ฆอนิม อัลมุฟตาห์ เยาวชนกาตาร์ ผู้ที่อ่านอัลกุรอานพิธีเปิด บอลโลก 2022

เรื่องราวของเยาวชนกาตาร์ที่อ่านคัมภีร์กุรอานในพิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022

 โลกประหลาดใจกับการปรากฏตัวของฆอนิม อัลมุฟตาห์ เยาวชนกาตาร์   ผู้ที่เป็นโรคถดถอยของไขสันหลัง  ในพิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลโลก กาตาร์  2022 World Cup  ที่อ่านอัลกุรอานและสนทนากับมอร์แกน ฟรีเเมน  ดาราระดับนานาชาติที่อยู่ข้าง ๆ

ฆอนิม อัลมุฟตาห์ คือใคร ?

❝ ร่างกายฉันเล็ก แต่ใจใหญ่  พระเจ้าประทานสิ่งดีๆให้ฉันมากมาย แล้วทำไมฉันจะไม่ยิ้มล่ะ

ความหมายเชิงบวกที่สำคัญที่สุดของคนคือความพึงพอใจในสิ่งที่พระเจ้าเลือก ที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเขา และมนุษย์ต้องยอมรับของประทานจากพระเจ้า เพื่อที่เขาจะได้เห็นโลกในแง่ดี ❞

ด้วยคำพูดเหล่านี้  ฆอนิม อัลมุฟตาห์แนะนำตัวเอง ในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์เมื่อหลายปีก่อนในงาน Third Arab Media Forum ระหว่างการสนทนากับนักข่าว

ความพิการอย่างหนักที่เกือบจะขัดขวางไม่ให้ใช้ชีวิตตามปกติ ฆอนิม อัลมุฟตาห์ พูดถึงมันว่า  ❝ ฉันยอมรับความพิการของฉันและอยู่ร่วมกับมันด้วยความรักและความสบายใจ ฉันต้องพบเจอสิ่งไม่ดีจากการมองที่เด็กบางคนมีต่อฉัน แต่ก็ไม่ได้กวนใจฉัน ทุกคนที่มองมาที่ฉัน จะสรรเสริญอัลลอฮ์สำหรับสิ่งดีๆที่เขามี และฉันจะได้รับผลบุญเพราะฉันเป็นเหตุให้พวกเขาระลึกถึงอัลลอฮ์  ❞

ความท้าทายใหญ่ที่ ฆอนิม อัลมุฟตาห์ ต้องเผชิญ เนื่องจากความทุพพลภาพอันเนื่องมาจากการที่เขามีร่างกายเพียงท่อนเดียว

ไม่มีทหารนิรนามในชีวิตของเขา ยกเว้นแม่ของเขา

ที่ดูแลเขา สอนการเข้ากับสังคม และมีส่วนร่วมในสังคม

แนะนำให้ติดต่อ พูดดีๆกับคนอื่น และปฏิบัติต่อพวกเขาด้วยความเมตตากรุณา เพื่อไม่ให้อยู่คนเดียว

เธอพิมพ์เรื่องราวและหนังสือเกี่ยวกับเขา แจกจ่ายให้กับโรงเรียนและหน่วยงานต่างๆ พยายามทุกวิถีทาง  มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนวิธีที่ผู้คนมองคนพิการ  ซึ่งทำให้พวกเขามีความมั่นใจในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น

ชมฉากการอ่านอัลกุรอานของฆอนิมในฟุตบอลโลก กาตาร์  2022 World Cup

#ฟีฟ่าเวิลด์คัพ


โดย ผศ.ดร.Ghazali Benmad

มกุฎราชกุมาร-นายกซาอุฯเดินทางถึงไทย ร่วมประชุม เอเปค2565

(ค่ำวันที่ 17 พฤษจิกายน พ.ศ.2565 ) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับเสด็จเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ณ ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 (บน. 6) ดอนเมือง

..

