมริกา หากจะกล่าวว่า เธอมีเชื้อสายปาเลสไตน์ ก็ไม่ผิดนัก

ฟาติมา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัย George Mason สหรัฐอเมริกา

จากนั้นเธอก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมและคริสเตียนในสาขาวิชาเสรีศึกษาที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์

นอกเหนือจากการศึกษาระดับป. เอกในวอชิงตัน ดี.ซี. เธอยังทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยในสถานที่ต่างๆ เช่นองค์กร Beckettfund เพื่อเสรีภาพทางศาสนา, ศูนย์นักวิชาการ Woodrow Wilson International และรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา  นอกจากนี้เธอยังทำงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสังกัดสำนักงานประธานาธิบดีตุรกีอีกด้วย

การปรากฏตัวของเธอเคียงข้างประธานาธิบดีตุรกี ในช่วงเวลาสำคัญเข่นนี้ เป็นวาระแห่งประวัติศาสตร์ ที่ปธน. แอร์โดอานต้องการสื่อสารไปยังโลก โดยเฉพาะชาวเซคิวล่าร์และสาวกเคมาลิสต์ตุรกีว่า ฮิญาบในตุรกีคือสัญลักษณ์ของเสรีชนเหมือนกับการถอดฮิญาบของชาวเซคิวล่าร์ที่มักอ้างเสรีชนเข่นกัน

ก่อนหน้านี้ 20 ปี ฮิญาบในตุรกีถูกจองจำในบริเวณบ้านและมัสยิดช่วงละหมาด และผู้ใส่ฮิญาบต่อหน้าสาธารณะคืออาชญากรรมรุนแรงที่โดนลงโทษรุนแรงถึงขั้นถูกถอนสัญชาติ บัดนี้ฝันร้ายดังกล่าว ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ยุคแห่งการถูกบังคับให้ปฏิเสธพระเจ้าได้กลายเป็นอดีตอันขมขื่นเท่านั้น  บัดนี้ฮิญาบได้สร้างสีสันทั่วฟ้าตุรกีอีกครา

ลองคิดเล่นๆว่า หากตุรกีออกกฎหมายบังคับให้สตรีมุสลิมะฮ์ตุรกีใส่ฮิญาบ ใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษรุนแรงถึงขั้นถอนสัญชาติ

ถามว่า โลกใบนี้จะเกิดอะไรขึ้น


อ่านเพิ่มเติม

https://www.trtarabi.com/now/%D8%AE%D8%B7%D9%81%D8%AA-%D8%A7%D9%84%D8%A3%D9%86%D8%B8%D8%A7%D8%B1-%D9%85%D9%86-%D8%A7%D9%84%D8%B2%D8%B9%D9%85%D8%A7%D8%A1-%D9%85%D9%86-%D9%81%D8%A7%D8%B7%D9%85%D8%A9-%D9%82%D8%A7%D9%88%D9%82%D8%AC%D9%8A-%D8%A3%D8%A8%D9%88-%D8%B4%D9%86%D8%A8-%D9%85%D8%AA%D8%B1%D8%AC%D9%85%D8%A9-%D8%A3%D8%B1%D8%AF%D9%88%D8%BA%D8%A7%D9%86-5771935

โดย Mazlan Muhammad

ฝ่ามือแห่งศตวรรษ (Slapped of Century)

ก่อนหน้านี้ เขาหยามอิสลามว่า เป็นศาสนาที่ประสบกับวิกฤต เขาใช้วาจาจาบจ้วงนบีฯโดยอ้างเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

นึกไม่ถึงว่า ผู้ที่ประสบกับวิกฤต และคนที่กลายเป็นตัวตลกที่แท้จริง กลับเป็นตัวเขาเอง

