อธิการ มฟน. เข้าร่วมประชุมนานาชาติ ณ มหานครมักกะฮ์

สันนิบาตมุสลิมโลก (MWL) จัดการประชุมนานาชาติครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ

((بناء الجسور بين المذاهب الإسلامية))

“การสร้างสะพานเชื่อมระหว่างสำนักคิดอิสลาม: สู่ความร่วมมือของชาวมุสลิมที่มีประสิทธิภาพ” ที่มหานครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันที่ 6 – 7 มีนาคม 2568 โดยมีนักวิชาการมุสลิมทั่วโลกกว่า 100 คน เข้าร่วม โดยในจำนวนนี้ รศ. ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกิยา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนีในฐานะสมาชิกก่อตั้งสันนิบาตมุสลิมโลก จากประเทศไทยได้รับเกียรติให้เข้าร่วมประชุมนานาชาติครั้งนี้ด้วย

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์ซัลมาน บิน อับดุลอาซิซ อัล ซาอุด ผู้ถวายบริการสองมัสยิดอันทรงเกียรติ  ที่มหานครมักกะฮ์มักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ระหว่างวันที่ 6 – 7 มีนาคม 2568

1. เป้าหมายของการประชุม

 • ส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างมัซฮับสำนักคิดต่าง ๆ ในอิสลาม

 • ย้ำถึงบทบาทของนักวิชาการอิสลามในการเสริมสร้างเอกภาพ

 • ประสานจุดยืนเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายร่วมกัน

 • เน้นบทบาทของซาอุดีอาระเบียในการสร้างความสามัคคีของโลกมุสลิม

2. หัวข้อหลักของการประชุม

 • หลักการของ “ฟิกฮ์แห่งความแตกต่าง”: อธิบายหลักจริยธรรมและแนวทางการจัดการความเห็นต่างในอิสลาม

 • พื้นฐานของความเป็นเอกภาพอิสลาม: การสร้างจุดร่วมทางความเชื่อและกฎหมายศาสนา

 • แนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างมัซฮับและสำนักคิดต่าง ๆ : พัฒนาความร่วมมือในทางปฏิบัติ

 • ปัญหาของประชาชาติมุสลิม: เช่น ปัญหาปาเลสไตน์, ซีเรีย, ซูดาน และสถานการณ์ของชนกลุ่มน้อยมุสลิม

 • พัฒนาการของ “การเสวนาระหว่างมัซฮับอิสลาม”: ความคืบหน้าของโครงการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างมัซฮับและสำนักคิดต่าง ๆ

 3. ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

 • เปิดตัวแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมัซฮับ

 • ก่อตั้ง “คณะกรรมการประสานงานระหว่างมัซฮับอิสลาม”

 • จัดทำสารานุกรม “แนวคิดร่วมของอิสลาม” เพื่อแสดงจุดร่วมของทุกมัซฮับ

 • มอบรางวัลสำหรับผู้ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมเอกภาพของมุสลิม

ขอบคุณเนื้อหาข่าว และ รูปภาพ : FB : Muhammad Ibnu Abdullah Assomadee 


ทีมข่าว theustaz.com

จุฬาราชมนตรีพร้อมอธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนีและคณะร่วมสัมมนานานาชาติที่กรุงบาห์เรน

ในคำให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบาห์เรน (BNA) ดร.อิสมาอีลลุตฟี ระบุว่าการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรและสภาสูงเพื่อกิจการอิสลามแห่งราชอาณาจักรบาห์เรน ถือเป็นก้าวสำคัญที่รวบรวมนักวิชาการ ผู้นำศาสนา และนักคิดมุสลิม เพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกภาพของประชาชาติมุสลิม ตอกย้ำจุดร่วม และร่วมกันเผชิญความท้าทายต่างๆ