การเสด็จฯ เยือนไทยดังกล่าวของมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีซาอุดีอาระเบีย ถือเป็นครั้งแรกของการเยือนไทย โดยผู้นำซาอุฯ ในรอบ 32 ปี หลังมีการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปีนี้

โดย มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีซาอุฯ เสด็จฯ เข้าร่วมการประชุมกับผู้นำเอเปค ในฐานะแขกของรัฐบาล (Official Visit) ในวันที่ 18 พฤศจิกายนนี้ และจะหารือกับ พล.อ.ประยุทธ์ ในการเสด็จฯ เยือนไทยทางการในช่วงดึกของวันเดียวกัน ที่ทำเนียบรัฐบาล

ภาพจาก กระทรวงการต่างประเทศ | MFA of Thailand

ภาพจาก กระทรวงการต่างประเทศ | MFA of Thailand
ภาพจาก กระทรวงการต่างประเทศ | MFA of Thailand
ภาพจาก กระทรวงการต่างประเทศ | MFA of Thailand

..

กำหนดการวันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ณ ทำเนียบรัฐบาล

เวลา 22.00 น.   มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เสด็จฯ ถึงทำเนียบรัฐบาล

– นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลเชิญมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ฉายพระรูปร่วมกับนายกรัฐมนตรี ณ บันไดโถงกลาง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

– ลงพระนามในสมุดเยี่ยมของรัฐบาล ณ ห้องสีเหลือง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

(อนุญาตช่างภาพสำนักโฆษก ช่างภาพพูลต่างประเทศ ช่างภาพทางการซาอุดีฯ ช่างภาพช่อง 7/การแต่งกายช่างภาพชุดสูทสากล)

เวลา 22.15 น.   การหารือทวิภาคี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล             

เวลา 23.00 น.   นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลเชิญมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เสด็จฯ ไปยังโถงกลางตึกสันติไมตรี เพื่อร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีแลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจ

เวลา 23.15 น.   งานถวายพระกระยาหารค่ำ ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล

เวลา 00.15 น.   นายกรัฐมนตรี ส่งเสด็จ มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ณ จุดเทียบรถยนต์พระที่นั่ง ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล


ทีมข่าว Theustaz

ร่วมยินดี รองฯพาตีเมาะ สะดียามู สตรีมุสลิมคนแรก ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าฯปัตตานี

.

15 พ.ย.2565 จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหลาโหม เป็นประธาน มีมติเห็นชอบแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงและโยกย้ายข้าราชการ กระทรวงมหาดไทย รวม 37 ตำแหน่ง โดยแบ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด 26 จังหวัด ผู้ตรวจราชการ 11 ตำแหน่ง ตามที่เสนอข่าวไปนั้น

.

ล่าสุดชาวเน็ตจำนวนมาก ได้แสดงความยินดีกับ นางพาตีเมาะ สะดียามู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เพราะถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมี “ผู้ว่าฯหญิงมุสลิมคนแรก”

.

สำหรับนางพาตีเมาะ สะดียามู เกิดเมื่อ 19 พ.ย. 2508 เป็นคนบ้านปีซัด หมู่ 1 ต.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา เริ่มต้นการศึกษาระดับประถมตอนต้น-ตอนปลายที่ ร.ร.วัดลำใหม่ และ ร.ร.พัฒนาวิทยา จ.ยะลา ตามลำดับ ก่อนเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย ที่ ร.ร.พัฒนาวิทยา จ.ยะลา และ ร.ร.สาธิต ม.สงขลานครินทร์ จ.สงขลา

.

เข้าศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (ม.อ.) ก่อนจะต่อระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาพัฒนาสังคม) สาขา การจัดการการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

เคยดำรงตำแหน่ง ผช.เลขาธิการ ศอ.บต. (สป.มท.) หัวหน้าสำนักงานจังหวัดพัทลุง รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง และรองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ก่อนจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี

.

นางพาตีเมาะ ถือเป็นสตรีมุสลิมที่มีบทบาทในพื้นที่ ซึ่งทุกภาคส่วนยอมรับและต่างชื่นชมในการทำงาน

.


