Tahniah kepada Assoc.Prof.Dr.Ismail Lutfi Japakiya

Tahniah kepada

Assoc.Prof.Dr. Ismail Lutfi Japakiya

(Rektor Universiti Fatoni)

Putera Khalid Al Faisal bin Abdul Aziz Al Saud (Amir Makkah dan juga Presiden Anugerah Raja Faisal  yang mempunyai ibu pejabatnya di Riyadh  Arab Saudi). 

Penghargaan telah di beri kepada Assoc.Prof.Dr.Ismail Lutfi Japakiya dengan memilih beliau sebagai Ahli Jawatankuasa pemilihan calon yang sesuai untuk Anugerah Raja Faisal ketegori Perkhidmatan Islam Tahun 2022 ” Menurut surat pelantikan No. 21110 bertarikh 8 Safar A.D 1443 bersamaan 15 September 2021.

Semoga Allah memberikan pertolongan dan bimbingan kepada Assoc.Prof.Dr. Ismail Lutfi Japaqiya, Rektor Universiti Fatoni dalam melaksanakan tugas yang terpuji ini. 

Hadiah Raja Faisal (Arab: جائزة الملك فيصل, sebelumnya Hadiah Antarabangsa Raja Faisal) ditubuhkan pada 1977 adalah anugerah tahunan yang ditaja oleh King Faisal Foundation, yang diberikan kepada “lelaki dan wanita yang berdedikasi.” Yayasan ini menawarkan anugerah dalam lima kategori: Perkhidmatan untuk Islam, Pengajian Islam, Sastera Arab.Sains dan Perubatan 

. Tiga kategori pertama diiktiraf secara meluas sebagai anugerah paling berprestij di dunia Islam . Semenjak tahun pertama penubuhan sehingga 2019, seramai 265 orang dari 43 negara telah menerima anugerah tersebut.

Penerima pertama Anugerah Raja Faisal untuk Perkhidmatan kepada Islam adalah Abul A”la Almaudoudi, Pemimpin Gerakan Islam Pakistan pada tahun 1979 . Di negara-negara ASEAN, terdapat 5 orang yang telah menerima anugerah ini, iaitu Presiden Muhammad Nasir dari Indonesia pada tahun 1980, Tengku Abdul Rahman Putra 1983, Dr Mahathir Mohamad 1997 dan Tun Abdullah Badawi tahun 2011 dari Malaysia dan Dr Ahmad Domogao Alon Toh, dari Filipina pada tahun 1988. Penerima anugerah ini akan menerima anugerah wang tunai sebanyak RS750,000 dan sijil penghargaan.

SELAMAT BERKHIDMAT UNTUK UMMAH


Ikhlas daripada theustaz.com

Sadaqah Jariah Ramadan 2021

กลุ่มเพราะเราคือเรือนร่างเดียวกัน ได้รับการสนับสนุนจาก AL-Khair Foundation ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่ประเทศอังกฤษ ที่ได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิตามทะเบียนเลขที่ 1126808 โดยการประสานงานจากองค์กร KEDAMAIAN KEMANUSIAAN BERHAD ,สำนักงานกัวลาลัมเปอร์ จัดโครงการ Sadaqah Jariah Ramadan 2021 โดยได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 280,000 บาท โดยสามารถจัดทำกล่องบรรจุอาหารละศีลอดจำนวน 350 ลัง ราคาลังละ 700 บาท เป็นเงิน 245,000 บาท ส่วน อีก 35,000 บาทเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการประชาสัมพันธ์ ค่าไวนิล สติกเกอร์ ค่าทำเสื้อให้ทีมงาน ค่าประสานงานและการขนส่ง ตลอดจนการบริหารและการจัดการทั่วไป

ผศ. มัสลัน มาหะมะ ในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มเพราะเราคือเรือนร่างเดียวกันกล่าวว่า ปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่เราได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิ AL – Khair Foundation เพื่อมอบความช่วยเหลือปัจจัยยังชีพข่วงเดือนรอมฎอนแก่ผู้ยากไร้ โดยในปีนี้สามารถจัดสรรมอบความช่วยเหลือจำนวน 350 ครัวเรือน ระหว่างวันที่ 1-5 พฤษภาคม 2564 แบ่งเป็น จังหวัดยะลา 130 ครัวเรือน จังหวัดปัตตานี 120 ครัวเรือน และจังหวัดนราธิวาส 100 ครัวเรือน

ส่วนสิ่งของบรรจุลังประกอบด้วย 13 รายการได้แก่

1)ข้าวสาร

 2)น้ำมันตราองุ่น

 3) น้ำปลาทิพย์รส

4) เส้นหมี่เล็กตราช้าง 

5) ถั่วเขียว

6)แป้งข้าวเหนียว 

7) น้ำตาลทราย

8) ปลากระป๋อง 3 แม่ครัว

 9) ผลไม้กระป๋อง

 10) น้ำหวานเฮลซ์ บลูบอย

11) นมข้นหวาน

12) อินทผลัมสด

 13) หน้ากากอนามัย

ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงแก่ AL-Khair Foundation และ องค์กร KEDAMAIAN KEMANUSIAAN BERHAD ที่เอื้อเฟื้อโครงการที่มีประโยชน์ยิ่งนี้ รวมทั้งองค์กรภาคีเครือข่ายที่ประสานงานให้โครงการนี้สามารถดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ทุกประการ

الحمد لله الذي بنعمته تتم الصالحات

وجزاكم الله خيرا

ونسألك اللهم  أن يتقبل صيامنا وقيامنا وجميع حسناتنا وأن يجعلنا من عتقائك من النار آمين يا رب العالمين .