ดร.อิสมาอีลลุตฟี กล่าวเพิ่มเติมว่า นักวิชาการมุสลิมได้พยายามอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมเอกภาพของประชาชาติมุสลิมผ่านยุคสมัยต่างๆ ด้วยการขจัดความแตกแยกและความขัดแย้ง ในส่วนนี้ ท่านกล่าวถึงหนังสือ (أمة واحدة)“ประชาชาติหนึ่งเดียว” ที่ท่านได้ประพันธ์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศาสนาและกิจการอิสลามของประเทศคูเวต ซึ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของวัฒนธรรมอิสลาม ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และการยอมรับความแตกต่างในสังคม เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและลดความขัดแย้ง

นอกจากนี้ ดร.อิสมาอีลลุตฟี ยังแสดงความขอบคุณต่อสมเด็จพระราชาธิบดีฮาหมัด บิน อีซา อัลคอลีฟะฮ์ แห่งบาห์เรน ที่ทรงให้การสนับสนุนและเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งนี้ พร้อมยืนยันว่าราชอาณาจักรบาห์เรนเป็นศูนย์กลางของการประชุมและกิจกรรมที่ส่งเสริมสันติภาพ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และความสามัคคีทั้งในระดับศาสนาและมนุษยธรรม

ที่มาข่าว : A Fattah Lutfy Japakiya  & bnanewsen


โดยทีมข่าว theustaz

#4UGAZA8th

19 มกราคม 2568

เวลา 09.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น

ผศ. มัสลัน มาหะมะ กล่าวว่า ความช่วยเหลือในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ #4UGAZA รอบที่ 8 ซึ่งสามารถระดมความช่วยเหลือจากชาวมือบนทั่วประเทศมาแล้วจำนวน 9,739,588 บาท

“นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์พายุแกร่งแห่งอักศอเมื่อ 7 ตุลาคม 2566 มูลนิธิเรือนร่างเดียวกันและองค์กรภาคีพันธมิตรได้จัดระดมความช่วยเหลือเร่งด่วนด้านมนุษยธรรมแก่ชาวกาซ่าที่ครอบคลุม 10 โครงการได้แก่ 1. โครงการละศีลอดเดือนรอมฎอน 2. โครงการกุรบานเพื่อกาซ่า 3. โครงการแจกถุงยังชีพ 4. โครงการห้องครัวเคลื่อนที่และแจกอาการกล่อง 5. โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าโซล่าเซลล์ 6. โครงการขุดบ่อน้ำ 7. โครงการซื้อน้ำดื่ม 8. โครงการสร้างเต้นท์ชั่วคราว 9. โครงการสร้างห้องเรียนชั่วคราว 10. โครงการรอยยิ้มวันอีด “

พี่น้องสามารถส่งความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องได้ที่

ธนาคารอิสลาม

054-1-25763-3

กองทุนเรือนร่างเดียวกันเพื่อมนุษยธรรม

ธนาคารกสิกรไทย

172-3-89822-2

มูลนิธิเรือนร่างเดียวกัน


มอบความช่วยเหลือครั้งที่1&2
มอบความช่วยเหลือครั้งที่ 3
มอบความช่วยเหลือครั้งที่ 4
มอบความช่วยเหลือครั้งที่ 5
มอบความช่วยเหลือครั้งที่ 6
มอบความช่วยเหลือครั้งที่ 7

#4UGAZA7th

9 ธันวาคม 2567

เวลา 10.00 น.

เป็นมูลนิธิฯ ที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การศึกษาและสังคมที่ใหญ่โต ครอบคลุมหลาย 10 ประเทศทั่วโลก ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพจากทั่วโลกที่เข้ามาในคอนยา โดยเฉพาะชาวซีเรีย ปลสตน. อิรัก โซมาเลีย ซูดาน ซึ่งมูลนิธิฯ ได้เตรียมทั้งอาหารแห้งและอาหารสุกมอบให้ผู้เดือดร้อน รวมทั้งเสื้อผ้าและให้ทุนการศึกษา

มูลนิธิเรือนร่างเดียวกันได้สมทบงงบประมาณจำนวน 400,000 บาท เพื่อช่วยเหลือเร่งด่วนแก่พี่น้อง GZ ที่กำลังเดือดร้อนจากการถล่มของทหารผู้ยึดครองมาอย่างต่อเนื่อง 