ขอบคุณข่าว จาก SOUTH : White news

ทีมข่าว Theustaz

เราไม่ทิ้งกัน

นายซอลาฮุดดีน หะยียูโซะ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและเลขานุการสำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี ได้เขียนในไลน์ส่วนตัวว่า เมื่อบ่ายวันศุกร์ ที่​ 14 ตุลาคม​ 2565​ เวลา​ 13:30 น.​ ณ​ สนามบินหาดใหญ่ และ สนามบินสุวรรณภูมิ​ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

ได้ออกเดินทางไป​ จ.อุดรธานี​ เพื่อไปเยี่ยมครอบครัวผู้สูญเสียจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมการสังหารหมู่ที่​ จ.หนองบัวลำภู​ และในการเดินทางครั้งนี้ได้จัดการประชุมคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยสัญจรในภาคอีสานพร้อมกันด้วย

เด็กที่เสียชีวิต 26 รายส่วนใหญ่ถูกฟันที่หัวและตามลำตัว ส่วนที่เหลือเป็นผู้ใหญ่ ถูกกระสุนและถูกรถชนและเหยียบ

“คนไทยทุกคน​ ทุกภูมิภาค​ ล้วนเป็นพี่น้องกัน​ ยามสุขเราก็ดีใจด้วยกัน

ยามทุกข์เราเสียใจอย่างสุดซึ้ง เราไม่ทิ้งกัน” พร้อมนี้ ได้มอบเงินเยียวยาแก่ครอบครัวผู้สูญเสียรายละ 10,000 บาททั้ง 46 ราย รวมเงินทั้งสิ้น 460,000 บาท นายซอลาฮุดดีนกล่าวทิ้งท้าย


Credit : ซอลาฮุดดีน หะยียูโซะ

มฟน. จัดพิธีมอบปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์

มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จัดพิธีมอบปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในวันที่ 5 ตุลาคม 2565 ณ ห้องชมัยมรุเชฐ ชั้น 3 สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี กรุงเทพมหานคร  ในฐานะผู้ที่มีบทบาทในการสร้างความปรองดองในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

..

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ จบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อ ณ โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 1 และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 12 โดยสำเร็จการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2508 และเริ่มต้นรับราชการประจำศูนย์การทหารราบเป็นหน่วยงานแรก หลังเข้ารับราชการทหารได้สอบผ่านหลักสูตรอบรมสำคัญๆ หลายหลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรจู่โจม รุ่นที่ 11 ศูนย์การทหารราบ หลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารราบ หลักสูตรส่งกำลังทางอากาศจู่โจม หลักสูตรชั้นนายพันเหล่าทหารราบจากสหรัฐอเมริกา หลักสูตรเสนาธิการทหารบก รุ่นที่  52 หลักสูตรเสนาธิการทหารบกจากสหรัฐอเมริกา หลักสูตรการบริหารทรัพยากรกระทรวงกลาโหมจากสหรัฐอเมริกา และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ตามลำดับ ตลอดอายุการรับราชการทหารได้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆหลายตำแหน่ง ได้แก่  ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก ผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารสูงสุดในที่สุด ระหว่าง พ.ศ. 2545 – 2546 และในปี พ.ศ. 2546 ได้รับเกียรติสูงสุดในชีวิตโดยได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2563 จวบจนปัจจุบัน 

..

นอกจากนี้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ยังได้รับรางวัล “คนดีของแผ่นดิน” จากมูลนิธิรัฐบุรุษ พ.ศ. 2543 ด้วยเป็นคนให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ผืนป่าและเป็นผู้นิยมการเดินป่า จึงได้รับแต่งตั้งเป็นประธานมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นกรรมการ“โครงการสายใจไทยสู่ใจใต้” ริเริ่มโครงการครอบครัวอุปถัมภ์นำเยาวชนมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาอยู่กับครอบครัวมุสลิมในต่างพื้นที่เป็นระยะเวลา 20 วัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีและประสบการณ์ชีวิต

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้รับการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 24 ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ได้วางยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข โดยเน้นการพัฒนาคนและครอบครัวให้พึ่งพาตนเองได้ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และได้เดินทางลงพื้นที่ภาคใต้เพื่อพบปะและรับฟังเสียงของประชาชนและผู้นำในพื้นที่หลายครั้ง เพื่อสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น

พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นผู้ยึดมั่นถือมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต บริหารกิจการกองทัพและชาติบ้านเมืองด้วยความเป็นธรรม ถือมั่นในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ไม่ฝักใฝ่ไม่เลือกข้างในการปฏิบัติงาน บุคลิกภาพสุขุม ใฝ่สันติ ดำรงไว้ซึ่งคุณสมบัติการเป็นผู้นำที่ดี นำพาชาติบ้านเมืองให้ผ่านพ้นวิกฤตต่างๆมาได้ด้วยดี ทั้งวิกฤตการเมือง ภัยคุกคามจากยาเสพติด และการกัดกร่อนจากภัยก่อการร้าย เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ สภามหาวิทยาลัยฟาฏอนี จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้รับปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป


CR : FB Zakariya Hama

พิธีประสาทปริญญา ครั้งที่ 17 มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

(วันอาทิตย์ ที่ 4 กันยายน 2565) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายกสภามหาวิทยาลัยฟาฏอนี เป็นประธานในพิธีประสาทปริญญาครั้งที่ 17 โดยมีรศ. ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดี รองอธิการบดี คณะผู้บริหาร คณะกรรมการมูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาอิสลามภาคใต้ บัณฑิตและผู้ปกครองร่วมให้การต้อนรับ

นายกสภามหาวิทยาลัยกล่าวคำโอวาทแก่บัณฑิตความตอนหนึ่งว่า “บรรดาการสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ วันนี้เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่ง เป็นวันแห่งการชุมนุมยินดีความสำเร็จของท่านทั้งหลายที่ได้ใช้ความพยายามในการบ่มเพาะความรู้และหล่อหลอมตนเองตามแนวทางการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยฟาฏอนีที่มุ่งเน้น “การสร้างชีวิตก่อนอาชีพ” การศึกษาที่พัฒนาและเติมเต็มชีวิตตามเจตนารมณ์ของผู้ทรงสร้างมนุษย์และผู้ส่งสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้สู่ทางนำแห่งความสำเร็จของพระองค์นั่นคือ “อัลกุรอาน”

รศ. ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา กล่าวรายงานผลการดำเนินการตามภารกิจหลักของสถาบันว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยฟาฏอนี เปิดสอนในระดับปริญญาเอก 2 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 5 หลักสูตร ระดับประกาศษนียบัตรบัณฑิต 1 หลักสูตรและระดับปริญญาตรี 21 หลักสูตร รวมทั้งสิ้น 29 หลักสูตร  โดยมีผู้สำเร็จการศึกษาครั้งนี้ทั้งสิ้น  1,831 คน

พิธีประสาทปริญญาครั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยมีมติมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินและการธนาคารให้แก่ Tan Sri Dr. Mohd Daud Bakar ประธานที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ ธนาคารแห่งชาติมาเลเซีย ผู้ก่อตั้ง Amanie Advisors อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติแห่งมาเลเซีย (IIUM) มอบโล่ Alim Rabbani (ผู้ทรงภูมิความรู้ดีเด่น) ให้แก่ Dr. Salim Seqaf Al-Jufri รองประธานสภาชะรีอะฮ์แห่งชาติ – สภาอุลามาอฺอินโดนีเซีย (Dewan Syariah Nasional -Majelis Ulama Indonesia ) มอบโล่ Tokoh Berjasa (ผู้สร้างคุณประโยชน์แก่สังคมดีเด่น ให้แก่ กระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลามประเทศกาตาร์ และอุสต้าซอับดุลลอฮ์ อาเก็ม ผู้รับใบอนุญาตวิทยาลัยอันดามันอานาโตเลียน ผู้รับใบอนุญาตและผู้อำนวยการโรงเรียนธรรมศาสน์วิทยาจังหวัดสตูล

الحمد لله الذي بنعمته تتم الصالحات

تهانينا وتبريكاتنا للخريجين


โดย Mazlan Muhammad

‘ซัลมาน รุชดี’ นักเขียนชื่อดัง ถูกมือมีดจ้วงแทงกลางเวทีที่นิวยอร์ก

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (12 ส.ค. 2565) ตามเวลาในสหรัฐฯ รุชดีมีกำหนดขึ้นบรรยายที่เทศกาลวรรณกรรมของสถาบันชูโทกัว (Chautauqua Institution) ในขณะที่กำลังจะเริ่มพูดนั้น ชายผู้ก่อเหตุก็บุกทำร้าย ผู้เห็นเหตุการณ์อ้างว่า เขาถูกแทงถึง 10-15 ครั้ง ในเวลาไม่ถึง 20 วินาที ในส่วนลำตัวและคอ