โดย ทีมข่าวในประเทศ

โครงการสร้างบ้านให้ผู้ยากไร้ 1/63

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2564 เวลา 14.00 น. นายนิเลาะ อับดุลบุตร ประธานชมรมจิตอาสาฉันและเธอ และผศ. มัสลัน มาหะมะ ที่ปรึกษาชมรมฯ พร้อมคณะ ได้ส่งมอบบ้าน ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านรอแตตาวา  99/2 ม. 7 ต. ลุโบะยือไร อ. มายอ จ. ปัตตานี ให้แก่นางยารอ สือแลแม (43ปี) เป็นบ้านคอนกรีตเสริมเหล็กทรงโมเดิร์น ขนาด 4×10.5 ม. ประกอบด้วย 1 ห้องน้ำ 1 ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัวพร้อมระบบไฟฟ้าและน้ำประปา มูลค่าก่อสร้าง 176,000 บาท พร้อมเงินสด ถุงยังชีพและของใช้ในครัวมูลค่า 3,000 บาท

นายนิเลาะ อับดุลบุตร กล่าวว่า ชมรมจิตอาสาฉันและเธอและภาคีเครือข่าย ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพระดมเงินเพื่อสร้างบ้านให้แก่นางยารอ สือแลแม ซึ่งมีลูกชายอายุ 17 ปีเป็นผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ตั้งแต่แรกเกิด นางยารอจึงไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากต้องดูแลลูกชายตลอดเวลา โดยสามารถระดมเงินบริจาครวมทั้งสิ้น 178,752 บาท

“ บ้านหลังนี้ถือเป็นเคสแรก เราเริ่มวางศิลารากฐานสร้างบ้านเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2563 ระหว่างก่อสร้าง เป็นช่วงฤดูฝนและเกิดน้ำท่วม ทำให้เกิดความล่าช้า เนื่องจากทีมงานบางส่วนต้องระดมให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อน้ำท่วมในจังหวัดปัตตานีและพื้นที่ใกล้เคียง แต่ด้วยเตาฟิกจากอัลลอฮ์ โครงการแรกนี้สำเร็จไปด้วยดี สามารถส่งมอบบ้านเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2564 จึงใคร่ถือโอกาสนี้ขอบคุณชาวมือบนทุกท่านที่ช่วยกันสานฝันให้ครอบครัวนางยารอ สือแลแม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพจ Mazlan Muhammad และเว็บไซต์ theustaz.com ที่ช่วยประชาสัมพันธ์รณรงค์การระดมทุนโครงการนี้ จนสำเร็จลุล่วงด้วยเตาฟิกจากอัลลอฮ์ “ นายนิเลาะ กล่าว

“ ชมรมจิตอาสาฉันและเธอ ยังมีโครงการสร้างบ้านแก่ผู้ยากไร้อีกหลายโครงการซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ รวมทั้งมอบทุนช่วยเหลือเเก่ครอบครัวที่มีสมาชิกป่วยติดเตียง จึงขอถือโอกาสประชาสัมพันธ์ให้ชาวมือบนทุกท่านสมทบทุนโครงการต่างๆของชมรมโดยสามารถติดตามได้ตาม fb : Niloh Abdulbut” นายนิเลาะ กล่าวทิ้งท้าย


โดย Mazlan Muhammad

รินน้ำใจช่วยภัยน้ำท่วม 3 จังหวัดภาคใต้ ปี 2564

วันพุธที่ 13 มกราคม 2564 เวลา 11.00 น. มูลนิธิเด็กกำพร้าและการกุศล สื่อออนไลน์ theustaz.com กลุ่มเพราะเราคือเรือนร่างเดียวกัน JABIM สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข Ron Construction และเครือข่าย พร้อมคณะครูและนักเรียนโรงเรียนยะลาวิทยปัญญานุสรณ์ บือนังบุโย อ. เมือง จ. ยะลา ได้ระดมกำลังแจกถุงปันสุขแก่ผู้ประสบอุทกภัยในชุมชนหมู่บ้านปากาลือซง ม.6 ต.ตุยง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

นายอัชอะรีย์ เจะเลาะ ประธานโครงการรินน้ำใจช่วยภัยน้ำท่วม 3 จังหวัดภาคใต้ปี 2564 มูลนิธิสงเคราะห์เด็กกำพร้าและการกุศลและภาคีเครือข่ายฯกล่าวว่า ในวันนี้ทีมงานให้ความช่วยเหลือได้เตรียมถุงปันสุขจำนวน 250 ถุง (50,000 บาท) น้ำดื่ม 150 โหล ( 5,000 บาท) พร้อมยาเวชภัณฑ์ (60,000 บาท) มูลค่ารวม 115,000 บาท มอบให้แก่ชุมชนหมู่บ้านปากาลือซง ม.6 ต.ตุยง อ.หนองจิก จ.ปัตตานีจำนวน 250 ครัวเรือน โดยมีอิหม่ามมัสยิด ผู้ใหญ่บ้าน สมาขิกอบต. และอสม. ประจำหมู่บ้านคอยอำนวยความสะดวกในการแบ่งปันความข่วยเหลือ

นายอับดุลร็อบ สะอะ ประธานมูลนิธิเด็กกำพร้าและการกุศล กล่าวว่า ตามที่มูลนิธิฯร่วมกับกลุ่มเพราะเราคือเรือนร่างเดียวกัน และสื่อออนไลน์ theustaz.com ประกาศระดมความช่วยเหลือให้แก่เหยื่ออุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ปี 2564 มีพี่น้องบริจาคผ่านบัญชีมูลนิธิฯ จนถึงวันที่ 12 มกราคม 2564 เป็นเงินจำนวน 229,280 บาท และเนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมยังไม่คลี่คลาย ประกอบด้วยบางพื้นที่ ประชาชนผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วมยังไม่ได้รับความข่วยเหลืออย่างทั่วถึง มูลนิธิฯจึงเห็นควรขยายเวลาการรับบริจาคจนถึงวันที่ 20 มกราคม 2564 ในโอกาสนี้ ขอขอบคุณทุกท่าน บริษัท ห้างร้านและองค์กรที่กรุณามอบความไว้วางใจแก่มูลนิธิฯในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครั้งนี้