————-

รายงานเอเอฟพีเมื่อวันอังคารกล่าวว่า วิดีโอภาพเหตุการณ์ที่เผยแพร่ทางโซเชียลมีเดียและสถานีข่าว BFM เผยให้เห็นว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นขณะผู้นำฝรั่งเศสวัย 43 ปี เดินเข้าไปทักทายประชาชนที่อยู่หลังแผงเหล็ก ระหว่างการเดินทางเยือนหมู่บ้าน Tain-l’Hermitage ในจังหวัดโดรม  ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ แต่ชายที่มาครงเข้าไปจับมือด้วยกลับสะบัดมือตบหน้าเขาเต็มแรง กลายเป็นกระแส “ ฝ่ามือแห่งศตวรรษ” ไปทั่วโลก เจ้าหน้าที่และหน่วยอารักขาปรี่เข้าไปรุมชายคนนั้น ส่วนมาครงรีบเดินหนีไป พร้อมมีเสียงด่าว่า  “ A bas la Macronie ! ลัทธิมาครงจงพินาศ”

————

สื่อฝรั่งเศสได้ออกมาประณามเหตุการณ์นี้ พร้อมระบุว่า การแสดงออกทางการเมืองในนามประชาธิปไตย ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีที่รุนแรง

————

ทำไมสื่อฝรั่งเศสไม่อ้างเสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็น เหมือนที่พวกเขาอ้างตอนที่จาบจ้วงนบีมูฮัมมัดและศาสนาอิสลาม

#ประชาธิปไตยคือเสรีภาพมิใช่หรือ

ขอบคุณ TRT عربي

ดูเพิ่มเติม

https://www.thaipost.net/main/detail/105710

โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

ขอบคุณคูเวตจัดโครงการ “อักศอสยอง”

รัฐบาลคูเวตโดยกระทรวงพัฒนาสังคมและกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับองค์กรและประชาชนชาวคูเวตจัดโครงการ “อักศอสยอง” เพื่อรณรงค์บริจาคช่วยเหลือชาวปาเลสไตน์ ในวันที่ 21/5/2021 ที่ผ่านมา โดยภายในคืนเดียวสามารถระดมเงินบริจาคทั้งสิ้นจำนวน 2,331,267 ดีนาร์คูเวต (1 ดีนาร์ = 104.39 บาท) หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 243,360,962 บาท ขณะนี้ได้ปิดการรับบริจาคแล้ว

การรณรงค์ครั้งนี้มีหน่วยงานรัฐบาลเอกชน บริษัท องค์กร มูลนิธิและบุคคลชาวคูเวตจำนวน 58,965 รายเข้าร่วม โดยเร่งให้ความช่วยเหลือ 3 ด้าน ได้แก่การแพทย์ อาหารและที่อยู่อาศัย ที่ครอบคลุมทั้งในเขตกาซ่าและเวสต์แบงค์ โดยเฉพาะบริเวณอัลกุดส์

นี่คือ 1 ในความดีงามที่อัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นรางวัลให้แก่ชาวปาเลสไตน์ หลังจากถูกโอบล้อมมิให้ส่งความช่วยเหลือใดๆแก่ชาวกาซ่านานกว่า 15 ปี

ต่อไปนี้ชาวกาซ่าจะถูกต่อเครื่องหายใจโดยชาวโลก โดยเฉพาะประชาชาติอิสลามที่มีจำนวนเกือบ 2 พันล้านคน หลังจากที่พวกเขาโดนบีบคอนานกว่า 15 ปี

อัลลอฮ์ให้ทางออกแก่ผู้ศรัทธาเสมอ

ถึงแม้จะใช้เวลานานและผ่านความยากลำบากสักปานใดก็ตาม

https://4aqsa.com/ensan?fbclid=IwAR2vDEtVikDHLhjPU7XPpzRAwbn2A2Jd6UXV0NE4xyovhxa0RCrPcompHFg


โดยทีมข่าวต่างประเทศ

เออร์โดกันระบุ อิสราเอลเป็น “รัฐก่อการร้าย” หลังจากการปะทะกันในเยรูซาเล็มและอัลอักซอ และจะได้รับผลตอบแทน

อังการา (รอยเตอร์ , ทีอาร์ที) – เมื่อวันเสาร์วานนี้ ประธานาธิบดีเออร์โดกัน กล่าวว่าอิสราเอลเป็น “รัฐก่อการร้าย” หลังจากตำรวจอิสราเอลยิงกระสุนยางและระเบิดเสียงใส่เยาวชนชาวปาเลสไตน์ที่ปาหินใส่  ที่มัสยิดอักซอในกรุงเยรูซาเล็มเมื่อวันศุกร์