หลังจากนั้น รุชดีถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในรัฐเพนซิลเวเนียด้วยเฮลิคอปเตอร์ ก่อนจะเข้ารับการผ่าตัด แพทย์พบตับและเส้นประสาทในแขนเสียหาย ขณะที่ผู้สัมภาษณ์บนเวที ราลฟ์ เฮนรี รีส ซึ่งถูกทำร้ายในเหตุการณ์เดียวกัน ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย และออกจากโรงพยาบาลแล้ว

ซัลมาน รุชดี วัย 75 ปีชาวอังกฤษ เชื้อสายอินเดีย ได้สร้างความโกรธแค้นในโลกมุสลิมด้วยงานเขียนของเขา เคยถูกขู่ฆ่าหลายครั้งหลังจากที่ตีพิมพ์นวนิยายที่ชื่อ ‘The Satanic Verses’ หรือ ‘โองการปีศาจ’ เมื่อปี 2531 ซึ่งมีเนื้อหาที่มุสลิมบางส่วนมองว่าเป็นการลบหลู่ศาสนาจนไม่อาจยอมรับได้

ทำให้ อยาตุลเลาะห์ โคไมนี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านในขณะนั้น สั่งแบนหนังสือ และออก ‘ฟัตวา’ หรือคำวินิจฉัย ให้สังหารรุชดี พร้อมกับตั้งค่าหัวเป็นจำนวน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ซัลมาน รุชดีได้รับการอารักขาแน่นหนาจากรัฐบาลอังกฤษ เขาไม่ค่อยปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชน ยกเว้นในช่วงปลายศตวรรษที่ผ่านมา หลังจากอิหร่านประกาศยกเลิกคำฟัตวามรณะดังกล่าว

ทั้งนี้ นายซัลมาน รุชดี พลเมืองสัญชาติอเมริกัน-อังกฤษ เกิดมาในครอบครัวมุสลิมที่ไม่เคร่งครัดศาสนาในอินเดีย และประกาศตัวเป็นผู้ไม่มีศาสนา และกลายเป็นแกนนำผู้เรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออก โดยเฉพาะงานเขียนของเขาที่มีเจตนาจาบจ้วงศาสนาอิสลามตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา

อ้างอิง

https://www.aljazeera.net/news/2022/8/12/%D8%B4%D8%A7%D9%87%D8%AF-%D8%B3%D9%84%D9%85%D8%A7%D9%86-%D8%B1%D8%B4%D8%AF%D9%8A-%D9%8A%D8%AA%D8%B9%D8%B1%D8%B6-%D9%84%D9%84%D8%B7%D8%B9%D9%86-%D8%AE%D9%84%D8%A7%D9%84


โดย Mazlan Muhammad

อาลัยฮีโร่ที่ไม่มี “รางวัลโนเบล”

สรรสาระวันหยุด : อาลัยฮีโร่ที่ไม่มี “รางวัลโนเบล” ทีมนักเตรียมสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีเออร์โดกันของตุรกี

เมื่อวันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ตุรกีกล่าวคำอำลาเมาลานา อิดรีสเซงเกน Maulana Idris Zengin นักกวีและนักเขียนวรรณกรรมเด็กที่   เสียชีวิต ในวัย 56 ปี ขณะเข้ารับการรักษาในจังหวัด Kahramanmaraş (ทางใต้) เพื่อผ่าตัดหัวใจและเปลี่ยนตำแหน่งของหลอดเลือดทั้ง 4 เส้น  แม้ว่าแพทย์จะพยายามช่วยเหลืออย่างเต็มที่ก็ตาม และผู้ติดตามงานเขียนของเขาหลายพันคนเข้าร่วมพิธีศพที่มัสยิดสุลต่านอัยยูบ อันเก่าแก่ในอิสตันบูล

เมาลานา อิดรีสเซงเกน นักเขียนวรรณกรรมเด็กที่โดดเด่นคนหนึ่งในไม่กี่คนที่เติบโตขึ้นมาในตุรกีในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา  เกิดในปี 1966 ในเขต Andreen ของ Kahramanmaraş  เป็นผู้แต่งหนังสือสำหรับเด็กมากกว่า 70 เล่ม และหนังสือของเขาได้รับการแปลเป็นภาษาเยอรมัน อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เปอร์เซีย อาหรับ อูรดู และฮังการี  และงานเขียนบางส่วนของเขาได้กลายเป็นภาพยนตร์การ์ตูนที่ฉายทางช่องทีวี

สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งในเยอรมนีดูแลการแปลหนังสือที่เขาเขียนในชุด “Stranger Men” เป็น 9 ภาษาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการออกเป็นหนังสือ

เมาลานา อิดรีสเซงเกน ได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัลวรรณกรรมสำหรับเด็ก ที่มอบให้โดย Gokyuzo Publishing House ในปี 1987 จากหนังสือกวีนิพนธ์เรื่อง “My Childhood in the Colours of Birds” รวมถึงรางวัลวรรณกรรมสำหรับเด็กจากสหภาพนักเขียนชาวตุรกีในปี 1998 จากผลงานเขียนหนังสือ “ร้านสยองขวัญ” รวมถึงรางวัลระดับนานาชาติที่นำเสนอโดยนิตยสาร “ภาษาตุรกีของฉัน” ที่ตีพิมพ์ในโคโซโว / พริซเรนในปี 2008 ที่เป็นรางวัลที่มอบให้กับผู้มีส่วนสนับสนุนภาษาตุรกี

เมาลานา อิดรีสเซงเกน ยังได้รับรางวัล “นักเขียนวรรณกรรมเด็กที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด” ในปี 2011 จากมูลนิธิ Berikim Foundation for Education และเป็นสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาและจัดพิมพ์หนังสือเด็ก ซึ่งก่อตั้งขึ้นภายใต้การนำของมุสตาฟา รูฮิ ชีริน หนึ่งในนักเขียนวรรณกรรมเด็กที่มีชื่อเสียงที่สุดในตุรกี

งานเขียนของเซงเกนได้รับการศึกษาวิจัยในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในกรุงไคโร  เบอร์ลิน  อิสตันบูล ชานัคคาเล และเออร์ซูรุมในตุรกี

เมาลานา อิดรีสเซงเกน ได้เข้าร่วมในการประชุมและกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับวรรณกรรมสำหรับเด็กในหลายเมืองทั่วโลก รวมถึงแฟรงก์เฟิร์ต ดามัสกัส โคโลญ บูดาเปสต์  พริสตินา   ลอนดอน และปักกิ่ง และยังทำงานเป็นที่ปรึกษาและผู้แต่งสารคดีหลายเรื่อง และเป็นหนึ่งในผู้เตรียมสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีเออร์โดกันของตุรกี

เมาลานา อิดรีสเซงเกน ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูเยาวชนคนรุ่นใหม่และการปกป้องสิทธิของพวกเขา แทนที่จะหมกมุ่นอยู่กับเรื่องของผู้ใหญ่  และยังได้ออกนิตยสารสำหรับเด็กชื่อ “Cheto” พร้อมหนังสือนิทาน 

นิตยสารดังกล่าวมีการตีพิมพ์บทความ บทกวี เรื่องราว ความทรงจำ และภาพวาดของเยาวชนในระดับมัธยมต้น  มัธยมปลาย และมหาวิทยาลัย โดยมีสโลแกนว่า “หากคุณมีปัญญา ก็อย่าอวดดีเลย”

อิดรีสเซงเกนเชื่อว่าจิตใจของเด็กและคนหนุ่มสาวควรถูกหล่อหลอมผ่านเรื่องราว เกมการละเล่น และแอนิเมชั่นที่สะท้อนถึงค่านิยมเฉพาะในภูมิภาคของเรา

เด็ก ๆ ของตุรกี ตลอดจนผู้ใหญ่ที่คงมีหัวใจอยู่ในวัยเด็กต่างเสียใจกับการสูญเสียอิดรีสเซงเกน ผู้มีจิตวิญญาณที่สงบ  จริงใจและสวยงาม

อิดรีสเซงเกนขึ้นครองบัลลังก์แห่งหัวใจนับพันๆดวง ด้วยบทกวีและเรื่องเล่าของเขา และมีส่วนสนับสนุนอย่างมากต่อวรรณกรรมสำหรับเด็กในโลกนี้ จนกระทั่งลมหายใจสุดท้ายและจากโลกนี้ไป

