ตุรกีจะไปทางไหน

นิตยสาร Le Mond ฝรั่งเศส ระบุตุรกีภายใต้การนำของแอร์โดอานทำให้เราต้องทึ่ง แต่ก็อดผวาไม่ได้ 

นิตยสารดังกล่าวได้ตีพิมพ์ฉบับพิเศษโดยเผยแพร่บทความหัวข้อ “ตุรกีจะไปทางไหน” ซึ่งได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านตุรกี เป็นเนื้อหาจำนวน 100 หน้า สรุปว่าตุรกีเป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งในภูมิภาคและมีจุดเด่นทางภูมิศาสตร์และประชากรศาสตร์ที่มีความหลากหลายจำนวน 83 ล้านคน  นอกจากนี้ยังมีพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่ใหญ่โต

นิตยสารดังกล่าวระบุว่า ในระยะเวลา 11 ปีระหว่างปี 2003-2011 แอร์โดอานได้สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในตุรกีพร้อมกับสถาปนาตนเองเป็น”บุคคลปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจ”

“ในระดับประเทศ ตุรกีได้พัฒนาระบบสาธารณูปโภค ระบบการบริการและสาธารณสุข การเพิ่มGDP ถึง 3 เท่า และนี่คือปัจจัยที่แอร์โดอานได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทุกครั้ง ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา ถึงแม้การบริหารจะมีกลิ่นอายเผด็จการก็ตาม “ นิตยสาร Le Mond กล่าวสรุป

“อย่างไรก็ตาม พรรคยุติธรรมและพัฒนาภายใต้การนำของแอร์โดอานได้สูญเสียที่นั่งให้แก่พรรคฝ่ายค้านใฝ่เคมาลิสต์ในการเลือกตั้งท้องถิ่นล่าสุด โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างอิสตันบูลและอังการ่า” นิตยสารชื่อดังกล่าวทิ้งท้าย 


อ่านเพิ่มเติม

โดย Mazlan Muhammad

วันรำลึกมุสตะฟาเคมาล

นอกจากวันสาธารณรัฐ 29 ตุลาคมของทุกปีแล้ว ประเทศตุรกียังมีวันสำคัญอีกวันหนึ่งคือวันที่ 10 พฤศจิกายน

เวลา 09.05 น. ในวันที่ 10 พฤศจิกายนทุกปี ชาวตุรกีทั้งประเทศจะยืนไว้อาลัยนาน 1 นาทีเพื่อรำลึกถึงผู้สถาปนาสาธารณรัฐตุรกีฉายาบิดาแห่งตุรกี (อะตาร์เตอร์ก) ซึ่งได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 1938 หลังมีอำนาจเบ็ดเสร็จเหนือตุรกีนาน 16 ปี

ผู้เขียนยังจดจำวินาทีนี้ได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก การเดินทางครั้งแรกไปยังตุรกีในปี 2012 ตรงกับวันที่ 10 พ.ย. และกำลังเยี่ยมชมวังโดลมาบาห์เชพอดี 

ช่วงเวลา 1 นาทีนี้ ทั่วตุรกีคล้ายถูกมนต์สะกด เพราะทั้งประเทศวจะต้องแน่นิ่งเงียบสงบ  ทั้งเสียงผู้คน รถราที่สัญจรบนท้องถนน เรือในทะเล ฝูงชนที่เดินเหินตามที่ต่าง ๆ แม้กระทั่งนักเรียนที่อยู่ตามโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศจะต้องร้องไห้ ถึงแม้จะเป็นการร้องไห้ที่ถูกบังคับหรือเสแสร้งก็ตาม เด็ก ๆ จะต้องร้องเพลงที่มีเนื้อหาว่า “ในวังโดลมาบาห์เช บิดาของเราได้เสียชีวิตเวลา 09.05 น. ท่านได้ปิดดวงตา โลกทั้งใบได้ร่ำไห้สุดอาดูร”