แจกถุงปันสุขแก่เหยื่อน้ำท่วมภาคใต้

11 ม.ค.64 ที่มหาวิทยาลัยฟาฏอนี สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ได้เปิดปฏิบัติการลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ ประธานสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี อ.อิสม่าแอน หมัดอาด้ำ ประธานฝ่ายในประเทศ อ. อับดุลการีม อัสมะแอ ประธานเครือข่าย A-Khidmat และคณะกรรมการบริหารสภาเครือข่ายฯ

ปฏิบัติการครั้งนี้ทางทีมงานได้เตรียมถุงปันสุขจำนวน 1345 ถุง [สภาเครือข่ายฯ 400ถุง ศปง.ตอนบน 200ถุง ศปง.ตอนกลาง+มูลนิธิคนช่วยคน+สหกรณ์บริการอัลฮูดา 200ถุง มัสยิดบ้านเหนือ 210ถุง พัฒนศาสน์มูลนิธิ 35 ถุง มูลนิธิคนช่วยคน 300ถุง และน้ำดื่มจากมูลนิธิคนช่วยคนอีก 1500 โหล] งบประมาณทั้งสิ้น 400,000 บาท เพื่อนำมอบแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี

อ้างอิง https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=3709126582481034&id=762235603836828&sfnsn=mo

โลกโซเชียลถามหาความรับผิดชอบ!! กรณีเขื่อนบางลางระบายน้ำ ใต้อ่วม

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

ข่าวน้ำท่วมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานีปีนี้หนักมากๆ หลังจากเขื่อนบางลางระบายน้ำจนมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์หนาหูว่า “น่าจะมีการจัดการน้ำดีกว่านี้ไหม?และสมควรใครจะออกมารับผิดชอบไหม?

ภาพจาก เอก บังเอก เส็นบัตร

#ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ถ้าไม่ปล่อยน้ำแล้วเขื่อนจะแตกแต่ประเด็นอยู่ที่ (จากเพจเศรษฐศาสตร์อิสลาม)
1. ก่อนที่คุณจะกดปุ่มปล่อยน้ำ คุณบริหารจัดการน้ำได้ดีแค่ไหน คุณได้ใช้ความสามารถและตำแหน่งที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมอบให้อย่างเต็มที่หรือยัง

2. ในขณะที่คุณกำลังจะกดปุ่มปล่อยน้ำ คุณได้ทำการประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ทราบเพื่อรับมือกับสิ่งที่จะตามมาอย่างทั่วถึงหรือไม่

3. หลังจากที่คุณตัดสินใจกดปุ่มปล่อยน้ำแล้ว คุณได้เตรียมการ เตรียมสถานที่ และเตรียมทรัพยากร เพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อย่างครอบคลุมหรือไม่

#นักวิชาการหลาย ท่านสะท้อน เรื่องนี้
เช่น ผศ. ผศ. มัสลัน มาหะมะนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ให้ทัศนะว่า “จริงอยู่
สังคมมุสลิมเรา ถูกสอนให้ยอมรับกับตักดีร (การกำหนดสภาวะการณ์จากพระเจ้า) แต่มิได้หมายความว่าไม่ให้ฝึกฝนให้หาวิธีแก้ปัญหาเพื่อสู่ตักดีรที่ดีกว่า?

หรือใช่ว่า จะพึงพอใจรับสภาพที่เกิดขึ้นโดยอ้างตักดีรอย่างเดียว โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นเพราะการบริหารจัดการที่หย่อนยาน ไม่ใช้ข้อมูลเชิงสถิติที่สะสมมากว่า 40 ปี เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจ ขาดการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ขาดการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ค่อยตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่กระทบในวงกว้าง ไม่ค่อยพูดถึงการคืนความสุขและให้สวัสดิการแก่ประชาชนโดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบ “
อาจารย์รอมฎอน ปัญจอร์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้ทัศนะว่า “เหตุผลที่แจกแจงมาว่าจำเป็นต้องปล่อยน้ำทะลักบ้านและสวนของชาวบ้านก็เพื่อรักษาความมั่นคงของเขื่อน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือป้องกัน #เขื่อนแตก ที่อาจส่งผลเสียหายมากกว่า ทำไมเราต้องจมอยู่กับคำถามกลืนไม่เข้าคายไม่ออกด้วย ไม่ใช่เพียงแค่การบริหารจัดการไม่ดีเท่านั้น แต่นี่คือข้อจำกัดของโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในอดีต เป็นมรดกตกทอดของการจัดการทรัพยากรแบบรวมศูนย์ข้ามหัวผู้คนและเป็นความอัปลักษณ์ของรัฐราชการไทยและทุนก่อสร้างที่ฮั้วกับราชการมาเนิ่นนาน ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาจึงต้องมีทางเลือกให้พิจารณาครับ ไม่ใช่เชื่อ ๆ กันว่ามันมีอยู่เพียงหนทางเดียว”

ข้อสังเกตเหล่านี้สะท้อนข้อสังเกตเดิมในการบริหารจัดการนำ้ที่อื่นๆของประเทศกล่าวคือ “ตราบใดที่กฟผ.บริหารน้ำด้วยหลักการว่าหน้าที่หลักของน้ำคือเป็นปัจจัยผลิตไฟฟ้า และตราบใดที่วิศวกรชลประทานไม่มีส่วนร่วมบริหารเขื่อนก็ยากที่จะป้องกันน้ำท่วมได้ “(อ่านเพิ่มเติมใน
https://www.isranews.org/community/comm-scoop-documentary/3961-เศรษฐศาสตร์สามัญสำนึก-น้ำท่วม-เขื่อน-และประกันอุทกภัย.html)
ซึ่งสอดคล้องกับทัศนะของผู้เชี่ยวชาญที่สะท้อนว่า “น้ำท่วมเพราะบริหารจัดการน้ำไม่เป็น (ฟังบทเรียนอดีต #น้ำท่วม…บริหารจัดการไม่เป็น https://www.posttoday.com
#น้ำท่วม : มาจากน้ำที่ปล่อยลงจากเขื่อน
สามารถฟ้องได้ไหม?

