มหาวิทยาลัยฟาฏอนีมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์แก่เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลก

พิธีมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 18 กุมภาพันธ์ 2565 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายกสภามหาวิทยาลัยฟอฏอนี ได้มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่ ฯพณฯ ดร.มุฮัมมัด บินอับดุลกะรีม อัลอีซา เลขาธิการองค์การสันนิบาตโลกมุสลิม ณ ห้องประชุมแกรนด์มิรอจ ชั้น 3 โรงแรมอัลมิรอซ กรุงเทพ โดยมีรศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนีร่วมให้การต้อนรับ


คำประกาศเกียรติคุณ

ฯพณฯ ดร. มุฮัมหมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซา

ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์

ประจำปีการศึกษา 2556

………………………………….……..

ฯพณฯ ดร. มุฮัมหมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซาเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญด้านนิติศาสตร์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านกฎหมายอิสลามเปรียบเทียบ ระดับปริญญาโทและเอกด้านตุลาการศึกษาเปรียบเทียบ และกฎหมายมหาชนเปรียบเทียบจากมหาวิทยาลัยอิสลาม อิมาม มูฮัมหมัด บิน ซาอูด ด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง

ฯพณฯ ดร. มุฮัมหมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซาเป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานด้านกฎหมายที่โดดเด่นในราชอาณาจักรซาอุดิอารเบีย และเคยดำรงตำแหน่งรองประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลฎีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและองคมนตรี และฯพณฯยังได้รับเชิญเป็นองค์ปาฐกเกี่ยวกับนิติศาสตร์อิสลามและกฎหมายเปรียบเทียบทั้งในและนอกราชอาณาจักรซาอุดีอารเบีย ฯพณฯ ยังเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกในการสร้างความร่วมมือใหม่ๆระหว่างชุมชน ศาสนา และประเทศต่างๆ ฯพณฯ ได้เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา ยุโรป แอฟริกา และเอเชีย พบปะกับบุคคลสำคัญ สมาชิกรัฐสภาด้านความยุติธรรม กฎหมาย และสิทธิมนุษยชน รวมถึงผู้นำชุมชนและผู้นำด้านจิตวิญญาณ

ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ฯพณฯ ดร. มุฮัมหมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซาได้รับการยกย่องทั้งในซาอุดิอาระเบียและต่างประเทศในการเป็นผู้นำการปฏิรูปด้านกฎหมาย สิทธิสตรี และสิทธิมนุษยชน

ฯพณฯ ดร. มุฮัมหมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซาเคยได้รับเลือกจากสภารัฐมนตรียุติธรรมอาหรับ (Council of Arab Ministers of Justice) เป็นประธานกิตติมศักดิ์ของกลุ่ม  รวมถึงเข้าร่วมเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่ King Saud University และสถาบันตุลาการชั้นสูงของมหาวิทยาลัยอิสลาม อิมามมูฮัมหมัด บิน ซาอูด

ฯพณฯ ดร. มุฮัมหมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซา ในฐานะกรรมการรับเรื่องร้องทุกข์ได้ดำเนินการสำคัญๆ ดังนี้ ได้รับมอบหมายเป็นประธานคณะกรรมการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นประธานคณะกรรมการวิชาการถาวรเพื่ออนุญาโตตุลาการ เป็นหัวหน้าคณะกรรมการจัดทำระเบียบบริหารระบบรับเรื่องร้องทุกข์

ฯพณฯ ดร. มุฮัมหมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซา มีผลงานที่โดดเด่นในเรื่องกฎหมายอิสลามเปรียบเทียบ กระบวนการยุติธรรมเปรียบเทียบ กฎหมายมหาชนเปรียบเทียบ และ ฯพณฯ ยังได้เสนอผลงานทางวิชาการด้านกฎหมายในเวทีระดับโลกซึ่งมีผลต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมในราชอาณาจักรซาอุดิอารเบีย

นอกจากนี้ ฯพณฯ ดร. มุฮัมหมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซา ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญระดับโลกเกี่ยวกับอิสลามสายกลาง มุ่งมั่นที่จะนำความตระหนักรู้ไปยังทั่วโลกสู่สัจจธรรมที่แท้จริง

ในฐานะเลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลก ฯพณฯ ดร. มุฮัมหมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซา ยังได้พบปะกับผู้นำอาวุโสด้านการเมือง ศาสนา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์แบบองค์รวมที่เน้นการสนทนาและการศึกษาเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนของศาสนาต่างๆ จากการคุกคามของลัทธิสุดโต่ง ฯพณฯ ได้เสนอแนวคิดริเริ่มเชิงนโยบายเพื่อจัดการกับคำพูดแสดงความเกลียดชังและการเหยียดเชื้อชาติที่ยุยงให้เกิดความรุนแรง

จากผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ดังกล่าวของ ฯพณฯ ดร. มุฮัมหมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซา      สภามหาวิทยาลัยฟาฏอนี ในคราวประชุมครั้งที่ 72(2/2019) วันที่ 24 พฤศจิกายน 2562 จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นสมควรยกย่องเชิดชูเกียรติให้ ฯพณฯ ดร. มุฮัมหมัด บิน อับดุลการิม อัลอีซา ได้รับ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป

ทั้งนี้ ดร. มุฮัมหมัด ได้กล่าวขอบคุณและชื่นชมทั้งมหาวิทยาลัยฟาฏอนีตลอดจนมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศไทยที่ให้การศึกษาแก่ผู้คนเพราะการศึกษาคือรากฐานของทุกอย่าง ท่านยังชื่นชมประเทศไทยในภาพรวมว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรมที่คนต่างศาสนาต่างความเชื่อสามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยความรักความเมตตาและความเข้าใจระหว่างกันซึ่งเชื่อว่ากรณีของประเทศไทยน่าจะเป็นประโยชน์แก่พื้นที่อื่นๆ ในโลกได้

https://www.facebook.com/FTUtv/videos/1606831066350489


โดย theustaz.com

การรื้อฟื้นความสัมพันธ์ขั้นปกติระหว่างซาอุดิอาระเบียกับประเทศไทยสู่ศักราชแห่งมิตรภาพใหม่ที่ครอบคลุมทุกมิติแห่งความร่วมมือ

⁃          ความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการระหว่างสองประเทศนี้เริ่มตั้งแต่พ.ศ. 2500 โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองประเทศได้มีการเยี่ยมเยียนแลกเปลี่ยนเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคี

            ⁃          การเยี่ยมเยียนของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาในวันที่ 25 มกราคม 2565 เป็นไปตามคำเชิญของเจ้าชายมุฮัมมัดบินซัลมานบินอับดุลอาซีซอัลซะอูด มกุฏราชกุมารแห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย เพื่อเปิดศักราชใหม่แห่งความสัมพันธ์ที่ดีที่ครอบคลุมทุกมิติแห่งความร่วมมือทั้งในเวทีระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

            ⁃          ซาอุดิอาระเบียร์มีความยินดีรื้อฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศนี้และยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูตโดยจะมีการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำเมืองหลวงของทั้งสองประเทศในอนาคตอันใกล้

            ⁃          ประเทศไทยให้ความสำคัญสูงสุดกับการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ฉันมิตรครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้ย้ำความสำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์ ที่ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย เพื่อประโยชน์ร่วมกันของราชอาณาจักรทั้งสอง

            ⁃          การรื้อฟื้นความสัมพันธ์อย่างปกติระหว่างสองประเทศนี้ได้ส่งสัญญาณให้ส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ครอบคลุมทุกสาขา ได้แก่ด้านการเมือง ความมั่นคง อุตสาหกรรมการค้า เศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยวและเกษตรกรรม รวมทั้งการอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมและการขนส่งเพื่อการค้าและการท่องเที่ยว การรักษาพยาบาล การเปิดโอกาสด้านการลงทุนให้เป็นไปตามพระราชวิสัยทัศน์ 2030 อันเข้มแข็งของประเทศซาอุดีอาระเบียและสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติและวาระการพัฒนาแห่งชาติของประเทศไทย

            ⁃          รัฐบาลซาอุดิอาระเบียตระหนักและให้ความสำคัญกับกิจการของชาวมุสลิมในประเทศไทยโดยเฉพาะเรื่องการสร้างมัสยิด ศูนย์อิสลาม การพิมพ์แจกอัลกุรอาน โครงการละศีลอด การแจกจ่ายอินทผาลัมและมอบทุนการศึกษา