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองตุรกีนางโอซลาม อัลเบรัก เขียนบทความในหนังสือพิมพ์ Yeni Safak Turki ประจำวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ในหัวข้อ “อะตาร์เตอร์กยังไม่ตาย เขายังมีชีวิตอยู่ในใจของเรา” นางอัลเบรักเล่าว่า ในอดีตครูดนตรีจะฝึกซ้อมให้นักเรียนทุกคนจดจำประโยคดังกล่าว นักเรียนคนไหนที่ไม่จำ ทางโรงเรียนจะเรียกผู้ปกครองมาปรับทัศนคติ พร้อมตักเตือนว่าลูกของตนอาจถูกไล่ออกจากโรงเรียน

นางอัลเบรักย้อนความทรงจำเล่าว่า เรานึกว่า โลกทั้งใบจะยืนร่วมไว้อาลัยพร้อมกับเรา แต่เมื่อโตขึ้น เราจึงทราบว่า แม้กระทั่งตุรกี ก็ยังไม่ยืนไว้อาลัย นับประสาอะไรกับโลกทั้งใบ ฉันไม่รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น แทนที่จะใช้เวลา 1 นาทีนี้อ่านอัลฟาติหะฮ์ มอบผลบุญให้กับผู้ตาย แต่กลับเลือกยืนนิ่งเหมือนศพที่มีลมหายใจ ทำให้ฉันรู้ว่าในตุรกีจะมีคนสองกลุ่ม คือกลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ยืนไว้อาลัยทั้งด้วยความสมัครใจหรือถูกบังคับเหมือนสมัยเรายังเป็นเด็กนักเรียน ซึ่งฉันเชื่อว่าคนที่ยืนไว้อาลัยด้วยความสมัครใจ มีจำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ส่วนกลุ่มที่สองคือกลุ่มที่ไม่ยืนไว้อาลัยแม้แต่วินาทีเดียวซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่

อัลเบรักตั้งคำถามว่า เพราะอะไรที่ชาวตุรกีส่วนใหญ่ไม่ยืนไว้อาลัยให้กับรัฐบุรุษผู้นี้ ซึ่งนางได้ค้นพบสาเหตุอันมากมาย ส่วนหนึ่งคือ เพราะอะตาร์เตอร์กได้สังหารนักวิชาการทางศาสนามากมาย เขาได้เปลี่ยนอักษรเขียนจากอักษรอาหรับเป็นอักษรตุรกีเมื่อปีค.ศ. 1928 จนกระทั่งในปัจจุบัน ชาวตุรกีไม่สามารถอ่านภาษาบรรพบุรุษของตนเอง เขายังเปลี่ยนอาซานจากภาษาอาหรับเป็นภาษาตุรกีซึ่งไม่มีที่ไหนในโลกทำกัน อะตาร์เตอร์กยังดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีนานถึง 16 ปี ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 1921 กำหนดว่า วาระประธานาธิบดีเพียง 7 ปีเท่านั้น นอกจากนี้อะตาร์เตอร์กยังยุบพรรคฝ่ายค้านและบริหารประเทศด้วยพรรคเดียวคือพรรคสาธารณรัฐ

และเหตุผลอีกมากมายที่ประชาชนชาวตุรกีโดยส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า บุรุษผู้มีเค้าโครงใบหน้าที่ไม่ใช่ชาติพันธุ์ของตุรกีคนนี้ ไม่สมควรได้รับการยกย่อง ถึงแม้จะมีฉายาว่าบิดาแห่งชาวเตอร์กก็ตาม

นางอัลเบรักยังระบุอีกว่า ลัทธิเคมาลิสต์ที่ได้ยึดมั่นแนวคิดเซคิวล่าร์และวัตถุนิยม ได้สร้างนรกทั้งเป็นให้แก่ชาวตุรกีที่กว่า 85 % เป็นชาวมุสลิมที่ยึดมั่นในศาสนา หลังการเสียชีวิตของเขาจนถึงปี 2002 พวกเขาได้จับและซ้อมทรมานทุกคนที่มีข้อความภาษาอาหรับในบ้านแม้กระทั่งคำเดียวคนที่เขียนกลอนวิพากษ์ลัทธินี้แม้เพียงบทเดียวก็จะถูกซ้อมทรมาน หรือถูกดำเนินคดีพวกเขายังห้ามสตรีมมุสลิมใส่ผ้าคลุมเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ยังไม่รวมการปฏิวัติที่นองเลือดประชาชนผู้บริสุทธิ์เพียงเพื่อปกป้องลัทธิเคมาลิสต์