น้ำท่วม มาจากน้ำที่ปล่อยลงจากเขื่อนเป็นเหตุให้ทรัพย์สินและชีวิตคนเสียหายทำให้สังคมฉงนว่าเหตุใดผู้มีอำนาจดูแลเขื่อนจึงปล่อยน้ำมหึมาเช่นนั้น? มีการบริหารจัดการน้ำหรือไม่อย่างไร?
“ การที่ปีนี้ฝนตกชุกก็ควรให้น้ำไหลออกทางน้ำล้นหรือสปิลเวย์ (spillway)…ถ้าผู้มีอำนาจ ผู้รับผิดชอบ ดูแลจงใจกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายถือว่า ผู้มีอำนาจดูแลบริหารเขื่อนจงใจทำละเมิดอันเป็นความผิดทั้งอาญาและแพ่ง แต่ถ้าผู้บริหารเขื่อนเห็นว่าในเขื่อนมีน้ำอยู่มากเกรงจะเป็นอันตรายต่อเขื่อนจึงรีบปล่อยน้ำเพื่อมิให้เขื่อนเสียหาย โดยไม่คำนึงถึงผลจะเกิด ถือว่าผู้บริหารเขื่อนประมาทเลินเล่อ การกระทำจึงเป็นละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

ปัญหาสุดท้ายมีว่า จะฟ้องที่ศาลปกครองหรือศาลยุติธรรม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้

– คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่ง ทางปกครอง ฯลฯ

การที่ผู้มีอำนาจบริหารเขื่อนจงใจ หรือประมาทเลินเล่อปล่อยน้ำออกจากเขื่อนโดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายอันจะเกิดแก่ประชาชนหรือประเทศชาติ จึงเป็นการกระทำละเมิด

หน่วยงานต้นสังกัดไม่ว่าจะเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือกรมกองของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับระบบชลประทาน ล้วนมีฐานะเป็นหน่วยงานทางปกครองจึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย จึงต้องฟ้องคดียังศาลปกครอง
อ้างอิง
https://www.isranews.org/isranews-article/4131-หน่วยงานรัฐ-“ปล่อยน้ำเขื่อนเหตุน้ำท่วม”-ฟ้องศาลปกครองได้.html

#ฝากเตือนทุกคนเป็นบทเรียน
อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสว่า “การบ่อนทำลาย ได้เกิดขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ เนื่องจากสิ่งที่มือของมนุษย์ได้ขวนขวายไว้เพื่อที่พระองค์จะให้พวกเขาลิ้มรสบางส่วนที่พวกเขาประกอบไว้ โดยที่หวังจะให้พวกเขากลับเนื้อกลับตัว” (อัร-รูม: 41)

ขออัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตอบแทนผู้ให้ด้วยสิ่งที่ดีกว่า
หมายเหตุ
สมพร ช่วยอารีย์ ให้ข้อมูลว่า

ปริมาณน้ำในเขื่อน 99% ดูได้จาก http://tiwrm.haii.or.th/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html

พื้นที่ฝนตก ดูได้จาก http://www.pbwatch.net/apps/

วันนี้ 10 มกราคม 2564 แรม 12 ค่ำ ครับ วันอังคาร 12 ม.ค. – 15 ม.ค. เจอน้ำทะเลหนุนต่อนะครับ

ดูแนวโน้มฝนตก ได้จาก https://www.windy.com/-Rain-thunder-rain?rain,6.758,101.378,5,i:pressure

ดูแนวโน้มคลื่นลมทะเล ได้จาก http://www.pbwatch.net/apps/ คลิกคลื่นลมทะเล


โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

ระดมความช่วยเหลือด่วนแก่ผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส

ระหว่างวันที่ 8 – 10 มกราคม 2564 หน่วยงานและองค์กรภายใต้สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี อาทิ มูลนิธิสงเคราะห์เด็กกำพร้าและการกุศล มูลนิธิซะกาตและสาธารณกุศล สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณกุศล ปั้มปตท. ท่าสาปยะลา Waqaf Care (PEDULI) กลุ่มเพราะเราคือเรือนร่างเดียวกัน เครือข่าย JABIM สื่อออนไลน์theustaz.com A-Khidmat มูลนิธิอัสสลามเพื่อเยาวชน ชมรมเครือข่ายคุณภาพอัสสลามยะลา ชมรมมิตรภาพที่เป็นหนึ่ง กลุ่ม Ummatee เครือข่ายมุสลิมะฮ์สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย IAC – Islamic Association Care ชุมชนมัสยิดซูบูลุสสลาม ตลาดเก่า จ. ยะลา และชุมชนมัสยิดอัตตะอาวุน บางปู ปัตตานี พร้อมจิตอาสานักเรียนและนักศึกษา