            ⁃          ซาอุดิอาระเบียสนับสนุนด้านงบประมาณโครงการผู้พิทักษ์สองมัสยิดอันทรงเกียรติกษัตริย์ซัลมาน บินอับดุลอาซีซอัลซะอูด ที่เมืองมะดีนะตุสสลาม จังหวัดปัตตานี

            ⁃          ซาอุดิอาระเบียได้ส่งออกสินค้าเข้าประเทศไทยในปี 2020 มูลค่า 4,000 ล้านดอลล่าร์ ในขณะที่ประเทศไทยได้ส่งออกสินค้าไปยังซาอุดิอาระเบียมูลค่า 1.65 พันล้านดอลล่าร์ 

            ⁃          ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา การแลกเปลี่ยนสินค้าของทั้งสองประเทศนี้ มีมูลค่าสูงถึง 18,000 ล้านดอลล่าร์

ขอบคุณภาพจาก twitter : @OKAZ_online
ขอบคุณภาพจาก twitter : @OKAZ_online
ขอบคุณภาพจาก twitter : @OKAZ_online
ขอบคุณภาพจาก twitter : @OKAZ_online

ขอบคุณภาพจาก twitter : @OKAZ_online

อ่านข่าวเพิ่มเติม


โดยทีมข่าวต่างประเทศ

การจากไปของเฒ่าทระนง

ชัยค์สุไลมาน อัลฮาซลีน (70 ปี) ชายชราจากเมืองคอลีล ทางตอนใต้เขตเวสต์แบงค์ ได้เสียชีวิตอย่างสงบหลังจากมอบชีวิตทั้งหมดเพื่อต่อสู้กับกองกำลังยิวจอมปล้นแผ่นดิน

เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2022 กองกำลังผู้รุกรานได้เข้าตรวจค้นหมู่บ้าน “อุมมุลคอยร์” ณ เมืองคอลีล ซึ่งอยู่ทางตอนใต้เขตเวสต์แบงค์ ปาเลสไตน์ โดยอ้างว่าเพื่อตรวจค้นรถยนต์ผิดกฎหมายซึ่งในความเป็นจริงเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้แก่ประชาชนและเข้าจับกุมชัยค์สุไลมาน อัลฮาซาลีน เฒ่าทระนงผู้ยืนหยัดต่อสู้กับกองกำลังก่อการร้ายในนามรัฐเถื่อนอิสราเอล

ทหารอิสราเอลใช้รถเกราะล้อยางเหยียบร่างของเฒ่าทระนงผู้นี้จนทำให้ศีรษะและร่างกายได้รับบาดเจ็บสาหัส ก่อนถูกนำไปโรงพยาบาลและได้รับชะฮีดในวันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2022 ท่ามกลางความเศร้าโศกของชาวปาเลสไตน์ที่ได้สูญเสียบุคคลผู้เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้กับการกดขี่และอธรรมที่รุนแรงที่สุดในโลกปัจจุบัน

ถึงแม้สื่อกระแสหลักจะบอดใบ้เช่นเคยก็ตาม


โดยทีมข่าวต่างประเทศ

ประกาศผู้ได้รับรางวัลกษัตริย์ไฟศอลประจำปี 2022

เจ้าชายคอลิด อัลไฟศอล อะมีร์มักกะฮ์ ในฐานะองค์ประธานรางวัลกษัตริย์ไฟศอล ได้เป็นองค์ประธานพิจารณาผู้ที่สมควรได้รับรางวัล ใน 5 สาขา โดยในปีนี้มีนักวิชาการระดับโลกได้รับรางวัลจำนวน 8 ท่าน แยกเป็น สาขาวิทยาศาสตร์จำนวน 2 ท่าน สาขาแพทยศาสตร์จำนวน 1 ท่าน สาขาภาษาอาหรับและวรรณคดี จำนวน 2 ท่าน สาขาบริการอิสลามจำนวน 2 ท่าน ส่วนสาขาอิสลามศึกษา ไม่มีผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน

รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัลกษัตริย์ไฟศอลสาขาบริการอิสลามได้มีมติเลือก Professor Dr. Mahmoud AL Shafei (91 ปี) ชาวอิยิปต์อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ กรุงอิสลามมาบัด อดีตประธานสภาภาษาอาหรับและวรรณคดีประจำกรุงไคโร ปัจจุบันเป็นหนึ่งในสมาชิกสภาอุละมาอ แห่งอิยิปต์ ได้รับรางวัลกษัตริย์ไฟศอลสาขาบริการอิสลาม พร้อมด้วย Mr.Hassan Mwinyi (96ปี) อดีตประธานาธิบดีแทนซาเนีย สมัย 1985-1995 ซึ่งคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้คือ อบุล อะอฺลา อัลเมาดูดีย์ นักเคลื่อนไหวอิสลามนามอุโฆษขาวปากีสถานเมื่อ ค.ศ.1979

ผู้ได้รับรางวัลในแต่ละสาขา ได้รับโล่รางวัลพร้อมเช็คเงินสดจำนวน 200,000 ดอลล่าร์สหรัฐ หากมีผู้ได้รับรางวัลในสาขาเดียวกันมากกว่าหนึ่งคน ก็จะแบ่งเงินรางวัลจำนวนเท่ากัน

ติดตามรายละเอียดได้ที่

https://www.facebook.com/KingFaisalPrize/


โดย Mazlan Muhammad

ประชุมมูลนิธิกษัตริย์ไฟศอลเพื่อการสาธารณกุศล

จันทร์ที่ 3 มกราคม 2565

รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนีได้เดินทางไปยังกรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย เพื่อเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการคัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสมรับรางวัลกษัตริย์ไฟศอล สาขาบริการอิสลามประจำปี 2022 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 5 มกราคม 2565 ณ มูลนิธิกษัตริย์ไฟศอล เพื่อการสาธารณกุศล กรุงริยาด เริ่มเวลา 13.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น โดยจะประกาศผู้ได้รับรางวัลตามสาขาต่าง ๆ พร้อมเลี้ยงรับรองคณะกรรมการฯเวลา 20.00 น.ในวันเดียวกัน

การประชุมครั้งนี้ มีเจ้าชายคอลิด อัลไฟศอล องค์ประธานคณะกรรมการคัดเลือกและประธานมูนิธิ ฯ เป็นองค์ประธานที่ประชุมและเลี้ยงรับรอง

รศ.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา หนึ่งเดียวในระดับอาเซียนและบุคคลแรกในประวัติศาสตร์ปาตานีที่ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการคัดเลือกอันทรงเกียรตินี้ ถือเป็นเกียรติประวัติและความภาคภูมิใจของชาวปาตานี โดยเฉพาะชาวมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ซึ่งมีบุคลากรที่ได้รับการยอมรับในระดับโลกเช่นนี้

ในโอกาสนี้ รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา มีกำหนดเดินทางไปยังมักกะฮ์และมะดีนะฮ์ เพื่อประกอบพิธีอุมเราะฮ์และซิยาเราะฮ์ ก่อนที่จะเดินทางกลับเมืองไทยในวันที่ 10 มกราคม 2565

ขอให้การเดินทางครั้งนี้ เต็มไปด้วยบารอกัตและสวัสดิภาพ พร้อมกับภารกิจนำความเมตตาแห่งสากลจักรวาลที่สะท้อนถึงความเป็นประชาชาติหนึ่งเดียว “อุมมะฮ์วาฮิดะฮ์” สู่สันติภาพและสันติสุขอันยั่งยืน


โดย Mazlan Muhammad

มัสยิดอานีซอายาโยเฟีย ได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมัสยิดอีกครั้ง

มัสยิดอานีซอายาโยเฟีย ได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมัสยิดอีกครั้งโดยประธานฝ่ายศาสนาอิสลามตุรกีเมื่อ วันศุกร์ที่24 ธค. 2021 หลังจากถูกรัฐบาลสายเคมาลิสต์ปิดนานกว่า 56 ปี

มัสยิดนี้ เดิมคือโบสถ์สมัยไบเซนไทน์ สร้างเมื่อค.ศ. 12 และถูกเปลี่ยนเป็นมัสยิดหลังการพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลเมื่อค.ศ.1456 แต่ถูกรัฐบาลสาวกเคมาลิสต์ปิดถาวรเมื่อ 56 ปีที่ผ่านมา

มัสยิดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมืองเอดีร์เน เมืองทางตะวันตกสุดของประเทศ ติดกับประเทศกรีซ 7 กม. และบัลเกเรีย 20 กม.