ผลงานของมุสตะฟา เคมาล และทายาทของเขาได้สร้างบาดแผลอันร้าวลึกให้แก่ประชาชนชาวตุรกีนานกว่า 6 ทศวรรษ ทำให้ประชาชนครั่นคร้ามและเข็ดหลาบกับลัทธินี้เป็นอย่างมาก การที่พวกเขาปฏิเสธให้เกียรตินายมุสตะฟา เคมาล ก็น่าจะเป็นเหตุผลที่มีความชอบธรรมอยู่บ้าง

ความจริงมุสตะฟา เคมาลและพรรคพวก ไม่ใช่ผู้กอบกู้เอกราชตุรกีเพียงฝ่ายเดียว แต่ยังมีกองทัพอุษมานียะฮ์ที่มาจากปากีสถานและอินเดียที่กู่ร้อง”อัลลอฮุอักบัร” (อัลลอฮ์ผู้ยิ่งใหญ่) เข้าสมทบทำสงครามกอบกู้เอกราชในปี 1922 อีกด้วย แต่หลังจากได้รับชัยชนะแล้ว มุสตะฟา เคมาลได้รวบรวมแกนนำทหารเซคิวล่าร์และได้สร้างความมั่นใจให้ชาติตะวันตกว่า ตนเองและพรรคพวกสามารถปกป้องและอารักขาระบอบเซคิวล่าร์และทุนนิยมในตุรกี จนกระทั่งชาติตะวันตกไว้วางใจและประกาศสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีภายใต้สนธิสัญญา “โลซาน”

และด้วยสัญญาทาสฉบับนี้ พวกเขาได้สถาปนารัฐเซคิวล่าร์ที่คลั่งไคล้ พร้อมทำลายและเหยียบย่ำสิทธิพื้นฐานของประชาชนในด้านต่าง ๆ ทั้งสังคมวัฒนธรรม การศึกษาและศาสนา ไม่เว้นแม้กระทั่งศักดิ์ศรีของบรรพบุรุษที่เคยปกครองโลกอิสลามมานานกว่า 6 ศตวรรษ 

อ่านเพิ่มเติม

https://www.turkpress.co/node/15008


โดย Mazlan Muhammad

Tahniah kepada Assoc.Prof.Dr.Ismail Lutfi Japakiya

Tahniah kepada

Assoc.Prof.Dr. Ismail Lutfi Japakiya

(Rektor Universiti Fatoni)

Putera Khalid Al Faisal bin Abdul Aziz Al Saud (Amir Makkah dan juga Presiden Anugerah Raja Faisal  yang mempunyai ibu pejabatnya di Riyadh  Arab Saudi). 

Penghargaan telah di beri kepada Assoc.Prof.Dr.Ismail Lutfi Japakiya dengan memilih beliau sebagai Ahli Jawatankuasa pemilihan calon yang sesuai untuk Anugerah Raja Faisal ketegori Perkhidmatan Islam Tahun 2022 ” Menurut surat pelantikan No. 21110 bertarikh 8 Safar A.D 1443 bersamaan 15 September 2021.

Semoga Allah memberikan pertolongan dan bimbingan kepada Assoc.Prof.Dr. Ismail Lutfi Japaqiya, Rektor Universiti Fatoni dalam melaksanakan tugas yang terpuji ini. 

Hadiah Raja Faisal (Arab: جائزة الملك فيصل, sebelumnya Hadiah Antarabangsa Raja Faisal) ditubuhkan pada 1977 adalah anugerah tahunan yang ditaja oleh King Faisal Foundation, yang diberikan kepada “lelaki dan wanita yang berdedikasi.” Yayasan ini menawarkan anugerah dalam lima kategori: Perkhidmatan untuk Islam, Pengajian Islam, Sastera Arab.Sains dan Perubatan 

. Tiga kategori pertama diiktiraf secara meluas sebagai anugerah paling berprestij di dunia Islam . Semenjak tahun pertama penubuhan sehingga 2019, seramai 265 orang dari 43 negara telah menerima anugerah tersebut.

