ผู้ประท้วงบุกระงับการประชุมรับรองผลการเลือกตั้งอเมริกา

ผู้สนับสนุนประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ หลายหมื่นคน  รวมตัวกันเมื่อวันพุธที่ผ่านมา 6/1/2021 ในบริเวณใกล้เคียงทำเนียบขาว เพื่อเรียกร้องให้มีการทบทวนผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งโจไบเดนผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตเป็นผู้ชนะ

จากนั้นผู้ประท้วงมุ่งหน้าไปยังอาคารรัฐสภา ในเวลาที่สภาผู้แทนราษฎรกำลังประชุมร่วมกับวุฒิสภา ที่จัดประชุมร่วมกันเพื่อรับรองผลการลงคะแนนในการเลือกตั้งประธานาธิบดี  ผู้ประท้วงได้บุกเข้าไปในอาคาร ซึ่งนำไปสู่การระงับการประชุมและความโกลาหลวุ่นวายและการจลาจล


รูปภาพจาก TRT عربي

โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

แท้จริง…อัลลอฮ์จะทรงยับยั้งความชั่วร้ายด้วยการบังคับใช้อำนาจทางกฎหมาย ในสิ่งที่อัลกุรอานไม่สามารถยับยั้งได้

เวลา 11:20 น วันที่5 มกราคม2564 คณะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดยะลาได้เดินทางไปเยี่ยมและให้กำลังใจ พันตำรวจเอก สายูตี กาเต๊ะ ผู้กำกับการสถานีตำรวจอำเภอยะหา ในความมุ่งมั่น กรณีนำนโยบายสร้างสังคมสันติสุขด้วยวิถีวัฒนธรรมฮุกมปากัต (กระบวนการปรองดองและปรึกษาหารือ) จนเกิดกระแสสนับสนุนเห็นด้วยจากผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชน โดยคณะผู้บริหารฯได้ให้กำลังใจ อดทนต่อบททดสอบ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมคุณธรรมตลอดไป

พันตำรวจเอกสายูตี กาเต๊ะ ผู้กำกับการสถานีตำรวจอำเภอยะหา กล่าวว่า เนื่องจากผู้นำศาสนาและแกนนำชุมชนในอำเภอยะหาได้ร้องเรียนพฤติกรรมของเยาวชนกลุ่มหนึ่งที่มีการมั่วสุมระหว่างหญิงชายอย่างเสรี เสี่ยงต่อการกระทำอบายมุขที่อาจบานปลายเป็นบาปใหญ่ ทั้งเรื่องชู้สาว ยาเสพติดและทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายจนถึงแก่ชีวิต ตนในฐานะมีอะมานะฮ์รับผิดชอบบริการประชาชน รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยแก่ประชาชนและความมั่นคงของราชอาณาจักร จึงอยากมีส่วนร่วมสร้างสังคมสันติสุข และยินดีให้ความร่วมมือกับผู้นำศาสนาในการแก้ปัญหาสังคมที่เป็นความห่วงใยของทุกฝ่ายขณะนี้

“ ในฐานะมุสลิม ผมขอเชิญชวนให้เยาวชนยึดมั่นกับคำสอนอิสลาม สนใจศึกษาหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อปกป้องเรา ไม่ให้ตกกับดักของอารมณ์คึกคะนองและแผนล่อลวงของมารร้าย” ผกก. สถานีตำรวจอำเภอยะหากล่าว

ในส่วนของการบังคับใช้ฮุกมปากัตนี้ พันตำรวจตรีสายูตี กาเต๊ะกล่าวว่า ตำรวจมีหน้าที่เขียนเสือให้วัวกลัวเท่านั้น ซึ่งผลที่ได้รับเป็นที่น่าพอใจมากกว่า 100 % กิจกรรมมั่วสุมของเยาวชนเงียบหายไปเหมือนปลิดทิ้ง ผู้ปกครองและผู้นำชุมชนต่างพึงพอใจมาก ส่วนการจับหนุ่มสาวแต่งงานนั้น ให้อยู่ในดุลยพินิจของท่านอิมามในฐานะผู้นำศาสนา หลังจากปรึกษาหารือกับผู้ปกครองของหนุ่มสาวคู่กรณี โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีสิทธิ์ชี้นำได้ เรามีหน้าที่รักษาความสงบสุขและป้องปรามในลักษณะเขียนเสือให้วัวกลัวเท่านั้น ซึ่งได้ผลจริงเกินคาด และยืนยันว่าไม่ละเมิดสิทธิ์เด็กแต่อย่างใด ตามที่มีอดีตนักสิทธิมนุษยชนคนหนึ่งห่วงใย