เออร์โดกันเสริมว่า อังการาได้ริเริ่มโครงการเพื่อระดมสถาบันระหว่างประเทศ

การปะทะกันเกิดขึ้นในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันดับสามในศาสนาอิสลาม และในบริเวณใกล้เคียงกับเยรูซาเล็มตะวันออก  ซึ่งส่งผลให้มีชาวปาเลสไตน์ 205 คนและตำรวจ 17 คนได้รับบาดเจ็บ  ท่ามกลางความโกรธที่เพิ่มมากขึ้น จากที่มีความเป็นไปได้ที่จะมีการขับไล่ชาวปาเลสไตน์ออกจากบ้านที่สร้างบนที่ดินที่ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวอ้างว่าเป็นเจ้าของ  โดยศาลฎีกาของอิสราเอลจะนัดพิจารณาคดีในวันจันทร์นี้

เออร์โดกันยังกล่าวอีกว่า  เราจะรอผลการขับไล่ชาวปาเลสไตน์ แล้วจะดำเนินการทุ่มเทสุดความสามารถเพื่อให้ผู้อธรรมได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม

เออร์โดกันซึ่งปราศรัยในอิสตันบูล เรียกร้องให้ประเทศอิสลามทั้งหมดและประชาคมระหว่างประเทศดำเนินการตามขั้นตอนที่ มีผลต่ออิสราเอล  โดยเสริมว่าผู้ที่นิ่งเฉยเป็นส่วนหนึ่งของความโหดร้ายที่เกิดขึ้นที่นั่น

“อิสราเอลโหดร้ายอิสราเอลซึ่งเป็นรัฐก่อการร้ายโจมตีชาวมุสลิมในเยรูซาเล็มอย่างไร้ความปรานีและไร้จริยธรรม” เขากล่าว

เออร์โดกันเสริมว่า  ตุรกีจะดำเนินการที่จำเป็นทันที เพื่อผลักดันให้สหประชาชาติ  องค์การความร่วมมืออิสลาม  และสถาบันที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเคลื่อนไหว

พรรคฝ่ายค้านของตุรกีส่วนใหญ่ประณามอิสราเอลซึ่งเป็นสัญญาณแห่งเอกภาพที่หาได้ยาก

ในขณะที่มุฟตีย์มัสยิดอักซอ ออกมาแถลง ประเทศอิสลามไม่ต้องออกมาประนาม เราต้องการปฏิกริยาที่เห็นได้จริง


โดย Ghazali Benmad

Sadaqah Jariah Ramadan 2021

กลุ่มเพราะเราคือเรือนร่างเดียวกัน ได้รับการสนับสนุนจาก AL-Khair Foundation ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่ประเทศอังกฤษ ที่ได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิตามทะเบียนเลขที่ 1126808 โดยการประสานงานจากองค์กร KEDAMAIAN KEMANUSIAAN BERHAD ,สำนักงานกัวลาลัมเปอร์ จัดโครงการ Sadaqah Jariah Ramadan 2021 โดยได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 280,000 บาท โดยสามารถจัดทำกล่องบรรจุอาหารละศีลอดจำนวน 350 ลัง ราคาลังละ 700 บาท เป็นเงิน 245,000 บาท ส่วน อีก 35,000 บาทเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการประชาสัมพันธ์ ค่าไวนิล สติกเกอร์ ค่าทำเสื้อให้ทีมงาน ค่าประสานงานและการขนส่ง ตลอดจนการบริหารและการจัดการทั่วไป

ผศ. มัสลัน มาหะมะ ในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มเพราะเราคือเรือนร่างเดียวกันกล่าวว่า ปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่เราได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิ AL – Khair Foundation เพื่อมอบความช่วยเหลือปัจจัยยังชีพข่วงเดือนรอมฎอนแก่ผู้ยากไร้ โดยในปีนี้สามารถจัดสรรมอบความช่วยเหลือจำนวน 350 ครัวเรือน ระหว่างวันที่ 1-5 พฤษภาคม 2564 แบ่งเป็น จังหวัดยะลา 130 ครัวเรือน จังหวัดปัตตานี 120 ครัวเรือน และจังหวัดนราธิวาส 100 ครัวเรือน