Penerima pertama Anugerah Raja Faisal untuk Perkhidmatan kepada Islam adalah Abul A”la Almaudoudi, Pemimpin Gerakan Islam Pakistan pada tahun 1979 . Di negara-negara ASEAN, terdapat 5 orang yang telah menerima anugerah ini, iaitu Presiden Muhammad Nasir dari Indonesia pada tahun 1980, Tengku Abdul Rahman Putra 1983, Dr Mahathir Mohamad 1997 dan Tun Abdullah Badawi tahun 2011 dari Malaysia dan Dr Ahmad Domogao Alon Toh, dari Filipina pada tahun 1988. Penerima anugerah ini akan menerima anugerah wang tunai sebanyak RS750,000 dan sijil penghargaan.

SELAMAT BERKHIDMAT UNTUK UMMAH


Ikhlas daripada theustaz.com

โดนย่างสดตายอนาถพร้อมผู้อารักขา

สตอกโฮล์ม 4 ต.ค.- นายลาร์ส วิคส์ ชาวสวีเดนนักวาดการ์ตูนดูหมิ่นศาสดามูฮัมมัดของศาสนาอิสลาม เสียชีวิตแล้ว จากอุบัติเหตุรถที่โดยสารมาพร้อมกับตำรวจอารักขา 2 นาย ชนกับรถรรทุกเมื่อวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น

ตำรวจสวีเดนยืนยันว่า นายวิคส์วัย 75 ปี และตำรวจ 2 นายที่อารักขานายวิคส์เสียชีวิตเข่นเดียวกัน อุบัติเหตุเกิดขึ้นใกล้เมืองมาร์การิด ทางใต้ของสวีเดน รถที่นายวิคส์โดยสารมากับตำรวจชนกับรถบรรทุกที่วิ่งสวนมา ทำให้ไฟไหม้รถทั้งสองคัน

นายวิคส์อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของตำรวจสวีเดนตั้งแต่การ์ตูนดูหมิ่นศาสดาของศาสนาอิสลามที่เขาวาดในปี 2550 สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวมุสลิม กลุ่มอัลกออิดะห์เคยตั้งค่าหัวเขาไว้ที่ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3 ล้าน 3 แสนบาท) เขาเคยถูกลอบยิงขณะร่วมประชุมในปี 2558 แต่ลูกกระสุนพลาดไปถูกคนอื่นเสียชีวิต เขาจึงได้รับอารักขาจากตำรวจ 2 นาย แต่ก็ต้องเจอไฟไหม้เผาตัวเองพร้อมตำรวจผู้อารักขาทั้ง 2 นาย ในอุบัติเหตุทางรถยนต์

 


อ้างอิง

https://mgronline.com/around/detail/9640000098213

https://www.france24.com/ar/أوروبا/20211004-مقتل-فنان-الكاريكاتور-السويدي-لارش-فيلكس-صاحب-الرسوم-الكاريكاتورية-المسيئة-للنبي-محمد-في-حادث-سير

โดย Mazlan Muhammad

“Turkish House” ยอดสถาปนิกสินานแห่งออตโตมัน

ในวันจันทร์ 20 กันยายนนี้ ประธานาธิบดีตุรกี ตั้งใจที่จะไปเปิด “”Turkish House”-บ้านตุรกี” ตรงข้ามสำนักงานใหญ่แห่งสหประชาชาติในนครนิวยอร์ก

แอร์โดฆาน กล่าวในการกล่าวสุนทรพจน์เมื่อวันศุกร์ ในระหว่างการประชุมปรึกษาหารือของพรรค Justice and Development Party ในจังหวัด Mersin ทางใต้ว่า ตั้งใจจะเดินทางไปสหรัฐอเมริกาในสัปดาห์หน้าในการเยือนอย่างเป็นทางการ