ได้ระดมความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมแก่ชุมชนในจังหวัดยะลา ปัตตานีและนราธิวาส ตามชุมชนต่างๆได้แก่ ชุมชนวังกระ ต.ตาเซะ อ.เมือง จ.ยะลา จำนวน 490 ครัวเรือน ชุมชนบ้านแป้น ต.หน้าถ้ำ อ.เมือง จ.ยะลา จำนวน 300 ครอบครัว ชุมชนบ้านบาโด ต. ยุโป อ. เมือง จ. ยะลา จำนวน 200 ครัวเรือน ชุมชนบ้านกือจา อ. ยะหา จ. ยะลา 200 ครัวเรือน ชุมชนบ้านจาหนัน ต. พร่อน อ. เมือง จ. ยะลา จำนวน 150 ครัวเรือน ชุมชนบ้านกำปัน ต. ท่าสาป อ. เมือง จ. ยะลา จำนวน 160 ครัวเรือน ชุมชนตลาดเก่าซอย 12 และ 14 จำนวน 100 ครัวเรือน ชุมชนปาแดโฆะ เทศบาลนครยะลา 200 ครัวเรือน ชุมชนมัรกัสยะลา 150 ครัวเรือน ชุมชนปะกาฮะรัง อ. เมือง จ. ปัตตานี จำนวน 300 ครัวเรือน และชุมชนบ้านโต๊ะแบ ต. มะรือโบออก อ. เจาะไอร้อง จ. นราธิวาส จำนวน 30 ครัวเรือน

นายมูฮำหมัด แม ประธานที่ปรึกษากลุ่ม A-Khidmat สาขายะลา กล่าวว่า สืบเนื่องจากชาวบ้านในหลายพื้นที่ในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยซึ่งได้ขยายวงกว้างไปในหลายพื้นที่ ชาวบ้านบางหมู่บ้านที่อาศัยริมแม่น้ำปัตตานีต้องอพยพอาศัยตามถนนชั่วคราว A-Khidmat สาขายะลา มูลนิธิ ชมรมและภาคีเครือข่ายในสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี จึงได้ระดมความช่วยเหลือจากพี่น้อง โดยในเบื้องต้นได้จัดทำถุงยังชีพจำนวน 1,500 ถุง อาหารกล่อง 3,000 กล่อง น้ำดื่ม 2,000 โหลพร้อมยาเวชภัณฑ์จำนวนหนึ่ง ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 300,000 บาท ซึ่งได้รับจากการระดมบริจาคที่ระดมโดยองค์กร ชมรม โรงเรียน ชุมชนมัสยิด ร้านค้าและภาคีเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือเบื้องต้นแก่เหยื่ออุทกภัยครั้งนี้

จังหวัดยะลาน้ำท่วมขยายเป็นวงกว้างโดย ปภ.รายงานเดือดร้อนแล้ว 8 อำเภอ 52 ตำบลกระทบ 12,139 ครัวเรือน 48,909 คน ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติน้ำท่วม หลังจากที่เขื่อนบางลาง จ. ยะลาได้ทำการระบายน้ำออกทางระบบสปริลเวย์ชั่วโมงละ 2 ล้านลบ. ม. ทั้งนี้สถานการณ์ฝนตกสะสมในพื้นที่ถือว่าครั้งนี้มีปริมาณมากที่สุดในรอบ 10 ปี

ส่วนที่จังหวัดปัตตานี ประกาศ 5 อำเภอเป็นพื้นที่ภัยพิบัติ หลังจากน้ำจากยะลาและนราธิวาสไหลสมทบ ทำให้เกิดน้ำท่วมหนัก โดยเฉพาะในเขตเทศบาลเมืองและบริเวณรอบเมือง


โดยทีมข่าวในประเทศ

แท้จริง…อัลลอฮ์จะทรงยับยั้งความชั่วร้ายด้วยการบังคับใช้อำนาจทางกฎหมาย ในสิ่งที่อัลกุรอานไม่สามารถยับยั้งได้

เวลา 11:20 น วันที่5 มกราคม2564 คณะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดยะลาได้เดินทางไปเยี่ยมและให้กำลังใจ พันตำรวจเอก สายูตี กาเต๊ะ ผู้กำกับการสถานีตำรวจอำเภอยะหา ในความมุ่งมั่น กรณีนำนโยบายสร้างสังคมสันติสุขด้วยวิถีวัฒนธรรมฮุกมปากัต (กระบวนการปรองดองและปรึกษาหารือ) จนเกิดกระแสสนับสนุนเห็นด้วยจากผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชน โดยคณะผู้บริหารฯได้ให้กำลังใจ อดทนต่อบททดสอบ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมคุณธรรมตลอดไป

พันตำรวจเอกสายูตี กาเต๊ะ ผู้กำกับการสถานีตำรวจอำเภอยะหา กล่าวว่า เนื่องจากผู้นำศาสนาและแกนนำชุมชนในอำเภอยะหาได้ร้องเรียนพฤติกรรมของเยาวชนกลุ่มหนึ่งที่มีการมั่วสุมระหว่างหญิงชายอย่างเสรี เสี่ยงต่อการกระทำอบายมุขที่อาจบานปลายเป็นบาปใหญ่ ทั้งเรื่องชู้สาว ยาเสพติดและทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายจนถึงแก่ชีวิต ตนในฐานะมีอะมานะฮ์รับผิดชอบบริการประชาชน รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยแก่ประชาชนและความมั่นคงของราชอาณาจักร จึงอยากมีส่วนร่วมสร้างสังคมสันติสุข และยินดีให้ความร่วมมือกับผู้นำศาสนาในการแก้ปัญหาสังคมที่เป็นความห่วงใยของทุกฝ่ายขณะนี้

“ ในฐานะมุสลิม ผมขอเชิญชวนให้เยาวชนยึดมั่นกับคำสอนอิสลาม สนใจศึกษาหลักปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อปกป้องเรา ไม่ให้ตกกับดักของอารมณ์คึกคะนองและแผนล่อลวงของมารร้าย” ผกก. สถานีตำรวจอำเภอยะหากล่าว