theustaz.com ขอเป็นอีกหนึ่งเสียงที่สนับสนุนและให้กำลังใจแก่ทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมสร้างสังคมสันติสุข โดยนำศาสนาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาสังคมที่ครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝ่ายข้าราชการตำรวจที่มีหน้าที่พิทักษ์รับใช้ประชาชน ซึ่งสามารถป้องปรามสิ่งชั่วร้ายในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลอย่างรวดเร็ว ซึ่งต่างจากการสอนศาสนาเพียงอย่างเดียวที่ไม่มีพลังในการเปลี่ยนแปลงได้ ดังที่ท่านอุษมาน บินอัฟฟานได้กล่าวว่า “แท้จริง อัลลอฮ์จะทรงยับยั้งความชั่วร้ายด้วยการบังคับใช้อำนาจทางกฎหมาย ในสิ่งที่อัลกุรอานไม่สามารถยับยั้งได้” ทั้งนี้ สำหรับมนุษย์ทั่วไปที่ไม่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ ลำพังแค่การกล่าวตักเตือนและเทศนาด้วยบทคำสอนจากอัลกุรอาน ไม่ทำให้พวกเขาสำนึกผิดและยุติการกระทำอบายมุขได้  เหมือนกับการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งจะทำให้พวกเขาเกรงกลัวและยุติการทำบาปไปในที่สุด

โดยเฉพาะ เมื่อพลังแห่งอัลกุรอานและพลังแห่งกฏหมาย เดินหน้าเคียงบ่าเคียงไหล่ทำหน้าที่กำชับทำสิ่งดีและห้ามปรามความชั่วอย่างพร้อมเพรียงกัน ก็ยิ่งทำให้ “สังคมสันติสุข” ไม่ใช่เป็นแค่ความฝันต่อไป แต่คือความดีงามที่สามารถสัมผัสได้ในชีวิตจริง

ขอบคุณ ข่าวสด

กาตาร์จ่ายให้อิหร่านปีละ 133 ล้านดอลล่าร์ : ปีแลกอิสรภาพทางน่านฟ้า

Forex News รายงานผลจากที่กาตาร์ถูกโดดเดี่ยวโดยชาติอาหรับที่นำโดยซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรนและอิยิปต์ โดยที่กาตาร์ถูกปิดกั้นน่านฟ้า และไม่อนุญาตใช้น่านฟ้าในเขตประเทศดังกล่าว ทำให้กาตาร์ต้องใช้น่านฟ้าของอิหร่านแทน ซึ่งกาตาร์ต้องจ่ายให้แก่เตหะรานจำนวนปีละ 133 ล้านดอลล่าร์ โดยตัวเลขดังกล่าวคำนวณระหว่างเดือนมีนาคม 2018 ถึง มีนาคม 2019

ประเทศอ่าวและชาติอาหรับ กล่าวหากาตาร์สนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายและใกล้ชิดกับอิหร่าน ซึ่งกาตาร์ปฏิเสธมาโดยตลอด โดยหารู้ไม่ว่า การโอบล้อมกาตาร์ ทำให้อิหร่านรับส่วนแบ่งจากกาตาร์เต็มๆ จำนวนมหาศาลปีละ 133 ล้านดอลล่าร์ และทำให้กาตาร์มีความจำเป็นต้องใกล้ชิดอิหร่านมากขึ้น ในขณะที่ประเทศที่โอบล้อมกาตาร์ ต่างก็มีความสัมพันธ์ที่ดีในทุกมิติกับอิหร่านเช่นกัน