เราสามารถสรุปบุคลิกของอิดรีสเซงเกนได้ในลักษณะเหล่านี้ : สงบ เศร้า  ใจกว้าง ร่าเริง มีสติสัมปชัญญะ ขี้อาย ฉลาด หน่อมแน้ม กังวล ล้อเล่น ใจดี และสง่างาม…

ผู้มีบุคลิกที่สวยงามมากมายเช่นเมาลานา อิดรีสเซงเกนซึ่งตะวันออกอำลาสู่ปรโลก วีรบุรุษตะวันออกที่โลกไม่รู้จักเหล่านี้ทุ่มเทความพยายามอย่างไม่ลดละเพื่อสร้างผลงานในโลกนี้ แต่น่าเสียดายที่พวกเขาจากเราไว้อย่างเงียบ ๆ โดยปราศจากการได้รับสถานะที่เหมาะสมในระดับโลก

นักเขียนชาวตะวันตกคนหนึ่งบอกว่า: “ถ้าเมาลานา อิดรีสเซงเกน เป็นนักเขียนชาวตะวันตก เขาได้รับรางวัลโนเบลสำหรับนิทานมหัศจรรย์เหล่านี้ตั้งนานแล้ว”

เช่นเดียวกับนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งตะวันออกจำนวนมาก น่าเสียดายที่ เมาลานา อิดรีสเซงเกน อพยพไปพำนักยังโลกของความเป็นอมตะ  โดยไม่ได้รับรางวัลใดๆ ในระดับโลก แต่ถึงกระนั้นเขาก็ยังคงเป็นวีรบุรุษในสายตาของผู้คนมากมายตลอดไป


Credit: Ghazali Benmad

โลกมุสลิม 20 ประเทศและองค์กร ประนามโฆษกพรรคบีเจพี พรรครัฐบาลอินเดีย

โลกมุสลิมและองค์กรอิสลามระหว่างประเทศ 20 ประเทศและองค์กร ร่วมกันประนามโฆษกพรรคบีเจพี พรรครัฐบาลอินเดีย และขอให้อินเดียจัดการกับผู้กระทำการดังกล่าว

ประเทศที่แถลงประนามในนามรัฐบาล ประกอบด้วย คูเวต กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย  สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรต  บาห์เรน  โอมาน   ปากีสถาน  มาเลเซีย   อัฟกานิสถาน อินโดนีเซีย  จอร์แดน  มัลดีฟส์  อิรัก  และลิเบีย

โดยมี 4 ประเทศที่เรียกทูตอินเดียหรือตัวแทนสูงสุดของอินเดียเข้าพบเพื่อประท้วงและประนาม ได้แก่  คูเวต  กาตาร์  อินโดนีเซียและมาเลเซีย

ส่วนตุรกีออกแถลงการประนามโดยพรรคเอเค พรรครัฐบาลของตุรกี  ในขณะที่อียิปต์ออกแถลงการณ์ประนามโดยสถาบันอัซฮัร และสำนักมุฟตีย์แห่งอียิปต์

ส่วนระดับองค์กรระหว่างประเทศที่แถลงประนามได้แก่องค์กรความร่วมมืออิสลาม (โอไอซี)  องค์กรความร่วมมืออ่าวอาหรับ(จีซีซี)  และฟอรัมเยาวชนโอไอซี (OIC Youth Forum)

ไม่นับรวมองค์กรนักวิชาการอิสลามที่ต่างออกมาประนามกันมากมาย

พรรคเอเคของตุรกีประณามคำหยามหมิ่นนาบีมุฮัมมัด ของโฆษกพรรคบีเจพี พรรครัฐบาลอินเดีย

เมื่อ 7 มิถุนายน อุมัร ซีลิก โฆษกพรรคยุติธรรมและการพัฒนาของตุรกี (พรรค AK) ประณามการหมิ่นหยามต่อท่านศาสดามุฮัมหมัด  ศอลฯ โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่พรรคดังกล่าวได้ถูกระงับการปฏิบัติหน้าที่แล้ว พร้อมขอให้รัฐบาลอินเดีย “ดำเนินมาตรการ ที่จำเป็น” เพื่อต่อสู้กับการเพิ่มขึ้นของกระแสอิสลามโมโฟเบียใน ประเทศ