ในส่วนของการบังคับใช้ฮุกมปากัตนี้ พันตำรวจตรีสายูตี กาเต๊ะกล่าวว่า ตำรวจมีหน้าที่เขียนเสือให้วัวกลัวเท่านั้น ซึ่งผลที่ได้รับเป็นที่น่าพอใจมากกว่า 100 % กิจกรรมมั่วสุมของเยาวชนเงียบหายไปเหมือนปลิดทิ้ง ผู้ปกครองและผู้นำชุมชนต่างพึงพอใจมาก ส่วนการจับหนุ่มสาวแต่งงานนั้น ให้อยู่ในดุลยพินิจของท่านอิมามในฐานะผู้นำศาสนา หลังจากปรึกษาหารือกับผู้ปกครองของหนุ่มสาวคู่กรณี โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีสิทธิ์ชี้นำได้ เรามีหน้าที่รักษาความสงบสุขและป้องปรามในลักษณะเขียนเสือให้วัวกลัวเท่านั้น ซึ่งได้ผลจริงเกินคาด และยืนยันว่าไม่ละเมิดสิทธิ์เด็กแต่อย่างใด ตามที่มีอดีตนักสิทธิมนุษยชนคนหนึ่งห่วงใย

theustaz.com ขอเป็นอีกหนึ่งเสียงที่สนับสนุนและให้กำลังใจแก่ทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมสร้างสังคมสันติสุข โดยนำศาสนาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาสังคมที่ครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝ่ายข้าราชการตำรวจที่มีหน้าที่พิทักษ์รับใช้ประชาชน ซึ่งสามารถป้องปรามสิ่งชั่วร้ายในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลอย่างรวดเร็ว ซึ่งต่างจากการสอนศาสนาเพียงอย่างเดียวที่ไม่มีพลังในการเปลี่ยนแปลงได้ ดังที่ท่านอุษมาน บินอัฟฟานได้กล่าวว่า “แท้จริง อัลลอฮ์จะทรงยับยั้งความชั่วร้ายด้วยการบังคับใช้อำนาจทางกฎหมาย ในสิ่งที่อัลกุรอานไม่สามารถยับยั้งได้” ทั้งนี้ สำหรับมนุษย์ทั่วไปที่ไม่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮ์ ลำพังแค่การกล่าวตักเตือนและเทศนาด้วยบทคำสอนจากอัลกุรอาน ไม่ทำให้พวกเขาสำนึกผิดและยุติการกระทำอบายมุขได้  เหมือนกับการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งจะทำให้พวกเขาเกรงกลัวและยุติการทำบาปไปในที่สุด

โดยเฉพาะ เมื่อพลังแห่งอัลกุรอานและพลังแห่งกฏหมาย เดินหน้าเคียงบ่าเคียงไหล่ทำหน้าที่กำชับทำสิ่งดีและห้ามปรามความชั่วอย่างพร้อมเพรียงกัน ก็ยิ่งทำให้ “สังคมสันติสุข” ไม่ใช่เป็นแค่ความฝันต่อไป แต่คือความดีงามที่สามารถสัมผัสได้ในชีวิตจริง

ขอบคุณ ข่าวสด

นักเรียนปอเนาะจะนะเรียกร้องปกป้องสิ่งแวดล้อม

นักเรียนปอเนาะจะนะเรียกร้องปกป้องสิ่งแวดล้อมท่ามกลาง นร.นศ.ส่วนกลางเรียกร้องประชาธิปไตยอุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

ผู้ประสานงานกลุ่มโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม(ปอเนาะ) จะนะ : รายงานจากจะนะ
[email protected]
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก
ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

16 สิงหาคม 2563 และก่อนหน้านี้นักเรียน นักศึกษาส่วนกลางกรุงเทพมหานคร กำลังเรียกร้องรัฐบาล 3 ข้อหรือยกระดับ10ข้อ เกี่ยวกับการปฏิรูปรัฐธรรมนูญให้สู่ประชาธิปไตยตามมาตรฐานสากล และบางเรื่องบางประเด็นที่เป็นเรื่องใต้พรมสู่เวทีสาธารณะจนเป็นประเด็นร้อนที่ทำให้แกนนำสามคนโดนจับและปฏิเสธไม่ได้ว่า กำลังทำให้เกิดข้อถกเถียงในวงกว้างจนนำความแตกแยกสองฝากสองฝั่งของคนในชาติ ในขณะที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตัวแทนนักเรียน ครู อุสตาส โต๊ะครูและผู้บริหารจาก
โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม(ปอนาะ)กว่า 1,000 คน ออกมาแสดงพลัง ยื่นหนังสือถึงรัฐบาลให้ทบทวนนิคมอุตสาหกรรมจะนะ เพื่อหยุดยั้งความขัดแย้งในชุมชนแม้บางฝ่ายมองว่า “เป็นการเมืองเพราะออกมาเคลื่อนไหวตรงกับเวทีนักศึกษาที่กรุงเทพมหานครที่สำคัญการปราศรัยของนักศึกษาชายแดนภาคใต้ที่ปัตตานีและกทม.ก็มีการพูดถึงจะนะเมืองอุตสาหกรรมในข้อเรียกร้องด้วย”
กล่าวคือ

“วันนี้ 16 สค.63 (10.00 น.) .ณที่ว่าการอำเภอจะนะจังหวัดตัวแทนนักเรียน ครู อุสตาส โต๊ะครูและผู้บริหารจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม(ปอเน๊าะ)กว่า 1,000 คน ออกมาแสดงพลัง ยื่นหนังสือผ่านนายอำเภอจะนะ..ถึงนายกรัฐมนตรี…และเลขาธิการศูนย์อำนายการจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต)…#ให้ทบทวน”#โครงการจะนะเมืองอุตสาหกรรมต้นแบบ”..ที่ ศอ.บต.ผลักดันให้มีนิคมอุตสาหกรรมจะนะขนาดใหญ่.ซึ่งอาจกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และสังคมวัฒนธรรมของประชาชนทุกภาคส่วนในอำเภอจะนะ..

