ตุรกี & กรีซ มหากาพย์แห่งความขัดแย้ง (ตอนที่ 3)

ถึงแม้ทั้งตุรกีและกรีซเป็นสมาชิกขององค์การนาโต้ แต่ทั้งสองก็มีข้อพิพาทกระทบกระทั่งกันมาโดยตลอด ชนวนความขัดแย้งสรุปได้ดังนี้

1. เกาะไซปรัส
ไซปรัสเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออก อยู่ทางตอนใต้ของประเทศตุรกีราว 64 ไมล์ ห่างจากเกาะโรดส์และเกาะคาร์ปาทอสของกรีซราว 240 ไมล์ สมัยยุคกลางเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบเซนไทน์ ต่อมาถูกจักรวรรดิอุสมานียะฮ์เข้ายึดครอง หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้เข้ายึดครองจนกระทั่งประกาศเอกราชเมื่อปี 1960 แล้วจัดตั้งเป็นประเทศอย่างเป็นทางการชื่อว่าสาธารณรัฐไซปรัส

ถึงเเม้โดยนิตินัย ไซปรัสเป็นประเทศเดียว แต่โดยพฤตินัย ประเทศนี้ถูกแบ่งเป็นไซปรัสส่วนใต้ มีเนื้อที่ 5,895 ตร. กม. หรือ 65%ของพื้นที่ทั้งหมด ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวกรีซ นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกส์ และไซปรัสเหนือ มีเนื้อที่ 3,355 ตร. กม. หรือ 35%ของพื้นที่ทั้งหมด ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม เชื้อสายตุรกี

กรีซและสหประชาขาติให้การรับรองกรีซส่วนใต้ ในขณะที่ตุรกีเพียงประเทศเดียวที่ให้การรับรองกรีซส่วนเหนือ

ปัญหาเกาะไซปรัสเป็นปัญหาที่เปราะบางที่สุดระหว่างตุรกีกับกรีซ ซึ่งในอดีตได้เป็นชนวนทำให้เกิดสงครามกลางเมืองมาแล้ว

2. ปัญหาพรมแดน
ปัญหาพรมแดนระหว่างตุรกีกับกรีซนับเป็นระเบิดเวลาที่กำหนดโดยข้อตกลงในสนธิสัญญาโลซาน ทั้งนี้ในทะเลอีเจียนซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างสองประเทศนี้ ประกอบด้วยหมู่เกาะมากมายกว่า 2,000 เกาะ โดยหมู่เกาะเหล่านี้เกือบทั้งหมดตกเป็นของกรีซ ถึงแม้บางเกาะจะอยู่ติดชายฝั่งของตุรกีเพียง 2 กม. ก็ตาม สถานการณ์ยิ่งตึงเครียด เมื่อกรีซยกประเด็นการครอบครองเขตน่านน้ำห่างจากชายฝั่งของตน 12 ไมล์ แทน 6 ไมล์ตามข้อตกลงสากล ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลอีเจียนเป็นกรรมสิทธิ์ของกรีซโดยปริยาย และทำให้ตุรกีประสบปัญหา ไม่มีเส้นทางออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนฝั่งตะวันออกเลย ซึ่งตุรกีถือว่า ประเทศอียูโดยเฉพาะฝรั่งเศสและอิตาลี พยายามให้ท้ายกรีซคิดการใหญ่เข่นนี้ ซึ่งตุรกีถือว่าเป็นการประกาศสงครามในภูมิภาคทีเดียว

3. ปัญหาผู้อพยพ
วิกฤติซีเรียและอิรักทำให้ประชาชนหลั่งไหลอพยพหนีตายเข้าไปในตุรกีกว่า 4 ล้านคน บางส่วนได้อพยพเข้าในประเทศสหภาพยุโรปไปแล้วกว่า 1 ล้านคน ทำให้ประเทศอียูได้ทำข้อตกลงกับตุรกีว่าให้ระงับการอพยพของชาวซีเรียเข้าไปในยุโรป โดยที่ประเทศอียูให้สัญญาว่าจะมอบความช่วยเหลือด้านงบประมาณแก่ตุรกี แต่ในความเป็นจริงประเทศอียูไม่เคยปฏิบัติตามสัญญา โดยปล่อยให้เป็นภาระของตุรกีตามลำพัง ทำให้ตุรกีขู่ว่าจะปล่อยผู้อพยพบางส่วนเข้าไปในประเทศยุโรปโดยเฉพาะประเทศกรีซ จนเกิดภาวะความตึงเครียดระหว่างชายแดนของทั้งสองประเทศมาโดยตลอด

