พิธีประสาทปริญญาครั้งนี้ สภามหาวิทยาลัยมีมติมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินและการธนาคารให้แก่ Tan Sri Dr. Mohd Daud Bakar ประธานที่ปรึกษาชะรีอะฮ์ ธนาคารแห่งชาติมาเลเซีย ผู้ก่อตั้ง Amanie Advisors อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติแห่งมาเลเซีย (IIUM) มอบโล่ Alim Rabbani (ผู้ทรงภูมิความรู้ดีเด่น) ให้แก่ Dr. Salim Seqaf Al-Jufri รองประธานสภาชะรีอะฮ์แห่งชาติ – สภาอุลามาอฺอินโดนีเซีย (Dewan Syariah Nasional -Majelis Ulama Indonesia ) มอบโล่ Tokoh Berjasa (ผู้สร้างคุณประโยชน์แก่สังคมดีเด่น ให้แก่ กระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลามประเทศกาตาร์ และอุสต้าซอับดุลลอฮ์ อาเก็ม ผู้รับใบอนุญาตวิทยาลัยอันดามันอานาโตเลียน ผู้รับใบอนุญาตและผู้อำนวยการโรงเรียนธรรมศาสน์วิทยาจังหวัดสตูล
วานนี้ (9 เมษายน 2565) ที่ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ด้านวิชาการ (MOU) ระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)โดยมีนางอารยา เฟื่องทอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี และพลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้ ตามโครงการกระจายความรู้สู่ผู้ประกอบการยุคใหม่ From Gen Z to be ceo (ภาคใต้)
ในการนี้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ภายใต้โครงการปั้น Gen Z เป็น CEO ของกระทรวงพาณิชย์ที่ตนได้มอบนโยบายให้ดำเนินการมาโดยต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2563 – 2565 ปั้น GenZ เป็น CEO ไปแล้วจำนวนมาก ซึ่ง Gen Z ต่างจากรุ่นตนและ Gen X Gen Y เพราะส่วนใหญ่ จบการศึกษาไปแล้วหลายคนอยากเป็นนายตัวเอง ซึ่งก็ต้องมีธุรกิจหรือกิจการของตนเอง จึงเป็นที่มาของนโยบายปั้น Gen Z ให้เป็น CEO จึงตั้งเป้าเตรียมปั้นนักศึกษาชั้นปี 3-4 ที่สนใจ เมื่อจบไปแล้วจะได้ไปเป็นนายตนเองทำธุรกิจเป็น CEO ให้กับกิจการของตัวเองได้ 2 ปีที่ผ่านมา ได้มีการร่วมลงนาม MOUกับสถาบันการศึกษาทุกภาคทั่วประเทศ 94 สถาบัน จบหลักสูตรไปแล้ว 21,000 คน และปี 2565 ตั้งเป้าจะทำให้ได้ 20,000 คน ภายในปีเดียวและในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ต่ำกว่า 1,000 คน สำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้จะไม่เป็น CEO Gen Z ปกติแต่จะปั้นเป็น CEO ฮาลาล ซึ่งจะมีทั้งสินค้าและบริการรวมทั้ง Soft Power ของจังหวัดชายแดนใต้ที่จะเป็นจุดขาย ทำให้ประสบความสำเร็จในทางธุรกิจการค้าได้ ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ทั้งเรื่องความมั่นคง การศึกษา เศรษฐกิจ เชื่อว่าจะเป็นโครงการที่ช่วยสนองตอบการช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจให้กับพี่น้องโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างตรงประเด็นที่สุดและสนองตอบต่อนโยบายเศรษฐกิจการค้าของประเทศด้วย
สำหรับการดำเนินโครงการ From Gen Z to be CEO กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือ สถาบัน NEA (New Economy Academy) จัดทำหลักสูตรเพื่อบ่มเพาะความรู้และสร้าง Mindset ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนเจเนอเรชั่นซี(Gen Z) เพื่อสร้างให้เป็นแม่ทัพทางการค้าของประเทศในอนาคตภายใต้โครงการกระจายความรู้สู่ผู้ประกอบการยุคใหม่ (From Gen Z to be CEO) ให้สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศจากทั้งผู้ประกอบ ธุรกิจที่มีประสบการณ์การส่งออกโดยตรง และในปี 2565 สถาบัน NEA ได้ขยายความร่วมมือกับอีก 2 มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยฟาฏอนี จังหวัดปัตตานี เพื่อขยายโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในส่วนภูมิภาคต่อไป
ฯพณฯ ดร. มุฮัมหมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซาเคยได้รับเลือกจากสภารัฐมนตรียุติธรรมอาหรับ (Council of Arab Ministers of Justice) เป็นประธานกิตติมศักดิ์ของกลุ่ม รวมถึงเข้าร่วมเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่ King Saud University และสถาบันตุลาการชั้นสูงของมหาวิทยาลัยอิสลาม อิมามมูฮัมหมัด บิน ซาอูด