ล่าสุด เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2021 เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ เชคตะมีม บินหะมัด บินเคาะลีฟะฮ์ อาลษานี ได้เดินทางถึงสนามบินเมืองอุลา เพื่อร่วมประชุมสุดยอดสภาความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) ครั้งที่ 41 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองอุลา เมืองเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์ ห่างจากนครมะดีนะฮ์ไปทางเหนือประมาณ 300 กม.  ท่ามกลางการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติจากเจ้าชายมูฮัมมัด บินซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย

การประชุมสุดยอดครั้งนี้ จะเป็นการสิ้นสุดยุคการโดดเดี่ยวกาตาร์ที่ยืดเยื้อนาน 3 ปี เริ่มตั้งแต่ ปี 2017 โดยประเทศซาอุดีอาระเบีย ได้เปิดพรมแดนทั้งทางบก ทะเลและน่านฟ้า เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2021 พร้อมรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทวิภาคีอย่างปกติ ถือเป็นข่าวดีและเหตุการณ์ที่สร้างความดีใจให้แก่โลกอาหรับและโลกอิสลามในต้นปี 2021 นี้


โดยทีมข่าวต่างประเทศ

รัฐบาลคูเวตแถลงซาอุดิอาระเบียคืนดีกับกาตาร์แล้ว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคูเวต นายอาห์มัด อัลมุบาร็อค อัศเศาะบาห์ แถลงว่า ซาอุดิอาระเบียประกาศรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับกาตาร์เนื่องในประชุมสุดยอดสภาความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองอุลา เมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ อยู่ทางตอนเหนือของกรุงมะดีนะฮ์ 300 กม. เมื่อวันอังคารที่ 5 มกราคม 2564

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคูเวตกล่าวยืนยันว่า ได้มีข้อตกลงเปิดน่านฟ้าและพรมแดนทั้งทางบกและทะเลระหว่างซาอุดิอาระเบียกับกาตาร์ เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2564

ก่อนหน้านี้เจ้าผู้ครองรัฐคูเวต เชคนาวาฟ อัลอะห์มัด อัลญาบิร์ อัศเศาะบาห์ได้ออกแถลงการณ์ว่า ถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่ความพยายามในการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดิอาระเบียและกาตาร์ประสบผลสำเร็จ เราดีใจที่ความขัดแย้งระหว่างสองพี่น้อง สามารถคลี่คลายไปในทางที่ดีและมุ่งมั่นสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคและชาติอาหรับต่อไป

กระทรวงการต่างประเทศตุรกีได้สดุดีต่อความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างสองประเทศที่ถือเป็นประเทศบ้านพี่เมืองน้องนี้ พร้อมระบุ มติเปิดพรมแดนระหว่างซาอุดิอาระเบียกับกาตาร์ถือเป็นนิมิตหมายอันดีและมีนัยสำคัญต่อการแก้ไขวิกฤตอ่าวอาหรับต่อไป

กาตาร์ถูกโดดเดี่ยวจากประเทศต่างๆ ภายใต้การนำของซาอุดีอาระเบียตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 หลังจากซาอุดีอาระเบียและหลายประเทศในตะวันออกกลางประกาศระงับความสัมพันธ์กับกาตาร์ทุกมิติ พร้อมกับกล่าวหากาตาร์ว่าให้การสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายและมีสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับรัฐบาลอิหร่าน


อ้างอิง

โดยทีมข่าวต่างประเทศ

รัฐบาลตุรกีประณามอ่านอัลกุรอานด้วยภาษาตุรกี

นายฟัครุดดีน อัลทูน ผู้อำนวยการสำนักงานการสื่อสารสำนักประธานาธิบดีแห่งตุรกี ประณามการอ่านอัลกุรอานด้วยภาษาตุรกีในงานที่จัดโดยสำนักงานเทศมนตรีประจำกรุงอิสตันบูล เมื่อวันจันทร์ที่ 21/12/2020 โดยกล่าวว่า “ตุรกีไม่มีทางหวนกลับสู่อดีตอันมืดมนอีกแล้ว”

นายฟัครุดดีน กล่าวว่า การอ่านด้วยภาษาตุรกีสื่อความหมายที่ห่างไกลกับแกนภาษาอาหรับ ทุกคนไม่สามารถกระทำสิ่งนี้ด้วยข้ออ้างการเปิดใจกว้าง