4.มัสยิดอายาโซเฟีย
อายาโซเฟียในอดีตคือโบสถ์คริสต์ที่ใหญ่ที่สุดยุคจักรวรรดิไบเซนไทน์ นิกาย ออร์โธดอกส์และเป็นสัญลักษณ์ความยิ่งใหญ่ของกรุงคอนสแตนติโนเปิลนานกว่า 900 ปี ต่อมาหลังการล่มสลายของอาณาจักรนี้ ก็ถูกเปลี่ยนสถานะเป็นมัสยิดเป็นเวลานานเกือบ 500 ปี ในยุคอุสมานียะฮ์ หลังการล่มสลายของอาณาจักรอุสมานียะฮ์ ถูกเปลี่ยนสถานะเป็นพิพิธภัณฑ์นาน 86 ปี จนกระทั่งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 เดือนกรกฎาคม 2020 ประธานาธิบดีแอร์โดอานแห่งตุรกี ได้ลงนามประกาศอายาโซเฟียเป็นมัสยิดอีกครั้ง ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากสภาคริสตจักรสากลและผู้นำนานาชาติหลายประเทศที่ถือว่าเป็นการสร้างชนวนความขัดแย้งทางศาสนาที่เปราะบางที่สุด แต่ก็ไม่ทำให้ตุรกีเปลี่ยนจุดยืนแม้แต่น้อย พร้อมตอบกลับอย่างเด็ดเดี่ยวว่า นี่คือกิจการภายในของตุรกี ที่มีอิสระตัดสินใจกระทำตามกระบวนการทางกฎหมายต่างชาติไม่มีสิทธิ์ก้าวก่ายกิจการภายในของตุรกี พร้อมยืนยันว่าตุรกียุคใหม่ไม่ใช่ตุรกียุคเก่าที่คอยปฏิบัติตามคำสั่งของชาติตะวันตกอีกแล้ว

จุดยืนของตุรกีครั้งนี้ สร้างความปิติยินดีเเก่ชาวมุสลิมและผู้ใฝ่หาความยุติธรรมทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกัน ได้ทิ่มแทงแผลเก่าที่เจ็บลึกให้แก่ชาติยุโรป โดยเฉพาะประเทศกรีซ

อายาโซเฟียคือคือชีพจรที่เป็นตัวชี้วัดการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ระหว่างชาติตุรกีกับชาติตะวันตกที่นำโดยประเทศกรีซ

5.ชนกลุ่มน้อย
ตุรกีกล่าวหากรีซว่ารัฐบาลกรีซล้มเหลวในการจัดการปัญหาชนกลุ่มน้อยที่เป็นชาวตุรกีมุสลิมในประเทศกรีซ โดยเฉพาะปัญหาทางการศึกษาและความอิสระในการปฏิบัติตนตามความเชื่อ ประธานาธิบดีแอร์โดอานกล่าวว่า กรุงเอเธนส์ซึ่งเป็นเมืองหลวงกรีก คือเมืองหลวงแห่งเดียวในสหภาพยุโรปที่ไม่มีมัสยิด ในขณะเดียวกันกรีซก็กดดันตุรกีให้เปิดโรงเรียนสอนศาสนานิกายออร์โธดอกส์ที่อิสตันบูล นอกเหนือจากโบสถ์ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งตุรกียังไม่อนุญาต

6.รัฐประหารล้มเหลว
ในค่ำคืนรัฐประหารล้มเหลวที่อิสตันบูลเมื่อปี 2016 มีนายพลจำนวน 8 นายที่หลบหนีไปกบดานที่เกาะกรีซที่อยู่เรียงรายชายฝั่งตุรกี ซึ่งรัฐบาลตุรกีได้ทำหนังสือเรียกร้องให้กรีซส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนทั้ง 8 คนมาดำเนินคดีที่ตุรกี แต่จนกระทั่งปัจจุบันยังไม่ได้รับความร่วมมือใดๆจากสมาชิกนาโต้ประเทศนี้เลย

ทั้ง 6 ประเด็นนี้ คือระเบิดเวลาที่เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี ซึ่งหลายฝ่ายวิตกกังวลว่าอาจบานปลายนำไปสู่สงครามในภูมิภาคโดยเฉพาะหลังการตรวจพบแหล่งพลังงานอันมหาศาลทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันของประเทศตุรกี


โดย Mazlan Muhammad

ดูเพิ่มเติมที่ https://www.aljazeera.net/news/politics/2020/8/29/تركيا-واليونان-تاريخ-طويل-من

ตุรกี & กรีซ มหากาพย์แห่งความขัดแย้ง (ตอนที่ 2)

وَلَن تَرضَى عَنكَ اليَهُودُ وَلَا النَصَارَى حَتٌَى تَتَّبِعَ مِلَّتَهُم (البقرة/120)

ความว่า : และชาวยิวและชาวคริสต์นั่น จะไม่พึงพอใจเจ้า (มุฮัมมัด) เป็นอันขาด จนกว่าเจ้าจะปฏิบัติตามแนวทางของพวกเขา

ตุรกีและกรีซมีปัญหาความขัดแย้งที่ปะทุมาอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์หากผู้อ่านย้อนอดีตสมัยสุลตานมูฮัมมัด อัลฟาติห์ บุกพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลในปี ค.ศ. 1453 ซึ่งถือเป็นการสิ้นอำนาจของจักรวรรดิไบเซนไทน์ที่รุ่งเรืองมากกว่า 1,100 ปี ก็สามารถต่อภาพจิ๊กซอว์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะกรุงคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งในปัจจุบันคือกรุงอิสตันบูล ถือเป็นเมืองหลวงของอารยธรรมกรีกที่จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 และสมเด็จพระสันตะปาปานิโคลัสที่ 5 ครองราชย์และมีอำนาจในเมืองนี้ หลังการล่มสลาย ชาวกรีกก็อพยพไปยังส่วนต่างๆของยุโรปโดยเฉพาะอิตาลีและกรีซในปัจจุบัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือรัฐกรีซในปัจจุบัน ก็คืออาณาจักรไบเซนไทน์ในอดีตนั่นเอง (ดู https://th.m.wikipedia.org/wiki/การเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิล)