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

ชาวจะนะประกาศ “พอใจแต่ยังไม่วางใจ”

ยกแรก ชนะอย่างขาวสะอาด แต่ศึกนี้มี 100 ยก ด้วยเหตุนี้ชาวจะนะประกาศ “พอใจแต่ยังไม่ไว้วางใจ”

เช้านี้มีโอกาสคุยกับอาจารย์อับดุลสุโก ดินอะ  พร้อมถอดบทเรียนปัจจัยความสำเร็จของพี่น้องชาวจะนะ ที่คัดค้าน “เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” ที่ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบลในอำเภอจะนะจังหวัดสงขลาจำนวน 16,752 ไร่ เงินลงทุนกว่า 18,680 ล้านบาท

สรุปได้ดังนี้

 1. การต่อสู้ของชาวบ้านที่ใช้ต้นทุนของความบริสุทธิ์ใจและความเทใจ

 2. การใช้หลักสันติวิธีและหลักการเจรจาต่อรองอันทรงพลัง

 3. การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ทุกหมู่เหล่าที่เข้าใจเจตนารมย์ร่วมกัน

 4. การใช้พลังทางวิชาการ สื่อท้องถิ่นและสื่อนานาชาติได้อย่างเข้าถึงและมีประสิทธิภาพ

 5. ปรากฏการณ์ไครียะห์ “ลูกสาวแห่งทะเลจะนะ” พลังของคนรุ่นใหม่ สร้างความเปลี่ยนแปลง

 6. ความใจกว้างของรัฐบาลที่ยอมประเมินยุทธศาสตร์ SEA อีกครั้ง

อาจารย์อับดุลสุโก ดินอะให้ข้อมูลว่า ที่ประชุมครม. ได้มีมติดังนี้

 1. การดำเนินการที่ผ่านมาของบริษัทเอกชน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับนิคมอุตสาหกรรมจะนะต้องยุติลง

 2. การพัฒนาจะนะและพื้นที่ใกล้เคียงจะเป็นไปตามการประเมินยุทธศาสตร์ SEAโดยผู้มีหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักคือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) และไม่เอาคู่ขัดแย้งนิคมอุตสาหกรรมจะนะ มาดำเนินการ

 3. ให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นผู้ประเมิน SEA

 4. นำข้อเสนอกระบวนการ SEA ของกลุ่มจะนะรักษ์ถิ่นมาประกอบการประเมิน

“หัวใจสำคัญของการเจรจากับรัฐบาลครั้งนี้คือนอกจากต้องยุติโครงการสร้างนิคมอุตสาหกรรมจะนะแล้ว รัฐบาลควรมอบเงินเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ให้พี่น้องจะนะนำเป็นทุนในการพัฒนาท้องถิ่นที่หลากหลายบนฐานทรัพยากรอันมากมาย เพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนที่ยังยืนและนำไปสู่การกระจายโอกาสที่เป็นธรรม”

“และที่สำคัญหลังจากนี้ประชาชนทุกภาคส่วนต้องกำหนดทิศทางการพัฒนาด้วยตนเอง หมดยุคที่กลุ่มทุนและกลุ่มการเมืองอิงผลประโยชน์จะมาชี้นิ้วสั่งการได้แล้ว” อาจารย์อับดุลสุโก ดินอะ กล่าวทิ้งท้าย


อ่านเพิ่มเติม

https://www.csitereport.com/newsdetail?id=0000021445

โดย Mazlan Muhammad

นสพ. อังกฤษโจมตีแอร์โดอาน

หนังสือพิมพ์อังกฤษ Financial Times 

ฉบับวันที่ 29 พ.ย. 64 กล่าวโจมตีแอร์โดอาน เนื่องจากค่าเงินลีร่าดิ่งต่ำเป็นประวัติการณ์ หลังแบงค์ชาติตุรกีหั่นดอกเบี้ย ทำให้เงินลีร่าทรุดตัวลงกว่า 40 % นับตั้งแต่ต้นปีนี้

หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว ได้พาดหัวข้อข่าวกล่าวถึงแอร์โดอานว่า “ จะอยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีนานแค่ไหน”