ส่วนสิ่งของบรรจุลังประกอบด้วย 13 รายการได้แก่

1)ข้าวสาร

 2)น้ำมันตราองุ่น

 3) น้ำปลาทิพย์รส

4) เส้นหมี่เล็กตราช้าง 

5) ถั่วเขียว

6)แป้งข้าวเหนียว 

7) น้ำตาลทราย

8) ปลากระป๋อง 3 แม่ครัว

 9) ผลไม้กระป๋อง

 10) น้ำหวานเฮลซ์ บลูบอย

11) นมข้นหวาน

12) อินทผลัมสด

 13) หน้ากากอนามัย

ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงแก่ AL-Khair Foundation และ องค์กร KEDAMAIAN KEMANUSIAAN BERHAD ที่เอื้อเฟื้อโครงการที่มีประโยชน์ยิ่งนี้ รวมทั้งองค์กรภาคีเครือข่ายที่ประสานงานให้โครงการนี้สามารถดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ทุกประการ

الحمد لله الذي بنعمته تتم الصالحات

وجزاكم الله خيرا

ونسألك اللهم  أن يتقبل صيامنا وقيامنا وجميع حسناتنا وأن يجعلنا من عتقائك من النار آمين يا رب العالمين .


โดย ทีมข่าวในประเทศ

ตุรกีบุกตะลุยเปลี่ยนสมดุลโลก

รายงานหนังสือพิมพ์สเปนเผยแพร่รายงานเดือด  : ตุรกีบุกตะลุยเปลี่ยนสมดุลโลก

เมื่อวันอังคารที่ 20 เมษายนผ่านมา หนังสือพิมพ์ “El Priodico” ของสเปนตีพิมพ์รายงานว่า “ตุรกีได้เปลี่ยนสมดุลของความขัดแย้งในภูมิภาค”

รายงานซึ่งมีชื่อว่า“ โดรนตุรกีบุกโลก” ระบุว่าโดรนเหล่านี้สามารถทำลายระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซียได้หลายสิบระบบ”

“โดรนตุรกีสามารถหยุดกองกำลังของรัฐบาลซีเรียในอิดลิบได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน และทำลายรถถังและปืนใหญ่จำนวนมาก  รวมทั้งระบบต่อต้านอากาศยานของรัสเซียอีกหลายสิบระบบ” รายงานกล่าวเสริม

หนังสือพิมพ์สเปนเห็นว่า “ตุรกีมีความลับเบื้องหลังความสำเร็จ” โดยสังเกตว่า “โดรนของตุรกีเป็นความลับและเป็นอาวุธที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นกุญแจสำคัญในการชนะสงคราม”

รายงานกล่าวต่อว่า “โดรนขั้นสูงของตุรกีได้เปลี่ยนกฎของการทำสงคราม”

นอกจากความสำเร็จในซีเรียแล้ว หนังสือพิมพ์ยังกล่าวถึงความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากโดรนของตุรกีในลิเบียโดยกล่าวว่า “โดรนเหล่านี้บังคับให้ฮาฟตาร์ต้องลงนามในข้อตกลงการยิงและหยุดยั้งเขาก่อนที่จะเข้าสู่ตริโปลี”

หนังสือพิมพ์เน้นย้ำว่าโดรน Bayraktar ของตุรกี “เป็นเครื่องมือสำคัญในการแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางทหารของตุรกีอย่างรวดเร็วและไม่แพง”

หนังสือพิมพ์ไม่ได้ละเลยบทบาทที่โดดเด่นของการโดรนของตุรกีในภูมิภาคคาราบัคของอาเซอร์ไบจาน ซึ่งกองกำลังยึดครองอาร์เมเนียต้องเผชิญกับความพ่ายแพ้อย่างหนัก

หนังสือพิมพ์กล่าวเพิ่มเติมว่า “บทบาทของโดรนของตุรกีมีผลอย่างมากในคาราบัคห์และฝ่ายอาเซอร์ไบจันเชื่อมั่นในโดรนเหล่านั้น จนถึงจุดที่ทหารหลายคนเชื่อว่าหน้าที่ของพวกเขาในสงครามคือรอการโจมตีของโดรนเหล่านั้น”