ขอบคุณมูลนิธิ RIBAT, Konya ที่ต้อนรับด้วยความอบอุ่น แถมซื้อตั๋วไปกลับอิสตันบูล – คอนยา ให้กับคณะทั้ง 3 คน 

คอนยาเมืองเก่าแก่ของอาณาจักรเซลจูก มีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ และกษัตริย์ที่มีชื่อเสียงคือ กษัตริย์อาลาอุดดีน ต่อมาอาณาจักรเริ่มอ่อนแอจนกระทั่งถูกผนวกรวมกับอาณาจักรอุษมานียะฮ์ในเวลาต่อมา 

เป็นการทัศนศึกษาดูงานที่คุ้มค่ามาก โดยเฉพาะเมื่อมีไกด์กิตติมศักด์ระดับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยช่วยนำเที่ยววันเดย์ทริปครั้งนี้

10 ธันวาคม 2567

เวลา  10.00 น.

ได้มีโอกาสเยี่ยมสำนักงานมูลนิธิ Hayat Yolu ที่มหานครอิสตันบูล พร้อมมอบความช่วยเหลือแก่พี่น้อง GZ จำนวน 400,000 บาทโดยมีดร. ฏอริก ผอ. มูลนิธิฯ เป็นผู้รับมอบ  เพื่อนำไปสร้างห้องเรียนชั่วคราว รองรับนักเรียนจำนวน 35 คน พร้อมบุคลากรอีก 3 คน เงินจำนวนนี้นอกจากสร้างห้องเรียนชั่วคราวแล้ว ยังครอบคลุมซื้อเสื้อผ้า อาหาร อุปกรณ์การเรียนภายในระยะเวลา 12 เดือน เริ่ม มกราคม – ธันวาคม 2568 إن شاء الله 

พอช่วงเย็นในวันเดียวกัน  เรามีนัดรับประทานอาหารค่ำ แต่ท่านผอ. ไม่สามารถร่วมวงได้ เพราะท่านเพิ่งรับข่าวร้ายจาก GZ ว่าน้องสาวของท่าน พร้อมสามีของเธอและลูก ๆ อีก 5 คน ที่ GZ ได้รับชะฮีดจากการถล่มแคมป์อพยพของอีเลว 

เราดีใจต่อชัยชนะของพี่น้องซีเรีย แต่เหตุการณ์ถล่ม GZ ก็ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้มติยูเอ็นจะประกาศว่านายนาแทยาฮูเป็นผู้ก่อการร้ายสากลก็ตาม 


ส่งความช่วยเหลือแก่พี่น้องปาเลสไตน์อย่างต่อเนื่องได้ที่

ธนาคารอิสลาม

054-1-25763-3

กองทุนเรือนร่างเดียวกันเพื่อมนุษยธรรม

ธนาคารกสิกรไทย

172-3-89822-2

มูลนิธิเรือนร่างเดียวกัน

1 ปี พายุแกร่งแห่งอักศอ มูลนิธิเรือนร่างเดียวกันทำอะไรบ้าง

1 .โครงการช่วยเหลือเร่งด่วนจำนวน 6 ครั้งดังนี้
(รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,930,588 บาท)

2. เข้าร่วมสัมมนาระดับชาติและนานาชาติ

3. บรรยาย ให้ความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับมัสยิดอักศอ, แผ่นดินปาเลสไตน์ ผ่านโรงเรียน และอ่านคุตบะฮ์ตามมัสยิดต่าง ๆ

4. ทำคลิป นำเสนอข่าว ,ข้อมูลเกี่ยวกับปาเลสไตน์และมัสยิดอักศอ ผ่าน เว็ปไซต์ , เฟสบุ้ค และยูทูป theustaz.com

5. พิมพ์หนังสือ “พายุแกร่งแห่งอักศอ” จำนวน 2,000 เล่ม


ทีมข่าว theustaz.com

อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนีเข้าเยี่ยมคารวะกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์

.