สำนักงานเทศมนตรีประจำกรุงอิสตันบูล โดยนายอักร็อมอิมาม โอฆลู นายกเทศมนตรีนครอิสตันบูลในนามพรรคประชาชนสาธารณรัฐ ได้จุดกระแสความไม่พอใจให้แก่ชาวตุรกีทั่วประเทศด้วยเปิดพิธีอ่านอัลกุรอานในภาษาตุรกี ในงานคล้ายวันครบรอบ 747 ปีแห่งการเสียชีวิตของชัยค์ญะลาลุดดีน อัรรูมี ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม “ เมาลานา” ในงานดังกล่าวยังมีการอาซานด้วยภาษาตุรกีและมีการปะปนระหว่างชายหญิงอย่างอิสระอีกด้วย

นายนูฮ์ อัลเบรัก นักเขียนตุรกีกล่าวว่าพรรคประชาชนสาธารณรัฐคือภาพแห่งความสะพรึงกลัวของอิสลามที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ผู้ที่เลือกสนับสนุนนายอักร็อม อิมามโอฆลูหลังจากที่เขาอ่านซูเราะฮ์ยาซีนที่มัสยิดอัยยูบ ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งคราวก่อน พวกเขาต้องรับผิดชอบต่อการกระทำอันน่าละอายนี้

 มุร็อด บาร์กาซี นักประวัติศาสตร์ตุรกีเขียนบทความตอนหนึ่งว่า เราเคยชินกับพิธีการที่เป็นการดูถูกเมาลานาในรูปแบบต่างๆมาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่ในรอบ 747 ปีที่ผ่านมา เราไม่เคยถูกหยามเหยียดถึงขนาดนี้ ทุกคนต้องให้เกียรติประเพณีอันดีงามที่บรรพบุรุษของเราได้ปฏิบัติเป็นธรรมเนียมอยู่แล้วแต่ไม่จำเป็นต้องดูหมิ่นศาสนาถึงระดับนี้

ชาวตุรกีมีความทรงจำที่ปวดร้าวกับอาซานด้วยภาษาตุรกี ซึ่งทำให้พวกเขารำลึกถึงยุคมืดของชาติตุรกีในปี 1932  อันเป็นปีแรกที่มีการห้ามอะซานด้วยภาษาอาหรับ และในปี 1941 ประธานาธิบดี อิศมัต อิโนโน ทายาทของนายเคมาล อะตาร์เตอร์กได้ออกกฏหมายสั่งห้ามประชาชนทั่วประเทศตุรกีอาซานด้วยภาษาอาหรับ ชาวตุรกีถูกบังคับอาซานด้วยภาษาตุรกีเป็นเวลานานถึง 18 ปีจนกระทั่งเมื่อปี 1950 นายกรัฐมนตรีนายอัดนาน แมนเดรีส ได้อนุญาตให้อาซานเป็นภาษาอาหรับอีกครั้งตราบจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนายแมนเดรีส ถูกทหารก่อปฏิวัติและลงโทษด้วยการแขวนคอในปี 1961 แมนเดรีสได้รับฉายาจากชาวตุรกีเป็นซะฮีดแห่งอาซาน

ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นเพราะบรรดาแกนนำพรรคประชาชนสาธารณรัฐได้รณรงค์ให้ชาวตุรกีอาซานและอ่านอัลกุรอานด้วยภาษาตุรกีมาแล้วในปี 2018 โดยให้เหตุผลว่า เพื่อให้ชาวตุรกีมีความเข้าใจเนื้อหามากขึ้น ทั้งนี้พวกเขาเห็นว่า การอ่านอัลกุรอานและอาซานด้วยภาษาอาหรับ ถือเป็นการดูถูกภาษาตุรกี ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ


อ้างอิงจาก

https://m.arabi21.com/Story/1323255?fbclid=IwAR06CYm4dIufYDD_SBzBi57IiHQzX6DWjIa2m4d4n4-k1fG0Ss_FT1Q6GVo

https://www.turkpress.co/node/76424?fbclid=IwAR3mY4zNyMWlWGvVDqR0HAt2bXDMMxaRbwGHNIm3qd6IojM1tsR13iIBHvQ