กาลเวลาผ่านไปเกือบ 600 ปี ไฟแค้นที่มีต่อลูกหลานของสุลตานมูฮัมมัด อัลฟาติห์ยังคงคุกรุ่นตลอดเวลา

สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ได้รับการบันทึกให้ดูเหมือนว่า เกิดขึ้นเพราะชาติยุโรปมีความขัดแย้งกันเอง ซึ่งอาจมีส่วนถูกบ้างเพียงไม่ถึง 10% เท่านั้น เพราะอีกกว่า 90% คือต้องการทำลายอาณาจักรอุษมานียะฮ์ล้วนๆ เพราะฝ่ายที่สูญเสียและได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสงครามโลกครั้งที่ 1 หาใช่ชาติยุโรปที่แพ้สงคราม แต่กลับกลายเป็นอาณาจักรอุษมานียะฮ์ ที่หลังจากถูกเฉือนแบ่งจนแตกเป็นเสี่ยงๆแล้ว ชาติตะวันตกยังวางบ่วงบาศคล้องคอตุรกีใหม่ให้กลายเป็นรัฐอัมพาตนับร้อยปี (ดู https://www.theustaz.com/?p=4287 ) โดยที่ชาติยุโรปอื่นๆที่แพ้สงครามไม่ได้ถูกลงโทษด้วยมาตรการที่รุนแรงเหมือนตุรกีเลย ยิ่งไปกว่านั้นชาติยุโรปโดยผู้นำหุ่นเชิดที่นำโดยมุสตะฟา เคมาลได้บีบบังคับให้ตุรกีปฏิเสธอิสลาม พร้อมถอดคำสอนศาสนาเหมือนถอดเสื้อโต้บที่สวมใส่

หากผู้อ่านศึกษาชะตากรรมของลูกหลานสุลตานอุษมานียะฮ์ ที่ต้องระเหเร่ร่อนเยี่ยงขอทานทั่วยุโรปแล้ว จะรู้เลยว่าความแค้นของพวกเขา มีความรุนแรงและลุ่มลึกแค่ไหน (ดู https://www.facebook.com/groups/422133821263587/permalink/1451275405016085/)

หากชาติตะวันตกที่นำโดยคริสตจักร มีความบริสุทธิ์ใจต่อศาสนาอิสลามและประชาชาติมุสลิม แม้เพียงวันเดียว อัลกุรอานในซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์/120 จะกลายเป็นโมฆะทันที ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้โดยเด็ดขาด เพราะอัลกุรอานคือพจนารถแห่งอัลลอฮ์ ผู้ตรัสจริงเสมอ


โดย Mazlan Muhammad

ตุรกี & กรีซ มหากาพย์แห่งความขัดแย้ง (ตอนที่ 1)

1. ภาพแรก เป็นการแสดงแผนที่ของทั้ง 2 ประเทศ โดยประเทศกรีซ คือพื้นที่สีเหลืองทั้งหมด ซึ่งมีเกาะเล็กเกาะน้อยนับสิบกว่าเกาะที่ติดชายแดนตุรกีที่มีสีม่วง แต่เกาะดังกล่าวคือส่วนหนึ่งของประเทศกรีซ ถึงแม้บางเกาะ อยู่ติดชายฝั่งตุรกีเพียง 2 กม. และห่างไกลจากกรีซแผ่นดินใหญ่กว่า 500 กม. สนธิสัญญาโลซานได้วางหมากอัปยศที่เป็นระเบิดเวลานี้ ที่สร้างความเจ็บแค้นแก่ชาวตุรกี ซึ่งมองว่า นอกจากเป็นการตบหน้าชาติตุรกี ด้วยการขีดเส้นพรมแดนที่แปลกประหลาดที่สุดในโลกแล้ว ตะวันตกยังมีเจตนาร้ายที่ต้องการใช้หมู่เกาะเหล่านี้เป็นป้อมยามที่คอยเฝ้าระวังตุรกีทุกฝีก้าวอีกด้วย ชาวตุรกีต้องกัดฟันอย่างอดทนสุดๆมาเกือบร้อยปี

2. ภาพที่ 2 เป็นข้อตกลงระหว่าง 2 ประเทศเรื่องอาณาเขตทางทะเล (Maritime Zone) ตามอนุสัญญาสหประชาขาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ซึ่งทั้ง 2 ประเทศมีสิทธิ์ใช้ประโยชน์จากทะเลเอเจี้ยนที่ห่างจากชายฝั่งของตนระยะ 6 ไมล์ ในรูป พื้นที่สีฟ้าคืออาณาเขตทางทะเลของกรีซ และพื้นที่สีส้มเข้มคืออาณาเขตทางทะเลของตุรกี ส่วนพื้นที่สีขาวคือเขตน่านน้ำสากล ที่ตุรกีสามารถใช้ประโยชน์ออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

นี่คือข้อตกลงตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล

แต่วันดีคืนดี กรีซเรียกร้องว่าตนมีสิทธิ์ครอบครองอาณาเขตทางทะเลที่ห่างจากฝั่งของตนยาว 12 ไมล์ อาศัยที่กรีซมีเกาะมากมายเรียงรายประชิดชายฝั่งตุรกี ทำให้กรีซมีอาณาเขตทางทะเลเพิ่มขึ้นมากมาย จนไปทับเขตน่านน้ำสากล ทั่วทะเลเอเจี้ยน จึงมีสีฟ้าเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ตุรกีไม่มีเส้นทางออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนโดยปริยาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือต้องการปิดกั้นตุรกีไม่ให้ออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เนียนนั่นเอง