.

 ในโอกาสนี้ กงสุลใหญ่ฯ และรองศาสตราจารย์ ดร. อิสมาอีลลุตฟีฯ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงหลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยฟาฏอนีที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก ปัจจุบัน มีนักศึกษาไทยและต่างชาติเรียนที่มหาวิทยาลัยฟาฏอนีรวมกว่า 50 ประเทศ จำนวนประมาณ 3,000 คน โดยมีนักศึกษาซาอุดีอาระเบียด้วย โดย รองศาสตราจารย์ ดร. อิสมาอีลลุตฟีฯ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยฟาฏอนีให้ความสำคัญกับหลักสูตรสันติวิทยา (Peace Studies) ซึ่งเป็นพื้นฐานของนักศึกษาทุกระดับ เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นระบบระเบียบ เคารพและเข้าใจกันซึ่งกันและกัน ทำให้ทุกคนได้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข

.

เครดิตเนื้อหาข่าวและภาพโดย : สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ – Thai Consulate Jeddah – قنصلية تايلاند بجدة


ร้านเจตาซีเมนต์และก่อสร้างมอบเงินสนับสนุนโครงการ #4UGAZA

20 กันยายน 2567

เวลา 19.00 น.

https://www.facebook.com/watch/live/?ref=watch_permalink&v=528573339859428&rdid=ExWs8HwNVkHzZMJK

ผ่านการประสานงานจาก Talbiah – ตัลบิยะห์ ฮัจญ์&อุมเราะห์

หลังบรรยาย นายหะยีสุกรี เจะลง ผู้จัดการร้านเจตาซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างได้มอบเงินสมทบเข้าในโครงการ #4UGAZA จำนวน 100,000 บาท โดยมีนายเมธา เมฆารัฐ รองประธานมูลนิธิเรือนร่างเดียวกันและประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาสให้เกียรติเป็นสักขีพยาน นอกจากนี้พี่น้องที่ร่วมฟังการบรรยายได้ร่วมสมทบอีกจำนวน 11,000 บาท

ผศ. มัสลัน มาหะมะ กล่าวว่าตั้งแต่เกิดวิกฤติที่กาซ่าเมื่อ 7 ตุลาคม 2566 ได้เกิดวิกฤติด้านมนุษธรรมครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ มูลนิธิเรือนร่างเดียวกันได้ระดมรับบริจาคและส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่พี่น้องจำนวน 6 รอบ คิดเป็นเงินจำนวน 7,800,000 บาท โดยครอบคลุมการช่วยเหลือฉุกเฉินด้านต่าง ๆ เช่น แจกถุงยังชีพเดือนรอมฎอน แจกเนื้อกุรบาน แจกน้ำดื่ม การบูรณะซ่อมแซมบ่อน้ำด้วยระบบโซล่าเซลล์ สร้างเต้นท์ที่พักชั่วคราว และแจกยาเวชภัณฑ์ โดยผ่านการประสานงานจากองค์กรเอกชนที่ทำงานในพื้นที่ 2 องค์กรคือ Ghirass for Society Development ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่กรุงอิสตันบูล และ AL-Quds Foundation – Malaysia สำนักงานกัวลาลัมเปอร์

ขอบคุณชาวมือบนทุกท่านที่มีส่วนร่วมกับโครงการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมครั้งนี้

وجزاكم الله خيرا

พี่น้องสามารถส่งความช่วยเหลือแก่พี่น้องกาซ่าอย่างต่อเนื่องได้ที่

ธนาคารอิสลาม

054-1-25763-3

กองทุนเรือนร่างเดียวกันเพื่อมนุษยธรรม

ธนาคารกสิกรไทย

172-3-89822-2

มูลนิธิเรือนร่างเดียวกัน


ทีมข่าว theustaz.com

กลุ่ม GISBH ชาเก่าในกาใหม่ของกลุ่มอัรก็อม

เมื่อวันที่ 11 กันยายน การกระทำผิดที่น่าตกตะลึงได้รับการเปิดเผยมากขึ้นเมื่อรายงานของสื่อระบุว่า GISBH เกี่ยวข้องกับการแสวงประโยชน์จากเด็กในสถานสงเคราะห์แห่งหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม GISBH ได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและยืนยันที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่แก่ตำรวจและกรมพัฒนาอิสลามแห่งมาเลเซีย (JAKIM)