โดยทีมงานต่างประเทศ

ตาปลอม ( Eye Prosthesis ) ชาวกาซ่า

ทันตแพทย์ชาวกาซ่า ปาเลสไตน์สามารถผลิตตาปลอมชนิดทำเฉพาะบุคคล ( Customized Eye Prosthesis ) ที่ใกล้เคียงกับตาอีกข้าง โดยมีการลงสีตาขาว ตาดำ เส้นเลือด ให้มีรายละเอียดคล้ายตาจริงอีกข้างของผู้ป่วยให้มากที่สุด สามารถขัดเคลือบและทำความสะอาดได้ และมีขนาดที่พอดีกับร่องลูกตาของผู้ป่วย

การใส่ตาปลอมให้ผู้ป่วยนั้น ถึงแม้ไม่สามารถช่วยในการมองเห็นได้ แต่เป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วย กลับไปยืนในสังคมได้อย่างมั่นใจอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีผลต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยได้มาก

นพ. อิยาด อัลฮุลัยส์ ผู้อำนวยการศูนย์รักษาตาที่กาซ่าเปิดเผยว่า การใส่ตาปลอมมีความสำคัญต่อผู้ป่วยมากเพราะจากคนที่มีปมด้อยในสังคม ทำให้สามารถสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตเยี่ยงคนปกติทั่วไป “เราสามารถผลิตตาปลอมที่ได้มาตรฐานสากลและเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ป่วยที่สูญเสียตาโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเด็กและวัยรุ่นซึ่งเป็นพลังสำคัญของสังคม นพ. อิยาดกล่าว

นายรานี อายุ 15 ปี ผู้สูญเสียลูกตาข้างซ้ายเนื่องจากโดนกระสุนปืนของทหารยิวเมื่อปี 2019 กล่าวว่า รู้สึกดีใจมากที่ได้รับโอกาสใส่ตาปลอม เพราะตนและครอบครัวไม่สามารถใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ เช่นเดียวกันกับ ดช. อาห์มัด ที่สูญเสียลูกตาข้างหนึ่งเนื่องจากถูกสะเก็ดระเบิดของทหารยิวเมื่อหลายปีที่ผ่านมา

TIKA (Turkish Cooperation and Coordination Agency – สำนักงานความร่วมมือและประสานงานแห่งตุรกี) ได้สนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายใส่ตาปลอมแก่ชาวปาเลสไตน์จำนวน 10 ราย โดยค่าใช้จ่ายผลิตตาปลอมต้องใช้งบประมาณ 1,000 ดอลล่าร์ต่อลูกตา

หวังว่า ในอนาคตอันใกล้ พี่น้องจากประเทศไทยสามารถมีส่วนร่วมมอบตาปลอมให้พี่น้องชาวกาซ่า ปาเลสไตน์ได้เช่นเดียวกัน إن شاء الله


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

ชาวฝรั่งเศสไม่พอใจผลงานของมาครง

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศฝรั่งเศสแถลงผลการประเมินผลงานของรัฐบาลนายมาครง ปรากฏว่าชาวฝรั่งเศสเกือบ 60 % ไม่พอใจผลงานของประธานาธิบดีมาครง

ผลการสอบถามผ่านอินเตอร์เน็ตโดยมีผู้ให้คำตอบ 1,936 คน ปรากฏว่า นายมาครงซึ่งกำลังถูกกักบริเวณ เนื่องจากติดเชื้อโควิด-19 มีคะแนนความไม่พอใจของประชาชนลดลงถึง 38% ช่วงเดือนธันวาคมนี้

ผลการประเมินกรณีความพึงพอใจของประชาชนต่อการเเก้ปัญหาโควิด-19

ปรากฏว่าชาวฝรั่งเศสเง 7 ใน 10 คน ไม่เชื่อมั่น นอกจากนี้ชาวฝรั่งเศสมีความเห็นว่ารัฐบาลที่นำโดยนายมาครงไม่สามารถแก้วิกฤติโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


