ความเข้าใจผิดบางประการของมุสลิม กรณีโรคระบาด COVID-19
1. เป็นมุสลิม ยึดมั่นในศาสนา ละหมาดครบ 5 เวลา จะปลอดภัยจากโรคระบาดจริงหรือ
2. ความเข้าใจเกี่ยวกับการมอบหมายแด่อัลลอฮ์ (ตะวักกัล) และการใช้เหตุและความพยายาม
3. ความเข้าใจเกี่ยวกับการผ่อนปรนและการบังคับในอิสลาม
4. ข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาด
เส้นทางสายใหม่ ของนูร อามีรา แอนลีน บินติ อับดุลลอฮ์
บนเส้นทางอันมากมายที่ดูสวยงามท่ามกลางสีสันแห่งชีวิตและรอยยิ้มของครอบครัว แต่เธอเลือกเดินทางเปลี่ยว ที่เธอมั่นใจว่าใช่ เป็นเส้นทางที่จะนำพาเธอสู่สันติสุขอันถาวร ถึงแม้จะเต็มไปด้วยขวากหนามก็ตาม
ทำไมอัลลอฮฺ ส่งบททดสอบมาให้เรา
โดย ครูฟาร์ Andalas Farr
หลงทางแต่ได้รับทางนำ
วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ชาวโรมาเนียพร้อมภรรยา ได้เดินทางท่องเที่ยวที่ประเทศตุรกีเมื่อปี 1992 แต่พลัดหลงทางเข้าไปที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนทำให้เขาต้องเปลี่ยนเส้นทางเดินครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต จบการศึกษาระดับ ป. เอกสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และทำงานที่บริษัทสายการบินแห่งหนึ่งที่โรมาเนีย ปัจจุบันเขาคือ Mohammad Stephan ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้และการเผยแพร่อิสลามประเทศโรมาเนีย
เรื่องราวจะเป็นเช่นไร เชิญติดตามคลิปนี้ดูครับ
ติดตามเพิ่มเติมที่
สนทนาแห่งศตวรรษ
Theoder Herzl มีชีวิตช่วง ปีค.ศ.1860-1904( 44 ปี) เป็นชาวยิวเกิดที่เมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี ต่อมาไปตั้งหลักแหล่งที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นนักหนังสือพิมพ์ และเจ้าของหนังสือ”รัฐยิว” ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานองค์การไซออนิสต์สากล ในคราวประชุมนักปราชญ์ไซออนิสต์ครั้งที่ 1 ที่เมืองบาเซิ่ล ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในปี 1897 และในปีค.ศ.1901 เขาได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสุลฏอนอับดุลฮามีดที่ 2 และได้นำเสนอยุทธศาสตร์ไซออนิสต์เพื่อสถาปนารัฐยิว ณ แผ่นดินปาเลสไตน์ก่อนที่ถูกสุลฏอนไล่ตะเพิดไป แผนการจ้องทำลายอาณาจักรอุษมานียะฮ์จึงเริ่มขึ้นอย่างจริงจังนับแต่นั้นมา
ที่มา : https://www.facebook.com/Payitaht.abdulhamid2/videos/418523785249432/
อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
ตามเรื่องเล่าสืบต่อกันมา เราเชื่อสนิทใจว่าจระเข้กินลูกเป็นอาหาร จนกระทั่งมีสำนวนมลายูว่า seperti buaya makan anak หมายถึงอย่ามีพฤติกรรมเหมือนจระเข้ที่กินลูกตัวเอง