GISBH คือใคร

กลุ่มธุรกิจเก็งกำไร GISBH เกิดจากความเชื่อมโยงกับกลุ่มอัรก็อมในอดีต ซึ่งก่อตั้งโดยอัชอะรี มูฮัมหมัด ผู้ล่วงลับไปแล้ว กลุ่มนี้ถูกทางการมาเลเซียยุบไปและถือเป็นกลุ่มผิดกฎหมาย ฐานเผยแพร่คำสอนที่บิดเบือนจากอิสลาม

ตามรายงานของ Free Malaysia Today (FMT) นายอัชอะรี เคยทำหน้าที่เป็นประธานของ Global Ikhwan Sdn. โดยจดทะเบียนก่อตั้งปี 2000 ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น GISB Holdings ปัจจุบันบริหารโดย Datuk Haji Nasiruddin Mohd Ali

โพสต์บน Facebook โดย GISB Holdings ยืนยันว่า Global Ikhwan ก่อตั้งขึ้นจากกลุ่มที่ยังเคลื่อนไหวของอัลอัรก็อม โดยเฉพาะจากปีกธุรกิจของตน

กลุ่มอัรก็อม ถูกสภาฟัตวาแห่งชาติของมาเลเซียสั่งยุบในปี 1994 โดยผู้ก่อตั้ง นายอัชอะรีเคยถูกควบคุมตัวเป็นเวลาสองปีภายใต้พระราชบัญญัติความมั่นคงภายใน (ISA)

การรีแบรนด์อัรก็อม

ก่อนที่จะมาเป็น GISB Holdings กลุ่มนี้ได้ผ่านกระบวนการรีแบรนด์ โดยเริ่มแรกใช้ชื่อ Rufaqa Corp ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้ GISB Holdings

Rufaqa Corp เคยใช้พื้นที่ภาคอันดามันของประเทศไทย เคลื่อนไหวผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการบันเทิงแนวอิสลามและการค้าธุรกิจในชุมชน ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างล้นหลามจากชาวมุสลิมในพื้นที่

ข้อมูลตามเว็บไซต์ GISB Holdings ระบุว่า บริษัทก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตอิสลามในทุกด้าน รวมถึงการศึกษา ศิลปวัฒนธรรมและการปศุสัตว์ โดยเน้นย้ำว่าอัลลอฮ์ เป็นพลังอำนาจที่สมบูรณ์ที่ควรได้รับความเคารพและยำเกรง

GISBH: กลุ่มบริษัทที่มีบริษัทย่อย 25 แห่ง

ณ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2567 กลุ่มบริษัทอิสลามเอกชนแห่งนี้ถือครองทรัพย์สินมูลค่าประมาณ 325 ล้านริงกิต โดยมีสาขาธุรกิจ 415 แห่งกระจายอยู่ใน 20 ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) และฝรั่งเศส

GISBH มีพนักงานทั้งหมด 5,346 คนในบริษัทย่อย 25 แห่ง ซึ่งรวมถึงทรัพย์สินหลัก เช่น ร้านอาหารในลอนดอน ปารีส อิสตันบูล ดูไบและมักกะห์ ที่พักในประเทศตุรกี โรงแรมในซาราเยโว และฟาร์มขนาด 120 เอเคอร์ในเมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย

จากข้อมูลของ Reserve Malaysia บริษัทสาขา 25 แห่งภายใต้ GISB Holdings ได้แก่:

  1. ⁠จีไอเอสบี มาร์ท Sdn Bhd
     ⁠GISB เบเกอรี่ ร้านอาหาร & การจัดเลี้ยง Sdn Bhd
  2. ⁠GISB Industries Sdn Bhd
  3. ผู้จัดจำหน่าย GISB Sdn Bhd
  4. GISB Medicare Sdn Bhd
  5. GISB Event Management Sdn Bhd
  6. GISB ที่ปรึกษาและบริการ Sdn Bhd
  7. GISB Travel & Tours Sdn Bhd
  8. GISB Hi Tech Sdn Bhd
  9. GISB Maritime Sdn Bhd
  10. GISBH Berbahia Sdn Bhd
  11. Ikhwan Biotechnology Sdn Bhd
  12. Ikhwan TV Network Sdn Bhd
  13. GISB Academy Sdn Bhd
  14. GISB Security Services Sdn Bhd
  15. Permoladalan Berjiwa Sdn Bhd
  16. GISB Aeilah Mart Sdn Bhd
  17. GISB สัตว์ปีก Sdn Bhd
  18. Ikhwan Meat & Chicken Supplies Sdn Bhd
  19. Ikhwan Fateh Poultry Sdn Bhd
  20. Ikhwan Hatchery Sdn Bhd
  21. Ikhwan Perkasa Genetik Sdn Bhd
  22. Fateh Biotech Sdn Bhd
  23. Ikhwan Travel Marketing & Services Sdn Bhd
  24. ⁠GISB Properties & Development Sdn Bhd

กลุ่มธุรกิจในเครือข่าย GISB โดยกลุ่ม Ikhwan ได้เข้ามาตีตลาดในจังหวัดปัตตานี โดยเปิดร้านอาหารขนาดใหญ่ในใจกลางปัตตานี และเปิดสำนักงานใหญ่ตรงข้ามศูนย์การค้าชื่อดังของกลุ่มนักธุรกิจมุสลิม ที่ชานเมืองปัตตานี

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

GISBH : Kronologi & Perkembangan Terkini Kes GISB Holdings

APA ITU GISB? — PORTAL PERMOHONAN

Qurban4GAZA1445

มูลนิธิเรือนร่างเดียวกันร่วมมือกับ Ghirass for Society Development สำนักงานใหญ่อิสตันบูลและองค์กรสาธารณกุศลกว่า 10 องค์กรทั่วโลกจัดโครงการกุรบานเพื่อกาซ่าปีฮ.ศ. 1445 โดยสามารถเชือดวัวกุรบานที่ประเทศอินเดียจำนวนรวมทั้งสิ้น 150 ตัว ในจำนวนนี้ มูลนิธิเรือนร่างเดียวกันได้ระดมเงินจากพี่น้องในประเทศไทยเพื่อมีส่วนร่วมทำกุรบ่านวัวจำนวน 6 ตัว เป็นเงินทั้งสิ้น 360,000 บาท ซึ่งเนื้อกุรบ่านดังกล่าวได้ผ่านการแช่แข็งและลำเลียงแจกจ่ายไปยังพี่น้องชาวกาซ่า เมื่อเดือนสิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา

الحمد لله الذي بنعمته تتم الصالحات

ในนามมูลนิธิเรือนร่างเดียวกันขอขอบคุณชาวมือบนทุกท่านที่มีส่วนร่วมจัดโครงการกุรบ่านเพื่อชาวกาซ่าปี ฮ.ศ. 1445 ครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับความร่วมมือด้วยดีอย่างต่อเนื่องในโอกาสต่อไป