ใน 6 ข้อเสนอแนะโดยเริ่มกระบวนการใหม่อย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในอำเภอจะนะ…ตั้งแต่ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ..จึงเป็นทางออกที่จะนำมาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของอำเภอจะนะในที่สุด…

ทำไมต้องออกมาขย่มรัฐนี้ช่วงนี้

โครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน แห่งที่ 4 ในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ที่นำพื้นที่ของอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มาพัฒนาเป็น ‘เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต’ ครอบคลุมพื้นที่ 3 ชุมชน เนื้อที่การพัฒนา 16,753 ไร่ ใช้เงินลงทุนกว่า 18,680 ล้านบาท กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนสร้างความแตกแยกของชุมชนตามปรากฎในหน้าสื่ออีกครั้ง หลังข่าวโควิดโดยเฉพาะหลังเวที วันที่11 กรกฎาคม 2563
แม้แต่กมธ.การพัฒนาการเมืองฯ สภาผู้แทนราษฎร ชี้ชัด “ศอ.บต.” นำงบฯ ประจำไปจัดเวที 11 ก.ค.ดัน “จะนะเมืองอุตฯ ก้าวหน้าแห่งอนาคต” ต้องการเปลี่ยนสีผังเมืองแบบคลุมเครือ ทำผิดทั้งรัฐธรรมนูญปี’60 และขัดระเบียบสำนักนายกฯ มากมายเงื่อนงำ ซับซ้อน ความพิลึกพิลั่น ยันประชาชนไม่ได้ประโยชน์ ส่อเอื้อแต่ “ทีพีไอ” ยักษ์ใหญ่พลังงานและปิโตรเคมี
(โปรดดู >> https://mgronline.com/south/detail/9630000075633)

อะไรคือบทเรียน

อันเนื่องมาจากชาวจะนะได้บทเรียนโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซียที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งคณะนักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสันติสุข สถาบันพระปกเกล้าหรือที่เรียกว่า 4 ส รุ่นที่ 8 นำโดยนายแพทย์นันทวัช สิทธิรักษ์ได้สรุป ว่า

1. แก่นหลักที่นำมาสู่ความขัดแย้งและความแข็งขืนต่อต้านโครงการนี้ในนภาพรวมคือ ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน (no trust) ประเด็นหลักที่พบได้แก่ ชุดข้อมูลที่ฝ่ายรัฐและแนวร่วมรัฐหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตดำเนินโครงการมีอยู่มักถูกเผยแพร่สู่สาธารณะในวงจำกัด ไม่เป็นปัจจุบัน และมีการตัดทอนหรือเซ็นเซอร์ ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน หรืออาจให้ข้อมูลไม่ตรงตามเอกสารจริง ในขณะที่อีกฝ่ายที่เป็นองค์กรเอกชนถูกอีกฝ่ายอ้างด้วยเช่นกันว่าข้อมูลด้านตรงกันข้ามรวมทั้งมีการใช้วาทกรรมสร้างความแตกแยก

2. การไม่ยอมรับผลการประเมิน EIA (Environmental Impact Assessment) คือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม” EHIA (Environment and Health Impact Assessment) คือการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ โดยให้มีส่วนร่วมและรับฟังเสียงจากประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียจากหลายเหตุผล

3. กระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่รวบรัด ดำเนินการโดยฝ่ายรัฐหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตดำเนินโครงการแต่เพียงฝ่ายเดียว

4. ความไม่ยืดหยุ่นของเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์โครงการที่สอดรับกับความต้องการของประชาชน

5. กระบวนการลดผลกระทบเชิงลบและการเยียวยาของโครงการที่มีต่อประชาชนที่มิได้ศึกษามิติต่างๆ ทั้งระดับปัจเจก ชุมชน สังคม และจิตวิญญาณ ทั้งที่สามารถตีค่าทางเศรษฐศาสตร์ได้ (tangible) และมีคุณค่าที่ไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเลขได้ชัดเจน (intangible) อย่างรอบด้าน

6. ไม่มีกระบวนการติดตามโครงการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ในส่วนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สถาบันสอนศาสนาอิสลามในอำเภอจะนะ ซึ่งมีผู้เรียนประมาณ 20,000 คน ผู้นำศาสนา ครูศาสนาและสามัญ ประมาณ 2,000 คน กำลังกังวลผลกระทบของสถานศึกษา บุคคากร และผู้เรียน วิถีวัฒนธรรมอิสลามอันดีงาม ซึ่งยังมิได้รับการประเมินรวมทั้งมิสามารถประเมินตีค่าเป็นตัวเลขได้ชัดเจน (intangible) อย่างรอบด้าน

ขนาดโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังไม่ลง มีแหล่งบันเทิง และมีการนำมโหรสพวงดนตรี มาแสดงในชุมชนมุสลิม 100%
อะไรคือทางออก
จากเหตุดังกล่าวข้างต้น
หากจะเดินหน้าทำตาม ปณิธาน “จะนะเมืองน่าอยู่ มั่งคั่ง ยั่งยืน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังทุกภาคส่วนได้ประโยชน์ กันความไม่ไว้ใจ
ดังนั้น ทางออกที่วินๆ(ชนะ)ทุกฝ่าย ถ้าจะเชื่อใจ บริสุทธิ์ว่า เพื่อประชาชน จึงขอเรียกร้องและเสนอแนะดังนี้
1. ให้มีการทบทวนโครงการนี้ (มติ ครม.เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 และ 21 มกราคม 2563 ) เนื่องจากเป็นมติที่อนุมัติโดยรัฐบาล คสช.โดยขาดข้อมูลทางวิชาการ และไม่ได้ฟังเสียงของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการมาก่อน
2. ไม่นำผลของการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน(11 กรกฎาคม 2563)เพื่อเปลี่ยนแปลงผังเมือง อันเนื่องมาจากเวทีดังกล่าว มีข้อครหาในความโปร่งใสในการจัดเวที
3. เปิดพื้นที่กลางปลอดภัยการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติวิธี
4. ไม่คุกคามผู้เห็นต่างจากรัฐ
5. ไม่นำอบายมุข มโหรสพ เช่นดนตรีและอื่นๆที่หมิ่นแหม่ผิดหลักศาสนาเข้ามาในชุมชนมุสลิมจะนะ
6. เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน รวมทั้งผู้นำศาสนา ครูและนักเรียนร่วมออกแบบตามหลักวิชาการและมาตรฐานสากล(ทั้งต้นนำ้ กลางและปลายนำ้)เพื่อพัฒนาจะนะสู่ชุมชนมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนอันจะสร้างความชอบธรรมทั้งกระบวนการและกฎหมายซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น ช่วงระยะๆ ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1 ก่อนการตัดสินใจดำเนินโครงการต้องเปิดให้มีส่วนร่วมที่น่าเชื่อถืออย่างรอบด้าน

ขั้นตอนที่ 2 การร่วมกำหนดเป้าหมายโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและความจำเป็นของรัฐ

ขั้นตอนที่ 3 กระบวนการลดผลกระทบโครงการและการเยียวยาอย่างมีส่วนร่วม

ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างมีส่วนร่วม

ปัญหาการประท้วงที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ต่อโครงการลักษณะนี้ซึ่งจะกระทบเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ การศึกษา วิถีวัฒนธรรมและสิทธิชุมชนจนบานปลายสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือถ้าได้รับการอนุมัติหรือไม่อนุมัติอย่างไร สังคมในพื้นที่และภายนอกจะยอมรับได้ในกติกานี้ไม่ว่าฝ่ายค้านหรือหนุนปัญหาการไม่ยอมกันคงมีแต่อาจจะน้อย การประท้วงหน้าทำเนียบก็คงจะลด หรือถ้ามีประชาชนส่วนใหญ่จะเป็นโล่ให้รัฐเพราะผ่านกระบวนการที่โปร่งใส เป็นธรรม และมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

บาบอฮุสณี บินหะยีคอเนาะ ผู้บริหารโรงเรียนศาสนบำรุงและที่ปรึกษาสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาจังหวัดสงขลา ให้ทัศนะว่า “โครงจะนะเมืองอุตสาหกรรม ในการต่อเพื่อสัจจธรรมนั้น ไม่ว่าจะคว้าชัยหรือเเพ้พ่ายทุกอย่างก้าวคือความรับผิดชอบ ทุกดีตัดสินใจคือตำนานให้รุ่นหลังได้เล่าขาน ว่า เราได้เตือนและชี้แนะตามวิถีของเรา และปกป้องสิ่งที่ควรปกป้อง มิได้เป็นเครื่องมือของผู้ใด ไม่มีเรื่องการเมืองแม้เราจะเคลื่อนช่วงนักเรียน นักศึกษา (นร.นศ.)ส่วนกลางเรียกร้องประชาธิปไตยเพื่อควำ่รัฐบาล วันนี้เรามาเยอะก็จริงแต่มาแค่ยื่นหนังสือ และถ่ายภาพเชิงสัญญลักษณ์ประกาศให้สังคมภายนอกได้รู้ได้ประจักษ์”
อย่างไรก็แล้วแต่ปัญหาจะที่ชายแดนภาคใต้หรือส่วนกลางที่กำลังเร้าร้อน และเปลี่ยนผ่านจากรุ่นเก่าสู่รุ่นใหม่มันไม่สามารถปราศจากกระบวนการประชาธิปไตยว่าด้วยสงครามความคิดกับการจัดการความขัดแย้งโดยเปิดพื้นที่ปลอดภัยทางการเมืองไทย” (Political Space in Thailand ) ซึ่งอาจต้องในวาระต่อไป

ชมคลิป/ภาพที่นี่

ขอเเสดงความยินดีกับทีม มฟน.ชนะเลิศอันดับ 1 โครงการ Generation Unlimited

ขอเเสดงความยินดีกับทีม Muallim ทีมนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฎอนี ซึ่งได้รับการ Incubate จาก Nureen Pakdee และ Muslimah Tohlong จาก #Digital4Peace 

ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ ของการแข่งขันในโครงการ Generation Unlimited เยาวชนกล้าคิด สะกิดสังคม โดย UNICEF Thailand , UNDP Thailand , และ Saturday School

รายชื่อนักศึกษา ได้แก่
1.นิสมา ฆอแด๊ะ สาขาการสอนอิสลาม ปี 3
2.นูรไลลา ดอคา สาขาการสอนภาษาอังกฤษ ปี 3
3.นาดีเราะห์ เวาะแห สาขาการสอนภาษาอาหรับ ปี 3
มี อ. ซูรัยดา สะมะแอ และ อ. มุสลีมะห์ โต๊ะหลง เป็นที่ปรึกษา ( Mentor)

ต่อไปนี้ทีม Muallim จะเป็น 1 ใน 2 ตัวเเทนของประเทศไทยไปแข่งขันบนเวทีระดับโลก

Digital4Peace
#theIncubator
#PeaceIncubator


ที่มา : Digital4Peace ดิจิทัลเพื่อสันติภาพ