ในทางกลับกันหนังสือพิมพ์เปิดเผยว่า “โดรนของตุรกีมีบทบาทในการลดภัยคุกคามของรัสเซียที่มีอยู่บริเวณชายแดนยูเครน”

หนังสือพิมพ์อ้างถึงการเยือนยูเครนของประธานาธิบดี Volodymyr Zelensky ของยูเครนและการพบปะกับประธานาธิบดีแอร์โดฆานของตุรกีในอิสตันบูลเมื่อวันเสาร์ที่ 10 เมษายน ที่ผ่านมา

หนังสือพิมพ์เห็นว่า “เป้าหมายของการเยือนครั้งนี้ไม่มีอะไรนอกจากซื้อโดรนตุรกีให้มากขึ้น” โดยเน้นว่า “โดรนของ Bayraktar สามารถทำให้กองทัพยูเครนมีเครื่องมือป้องกันทางยุทธวิธีที่สามารถทำให้การรุกของกองกำลังแบ่งแยกดินแดนที่รัสเซียหนุนหลังอ่อนแอลง”

เมื่อวันที่ 6 เมษายนรายงานเชิงวิเคราะห์ของ Bloomberg News เกี่ยวกับบทบาทที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของตุรกีและผลกระทบต่อการตอกย้ำความกังวลของประเทศตะวันตก  หลังจากที่โดรนตุรกีเปลี่ยนกฎของเกมในนโยบายต่างประเทศและพันธมิตรระหว่างประเทศโดยสิ้นเชิง

รายงานชี้ให้เห็นว่า“ โดรนของตุรกีได้รับผลลัพธ์ที่เด็ดขาดในสงครามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากพวกเขาสามารถหยุดความก้าวหน้าครั้งใหญ่ของกองกำลังในระบอบซีเรียที่สนับสนุนโดยรัสเซียเมื่อปีที่แล้ว  นอกเหนือจากบทบาทในลิเบีย สงครามและการต่อสู้เพื่อสนับสนุนอาเซอร์ไบจานในการกอบกู้คาราบัค”

ในช่วงต้นเดือนเมษายน นิตยสาร “foreign policy ” ของอเมริกา ยกย่องโดรนของตุรกีและความเหนือกว่าทางอากาศที่โดรนประสบความสำเร็จในสงครามระหว่างกองทัพอาเซอร์ไบจันและกองกำลังยึดครองอาร์เมเนีย โดยเน้นว่าเครื่องบินเหล่านี้จะทำให้ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องจัดระเบียบยุทธวิธีการทำสงครามของตนใหม่

เป็นที่น่าสังเกตว่า โดรนของตุรกีมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างสถานะทางทหารของตุรกี หลังจากประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงในการปฏิบัติการทางทหาร ซึ่งใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีขั้นสูงที่ตุรกีเปลี่ยนสถานะจากประเทศผู้นำเข้าเพื่อความต้องการทางทหารไปเป็นประเทศผู้ส่งออก


โดย Ghazali Benmad

การละหมาดและการละศีลอดครั้งแรก จากมัสยิดอายาโซเฟีย หลังจากปิดไป 86 ปี

เสียงอะซานแรกสำหรับละศีลอดดังขึ้นอีกครั้งจากหออะซานของมัสยิดอายาโซเฟียในเมืองอิสตันบูลของตุรกี  หลังจากหยุดชะงักไป 86 ปี จากการเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ในปี 1934

ฉากทัศนียภาพกระชากหัวใจของสุเหร่าอายาโซเฟียในเย็นวันอังคาร เมื่อผู้อะซานได้ขึ้นไปบนหออะซานหนึ่งของมัสยิดอายาโซเฟีย อันเป็นหนึ่งในสี่หอของมัสยิด เพื่อให้สัญญาณละศีลอดและประกอบพิธีละหมาดสำหรับวันแรกของเดือนรอมฎอน

ช่างภาพในภูมิภาคได้จับภาพผู้อะซานที่ขึ้นไปยังหอคอย ในขณะที่อะซานดังก้องไปทั่วทั้งบริเวณ  สถานที่ที่ปรากฏขึ้นด้านหลังยังมีมัสยิดสุลต่านอาห์เหม็ดและเรือบางส่วนที่เตรียมจะข้ามช่องแคบบอสฟอรัส