ตุรกีประกาศอยู่ตลอดเวลาว่าพร้อมเจรจาโดยสันติ และพร้อมกางแผนที่แสดงอาณาเขตทางทะเลตามข้อตกลง ตุรกีไม่เคยมีเจตนารุกล้ำเขตเพื่อนบ้านนอกจากปกป้องสิทธิของตนเท่านั้น

แต่ในขณะเดียวกัน ตุรกีพร้อมทำสงครามเพื่อปกป้องอธิปไตยเหนือทะเลเอเจี้ยน และประกาศอย่างดุดันว่า ตุรกีในปัจจุบันไม่ใช่ตุรกีในอดีตที่ชาติตะวันตกสามารถลูบศีรษะได้ตามอำเภอใจ ยุคแห่งการปล้นสะดมของชาติตะวันตกที่มีต่อชาติที่อ่อนแอกว่าได้หมดไปแล้ว

หากคุณเป็นชาติตุรกี
ถามว่าคุณจะมอบกระเช้าดอกไม้ แสดงความยินดีกับประเทศกรีซหรือ


โดย Mazlan Muhammad

น้ำใจจากซาอุฯสู่เลบานอน

ศูนย์บรรเทาทุกข์กษัตริย์ซัลมานได้มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์และยาเวชภัณฑ์แก่โรงพยาบาลในเลบานอนจำนวน 8 แห่ง พร้อมให้การบริการฟรีแก่ผู้มารับบริการ

ประเทศซาอุดิอาระเบียถือเป็นประเทศแรกๆ ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศเลบานอนเนื่องจากเหตุระเบิดถล่มเบรุตเมื่อ 4 สิงหาคม 2563

แหล่งข่าว
سفارة المملكة العربية السعودية ، عمان
Royal Embassy of Saidi Arabia,Amman

นักเรียนปอเนาะจะนะเรียกร้องปกป้องสิ่งแวดล้อม

นักเรียนปอเนาะจะนะเรียกร้องปกป้องสิ่งแวดล้อมท่ามกลาง นร.นศ.ส่วนกลางเรียกร้องประชาธิปไตยอุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

ผู้ประสานงานกลุ่มโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม(ปอเนาะ) จะนะ : รายงานจากจะนะ
[email protected]
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก
ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

16 สิงหาคม 2563 และก่อนหน้านี้นักเรียน นักศึกษาส่วนกลางกรุงเทพมหานคร กำลังเรียกร้องรัฐบาล 3 ข้อหรือยกระดับ10ข้อ เกี่ยวกับการปฏิรูปรัฐธรรมนูญให้สู่ประชาธิปไตยตามมาตรฐานสากล และบางเรื่องบางประเด็นที่เป็นเรื่องใต้พรมสู่เวทีสาธารณะจนเป็นประเด็นร้อนที่ทำให้แกนนำสามคนโดนจับและปฏิเสธไม่ได้ว่า กำลังทำให้เกิดข้อถกเถียงในวงกว้างจนนำความแตกแยกสองฝากสองฝั่งของคนในชาติ ในขณะที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตัวแทนนักเรียน ครู อุสตาส โต๊ะครูและผู้บริหารจาก
โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม(ปอนาะ)กว่า 1,000 คน ออกมาแสดงพลัง ยื่นหนังสือถึงรัฐบาลให้ทบทวนนิคมอุตสาหกรรมจะนะ เพื่อหยุดยั้งความขัดแย้งในชุมชนแม้บางฝ่ายมองว่า “เป็นการเมืองเพราะออกมาเคลื่อนไหวตรงกับเวทีนักศึกษาที่กรุงเทพมหานครที่สำคัญการปราศรัยของนักศึกษาชายแดนภาคใต้ที่ปัตตานีและกทม.ก็มีการพูดถึงจะนะเมืองอุตสาหกรรมในข้อเรียกร้องด้วย”
กล่าวคือ

“วันนี้ 16 สค.63 (10.00 น.) .ณที่ว่าการอำเภอจะนะจังหวัดตัวแทนนักเรียน ครู อุสตาส โต๊ะครูและผู้บริหารจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม(ปอเน๊าะ)กว่า 1,000 คน ออกมาแสดงพลัง ยื่นหนังสือผ่านนายอำเภอจะนะ..ถึงนายกรัฐมนตรี…และเลขาธิการศูนย์อำนายการจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต)…#ให้ทบทวน”#โครงการจะนะเมืองอุตสาหกรรมต้นแบบ”..ที่ ศอ.บต.ผลักดันให้มีนิคมอุตสาหกรรมจะนะขนาดใหญ่.ซึ่งอาจกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และสังคมวัฒนธรรมของประชาชนทุกภาคส่วนในอำเภอจะนะ..