อุมัร ซีลิก กล่าวในแถลงการณ์ว่า: “เราขอประณามอย่างรุนแรงคำกล่าวดูถูกของเจ้าหน้าที่จากพรรครัฐบาลอินเดีย (BJP) ต่อท่านศาสดามุฮัมมัดด”  และว่า “นี่เป็นการดูถูกไม่เฉพาะกับชาวมุสลิมในอินเดียเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาวมุสลิมทั่วโลกอีกด้วย”

“เรายินดีที่นักการเมืองดังกล่าวถูกไล่ออกจากตำแหน่งในพรรค เนื่องจากคำพูดของเขาและการประณามคำพูดเหล่านี้โดยทางการอินเดีย  แนวทางนี้ควรเป็นแบบอย่าง  เราคาดหวังให้รัฐบาลอินเดียใช้มาตรการที่จำเป็นในการเผชิญกับการเพิ่มขึ้นของโรคกลัวอิสลามและเสริมสร้าง เสรีภาพทางศาสนาของชาวมุสลิม”

ในขณะเดียวกัน ฟอรัมความร่วมมืออิสลามสำหรับเยาวชน (OIC Youth Forum) ได้ออกแถลงการณ์ประณามอย่างรุนแรงต่อคำพูดที่ไม่เหมาะสมต่อศาสดามูฮัมหมัดโดยพรรคบีเจพี พรรครัฐบาลของอินเดีย”

ทางรัฐบาลอินเดียได้ออกมาแถลงว่า คำเหยียดหยามดังกล่าวเป็นเรื่องบุคคลนอกรัฐบาล โฆษกพรรคบีเจพี ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ และได้พักงานโฆษกที่เกี่ยวข้อง 1 ราย และปลดออก 1 ราย


Credit : Ghazali Benmad

งานประชุมพบปะศาสนสัมพันธ์ หัวข้อ ค่านิยมร่วมระหว่างศาสนิกชน

กรุงริยาด 11 พฤษภาคม 2565

รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี เเละประธานร่วมศาสนาเพื่อสันติภาพ สภาศาสนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย เป็นตัวเเทนประเทศไทยร่วมงานประชุมพบปะศาสนสัมพันธ์ ณ กรุงริยาด ซาอุดิอาระเบีย จัดโดยองค์การสันนิบาตโลกมุสลิม

โดยงานนี้จัดขึ้นเป็นครั้งเเรก ณ กรุงริยาด มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการตกผลึกถึงมุมมองเเละวิสัยทัศน์ที่ดีทางอารยธรรมมนุษยชาติ สร้างความตระหนักร่วมกันถึงคุณค่าของดุลยภาพในสังคมมนุษย์ ส่งเสริมให้เกิดมิตรภาพ ภราดรภาพ เเละประสานความร่วมมือกันระหว่างเพื่อนมนุษย์ทั้งปวง ปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ส่งผลให้เกิดความขัดเเย้งกันในหมู่ศาสนิกชน อีกทั้งสร้างความตระหนักร่วมกันเเก่บรรดาผู้นำศาสนาเเละผู้นำทางความคิดทั่วโลกให้มีความเข้าใจในเรื่องสันติภาพ สมานฉันท์ เอื้ออาทรกันเเละกันของมนุษย์ชาติทุกศาสนาในโลกนี้ เพื่อพัฒนาสังคมมนุษย์ให้ดำรงอยู่กันอย่างสุขสันติที่ยั่งยืน

ในงานนี้ถือเป็นการรวมตัวของผู้ทรงคุณวุฒิจากบรรดาผู้นำศานาทุกศาสนา เช่น อิสลาม คริสต์ ยิว ฮินดู พุทธ เเละอื่นๆ ตลอดจนผู้นำทางความคิดที่ทรงอิทธิพลเเละตัวเเทนองค์กรขับเคลื่อนงานศาสนาชื่อดังจากทั่วโลก

ขอขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อ H.E. Dr. Muhammad bin Abdulkarim Al-Issa  เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลกและคณะทีมงานที่ให้เกียรติต้อนรับเเละรับรองเเขกในงานทุกท่านอย่างสมเกียรติ


Credit : A Fattah Lutfy Japakiya