แอร์โดฆานกล่าวเสริมว่า: “วันอาทิตย์นี้ ผมจะไปสหรัฐอเมริกา และในวันจันทร์นี้ เราจะเปิดบ้านตุรกีสูง 36 ชั้นตรงข้ามกับสหประชาชาติ”

พื้นที่ทั้งหมดของ “”Turkish House-บ้านตุรกี” อเนกประสงค์ รวมประมาณ 20,000 ตารางเมตร  35ชั้น ตั้งอยู่ตรงข้ามอาคารสหประชาชาติสูง 171 เมตร และถัดจากนั้นคือจัตุรัสสหประชาชาติและผู้แทนถาวรของสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ

อาคารใหม่นี้สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แทนที่สถานกงสุลตุรกีในนครนิวยอร์ก ซึ่งยังคงเปิดดำเนินการจนถึงปี  2013 อาคารนี้ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ตั้งคณะผู้แทนถาวรและสถานกงสุลใหญ่ของตุรกี การประชุม สัมมนา และห้องนิทรรศการตลอดจนโรงรถสำหรับรถยนต์และที่อยู่อาศัยสำหรับพนักงานที่ชั้นบน

ตุรกีได้ซื้ออาคารจากบริษัทไอบีเอ็ม ยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกันที่เชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์ เป็นจำนวนเงินประมาณ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 1977 โดยได้รับการสนับสนุนจาก Ihsan Sabri Caglienkl รัฐมนตรีต่างประเทศในขณะนั้น  ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้แทนถาวรของตุรกีประจำสหประชาชาติจนถึงปี 2013 

อาคาร “”Turkish House-บ้านตุรกี” เป็นการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของสาธารณรัฐตุรกีในต่างประเทศนับตั้งแต่ก่อตั้ง โดยมีมูลค่ากว่า 291 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โครงการซึ่งประธานาธิบดีแอร์โดฆาน เข้าร่วมในการวางศิลารากฐานในปี 2017 ดำเนินการโดยบริษัท IC İçtaş İnşaat ของตุรกี โดยร่วมมือกับ American Contracting Company (Tishman) ของอเมริกา

● สถาปัตยกรรมแบบเซลจู๊กที่โดดเด่น

บริษัทสถาปัตยกรรม “Perkins Eastman” ซึ่งชนะการประมูลออกแบบอาคาร “Turkish House” ในนิวยอร์กซิตี้ ได้ส่ง Jonathan Stark หัวหน้าสถาปนิกไปตุรกีเพื่อค้นหาและขุดค้นสถาปัตยกรรมตุรกี  เซลจู๊ก  และออตโตมัน  ด้วยการออกแบบที่ดีที่สุดที่สะท้อนถึงจิตวิญญาณของสถาปัตยกรรมอิสลามตุรกีโบราณในใจกลางเมืองที่สำคัญที่สุดที่แออัดไปด้วยผู้คนและวัฒนธรรมทั่วโลก

หลังจากเสร็จสิ้นการออกแบบเบื้องต้นหลายแบบแล้ว ได้มีการตกลงกันในการออกแบบขั้นสุดท้ายของตึกระฟ้าในรูปของดอกไม้ “ทิวลิป” ของตุรกีที่ล้อมรอบด้วยลวดลายของเซลจุกและออตโตมัน ซึ่งจะเพิ่มสัญลักษณ์ให้กับเส้นขอบฟ้าของนครนิวยอร์กและสะท้อนถึงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของตุรกี และความหลากหลาย

วันนี้ อาคาร “”Turkish House-บ้านตุรกี” มีลวดลายสถาปัตยกรรมตุรกีแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมเซลจู๊ก สามารถเห็นในรูปของดอกทิวลิปสูงเด่นขึ้นไปบนท้องฟ้า จากตัวเมืองแมนฮัตตัน แม่น้ำอีสต์ และเมืองลองไอส์แลนด์

อาคารตุรกีหลังใหม่ได้รับการออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านมาตรฐานการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการออกแบบประตูอาคารได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมของข่านแห่งจักรวรรดิเซลจู๊กและออตโตมัน