ใน 6 ข้อเสนอแนะโดยเริ่มกระบวนการใหม่อย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในอำเภอจะนะ…ตั้งแต่ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ..จึงเป็นทางออกที่จะนำมาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของอำเภอจะนะในที่สุด…

ทำไมต้องออกมาขย่มรัฐนี้ช่วงนี้

โครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน แห่งที่ 4 ในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่นำพื้นที่ของอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มาพัฒนาเป็น ‘เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต’ ครอบคลุมพื้นที่ 3 ชุมชน เนื้อที่การพัฒนา 16,753 ไร่ ใช้เงินลงทุนกว่า 18,680 ล้านบาท กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนสร้างความแตกแยกของชุมชนตามปรากฎในหน้าสื่ออีกครั้ง หลังข่าวโควิดโดยเฉพาะหลังเวที วันที่11 กรกฎาคม 2563
แม้แต่กมธ.การพัฒนาการเมืองฯ สภาผู้แทนราษฎร ชี้ชัด “ศอ.บต.” นำงบฯ ประจำไปจัดเวที 11 ก.ค.ดัน “จะนะเมืองอุตฯ ก้าวหน้าแห่งอนาคต” ต้องการเปลี่ยนสีผังเมืองแบบคลุมเครือ ทำผิดทั้งรัฐธรรมนูญปี’60 และขัดระเบียบสำนักนายกฯ มากมายเงื่อนงำ ซับซ้อน ความพิลึกพิลั่น ยันประชาชนไม่ได้ประโยชน์ ส่อเอื้อแต่ “ทีพีไอ” ยักษ์ใหญ่พลังงานและปิโตรเคมี
(โปรดดู >> https://mgronline.com/south/detail/9630000075633)

อะไรคือบทเรียน

อันเนื่องมาจากชาวจะนะได้บทเรียนโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซียที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งคณะนักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสันติสุข สถาบันพระปกเกล้าหรือที่เรียกว่า 4 ส รุ่นที่ 8 นำโดยนายแพทย์นันทวัช สิทธิรักษ์ได้สรุป ว่า

1. แก่นหลักที่นำมาสู่ความขัดแย้งและความแข็งขืนต่อต้านโครงการนี้ในนภาพรวมคือ ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน (no trust) ประเด็นหลักที่พบได้แก่ ชุดข้อมูลที่ฝ่ายรัฐและแนวร่วมรัฐหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตดำเนินโครงการมีอยู่มักถูกเผยแพร่สู่สาธารณะในวงจำกัด ไม่เป็นปัจจุบัน และมีการตัดทอนหรือเซ็นเซอร์ ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน หรืออาจให้ข้อมูลไม่ตรงตามเอกสารจริง ในขณะที่อีกฝ่ายที่เป็นองค์กรเอกชนถูกอีกฝ่ายอ้างด้วยเช่นกันว่าข้อมูลด้านตรงกันข้ามรวมทั้งมีการใช้วาทกรรมสร้างความแตกแยก

2. การไม่ยอมรับผลการประเมิน EIA (Environmental Impact Assessment) คือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม” EHIA (Environment and Health Impact Assessment) คือการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ โดยให้มีส่วนร่วมและรับฟังเสียงจากประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียจากหลายเหตุผล

3. กระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่รวบรัด ดำเนินการโดยฝ่ายรัฐหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตดำเนินโครงการแต่เพียงฝ่ายเดียว

4. ความไม่ยืดหยุ่นของเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์โครงการที่สอดรับกับความต้องการของประชาชน

5. กระบวนการลดผลกระทบเชิงลบและการเยียวยาของโครงการที่มีต่อประชาชนที่มิได้ศึกษามิติต่างๆ ทั้งระดับปัจเจก ชุมชน สังคม และจิตวิญญาณ ทั้งที่สามารถตีค่าทางเศรษฐศาสตร์ได้ (tangible) และมีคุณค่าที่ไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเลขได้ชัดเจน (intangible) อย่างรอบด้าน

6. ไม่มีกระบวนการติดตามโครงการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ในส่วนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สถาบันสอนศาสนาอิสลามในอำเภอจะนะ ซึ่งมีผู้เรียนประมาณ 20,000 คน ผู้นำศาสนา ครูศาสนาและสามัญ ประมาณ 2,000 คน กำลังกังวลผลกระทบของสถานศึกษา บุคคากร และผู้เรียน วิถีวัฒนธรรมอิสลามอันดีงาม ซึ่งยังมิได้รับการประเมินรวมทั้งมิสามารถประเมินตีค่าเป็นตัวเลขได้ชัดเจน (intangible) อย่างรอบด้าน

ขนาดโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังไม่ลง มีแหล่งบันเทิง และมีการนำมโหรสพวงดนตรี มาแสดงในชุมชนมุสลิม 100%
อะไรคือทางออก
จากเหตุดังกล่าวข้างต้น
หากจะเดินหน้าทำตาม ปณิธาน “จะนะเมืองน่าอยู่ มั่งคั่ง ยั่งยืน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังทุกภาคส่วนได้ประโยชน์ กันความไม่ไว้ใจ
ดังนั้น ทางออกที่วินๆ(ชนะ)ทุกฝ่าย ถ้าจะเชื่อใจ บริสุทธิ์ว่า เพื่อประชาชน จึงขอเรียกร้องและเสนอแนะดังนี้
1. ให้มีการทบทวนโครงการนี้ (มติ ครม.เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 และ 21 มกราคม 2563 ) เนื่องจากเป็นมติที่อนุมัติโดยรัฐบาล คสช.โดยขาดข้อมูลทางวิชาการ และไม่ได้ฟังเสียงของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการมาก่อน
2. ไม่นำผลของการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน(11 กรกฎาคม 2563)เพื่อเปลี่ยนแปลงผังเมือง อันเนื่องมาจากเวทีดังกล่าว มีข้อครหาในความโปร่งใสในการจัดเวที
3. เปิดพื้นที่กลางปลอดภัยการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติวิธี
4. ไม่คุกคามผู้เห็นต่างจากรัฐ
5. ไม่นำอบายมุข มโหรสพ เช่นดนตรีและอื่นๆที่หมิ่นแหม่ผิดหลักศาสนาเข้ามาในชุมชนมุสลิมจะนะ
6. เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน รวมทั้งผู้นำศาสนา ครูและนักเรียนร่วมออกแบบตามหลักวิชาการและมาตรฐานสากล(ทั้งต้นนำ้ กลางและปลายนำ้)เพื่อพัฒนาจะนะสู่ชุมชนมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอันจะสร้างความชอบธรรมทั้งกระบวนการและกฎหมายซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น ช่วงระยะๆ ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1 ก่อนการตัดสินใจดำเนินโครงการต้องเปิดให้มีส่วนร่วมที่น่าเชื่อถืออย่างรอบด้าน

ขั้นตอนที่ 2 การร่วมกำหนดเป้าหมายโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและความจำเป็นของรัฐ

ขั้นตอนที่ 3 กระบวนการลดผลกระทบโครงการและการเยียวยาอย่างมีส่วนร่วม

ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างมีส่วนร่วม

ปัญหาการประท้วงที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ต่อโครงการลักษณะนี้ซึ่งจะกระทบเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ การศึกษา วิถีวัฒนธรรมและสิทธิชุมชนจนบานปลายสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือถ้าได้รับการอนุมัติหรือไม่อนุมัติอย่างไร สังคมในพื้นที่และภายนอกจะยอมรับได้ในกติกานี้ไม่ว่าฝ่ายค้านหรือหนุนปัญหาการไม่ยอมกันคงมีแต่อาจจะน้อย การประท้วงหน้าทำเนียบก็คงจะลด หรือถ้ามีประชาชนส่วนใหญ่จะเป็นโล่ให้รัฐเพราะผ่านกระบวนการที่โปร่งใส เป็นธรรม และมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

บาบอฮุสณี บินหะยีคอเนาะ ผู้บริหารโรงเรียนศาสนบำรุงและที่ปรึกษาสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาจังหวัดสงขลา ให้ทัศนะว่า “โครงจะนะเมืองอุตสาหกรรม ในการต่อเพื่อสัจจธรรมนั้น ไม่ว่าจะคว้าชัยหรือเเพ้พ่ายทุกอย่างก้าวคือความรับผิดชอบ ทุกดีตัดสินใจคือตำนานให้รุ่นหลังได้เล่าขาน ว่า เราได้เตือนและชี้แนะตามวิถีของเรา และปกป้องสิ่งที่ควรปกป้อง มิได้เป็นเครื่องมือของผู้ใด ไม่มีเรื่องการเมืองแม้เราจะเคลื่อนช่วงนักเรียน นักศึกษา (นร.นศ.)ส่วนกลางเรียกร้องประชาธิปไตยเพื่อควำ่รัฐบาล วันนี้เรามาเยอะก็จริงแต่มาแค่ยื่นหนังสือ และถ่ายภาพเชิงสัญญลักษณ์ประกาศให้สังคมภายนอกได้รู้ได้ประจักษ์”
อย่างไรก็แล้วแต่ปัญหาจะที่ชายแดนภาคใต้หรือส่วนกลางที่กำลังเร้าร้อน และเปลี่ยนผ่านจากรุ่นเก่าสู่รุ่นใหม่มันไม่สามารถปราศจากกระบวนการประชาธิปไตยว่าด้วยสงครามความคิดกับการจัดการความขัดแย้งโดยเปิดพื้นที่ปลอดภัยทางการเมืองไทย” (Political Space in Thailand ) ซึ่งอาจต้องในวาระต่อไป

ชมคลิป/ภาพที่นี่

แอร์โดอานประกาศการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติมหาศาล

21 สิงหาคม 2563 แอร์โดอานประกาศข่าวดีในวันศุกร์ที่ 1 มุหัรรอม 1442 ซึ่งเป็นวันปีใหม่แห่งฮิจเราะฮ์ศักราช การค้นพบแหล่งพลังงานก๊าซธรรมชาติมหาศาลในทะเลดำทางตอนเหนือของประเทศ ณ ตำแหน่งTuna-1 Zone โดยเรืออัลฟาติห์ที่มีจำนวนมหาศาลกว่า 3.2 แสนล้านลบ. ม. ซึ่งคาดว่าสามารถเป็นแหล่งพลังงานได้นานถึง 20 ปี

ประธานาธิบดีตุรกีกล่าวว่า วินาทีนี้เราขอแสดงความยินดีกับข่าวดีที่สุดที่สามารถค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาลในเขตทะเลดำโดยเรืออัลฟาติห์ที่ได้ดำเนินการสำรวจเมื่อหลายเดือนที่ผ่านมาซึ่งสามารถค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติจำนวน 3.2 แสนล้านลบ. ม. โดยถือเป็นแหล่งพลังงานที่ใหญ่ที่สุดที่ขุดพบโดยชาวตุรกี