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2020 ศาลยุติธรรมของตุรกีได้ออกคำพิพากษาให้อายาโซเฟียคืนสภาพกลับไปเป็นมัสยิดเหมือนเดิม หลังจากเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ในปี  1934

คำพิพากษาดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในตุรกีโดยฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน  รวมถึงการสนับสนุนอย่างกว้างขวางที่ปรากฏบนเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ในตุรกีตลอดจนนักวิชาการมุสลิมหลายพันคนทั่วโลก  ที่ยกย่องช่วงเวลาประวัติศาสตร์นี้ซึ่งพวกเขาเห็นว่า เป็นการฟื้นฟูสิทธิของชาวมุสลิมที่ถูกลิดรอนไป


โดย Ghazali Benmad

ดิ้นเฮือกสุดท้ายของกลุ่มเคมาลิสต์

ตุรกีเริ่มสอบสวน 103 นายพลนอกราชการที่ร่อนแถลงการณ์ปกป้องอะตาเติร์กและคัดค้านรัฐบาลตุรกี

กระทรวงกลาโหมตุรกีโจมตีแถลงการณ์ของนายทหารตุรกีที่เกษียณอายุแล้วว่า “ตาบอดเพราะความโลภและความอิจฉา”

วันอาทิตย์วันนี้ 4/4/2021 กระทรวงกลาโหมตุรกีโจมตีถ้อยแถลงของนายพลตุรกีที่เกษียณอายุราชการซึ่งออกเมื่อเย็นวันเสาร์

“กองทัพไม่สามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือในการบรรลุวัตถุประสงค์ส่วนตัวของผู้ที่ไม่มีภารกิจหรือความรับผิดชอบใด ๆ ” กระทรวงกล่าวในแถลงการณ์

และเสริมว่า “เป็นที่ชัดเจนว่าการเผยแพร่แถลงการณ์ดังกล่าวมีแต่จะทำร้ายประชาธิปไตยของเรา”

และเน้นว่า “ไม่สามารถใช้กองทัพเป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมายความทะเยอทะยานและความหวังส่วนตัวของผู้ที่ไม่มีภารกิจหรือความรับผิดชอบใด ๆ “

กระทรวงเน้นย้ำว่า “ผู้ที่ตาบอดและไม่ต้องการเห็นความสำเร็จของกองทัพตุรกี ทั้งกองทัพเรือ  กองทัพบกและกองทัพอากาศ  เป็นกลุ่มเดียวที่ถูกบังตาด้วยความโลภและความอิจฉา “

นอกจากนี้ในวันอาทิตย์วันนี้ สำนักงานอัยการในกรุงอังการาเมืองหลวงของตุรกีได้เปิดการสอบสวนแถลงการณ์ดังกล่าวของนายทหารที่เกษียณอายุแล้ว

ทั้งนี้ นายพลที่เกษียณอายุราชการ 103 คนในกองทัพเรือตุรกีลงนามในแถลงการณ์เมื่อเย็นวันเสาร์โดยมุ่งโจมตีรัฐบาลตุรกีและประธานาธิบดีแอร์โดฆานของตุรกี พร้อมข่มขู่สำทับ ห้ามแตะรัฐธรรมนูญและค่านิยมของอะตาเติร์ก


โดย Ghazali Benmad

ตุรกีให้ยาเลิกบุหรี่ฟรี

ประธานาธิบดีแอร์โดอานประกาศให้ชาวตุรกีที่ต้องการเลิกบุหรี่สามารถรับยาเลิกบุหรี่ฟรี ซึ่งแจกโดยกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆระหว่างการรักษา โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนโดยไม่จำเป็นต้องมีบัตรประกันสุขภาพ

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่แห่งตุรกีรายงานว่า ในช่วงปีหลังๆนี้ ชาวตุรกีสามารถเลิกบุหรี่ได้จำนวน 10 ล้านคน โดยก่อนหน้านี้ทั่วตุรกีมีผู้ติดบุหรี่จำนวน 30 ล้านคน ปัจจุบันมีสิงห์อมควัน 20 ล้านคน


อ้างอิง TRT عربي

โดย ทีมข่าวต่างประเทศ