● ความหมายแฝงที่ลึกซึ้ง

อาคารสูงอเนกประสงค์ “Turkish House” ในย่านที่มีชื่อเสียงที่สุดของนิวยอร์ก ตรงข้ามกับสำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติ สื่อสาส์นที่หนักแน่นและลึกซึ้งเกี่ยวกับอิทธิพลของตุรกีต่อนโยบายต่างประเทศ ในเวทีระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติมากมายหลายแห่ง 

อาคารนี้พร้อมที่จะรับบทบาทเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของนโยบายต่างประเทศของตุรกีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่มีบทบาทอย่างแข็งขันในการสนับสนุนผู้อ่อนแอและผู้ถูกกดขี่ทั่วโลก

ตามที่กระทรวงการต่างประเทศตุรกีระบุ “Turkish House” จะสนับสนุนภารกิจของตุรกีที่ปฏิบัติการในนิวยอร์ก ให้ดำเนินกิจกรรมต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มคุณภาพการบริการให้กับพลเมืองตุรกี และเผยแพร่จุดยืนของตุรกี ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุนกรณีอันชอบธรรมของผู้ถูกกดขี่ซึ่งตุรกียืนเป็นกองหน้าในการปกป้องคนเหล่านั้นในเวทีระหว่างประเทศ


โดย Ghazali Benmad

อดีตผู้คุมนักโทษประกาศรับอิสลาม

Steve Wood (40 ปี) อดีตผู้คุมนักโทษชาวอเมริกัน ที่คุกกวนตานาโม ประกาศรับอิสลาม หลังจากที่เขาเห็นพฤติกรรมของนักโทษที่ยังคงยึดมั่นปฏิบัติคำสอนอิสลามอย่างเคร่งครัด

ถึงแม้ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก โดยเฉพาะนักโทษชาวมอริเตเนียหมายเลข 760 นายมูฮัมมัด วะลัดศอลาฮีย์

ซึ่งมีมารยาทงดงาม มีความสุขุมเยือกเย็นชอบยิ้มอยู่ตลอดเวลา ทำให้เขาประทับใจกับนักโทษคนนี้ และเป็นผู้ที่ทำให้เขาประกาศรับอิสลามในเวลาต่อมา


อ้างอิง และ ข้อมูลเพิ่มเติม

https://mubasher.aljazeera.net/programs/evening-window/2021/9/13/%D8%B3%D8%AA%D9%8A%D9%81-%D9%88%D9%88%D8%AF-%D8%B3%D8%AC%D8%A7%D9%86-%D8%B3%D8%A7%D8%A8%D9%82-%D9%81%D9%8A-%D8%BA%D9%88%D8%A7%D9%86%D8%AA%D8%A7%D9%86%D8%A7%D9%85%D9%88-%D8%A3%D8%B3%D9%84%D9%85?fbclid=IwAR0aHFDSbQUv5lKyXDxaPOpvJH1u70ii-6HmzKVdCfPzSSKvtaEC7bhoLs8

โดยทีมข่าวต่างประเทศ

แอร์โดอานกับหนังสือเล่มใหม่

แอร์โดอานได้จรดปากกาเขียนหนังสือเล่มใหม่ชื่อว่า “มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างโลกให้ยุติธรรมมากกว่านี้ “ หนังสือได้วางจำหน่ายแล้วเมื่อต้นเดือนกันยายน 2021 ที่ผ่านมา

แอร์โดอานเริ่มอธิบายความพยายามของตุรกียุคใหม่ ที่จะสร้างรัฐสวัสดิการและยุติธรรมแก่มนุษยชาติ พร้อมระบุความท้าทายที่ตุรกีต้องเผชิญ โดยเฉพาะ ความอยุติธรรม ปัญหาผู้อพยพปัญหาก่อการร้ายสากล การเป็นศัตรูต่ออิสลาม (อิสลาโมโฟเบีย) ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และการเลือกปฏิบัติแบบสองมาตรฐาน