ประธานาธิบดีตุรกียังกล่าวอีกว่า การค้นพบครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของตุรกี และเราไม่ได้พึ่งพาศักยภาพของชาวต่างชาติแม้แต่น้อย เรามั่นใจว่ายังมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนบกและทะเลอีกมากมายที่จะถูกค้นพบในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งทุนพลังงานสำรองเพื่อให้บริการแก่ชาวตุรกีและชาวโลกต่อไป

หนุ่มยูทูเบอร์ชาวอังกฤษรับอิสลาม

Jay Palfrey ยูทูปเบอร์ชาวอังกฤษ ประกาศเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามในมัสยิดแห่งหนึ่งในตุรกี หลังจากเดินทางค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับศาสนาและวัฒนธรรมมายาวนาน เขากล่าวว่า ชีวิตในประเทศอิสลามทำให้เขาอยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับศาสนาที่สวยงามและสงบสุขนี้

ดูเพิ่มเติม https://www.facebook.com/103622369714881/posts/3791697677573980/


โดยทีมงานต่างประเทศ

ขอเเสดงความยินดีกับทีม มฟน.ชนะเลิศอันดับ 1 โครงการ Generation Unlimited

ขอเเสดงความยินดีกับทีม Muallim ทีมนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฎอนี ซึ่งได้รับการ Incubate จาก Nureen Pakdee และ Muslimah Tohlong จาก #Digital4Peace 

ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ ของการแข่งขันในโครงการ Generation Unlimited เยาวชนกล้าคิด สะกิดสังคม โดย UNICEF Thailand , UNDP Thailand , และ Saturday School

รายชื่อนักศึกษา ได้แก่
1.นิสมา ฆอแด๊ะ สาขาการสอนอิสลาม ปี 3
2.นูรไลลา ดอคา สาขาการสอนภาษาอังกฤษ ปี 3
3.นาดีเราะห์ เวาะแห สาขาการสอนภาษาอาหรับ ปี 3
มี อ. ซูรัยดา สะมะแอ และ อ. มุสลีมะห์ โต๊ะหลง เป็นที่ปรึกษา ( Mentor)

ต่อไปนี้ทีม Muallim จะเป็น 1 ใน 2 ตัวเเทนของประเทศไทยไปแข่งขันบนเวทีระดับโลก

Digital4Peace
#theIncubator
#PeaceIncubator


ที่มา : Digital4Peace ดิจิทัลเพื่อสันติภาพ

Masjid Razaleigh แรงบันดาลใจจากมัสยิดหะรอม มหานครมักกะฮ์

GUA MUSANG : Masjid Razaleigh มูลค่าก่อสร้างกว่า RM28 ล้าน ที่มีโมเดลถอดแบบจากมัสยิดหะรอม มหานครมักกะฮ์ คาดว่าจะแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ปลายปีนี้และจะเป็นสัญลักษณ์แห่งใหม่ของรัฐกลันตัน ที่มีฉายา Serambi Mekah หรือระเบียงมักกะฮ์ โดยเฉพาะในเขต Gua Musang

มัสยิดแห่งนี้มีเนื้อที่ใช้สอย 70,000 ตารางฟุต ใช้วัสดุการก่อสร้างที่มีมาตรฐาน

สส. Gua Musang , Tengku Razaleigh Hamzah เปิดเผยว่า มัสยิดแห่งนี้จุคนประมาณกว่า 3,500 คน เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2016 ได้รับแรงบันดาลใจจากมัสยิดหะรอม มักกะฮ์ ประกอบด้วยหออะซาน 9 หอ ที่มีความสูง 30 ม. และโดม 7 โดม รวมทั้งห้องประชุม ห้องสัมมนา ห้องสมุด ห้องเรียนโรงอาหาร บ้านพักอิมาม บิลาลและเจ้าหน้าที่จัดการศพ 2 คน

ส่วนลานกว้างตรงกลางมัสยิดจะจัดไว้ช่วงอบรมฮัจญ์แก่ผู้ประสงค์จะประกอบ พิธีฮัจญ์ในแต่ละปี

คาดว่าพิธีเปิดอย่างเป็นทางการจะจัดขึ้นปลายปีนี้ ซึ่งจะกลายเป็น Landmark ที่สำคัญแห่งหนึ่งในรัฐกลันตัน โดยเฉพาะเขต Gua Musang ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและนอกพื้นที่มาชมและจัดกิจกรรมตามความต้องการของชุมชนต่อไป

บ่วงบาศคล้องคอตุรกี

แอร์โดอานรับมรดกบาปจากรัฐเซคิวล่าร์ที่คอยเป็นบ่วงบาศคล้องคอตุรกีมิให้เคลื่อนไหวอย่างสะดวก อย่างน้อย 8 ข้อได้แก่

1. สนธิสัญญาและข้อตกลงกับบรรดาประเทศยุโรปและนาโต้กว่า 600 ฉบับ หน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯกว่า 10 หน่วยที่ชาวตุรกีไม่มีสิทธิ์เข้าใกล้แม้กระทั่งนายทหารระดับนายพล รวมทั้งฐานทัพอากาศของสหรัฐที่เริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ปี 1951 (ก่อนการเข้ามาของแอร์โดอานตั้ง 50 กว่าปี)