คลิปนี้ทำให้เราตาสว่างว่า ความจริงจระเข้ไม่ได้กินลูกของตัวเอง แต่คือหนึ่งในสัญชาติญาณของจระเข้ตัวเมียที่จะคาบลูกๆที่เพิ่งฟักเป็นตัวเข้าไปในปาก เพื่อไปปล่อยในแม่น้ำต่อไป
บางครั้งสัตว์ที่ดุร้าย มีปรานีต่อลูกยิ่งกว่ามนุษย์เรืองปัญญา
เมาลานาอิสลาห์ได้รับเกียรติอ่านอัลกุรอานในพิธีเปิดงาน Thailand Halal Assembly 2019
เมาลานา อิสลาห์ บุษกร ผู้อยู่ในความมืดที่สว่างไสว
มุสลิมเชื้อสายจีนดั้งเดิมที่บรรพบุรุษเดินเท้าเข้ามาตั้งรกรากในอำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอน
จากเด็กชายที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตาจนกระทั่งอายุ 8 ขวบก็สูญเสียการมองเห็นทั้งสองข้าง ถึงแม้ดวงตาจะมืดมิด แต่เขาพบกับเส้นทางอันสว่างไสว
เด็กชายอิสลาห์ บุษกร จึงเริ่มสนใจท่องจำอัลกุรอานอย่างจริงจังจนสามารถท่องจำทั้งเล่มในวัยเพียง 11 ปี
เขาเดินทางไปศึกษาต่อที่สถาบันอิสลามเฉพาะทางสำหรับผู้พิการทางสายตาที่ประเทศแอฟริกาใต้ ใช้เวลาเรียนอยู่ที่นั่น 8 ปี ระหว่างเรียนได้สร้างชื่อเสียงด้วยการเป็นตัวแทนของแอฟริกาใต้ไปแข่งขันในเวทีระดับสากลและได้รับรางวัลชนะเลิศการท่องจำอัลกุรอานที่กรุงเจดดาห์ ประเทศซาอุดีอาระเบียเมื่อ ปี ค.ศ.2005
ปัจจุบัน เมาลานาอิสลาห์ บุษกร กำลังดำเนินการเปิดสอนโรงเรียนเฉพาะทางสำหรับผู้พิการทางสายตาที่บ้านเกิดตัวเองที่อำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอน
อิสลามคือศาสนาที่ข้ามโพ้นด้านความแตกต่างด้านชาติติพันธุ์ ตั้งแต่เริ่มแรกของการประกาศอิสลามของท่านนบีมูฮัมมัด صلى الله عليه وسلم ที่นครมักกะฮ์ ท่านสามารถรวบรวมทาสจากเอธิโอเปีย หนุ่มผู้ระเหเร่ร่อนจากเปอร์เซีย คหบดีที่มาจากกรุงโรมและกลุ่มชนจากเผ่าพันธุ์ต่างๆ ทั่วคาบสมุทรอาหรับ มาร่วมพัฒนาและสร้างความเจริญภายใต้ธงแห่งอิสลามด้วยความรักและให้เกียรติระหว่างกัน
อิสลามเกิดขึ้นที่อาหรับก็จริง แต่บรรดานักวิชาการระดับแนวหน้า ในทุกแขนงวิชาส่วนใหญ่แล้วมาจากบุคคลที่ไม่ใช่มีชาติพันธุ์อาหรับ
อิสลามถือว่าการติดกับดักกับความภูมิใจในชาติพันธุ์ของตนอย่างเลยเถิด จนกระทั่งมองข้ามหรือดูแคลนชาติชาติติพันธ์ุอื่น ถือเป็นแนวทางของคนสิ้นคิดตามแบบฉบับของชาวอวิชชา
กรณีของ เมาลานาอิสลาห์ บุษกรคือตัวอย่างที่ชัดเจนที่ยืนยันว่า อิสลามจะยังคงอยู่และเผยแพร่ในประเทศนี้จนกระทั่งวันกิยามะฮ์
อัลกุรอานจะได้รับการปกป้องรักษาเหนือแผ่นดินนี้ ถึงแม้จากผู้พิการทางสายตาก็ตาม และถึงแม้บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา จะชิงชังก็ตาม
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่…
https://www.facebook.com/manoch.aree/posts/1980038008738968
เขียนโดย ผศ.มัสลัน มาหะมะ
ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก Manoch Aree
ขอบคุณวีดีโอจาก งาน Thailand Halal Assembly 2019