หนังสือเล่มนี้ ยังแตะประเด็นการปฏิรูปครั้งใหญ่ของโลกโดยเฉพาะสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ บทบาทหน้าที่และการเป็นสมาชิกถาวร ที่ท่านมักพูดอยู่เสมอว่า “โลกนี้ยิ่งใหญ่เกินกว่าจะถูกควบคุมโดย 5 ประเทศ”

แอร์โดอานได้แสดงความมั่นใจถึงความเป็นไปได้ของโลก ในการสถาปนาสังคมที่ยุติธรรมกว่า โดยมีการจัดระเบียบที่เป็นสัดส่วนและยุติธรรมโดยเฉพาะการยกเลิกการใช้สิทธิ์วีโต้ของชาติมหาอำนาจ

“ไม่มีใครสามารถปัดความรับผิดชอบตราบใดที่ในโลกนี้ ยังมีเด็กๆต้องเสียชีวิตเพราะความรุนแรง”

“ความยุติธรรมเป็น 1 ในข้อเรียกร้องของประชากรโลกมากที่สุดขณะนี้ แต่เสียดาย องค์กรที่ทำหน้าที่ผดุงความยุติธรรม กลับกลายเป็นองค์กรที่มีปัญหาด้านความยุติธรรมมากที่สุด”

“ท่ามกลางโลกที่ขาดแคลนความปรานีจึงเป็นหน้าที่ของเราทุกคน ที่จะเป็นตัวแทนผดุงความยุติธรรมและตอบสนองเสียงเรียกร้องของผู้อ่อนแอ”

“เราจะยังคงพูดตลอดเวลาว่า โลกนี้ใหญ่กว่า 5 ประเทศที่จะมาควบคุมได้ จนกว่าจะมีระบบที่สามารถทำให้สัจธรรมคือความเข้มแข็ง ไม่ใช่ความเข้มแข็งคือสัจธรรม”

“ปัญหาของโลกปัจจุบัน จะไม่ถูกแก้ไขโดยองค์กรที่คำนึงถึงความต้องการในอดีต ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่า องค์กรเหล่านี้ได้ก่อปัญหาใหม่เกิดขึ้นมากมาย”

“เราต้องการระเบียบโลกใหม่ที่ได้รับความไว้วางใจและเป็นความหวังของชาวโลกที่เฝ้าฝันความยุติธรรมมาก กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน”

เป็นเนื้อหาที่กระแทกกล่องดวงใจของเจ้าของระเบียบโลกใหม่ในขณะนี้ และอาจเป็นแรงกระเพื่อมสร้างความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ของโลกในอนาคตอันใกล้ – ด้วยความประสงค์ของอัลลอฮ์ –

หนังสือเล่มนี้จะถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ อาหรับ เยอรมัน ฝรั่งเศส รัสเซียและสเปน โดยรายได้ทั้งหมดจะมอบให้แก่หน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยแห่งตุรกี ( AFAD)


อ้างอิง

https://mubasher.aljazeera.net/news/2021/9/6/%D8%A3%D8%B1%D8%AF%D9%88%D8%BA%D8%A7%D9%86-%D9%8A%D8%B5%D8%AF%D8%B1-%D9%83%D8%AA%D8%A7%D8%A8%D8%A7-%D8%A8%D8%B9%D9%86%D9%88%D8%A7%D9%86-%D9%85%D9%86-%D8%A7%D9%84%D9%85%D9%85%D9%83%D9%86?fbclid=IwAR2gfeh-bk4KPujqW9cXm8dfj4lncRVkAP5SBnsoxfuKHN3-AqT3xGY5Avo

แปลสรุปโดย Mazlan Muhammad

รมว. กิจการศาสนาตุรกีเป็นประธานเชิดชูเด็กและเยาวชน ที่จบการอบรมการอ่านและท่องจำอัลกุรอาน

รมว. กิจการศาสนาตุรกี ศ. อาลี อัรบาช เป็นประธานเชิดชูเด็กและเยาวชนจำนวน 2 ล้านคนทั่วประเทศที่จบการอบรมการอ่านและท่องจำอัลกุรอานช่วงปิดภาคฤดูร้อนที่ผ่านมา พร้อมด้วยครูสอนอัลกุรอานจำนวน 110,000 คน โดยพิธีดังกล่าวจัดขึ้นในมัสยิดอายาโซเฟีย ที่มีการเชิญผู้แทนเด็กๆและครูทั่วประเทศเข้าร่วม