2. สถาบันอุดมศึกษาเกือบ 100 แห่งที่ปลูกเมล็ดพันธุ์หลักสูตรความเกลียดชังอิสลามและเฝ้าระวังนักวิชาการที่มีความผูกพันกับศาสนา ในขณะที่หน่วยงานราชการที่ยึดมั่นแนวคิดเซคิวล่าร์ คอมมิวนิสต์และนิยมซ้ายจัด มีหน้าที่สอดส่องพฤติกรรมของประชาชนมิให้เข้าใกล้อิสลามชนิดไม่คลาดสายตา

3. ระบบสื่อสารมวลชนทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์และสื่อโชเชี่ยลที่เผยแพร่ลัทธิบิดเบือน รณรงค์สิ่งลามกอนาจารและคำสอนไร้จริยธรรม ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์เชิงลบของอิสลามมาโดยตลอด

4. กระบวนการทางกฎหมายและยุติธรรมในทุกระดับที่คอยสนับสนุนความชั่วร้ายและสกัดกั้นความดี คอยชี้โพรงให้กระรอกมากัดแทะอิสลามตามอำเภอใจ รวมทั้งเอื้อประโยชน์ให้ผู้มีอำนาจแสวงหาผลประโยชน์และปู้ยี่ปู้ยำทรัพยากรของประเทศเพื่อบำเรอความสุขของตนและพวกพ้อง

5. Operation GLADIO ซึ่งเป็นปฏิบัติการเครือข่ายก่อการร้ายที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของชาติสมาชิกองค์การนาโต้และ CIA เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอิตาลีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อสกัดกั้นการรุกคืบของโซเวียตและคอมมิวนิสต์ วิธีการของปฏิบัติการ Stay-behind ของหน่วยงานนี้คือ สร้างความตึงเครียดในสังคมด้วยการก่อการร้ายทุกรูปแบบ เพื่อสร้างรัฐแห่งความหวาดกลัวในลักษณะ ปาก้อนหินโดยยืมมือของคนอื่น ถึงแม้ยุคสงครามเย็นได้ผ่านพ้นไปแล้วหลังการล่มสลายของอดีตสหภาพโซเวียต แต่ GLADIO ยังมีการเคลื่อนไหวอย่างเข้มแข็งในตุรกี เพื่อยืนยันว่า วัตถุประสงค์หลักของหน่วยงานนี้ หาใช่เพื่อคานอำนาจของฝ่ายคอมมิวนิสต์ไม่ แต่เฝ้าระวังความเคลื่อนไหวในตุรกีโดยเฉพาะต่างหาก

6. ความหลากหลายทางเชื้อชาติที่มีทั้งเตอร์ก เคิร์ด อาร์เมเนีย อาหรับและอื่นๆ ตลอดจนความแตกต่างทางศาสนาและความเชื่อที่มีทั้งอิสลาม คริสต์ อาลาวีย์ ยิวและลัทธิอื่นๆที่เป็นเชื้อเพลิงอย่างดีในการจุดชนวนความแตกแยกในสังคม

7. อำนาจทหารที่ค้ำจุนและเป็นเปลือกหอยคอยปกป้องระบอบเซคิวล่าร์ ที่จะยึดอำนาจและก่อรัฐประหารทันทีเมื่อเห็นว่ามีสถานการณ์ที่บั่นทอนเสถียรภาพของระบอบคามาลิสต์

8. บรรดาประเทศอียูที่ฝังความเป็นศัตรูกับตุรกีมาอย่างยาวนานที่ซึมซับมาในประวัติศาสตร์การสร้างชาติในอดีตพวกเขาไม่มีวันปล่อยตุรกีให้หลุดมือและเติบโตอย่างอิสระ พวกเขาเคยปรามาสตุรกีว่าเป็นชายแก่ขี้โรค และเฝ้าฝันให้ตุรกีกลายเป็นชายแก่ขี้โรคตลอดกาล

เหตุการณ์ก่อรัฐประหารล้มเหลวครั้งล่าสุดและท่าทีของประเทศยุโรปกรณีลงประชามติรัฐธรรมนูญตุรกีที่ผ่านมา คือตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนที่สุดในกรณีนี้

ทั้ง 8 บ่วงบาศนี้ จะคอยบีบรัดตุรกีทุกครั้งที่ขยับเขยื้อน แต่ภายในระยะเวลา 15 ปี แอร์โดอานสามารถสลัดบ่วงบาศเหล่านี้ทีละชิ้น จนสามารถควบม้าเร็วตุรกีให้พุ่งทะยานได้อย่างน่าทึ่ง แต่ทั้งนี้เราก็ไม่เคยประทับตราว่าท่านคือความสมบูรณ์

รึว่าจะให้แอร์โดอานขึ้นคุตบะฮ์ประกาศตนเองเป็นเคาะลีฟะฮ์ แล้วบังคับให้ประชาชาติมุสลิมและผู้นำมุสลิมทั่วโลกบัยอะฮ์แสดงความภักดี ใครฝ่าฝืนถูกตัดสินเป็นชาวมุรตัดดีน พร้อมแพร่คลิปตัดคอตัดมือเพื่อประกาศว่า ได้ปฏิบัติตามหลักชะรีอะฮ์อย่างสมบูรณ์แล้ว


ข้อมูลอ้างอิง http://www.turkpress.co/node/29821

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 01-07-2017
ถอดความโดย Mazlan Muhammad