#QURBAN4GZ1445 #THEONEBODYFOUNDATION #มูลนิธิเรือนร่างเดียวกัน


ส่งความช่วยเหลือแก่พี่น้องกาซ่าอย่างต่อเนื่องได้ที่

ธนาคารอิสลาม

เลขบัญชี : 054-1-25763-3

ชื่อบัญชี : กองทุนเรือนร่างเดียวกันเพื่อมนุษยธรรม

ธนาคารกสิกรไทย

เลขบัญชี : 172-3-89822-2

ชื่อบัญชี : มูลนิธิเรือนร่างเดียวกัน


ทีมข่าวต่างประเทศ

ศาลจังหวัดนราธิวาสรับฟ้องคดีตากใบ

ทั้งนี้รายงานระบุว่า เมื่อรอจนถึงเวลานัดทั้ง 7 จำเลยไม่มีใครมาศาล ศาลนราธิวาส จึงมีคำสั่งให้ออกหมายจับจำเลยที่ 3-6 และจำเลยที่ 8-9 ประกอบด้วย จำเลยที่ 3 พล.ต.เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร อดีตผู้บัญชาการ พล.ร.5, จำเลยที่ 4 พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์ อดีต ผอ.ศปก.สน. ตร., จำเลยที่ 5 พล.ต.ท.มาโนช ไกรวงศ์ อดีต ผบช.ภาค 9, จำเลยที่ 6 พล.ต.ต.ศักดิ์สมหมาย พุทธกูล อดีต ผกก.สภ.อ.ตากใบ, จำเลยที่ 8 นายศิวะ แสงมณี อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย, จำเลยที่ 9 นายวิชม ทองสงค์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส

ขณะที่จำเลยที่ 1 พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และอดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ศาลให้ออกหมายเรียก และหนังสือขออนุญาตจับกุมไปที่สภา พร้อมนัดใหม่ในวันที่ 15 ตุลาคม 2567

จำเลยทั้ง 6 คนที่ศาลออกหมายจับ ศาลให้ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และตำรวจศาลมีอำนาจจับกุมได้ทันทีที่พบตัวภาย ในอายุความถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2567

ด้านนายอับดุลเลาะห์ หะยีอาบู มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ทนายความในคดีตากใบ เปิดเผยว่า ฝ่ายโจทก์จะติดตามหมายจับจำเลยต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จะรอดูวันที่ 15 ตุลาคมนี้ เห็นว่าจำเลยที่ 1 (พล.อ.พิศาล) รักษาตัวที่ต่างประเทศ ไม่มาประชุมตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว ยังไม่ชัวร์ ส่วนคนอื่นก็ต้องตามดูต่อไป

นางฮามิยะห์ หะยีมะ มารดาของ นายการียา หะยีมะ ผู้เสียชีวิตจากการถูกยิงในเหตุการณ์ตากใบ และเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้ง 7 เปิดเผยทั้งน้ำตาว่า รู้สึกผิดหวังที่จำเลยไม่มาร่วมในการไต่สวน แต่ก็มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมที่ศาลมีการออกหมายจับ

“อยากให้ทั้ง 7 คนออกมารับผิดชอบ มาขอโทษ มาให้เห็นหน้า ให้รู้ว่าตนเองได้ทำอะไรลงไปในเหตุการณ์ครั้งนั้น เพราะจากเหตุการณ์นั้นทุกคนยังเสียใจ ยังเป็นภาพติดตา มีแผลในใจ คนในครอบครัวหายไปตั้งแต่วันนั้น และไม่เจอกันอีกเลย”

นอกจากนี้ นางสีตีรอกายะห์ สาและ กล่าวว่า ทนมา 20 ปี ได้ข่าวว่าศาลรับคดีนี้แล้วรู้สึกดีใจ อยากดูหน้าคนที่ทำผิดเหมือนกัน อยากให้มาขอโทษด้วยสักคำเพราะเราทนมานานแล้ว ลำบากมานานแล้ว

อย่างไรก็ตาม พล.อ.พิศาล หรือ บิ๊กอ๊อด อายุ 75 ปี ทำงานในพื้นที่ภาคใต้มายาวนานกว่า 15 ปี  ในยุครัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร อยู่ในเหตุการณ์การชุมนุมที่อำเภอตากใบ

สำหรับ พล.อ.พิศาล จบโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 9 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 20 ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเป็นแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้ช่วยคณะนายทหารฝ่านเสนาธิการ ขึ้นตรงกับ พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตรผบ.ทบ. ในขณะนั้น จนกระทั่งปี 2547 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้รับตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 4 ก่อนจะเข้าสู่ถนนการเมืองในปี 2566

เครดิตข่าว :


ทีมข่าว theustaz.com