อ้างจาก

https://www.trtarabi.com/now/%D8%A7%D8%B3%D8%AA%D8%B7%D9%84%D8%A7%D8%B9-%D8%B1%D8%A3%D9%8A-60-%D9%85%D9%86-%D8%A7%D9%84%D9%81%D8%B1%D9%86%D8%B3%D9%8A%D9%8A%D9%86-%D8%BA%D9%8A%D8%B1-%D8%B1%D8%A7%D8%B6%D9%8A%D9%86-%D8%B9%D9%86-%D8%A3%D8%AF%D8%A7%D8%A1-%D9%85%D8%A7%D9%83%D8%B1%D9%88%D9%86-3899190?fbclid=IwAR1G99-HGnBaSsnDJedQONGgreSpNvYwAhTZ93XLkOjjN0B526Ej1J5RPTI

โดย ทีมงานต่างประเทศ

ปฏิบัติตามสัญญา แม้เวลาจะผ่านไปนานถึง 26 ปี

วารสาร AL-Mujtama แห่งคูเวตเผยแพร่ข่าวการให้สัมภาษณ์ของประธานาธิบดีแอร์โดอาน ขณะที่เขาดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอิสตันบูลระหว่างปี ค.ศ. 1994-1998

โดยสำนักข่าวอัลญาซีร่าห์ ได้เผยแพร่ข่าววารสาร AL-Mujtama ฉบับที่ 1097 ประจำวันที่ 26/4/1994 ได้สัมภาษณ์นายแอร์โดอาน ขณะดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอิสตันบูลขณะนั้น ซึ่งเขาได้ให้คำมั่นสัญญาว่า “ อายาโซเฟีย ไม่มีทางเปลี่ยนเป็นโบสถ์ได้ ถึงแม้จะมีความพยายามมากมายแค่ไหนก็ตาม” เขาย้ำว่า ความคิดนี้เป็นเพียงความเพ้อฝันเท่านั้น พร้อมกล่าวว่าอายาโซเฟีย คือศาสนสมบัติของชาวมุสลิมและจะคงอยู่ในสภาพนี้ตลอดไป”

แอร์โดอานให้สัมภาษณ์ว่า “พวกเราทุกคนทราบดีว่า กษัตริย์ผู้พิชิตสุลฏอน มูฮัมมัด อัลฟาติห์ ไม่ได้ยึดครองอายาโซเฟีย แต่พระองค์ได้บริจาคทรัพย์สินส่วนพระองค์ซื้ออายาโซเฟียและทรงวากัฟ (บริจาคเป็นศาสนสมบัติให้แก่ชาวมุสลิม) ผู้ใดที่ใช้มันอย่างผิดวัตถุประสงค์นี้ อัลลอฮ์และรอซูลจะสาปแช่งพวกเขา”

แอร์โดอานเสริมว่า “ หัวหน้าพรรครอฟาห์ ศ.ดร. นัจมุดดีน อัรบะกาน (พรรคสังกัดแอร์โดอานขณะนั้น)  ได้ประกาศว่า อายาโซเฟียจะกลับคืนเป็นมัสยิดอีกครั้ง และนี่คือสัญญาแห่งศาสนาที่เป็นภารกิจของพรรคราฟาห์ เราพร้อมปฎิบัติตามสัญญา เมื่อโอกาสมาถึง

เวลาผ่านไป 26 ปี เมื่อวันศุกร์ที่ 10/7/2020 ประธานาธิบดีแอร์โดอาน ได้ลงนามประกาศอายาโซเฟียเป็นมัสยิดอย่างเป็นทางการ โดยให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การกิจการศาสนา พร้อมทวิตข้อความว่า ขอให้อัลลอฮ์ทรงประทานความสิริมงคลแก่ท่านทั้งหลาย มัสยิดอายาโซเฟีย

ประกาศฉบับนี้ ถือเป็นการยกเลิกกฎหมายที่เปลี่ยนมัสยิดเป็นพิพิธภัณฑ์เมื่อปีค.ศ. 1934 หรือ 86 ปีที่แล้ว และเป็นการปฏิบัติตามสัญญาที่แอร์โดอานได้สัญญากับประชาชนชาวตุรกีและประชาชาติมุสลิมเมื่อ 26 ปีที่ผ่านมา