ปธน. แอร์โดอานได้ออกมาหนุนนโยบายดอกเบี้ยต่ำ และปกป้องการใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงินของรัฐบาล

ปธน.เออร์โดอาน กล่าวว่า ตุรกีจำเป็นต้องมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นการส่งออก การลงทุน และการจ้างงาน แม้ว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้เงินเฟ้อพุ่งขึ้นเกือบ 20% และค่าเงินลีราดิ่งลงก็ตาม

ปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อในตุรกีพุ่งขึ้นแตะระดับ 19.89% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี และสูงกว่าระดับเป้าหมาย 5% ที่ธนาคารกลางกำหนดไว้ถึง 4 เท่า

สถานการณ์ในตุรกีทำให้หุ้นธนาคารในยุโรปพากันร่วงระนาวเมื่อต้นสัปดาห์เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลว่า วิกฤตค่าเงินตุรกีอาจลุกลามประเทศอื่น ๆ ในยุโรป

แหล่งข้อมูล


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

สหรัฐฯ เชิญ 110 ชาติ ร่วมซัมมิตประชาธิปไตย

สหรัฐฯ ส่งเทียบเชิญ 110 ประเทศและดินแดนทั่วโลก รวมถึงไต้หวัน เข้าร่วมประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตย สร้างความไม่พอใจให้จีน ขณะที่การเชิญครั้งนี้ไม่มีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย ในขณะที่โลกอาหรับมีเพียงประเทศอิรักที่ได้รับเชิญ

สำนักข่าว CNN รายงานว่า กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยรายชื่อประเทศและดินแดนที่ได้รับเทียบเชิญเข้าร่วมการประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตย (Summit for Democracy) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมคุณค่าทางประชาธิปไตย และการยกระดับสิทธิมนุษยชนทั่วโลก โดยมีการทยอยส่งบัตรเชิญออนไลน์ให้แก่ผู้เข้าร่วม 110 คน มีทั้งผู้นำและตัวแทนระดับสูงแทนผู้นำ

รายชื่อดังกล่าวประกอบด้วย 110 ประเทศและดินแดน รวมทั้งไต้หวัน แต่ไม่มี จีนกับรัสเซีย โดยจะเป็นการประชุมทางไกลในวันที่ 9-10 ธ.ค. 2564

อนึ่ง สำหรับในทวีปเอเชีย สหรัฐฯ เชิญพันธมิตรอย่าง ญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ แต่ไม่มีประเทศไทยและเวียดนาม นอกจากนั้นยังไม่มีชื่อของอียิปต์ และชาติสมาชิกนาโตอย่างตุรกีด้วย ขณะที่ในตะวันออกกลาง มีเพียงอิรักและอิสราเอลที่ได้รับการเทียบเชิญ

รายชื่อประเทศ

https://www.state.gov/participant-list-the-summit-for-democracy/

อ้างอิง

https://www.thairath.co.th/news/foreign/2250061


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น

หนังสือพิมพ์ Haaretz อิสราเอลรายงานว่า :

ลูกชายนายพลฮัฟตาร์แห่งลิเบีย ได้บินไปยังอิสราเอลโดยเครื่องบินส่วนตัว เพื่อให้อิสราเอลสนับสนุนทางการทหารและด้านการเมือง แลกกับความสัมพันธ์อย่างปกติกับอิสราเอล

นายซัดดัม ลูกชายนายฮัฟตาร์ นายพลที่ปฏิวัติรัฐบาลประชาชนลิเบียและนำพาลิเบียทำสงครามกลางเมือง ได้ไปเยี่ยมเทลอาวีฟ หลังกลับจากกรุงดูไบ โดยได้นำสารของบิดาว่า หากพรรคของบิดาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งใหญ่ที่จะมีขึ้นเดือนธันวาคม ปลายปีนี้ ลิเบียพร้อมเจริญสัมพันธ์อย่างปกติกับอิสราเอลทันที

อ่านเพิ่มเติม

https://arabic.rt.com/middle_east/1291468-صحيفة-إسرائيلية-نجل-خليفة-حفتر-زار-تل-أبيب-سرا-للحصول-على-الدعم-والمساعدة-العسكرية/

-الجزيرة نت


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