มีบางคนยังตั้งแง่ว่า ตุรกีเป็นรัฐเซคิวล่าร์ ใฝ่ประชาธิปไตย ผู้นำไม่ไว้เครา ยังสนับสนุนกฏหมายเกย์กะเทย ยังมีผับบาร์ แหล่งโสเภณี แหล่งอบายมุขมากมาย

ถึงขนาดฟัตวาผู้นำตุรกีปัจจุบันว่าเป็นหัวหน้ามุนาฟิก และตกมุรตัด

พวกเขาไม่มีวันเข้าใจว่า ชาวตุรกีรับมรดกบาปทีมีการปลูกฝังมายาวนานนับศตวรรษอย่างเป็นระบบ โดยมีอำนาจ “รัฐลึก” คอยปกป้องอย่างแน่นหนาและเข้มแข็ง

พวกเขาไม่มีวันเข้าใจการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ต้องอาศัยความอดทนอดกลั้น การเตรียมการและวางแผนที่รัดกุม การลำดับความสำคัญของปัญหาอันสลับซับซ้อน การวางนโยบายที่นำไปสู่การปฏิบัติที่อาศัยวิสัยทัศน์และโลกทัศน์อันเฉียบแหลม

การที่หน่อไม้จะงอกเงยท่ามกลางดงป่าอันหนาทึบ นอกจากต้องต่อสู้ชูกิ่งก้านท่ามกลางต้นไม้อันใหญ่โตแล้ว ยังต้องดิ้นรนปกป้องตัวเองจากเหล่าสัตว์ป่าที่คอยกัดแทะหรือขุดทำลายใช้เป็นอาหารอีกด้วย ซึ่งจะต้องใช้เวลายาวนาน และเผชิญกับความยากลำบากแค่ไหน

#พวกเขาไม่มีวันเข้าใจ


เครดิตภาพและข่าว

Hamza Tekin

https://www.diyanet.gov.tr/ar-SA/%D8%A7%D9%84%D9%85%D8%A4%D8%B3%D8%B3%D9%8A%D8%A9/%D8%A7%D9%84%D8%AA%D9%81%D8%A7%D8%B5%D9%8A%D9%84/32662/———2021—

โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

โครงการปลุกให้ตื่น ระดมให้บริจาค (3) เพื่อภารกิจช่วยเหลือกาซ่า [5]

โครงการปลุกให้ตื่น ระดมให้บริจาค (3) เพื่อภารกิจช่วยเหลือกาซ่า

กิจกรรมที่ 5

“กุรบาน ณ แผ่นดินชาม”

– เป้าหมาย วัว 4 ตัว แกะ 10 ตัว รวมเป็นเงิน 181,789 บาท (อีก 200,000 บาทจัดโดยองค์กรอามัล แห่งเลบานอน)

– สถานที่ดำเนินการ กาซ่า ปาเลสไตน์

– ดำเนินการโดย AL-QUDS Foundation Malaysia ซึ่งได้แจกจ่ายเนื้อกุรบานไปยังคนเดือดร้อนจำนวน 500 คนระยะเวลาดำเนินโครงการ 21-22 กรกฎาคม 2564


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

โครงการปลุกให้ตื่น ระดมให้บริจาค (3) เพื่อภารกิจช่วยเหลือกาซ่า [4]

โครงการปลุกให้ตื่น ระดมให้บริจาค (3) เพื่อภารกิจช่วยเหลือกาซ่า

กิจกรรมที่ 4

“ซื้อยาเวชภัณฑ์”

– กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยจำนวน 60 ราย รวมเป็นเงิน 4,650 ดอลล่าร์

– สถานที่ดำเนินการ กาซ่า ปาเลสไตน์- ดำเนินการโดย AL-QUDS Foundation Malaysia

– ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17-18 กรกฎาคม 2564


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