และเมื่อวันที่ 3 ซุลหิจญะฮ์ 1441 (24/7/2020) ประธานาธิบดีแอร์โดอานร่วมกับคณะรัฐบาล ประชาชนนับแสนคน ร่วมกันละหมาดวันศุกร์แรกในรอบ 86 ปี ที่มัสยิดอายาโซเฟีย โดยการนำละหมาดของอิมามใหญ่อายาโซเฟีย พร้อมเสียงตักบีรเนื่องในวัน 10 วันแรกของเดือนซุลหิจญะฮ์ที่ดังกระหึ่มทั่วอิสตันบูล และถูกไลฟ์สดไปยังทั่วทุกมุมโลก

ถือเป็นวันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์อีกวันหนึ่งที่บันดาลความสุขให้แก่ชาวมุสลิมทั่วโลก ถึงแม้บรรดาผู้ปฎิเสธและผู้กลับกลอกจะชิงชังก็ตาม

 بسم الله والحمد لله والله أكبر


โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

อ้างอิงจาก

https://mubasher.aljazeera.net/news/politics/2020/07/11/آيا-صوفيا-مسجدا-كيف-وفى-أردوغان-بوعد?gb=true

เส้นทางสายไหมยุคใหม่

เมื่อวันศุกร์ที่ 4/12/2020 รัฐบาลตุรกีปล่อยรถไฟลำเลียงสินค้าขบวนแรกจากตุรกีปลายทางประเทศจีน โดยใช้เส้นทางสายไหมเส้นใหม่ผ่าน 2 ทวีป 2 ทะเลและ 5 ประเทศ คือตุรกี จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซคัสถานและจีน ใช้ระยะทางทั้งสิ้น 8,693 กม. โดยใช้เวลาในการเดินทาง 12 วัน

รัฐบาลตุรกีประกาศปล่อยรถไฟลำเลียงสินค้าขบวนแรกจากรถไฟสินค้าจำนวน 10 ขบวนเพื่อภารกิจนี้ โดยแต่ละขบวนมี 42 โบกี้ ที่บรรทุกสินค้าจากตุรกีไปยังจีน และจากจีนไปยังประเทศยุโรป ปลายทางกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวะก้าวสำคัญของประเทศตุรกีที่ดำริอภิมหาโครงการแห่งศตวรรษนี้ สู่ความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจตามวิสัยทัศน์ 2023


โดย ทีมงานต่างประเทศ

เมืองเฆนชา (Gence)

เป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของอาเซอร์ใบจานด้านจำนวนประชากร ซึ่งมีจำนวน 332,600 คน ตั้งอยู่บนที่ราบสูง 400 – 450 ม.กว่าระดับน้ำทะเล ห่างจากเมืองหลวงบากูไปทางตะวันตก 375 กม. มีภูมิประเทศสวยงามและมีวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ยาวนานย้อนถึง 494 ปีก่อนคริสตศักราช มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากมาย

ช่วงสงครามอาร์เมเนีย-อาเซอร์ไบจานที่ผ่านมา กองกำลังอาร์เมเนียได้ถล่มเป้าหมายพลเรือน ทำให้ประชาชนเสียชีวิต 61 คน บาดเจ็บ 282 คน อาคารราชการจำนวน 341 แห่งได้รับความเสียหาย บ้านจำนวน 1,846 หลังถูกถล่มราบ อะพาร์ตเมนท์จำนวน 90 อาคารเสียหายยับเยิน รัฐบาลตุรกีและอาเซอร์ไบจานกล่าวหารัฐบาลอาร์เมเนียเป็นอาชญากรสงคราม แต่อาร์เมเนียปฏิเสธ

หลังสงครามสงบ ประชาชนกลับไปยังหมู่บ้านของตนเอง ท่ามกลางซากปรักหักพังของบ้านเรือนที่ถูกก่อการร้ายในนามรัฐบาลอาร์เมเนียถล่มจนราบคาบ

สื่อกระแสหลักระดับโลก ไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้ แม้กระทั่งมุสลิมบางคน ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า อาร์เมเนียคือใคร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลอาร์เมเนียได้สร้างวีรกรรมโฉดต่อชาวอาเซอร์ไบจานอย่างไรบ้าง

อ้างอิงจาก

https://www.aljazeera.net/news/politics/2020/10/17/معارك-قره-باغ-إسقاط-طائرة-مسيرة


โดย ทีมงานต่างประเทศ